เมื่อเวลา 9.00 น. วานนี้ (21 ก.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เป็นประธานการอบรมใช้งานระบบรายงานผลการปฏิบัติงานทางอิเล็กทรอนิกส์ รุ่น 2 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ กกต. จากทุกจังหวัดทั่วประเทศกว่า 200 คน เข้าร่วมอบรมการใช้ระบบรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน และเพิ่มความรวดเร็วในการรายงานจากเดิมที่เคยปฏิบัติ
ทั้งนี้ในระหว่างการกล่าวเปิดงาน นายภุชงค์ ได้กล่าวให้กำลังใจพนักงาน จากการที่ กกต.กำลังถูกโจมตี โดยขอให้พนักงานมีจิตใจที่หนักแน่น แม้ กกต.จะถูกโจมตีทางสื่อฯ ต่างๆ รวมทั้งทางโซเชียลเนตเวิร์ก ก็ต้องยืนหยัดการทำงาน
" ขอให้พนักงานทุกคนยืนหยัดตั้งใจทำงาน อย่าไปมองว่า กกต.ถูกลดอำนาจ และให้ยึดตามกฎหมาย การที่เรายังได้เป็นกรรมการสรรหาผู้บริหารท้องถิ่น นั่นคือสิ่งที่ คสช.ให้ความมั่นใจในการทำงานของ กกต. หน้าที่ของเราต้องทำให้ดีที่สุด ทุกฝ่ายต้องพร้อมสนับสนุนงานในการสรรหา โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น เราคงหนีไม่พ้นความรับผิดชอบ โดยเฉพาะเรื่องคุณสมบัติ" นายภุชงค์ กล่าว
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 85 และ 86/2557 ที่ให้งดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นรวมถึงสมาชิกสภากรุงเทพฯว่า ขณะนี้การเลือกตั้งท้องถิ่นจะไม่เกิดขึ้น โดยจะเปลี่ยนเป็นกระบวนการสรรหา ภายหลังที่มีการประกาศ คสช. โดยกระบวนสรรหาจะมีคณะกรรมการสรรหา และผอ.กกต.จังหวัด ก็เข้าไปเป็นคณะกรรมการสรรหาด้วย ซึ่งคาดว่าจะมี 400 กว่าแห่ง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครบวาระ และจะต้องมีการสรรหาภายใน 15 วัน ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นที่ครบวาระลง จะเป็นหน้าที่ปลัดท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่แทน ขณะที่กรุงเทพมหานคร ในส่วนของสมาชิกสภากรุงเทพฯ ที่จะครบวาระปลายเดือนส.ค. เลขาธิการ กกต.จะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหา ที่มีปลัดมหาดไทยเป็นประธาน ซึ่งกกต.ก็พร้อมสนับสนุนกระบวนการสรรหาด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บทบาทของ กกต.ทั้ง 4 ด้าน ยังคงทำหน้าที่อยู่ โดยด้านสืบสวนสอบสวน ยังมีสำนวนการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะต้องพิจารณากว่า 500-600 สำนวน ซึ่งอาจมีการพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และคดีอาญา แต่จะไม่มีการสั่งเลือกตั้งใหม่ และชดใช้ค่าเสียในการจัดเลือกตั้ง หรือจะพิจารณายกคำร้อง
ขณะที่ด้านการมีส่วนร่วม จะทำหน้าที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง และอาจจะเป็นกลไกเพื่อรองรับสภาปฏิรูป ทำความเห็นประชาชน หรือประชาพิจารณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนด้านการจัดการเลือกตั้ง จะเป็นกลไกปรับปรุงระบบการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง ขณะที่ด้านพรรคการเมือง แม้ขณะนี้จะยังไม่มีบทบาทมากนัก แต่ต่อไปจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะต้องเตรียมเสนอ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งเป็นพรรคของประชาชนอย่างแท้จริง
"แม้จะมีประกาศ คสช.ดังกล่าว ใช่ว่า กกต.จะไม่มีบทบาท เพราะ กกต. มีหน้าที่ต้องทำอีกมาก เพื่อรองรับการเลือกตั้ง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"นายสมชัย กล่าว
วันเดียวกันนี้ นายสมชัย ได้เป็นประธานการประชุมพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเลือกตั้ง โดยนายสมชัย กล่าวว่า ที่ประชุมจะพิจารณากระบวนการที่จะทำให้การจัดการเลือกตั้งมีความทันสมัยมากขึ้น (Smart Ect.)ตามความเห็นของที่ประชุม กกต. โดยจะคิดค้นซอฟแวร์ เพื่อพัฒนาเป็นแอพลิเคชั่นในมือถือ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนที่พบเห็นการทุจริต สามารถแจ้งข้อมูลมายัง กกต.โดยตรงและรวดเร็ว เช่น การขนขนมาลงคะแนน นับคะแนนผิด ซื้อขายเสียง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ สุจริตเที่ยงธรรม ป้องกันการทุจริต คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน เพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น
