อธิบดีอัยการคดีปกครอง ชี้ตร.ปราบยาเสพติดไล่ยิงรถนิสิต จุฬาฯ ทำงานไม่เป็นมืออาชีพ ขาดการวางแผนและรวบรวมหลักฐานอย่างเพียงพอ อาจถูกฟ้องเป็นคดีละเมิดได้ ชี้ สตช.ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และทางอัยการจะไม่ช่วยแก้ต่างให้กับ ตร.ที่กระทำผิดเสียเอง ด้านสภาทนายชี้ช่องฟ้องทั้งแพ่ง- อาญาและศาลปกครอง
วานนี้ (4 ส.ค.) นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปกครอง เปิดเผยกรณีตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติด สน.บางชัน ไล่ยิงรถนิสิตจุฬาฯ ว่า คดีตำรวจ สน.บางชันไล่ยิงรถนักศึกษาคงจะได้ถูกฟ้องเป็นคดีละเมิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539 เพราะเป็นการกระทำของตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานของรัฐ ตรงนี้ผู้บังคับบัญชาของตำรวจทั้ง 3 นายต้องรับผิดโดยตรงรวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย โดยผู้เสียหายจะฟ้องตำรวจทั้ง 3 นายโดยตรงไม่ได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนความรับผิดทางอาญา ผู้บังคับบัญชาจะต้องร่วมรับผิดหรือไม่ต้องรอผลการสอบสวน แต่ตำรวจทั้ง 3 นายนี้คงหนีไม่พ้นความผิด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าตำรวจอ้างว่ากระทำไปตามหน้าที่และขอให้อัยการเป็นทนายความเพื่อว่าต่างต่อสู้คดีในชั้นศาล อัยการสำนักงานคดีปกครองจะรับว่าต่างให้หรือไม่ นายนันทศักดิ์กล่าวว่า โดยปกติก่อน สตช.จะส่งสำนวนมาให้อัยการว่าต่างต่อสู้คดีให้ตำรวจคนไหนก็จะต้องมีการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเสียก่อน ถ้าฟังว่าตำรวจทำผิดก็จะไม่ส่งอัยการว่าต่างสู้คดีให้ แต่ถ้ายังขืนส่งคำขอให้อัยการไปว่าความหรือว่าต่างต่อสู้คดีให้อีก อัยการก็มีดุลพินิจไม่รับช่วยเหลือว่าต่างคดีให้ก็ได้ ตาม พ.ร.บ.อัยการมาตรา 14 (4)
นายนันทศักดิ์กล่าวต่อว่า โดยส่วนตัวแล้วตนไม่เห็นด้วยต่อวิธีการทำงานสืบสวนหาข่าวของตำรวจชุดนี้ เพราะการสืบสวนต้องเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานแหล่งข่าวข้อมูลทั้งหมดเกิดจากการวางแผน มีการทำแผนภูมิ เส้นทางเชื่อมโยงของกลุ่มอาชญากรแล้วจึงค่อยวางแผน วางตัวตำรวจไปซุ่มสกัดจับ ที่ผ่านมาตำรวจเขาทำมาเป็นแรมเดือน อัยการก็ทำสำนวนมาเป็นสิบๆ ปี เห็นมามากแล้ว และศาลก็ลงโทษคนร้าย ต่างจากคดีนี้เพราะตำรวจชุดนี้อ้างกระดาษแผ่นเดียวว่าเป็นการสืบสวนแล้วไปดักที่ซอย ทั้งที่ดูลักษณะรถ สีรถ ทะเบียนรถ และเส้นทางเข้าออกก็น่าจะรู้ว่าไม่ใช่คนร้าย อีกทั้งคดีนี้ก็ไม่ใช่เหตุซึ่งหน้าที่ตำรวจจะจับกุมได้ตามกฎหมาย ป.วิอาญาที่ว่าพบเห็นคนร้ายหลบหนีมา หรือเพิ่งกระทำผิดมาสดๆ พูดตรงๆ ตำรวจชุดนี้ขาดความรอบคอบ
นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ กล่าวว่า หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 3 นายใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรง ยิงไปที่รถยนต์ซึ่งรู้อยู่ว่ามีคนอยู่ข้างใน ผู้ที่ยิงย่อมมีเจตนาเล็งเห็นผล ว่ากระสุนอาจถูกอวัยวะสำคัญของผู้อยู่ในรถจนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ จึงอาจเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าได้ ทั้งนี้ คงจะต้องรอฟังการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อน ส่วนคดีแพ่งนั้นถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาท ปราศจากความระมัดระวัง ทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิด โดยผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องแพ่งได้ นอกจากนี้อาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ.2539 ซึ่งผู้เสียหายสามารถฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับตำรวจที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อศาลปกครองอีกทางหนึ่งได้
นายสุนทรกล่าวอีกว่า ทั้งนี้หากผู้เสียหายเห็นว่าได้รับความเดือดร้อน และการเยียวยาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีความเหมาะสม ก็ขอให้มาที่สภาทนายความเพื่อร้องขอทนายความอาสาดำเนินคดีทางแพ่ง อาญา และปกครองให้ได้ อย่างไรก็ตามโดยส่วนตนมองว่าเรื่องนี้ร้ายแรง และควรฟ้องผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป.
