นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นชอบร่างกฎหมายเร่งด่วน ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ 2 ฉบับได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ….. ซึ่งร่างกฎหมายนี้ จัดทำขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2549 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) โดยจะก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเดินเรือทะเลของไทย ซึ่งเป็นเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ที่ใช้ธงชาติไทย
ทั้งนี้ เมื่อมีกฎหมายนี้รับรอง เรือเดินทะเลของไทยไปจอดที่ท่าเรือใด ก็จะได้รับการยอมรับ และไม่ต้องถูกตรวจสอบ หากไม่มีหนังสือรับรอง รวมทั้งมีการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานบนเรือเดินทะเล โดยมีการตรวจสอบสิทธิประโยชนต่างๆ เช่น ที่พัก การคุ้มครองสุขภาพ การตรวจแรงงาน และประกันสังคม รวมทั้ง ร่าง แก้ไขพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการทดสอบมาตรฐานฝีมือและออกใบรับรองมาตรฐานฝีมือให้แก่ช่างฝีมือชาวต่างชาติ โดยเฉพาะสาขาที่มีเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสาธารณะ เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างเชื่อมโลหะ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับนี้ จะมีการนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งเคยผ่านวาระที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้วนั้น เมื่อเร็วๆนี้ ตนได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปศึกษาทบทวนประเด็นที่จะต้องปรับปรุงและเพิ่มเติมเนื้อหาร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งมีความจำเป็นในสถานการณปัจจุบัน เช่น การให้โอกาสแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 เมื่อไปทำงานต่างประเทศ ก็สามารถเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 หากกลับมาไทยแล้วเข้าทำงานในสถานประกอบการ ก็เข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้ไม่เสียสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการส่งเงินสมทบช่วงที่ผ่านมา เช่น เงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ใช้ ร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับปัจจุบันเสนอต่อรัฐบาลมาหลายสมัยแล้ว จึงควรมีการทบทวนประเด็นที่จะขอแก้ไขเนื้อหา ร่าง พ.ร.บ.กันใหม่ก่อนที่จะเสนอต่อ สนช.
ทั้งนี้ เมื่อมีกฎหมายนี้รับรอง เรือเดินทะเลของไทยไปจอดที่ท่าเรือใด ก็จะได้รับการยอมรับ และไม่ต้องถูกตรวจสอบ หากไม่มีหนังสือรับรอง รวมทั้งมีการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานบนเรือเดินทะเล โดยมีการตรวจสอบสิทธิประโยชนต่างๆ เช่น ที่พัก การคุ้มครองสุขภาพ การตรวจแรงงาน และประกันสังคม รวมทั้ง ร่าง แก้ไขพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการทดสอบมาตรฐานฝีมือและออกใบรับรองมาตรฐานฝีมือให้แก่ช่างฝีมือชาวต่างชาติ โดยเฉพาะสาขาที่มีเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสาธารณะ เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างเชื่อมโลหะ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับนี้ จะมีการนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งเคยผ่านวาระที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยรัฐบาลชุดที่แล้วนั้น เมื่อเร็วๆนี้ ตนได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปศึกษาทบทวนประเด็นที่จะต้องปรับปรุงและเพิ่มเติมเนื้อหาร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งมีความจำเป็นในสถานการณปัจจุบัน เช่น การให้โอกาสแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 เมื่อไปทำงานต่างประเทศ ก็สามารถเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 หากกลับมาไทยแล้วเข้าทำงานในสถานประกอบการ ก็เข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้ไม่เสียสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการส่งเงินสมทบช่วงที่ผ่านมา เช่น เงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ใช้ ร่าง แก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับปัจจุบันเสนอต่อรัฐบาลมาหลายสมัยแล้ว จึงควรมีการทบทวนประเด็นที่จะขอแก้ไขเนื้อหา ร่าง พ.ร.บ.กันใหม่ก่อนที่จะเสนอต่อ สนช.