-----
ทั้งนี้ในระหว่างการกล่าวเปิดงาน นายภุชงค์ ได้กล่าวให้กำลังใจพนักงาน จากการที่ กกต.กำลังถูกโจมตี โดยขอให้พนักงานมีจิตใจที่หนักแน่น แม้ กกต.จะถูกโจมตีทางสื่อฯ ต่างๆ รวมทั้งทางโซเชียลเนตเวิร์ก ก็ต้องยืนหยัดการทำงาน
" ขอให้พนักงานทุกคนยืนหยัดตั้งใจทำงาน อย่าไปมองว่า กกต.ถูกลดอำนาจ และให้ยึดตามกฎหมาย การที่เรายังได้เป็นกรรมการสรรหาผู้บริหารท้องถิ่น นั่นคือสิ่งที่ คสช.ให้ความมั่นใจในการทำงานของ กกต. หน้าที่ของเราต้องทำให้ดีที่สุด ทุกฝ่ายต้องพร้อมสนับสนุนงานในการสรรหา โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น เราคงหนีไม่พ้นความรับผิดชอบ โดยเฉพาะเรื่องคุณสมบัติ" นายภุชงค์ กล่าว
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 85 และ 86/2557 ที่ให้งดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นรวมถึงสมาชิกสภากรุงเทพฯว่า ขณะนี้การเลือกตั้งท้องถิ่นจะไม่เกิดขึ้น โดยจะเปลี่ยนเป็นกระบวนการสรรหา ภายหลังที่มีการประกาศ คสช. โดยกระบวนสรรหาจะมีคณะกรรมการสรรหา และผอ.กกต.จังหวัด ก็เข้าไปเป็นคณะกรรมการสรรหาด้วย ซึ่งคาดว่าจะมี 400 กว่าแห่ง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครบวาระ และจะต้องมีการสรรหาภายใน 15 วัน ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นที่ครบวาระลง จะเป็นหน้าที่ปลัดท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่แทน ขณะที่กรุงเทพมหานคร ในส่วนของสมาชิกสภากรุงเทพฯ ที่จะครบวาระปลายเดือนส.ค. เลขาธิการ กกต.จะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหา ที่มีปลัดมหาดไทยเป็นประธาน ซึ่งกกต.ก็พร้อมสนับสนุนกระบวนการสรรหาด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บทบาทของ กกต.ทั้ง 4 ด้าน ยังคงทำหน้าที่อยู่ โดยด้านสืบสวนสอบสวน ยังมีสำนวนการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะต้องพิจารณากว่า 500-600 สำนวน ซึ่งอาจมีการพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และคดีอาญา แต่จะไม่มีการสั่งเลือกตั้งใหม่ และชดใช้ค่าเสียในการจัดเลือกตั้ง หรือจะพิจารณายกคำร้อง
ขณะที่ด้านการมีส่วนร่วม จะทำหน้าที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง และอาจจะเป็นกลไกเพื่อรองรับสภาปฏิรูป ทำความเห็นประชาชน หรือประชาพิจารณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนด้านการจัดการเลือกตั้ง จะเป็นกลไกปรับปรุงระบบการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง ขณะที่ด้านพรรคการเมือง แม้ขณะนี้จะยังไม่มีบทบาทมากนัก แต่ต่อไปจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะต้องเตรียมเสนอ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งเป็นพรรคของประชาชนอย่างแท้จริง
"แม้จะมีประกาศ คสช.ดังกล่าว ใช่ว่า กกต.จะไม่มีบทบาท เพราะ กกต. มีหน้าที่ต้องทำอีกมาก เพื่อรองรับการเลือกตั้ง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"นายสมชัย กล่าว
วันเดียวกันนี้ นายสมชัย ได้เป็นประธานการประชุมพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเลือกตั้ง โดยนายสมชัย กล่าวว่า ที่ประชุมจะพิจารณากระบวนการที่จะทำให้การจัดการเลือกตั้งมีความทันสมัยมากขึ้น (Smart Ect.)ตามความเห็นของที่ประชุม กกต. โดยจะคิดค้นซอฟแวร์ เพื่อพัฒนาเป็นแอพลิเคชั่นในมือถือ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนที่พบเห็นการทุจริต สามารถแจ้งข้อมูลมายัง กกต.โดยตรงและรวดเร็ว เช่น การขนขนมาลงคะแนน นับคะแนนผิด ซื้อขายเสียง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งมีประสิทธิภาพ สุจริตเที่ยงธรรม ป้องกันการทุจริต คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน เพื่อรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น
-----