วานนี้ (4 ส.ค.) นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปกครอง เปิดเผยกรณีตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติด สน.บางชัน ไล่ยิงรถนิสิตจุฬาฯ ว่า คดีตำรวจ สน.บางชันไล่ยิงรถนักศึกษาคงจะได้ถูกฟ้องเป็นคดีละเมิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539 เพราะเป็นการกระทำของตำรวจในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานของรัฐ ตรงนี้ผู้บังคับบัญชาของตำรวจทั้ง 3 นายต้องรับผิดโดยตรงรวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย โดยผู้เสียหายจะฟ้องตำรวจทั้ง 3 นายโดยตรงไม่ได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนความรับผิดทางอาญา ผู้บังคับบัญชาจะต้องร่วมรับผิดหรือไม่ต้องรอผลการสอบสวน แต่ตำรวจทั้ง 3 นายนี้คงหนีไม่พ้นความผิด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าตำรวจอ้างว่ากระทำไปตามหน้าที่และขอให้อัยการเป็นทนายความเพื่อว่าต่างต่อสู้คดีในชั้นศาล อัยการสำนักงานคดีปกครองจะรับว่าต่างให้หรือไม่ นายนันทศักดิ์กล่าวว่า โดยปกติก่อน สตช.จะส่งสำนวนมาให้อัยการว่าต่างต่อสู้คดีให้ตำรวจคนไหนก็จะต้องมีการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเสียก่อน ถ้าฟังว่าตำรวจทำผิดก็จะไม่ส่งอัยการว่าต่างสู้คดีให้ แต่ถ้ายังขืนส่งคำขอให้อัยการไปว่าความหรือว่าต่างต่อสู้คดีให้อีก อัยการก็มีดุลพินิจไม่รับช่วยเหลือว่าต่างคดีให้ก็ได้ ตาม พ.ร.บ.อัยการมาตรา 14 (4)
นายนันทศักดิ์กล่าวต่อว่า โดยส่วนตัวแล้วตนไม่เห็นด้วยต่อวิธีการทำงานสืบสวนหาข่าวของตำรวจชุดนี้ เพราะการสืบสวนต้องเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานแหล่งข่าวข้อมูลทั้งหมดเกิดจากการวางแผน มีการทำแผนภูมิ เส้นทางเชื่อมโยงของกลุ่มอาชญากรแล้วจึงค่อยวางแผน วางตัวตำรวจไปซุ่มสกัดจับ ที่ผ่านมาตำรวจเขาทำมาเป็นแรมเดือน อัยการก็ทำสำนวนมาเป็นสิบๆ ปี เห็นมามากแล้ว และศาลก็ลงโทษคนร้าย ต่างจากคดีนี้เพราะตำรวจชุดนี้อ้างกระดาษแผ่นเดียวว่าเป็นการสืบสวนแล้วไปดักที่ซอย ทั้งที่ดูลักษณะรถ สีรถ ทะเบียนรถ และเส้นทางเข้าออกก็น่าจะรู้ว่าไม่ใช่คนร้าย อีกทั้งคดีนี้ก็ไม่ใช่เหตุซึ่งหน้าที่ตำรวจจะจับกุมได้ตามกฎหมาย ป.วิอาญาที่ว่าพบเห็นคนร้ายหลบหนีมา หรือเพิ่งกระทำผิดมาสดๆ พูดตรงๆ ตำรวจชุดนี้ขาดความรอบคอบ
นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ กล่าวว่า หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 3 นายใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรง ยิงไปที่รถยนต์ซึ่งรู้อยู่ว่ามีคนอยู่ข้างใน ผู้ที่ยิงย่อมมีเจตนาเล็งเห็นผล ว่ากระสุนอาจถูกอวัยวะสำคัญของผู้อยู่ในรถจนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ จึงอาจเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าได้ ทั้งนี้ คงจะต้องรอฟังการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อน ส่วนคดีแพ่งนั้นถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาท ปราศจากความระมัดระวัง ทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิด โดยผู้เสียหายสามารถยื่นฟ้องแพ่งได้ นอกจากนี้อาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ.2539 ซึ่งผู้เสียหายสามารถฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับตำรวจที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อศาลปกครองอีกทางหนึ่งได้
นายสุนทรกล่าวอีกว่า ทั้งนี้หากผู้เสียหายเห็นว่าได้รับความเดือดร้อน และการเยียวยาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีความเหมาะสม ก็ขอให้มาที่สภาทนายความเพื่อร้องขอทนายความอาสาดำเนินคดีทางแพ่ง อาญา และปกครองให้ได้ อย่างไรก็ตามโดยส่วนตนมองว่าเรื่องนี้ร้ายแรง และควรฟ้องผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป.