ASTVผู้จัดการรายวัน - คสช.สั่งคลังออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มหลังล็อตล่าสุด 3 หมื่นล้าน ขายเกลี้ยง ปลัดคลังเด้ง รับสั่ง สบน.ไปดำเนินการ เผยคลังเสนอปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ คสช.ไปแล้ว รอไฟเขียว พร้อมยอมรับรายได้ปีงบ 57 ต่ำเป้า 1.6 แสนล้าน
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มเติม เพื่อขายให้กับประชาชนทั่วไป หลังจากที่การออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นอายุ 7 ปี และ 10 ปี วงเงิน 30,000 ล้านบาท ที่จะเปิดขายให้กับนักลงทุนทั่วไป ช่วงวันที่ 15-25 ก.ค. นี้ ได้มีผู้สนใจซื้อไปหมดแล้ว เนื่องจากให้ผลตอบแทนดี โดยพันธบัตรอายุ 7 ปี ให้อัตราดอกเบี้ย 4.25% ต่อปี และอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.75% ต่อปี
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ไปพิจารณาว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มเติม ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงวัตถุประสงค์การใช้วงเงินดังกล่าว
ส่วนการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงต้องดูความเหมาะสมของตลาด โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปการออกพันธบัตรออมทรัพย์ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อรายงานให้ คสช. ทราบอีกครั้ง
"การออกพันธบัตรต้องไปดูว่าจะนำเงินไปใช้อะไร ดอกเบี้ยควรจะเป็นเท่าไหร่ แม้ว่าพันธบัตร 7 ปีและ 10 ปีขายหมดแล้ว แต่มีพันธบัตรรุ่นอายุ 3ปี อัตราดอกเบี้ยที่ 3.25% ต่อปี เปิดขายอยู่และยังเหลือวงเงินกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ประชาชนให้ความสนใจน้อย เพราะมองว่าดอกเบี้ยไม่จูงใจเท่ากันรุ่น 7 ปี และ 10 ปี" นายรังสรรค์กล่าวและว่า กระทรวงการคลังได้นำเสนอการปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ คสช.พิจารณาแล้ว โดยอยู่ระหว่างรออนุมัติว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร และช่วงใด เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องดำเนินการให้เหมาะสมและรอบคอบที่สุด รวมถึงการขยายระยะเวลาลดภาษีนิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดาที่ได้เสนอขยายเวลามาตรการดังกล่าวไปแล้ว รอเพียงการอนุมัติอย่างเป็นทางการ ยืนยันว่าจะไม่ให้กระทบรายได้ของประชาชน
นายรังสรรค์ ยอมรับว่าแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 57 ของ 3 กรมจัดเก็บรายได้ คงจะต่ำกว่าเป้ารวมกันประมาณ 1.6 แสนล้านบาท แบ่งเป็น กรมสรรพากร คาดว่าต่ำเป้าไม่เกิน 1 แสนล้านบาท กรมสรรพสามิต ต่ำเป้าไม่เกิน 4 หมื่นล้านบาท และกรมศุลกากร ต่ำเป้าไม่เกิน 1.1 แสนล้านบาท
"การจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าจะกระทบยอดรายได้และอาจมีผลต่อเงินลงทุนในอนาคตบ้าง แต่ในส่วนนี้ คสช. มอบหมายให้ กสทช. นำส่งเงินเข้าคลัง 5 หมื่นล้านบาท และ สศค.ให้ บบส.นำส่งรายได้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือไม่น่าจะมีผลกระทบมาก เพราะมีเงินคงคลัง 3.8 แสนล้านบาท รองรับการใช้จ่ายในอนาคตได้เพียงพอ" นายรังสรรค์กล่าว.
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มเติม เพื่อขายให้กับประชาชนทั่วไป หลังจากที่การออกพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นอายุ 7 ปี และ 10 ปี วงเงิน 30,000 ล้านบาท ที่จะเปิดขายให้กับนักลงทุนทั่วไป ช่วงวันที่ 15-25 ก.ค. นี้ ได้มีผู้สนใจซื้อไปหมดแล้ว เนื่องจากให้ผลตอบแทนดี โดยพันธบัตรอายุ 7 ปี ให้อัตราดอกเบี้ย 4.25% ต่อปี และอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.75% ต่อปี
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ไปพิจารณาว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มเติม ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงวัตถุประสงค์การใช้วงเงินดังกล่าว
ส่วนการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงต้องดูความเหมาะสมของตลาด โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปการออกพันธบัตรออมทรัพย์ภายในสิ้นเดือนนี้ เพื่อรายงานให้ คสช. ทราบอีกครั้ง
"การออกพันธบัตรต้องไปดูว่าจะนำเงินไปใช้อะไร ดอกเบี้ยควรจะเป็นเท่าไหร่ แม้ว่าพันธบัตร 7 ปีและ 10 ปีขายหมดแล้ว แต่มีพันธบัตรรุ่นอายุ 3ปี อัตราดอกเบี้ยที่ 3.25% ต่อปี เปิดขายอยู่และยังเหลือวงเงินกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ประชาชนให้ความสนใจน้อย เพราะมองว่าดอกเบี้ยไม่จูงใจเท่ากันรุ่น 7 ปี และ 10 ปี" นายรังสรรค์กล่าวและว่า กระทรวงการคลังได้นำเสนอการปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ คสช.พิจารณาแล้ว โดยอยู่ระหว่างรออนุมัติว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร และช่วงใด เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องดำเนินการให้เหมาะสมและรอบคอบที่สุด รวมถึงการขยายระยะเวลาลดภาษีนิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดาที่ได้เสนอขยายเวลามาตรการดังกล่าวไปแล้ว รอเพียงการอนุมัติอย่างเป็นทางการ ยืนยันว่าจะไม่ให้กระทบรายได้ของประชาชน
นายรังสรรค์ ยอมรับว่าแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 57 ของ 3 กรมจัดเก็บรายได้ คงจะต่ำกว่าเป้ารวมกันประมาณ 1.6 แสนล้านบาท แบ่งเป็น กรมสรรพากร คาดว่าต่ำเป้าไม่เกิน 1 แสนล้านบาท กรมสรรพสามิต ต่ำเป้าไม่เกิน 4 หมื่นล้านบาท และกรมศุลกากร ต่ำเป้าไม่เกิน 1.1 แสนล้านบาท
"การจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าจะกระทบยอดรายได้และอาจมีผลต่อเงินลงทุนในอนาคตบ้าง แต่ในส่วนนี้ คสช. มอบหมายให้ กสทช. นำส่งเงินเข้าคลัง 5 หมื่นล้านบาท และ สศค.ให้ บบส.นำส่งรายได้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือไม่น่าจะมีผลกระทบมาก เพราะมีเงินคงคลัง 3.8 แสนล้านบาท รองรับการใช้จ่ายในอนาคตได้เพียงพอ" นายรังสรรค์กล่าว.