นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ส่งรายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) และ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้คสช.ได้มีคำสั่งให้ นายอภิชาติ จีระวุฒิ อดีตเลขาธิการ กพฐ.และ ศ.(พิเศษ) ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการ กกอ. ย้ายไปเป็นที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี และให้นายกมล รอดคล้าย อดีตรองเลขาธิการ กพฐ. เป็นเลขาธิการ กพฐ. และ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ กกอ. เป็น เลขาธิการ กกอ. จึงมีผลให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีตำแหน่งรองเลขาธิการ ว่างลง 2 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ การพิจารณาคัดเลือกรองเลขาธิการ ระดับ 10 ของทั้ง 2 หน่วยงาน มาจากการหารือร่วมกันระหว่างองค์กรหลัก ศธ. และเฉพาะจะเสนอเพียงแค่ 2 รายชื่อเท่านั้น แม้ว่าจะมีตำแหน่งผู้ตรวจราช ศธ. ระดับ 10 ว่างอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปี 2557 นี้ จะมีผู้บริหารระดับ 10 ของ ศธ. เกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 กันยายน 2557 จำนวน 10 ราย ในขณะที่ผู้บริหารระดับ 9 ของ ศธ. มีแค่ 8 ราย เพราะฉะนั้น ศธ.จึงอยู่ในสภาวะที่ขาดแคลนผู้บริหารระดับต้น ที่จะขึ้นสู่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งตนจะนำเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับ 10 แทนตำแหน่งเกษียณหารือกับ คสช. เพื่อเตรียมแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า ขณะเดียวกัน ในส่วนของสำนักงานปลัด ศธ. ได้มีการเปิดรับสมัครผู้บริหารระดับต้นอีก 4 ตำแหน่งเพื่อเตรียมไว้สำหรับขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงในอนาคต แก้ปัญหาขาดแคลนผู้บริหารระดับต้นที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง
นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มีผู้ร้องเรียนให้ยกเลิกประกาศรับสมัครผู้บริหารระดับต้นทั้ง 4 ตำแหน่งของ สป.ศธ. ที่กำลังประกาศรับสมัครอยู่นั้น โดยให้เหตุผลว่าการล็อกสเปก โดยกำหนดไว้ในประกาศรับสมัครว่าจะต้องเป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูหรือบุคลากรทางการศึกษาของ สป. เท่านั้น จึงจะมีสิทธิสมัครคัดเลือกเป็นผู้บริหารระดับต้น 4 ตำแหน่งดังกล่าว จริง ๆ คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สป.ศธ.ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง เป็นผู้กำหนดการรับสมัครผู้บริหารระดับต้นทั้ง 4 ตำแหน่ง และที่ไม่เปิดกว้างให้ข้าราชการจากหน่วยงานอื่นมาสมัครคัดเลือกด้วย เพราะที่ผ่านๆ มา การรับสมัครผู้บริหารระดับต้นของหน่วยงานอื่น ๆ ก็ไม่ได้เปิดกว้างเช่นกัน รวมถึงได้มีการพิจารณาในแง่ของกฎหมายของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และเห็นว่า สาเหตุที่กฎหมายกำหนดให้แต่ละองค์กรหลักมี อ.ก.พ.ของตนเอง ก็เพราะเจตนาต้องการให้แต่ละแท่ง ได้ดูแลงานบริหารบุคคลของตนเอง เพราะฉะนั้น การเปิดรับสมัครผู้บริหารระดับต้น ควรเป็นการพิจารณาภายในของแต่ละองค์กร หากให้การรับสมัครผู้บริหารระดับต้นเป็นการเปิดกว้างอาจจะขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายได้
“เพื่อให้ในอนาคตได้คนเก่ง คนดีขึ้นมาเป็นผู้บริหาร และเพื่อให้มีการหมุนเวียนผู้บริหารได้ จึงได้เตรียมประชุมองค์กรหลักเพื่อหารือกันในเรื่องนี้ว่าควรจะมีการกำหนดแนวปฏิบัติให้ชัดเจนใช้สำหรับรับสมัครการรับสมัครผู้บริหารระดับต้นในครั้งต่อ ๆ ไปซึ่งประเด็นสำคัญ คือ การรับสมัครผู้บริหารระดับต้นขององค์กรหลัก จะต้องเปิดกว้าง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้อาจจะต้องหารือกับ ก.พ.และอ.ก.พ.ของแต่ละแท่งก่อน รวมทั้งจะพิจารณาด้วยว่าจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่”นางสุทธศรี กล่าว
ทั้งนี้ การพิจารณาคัดเลือกรองเลขาธิการ ระดับ 10 ของทั้ง 2 หน่วยงาน มาจากการหารือร่วมกันระหว่างองค์กรหลัก ศธ. และเฉพาะจะเสนอเพียงแค่ 2 รายชื่อเท่านั้น แม้ว่าจะมีตำแหน่งผู้ตรวจราช ศธ. ระดับ 10 ว่างอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปี 2557 นี้ จะมีผู้บริหารระดับ 10 ของ ศธ. เกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 กันยายน 2557 จำนวน 10 ราย ในขณะที่ผู้บริหารระดับ 9 ของ ศธ. มีแค่ 8 ราย เพราะฉะนั้น ศธ.จึงอยู่ในสภาวะที่ขาดแคลนผู้บริหารระดับต้น ที่จะขึ้นสู่ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งตนจะนำเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับ 10 แทนตำแหน่งเกษียณหารือกับ คสช. เพื่อเตรียมแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า ขณะเดียวกัน ในส่วนของสำนักงานปลัด ศธ. ได้มีการเปิดรับสมัครผู้บริหารระดับต้นอีก 4 ตำแหน่งเพื่อเตรียมไว้สำหรับขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงในอนาคต แก้ปัญหาขาดแคลนผู้บริหารระดับต้นที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง
นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มีผู้ร้องเรียนให้ยกเลิกประกาศรับสมัครผู้บริหารระดับต้นทั้ง 4 ตำแหน่งของ สป.ศธ. ที่กำลังประกาศรับสมัครอยู่นั้น โดยให้เหตุผลว่าการล็อกสเปก โดยกำหนดไว้ในประกาศรับสมัครว่าจะต้องเป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูหรือบุคลากรทางการศึกษาของ สป. เท่านั้น จึงจะมีสิทธิสมัครคัดเลือกเป็นผู้บริหารระดับต้น 4 ตำแหน่งดังกล่าว จริง ๆ คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สป.ศธ.ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวง เป็นผู้กำหนดการรับสมัครผู้บริหารระดับต้นทั้ง 4 ตำแหน่ง และที่ไม่เปิดกว้างให้ข้าราชการจากหน่วยงานอื่นมาสมัครคัดเลือกด้วย เพราะที่ผ่านๆ มา การรับสมัครผู้บริหารระดับต้นของหน่วยงานอื่น ๆ ก็ไม่ได้เปิดกว้างเช่นกัน รวมถึงได้มีการพิจารณาในแง่ของกฎหมายของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และเห็นว่า สาเหตุที่กฎหมายกำหนดให้แต่ละองค์กรหลักมี อ.ก.พ.ของตนเอง ก็เพราะเจตนาต้องการให้แต่ละแท่ง ได้ดูแลงานบริหารบุคคลของตนเอง เพราะฉะนั้น การเปิดรับสมัครผู้บริหารระดับต้น ควรเป็นการพิจารณาภายในของแต่ละองค์กร หากให้การรับสมัครผู้บริหารระดับต้นเป็นการเปิดกว้างอาจจะขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายได้
“เพื่อให้ในอนาคตได้คนเก่ง คนดีขึ้นมาเป็นผู้บริหาร และเพื่อให้มีการหมุนเวียนผู้บริหารได้ จึงได้เตรียมประชุมองค์กรหลักเพื่อหารือกันในเรื่องนี้ว่าควรจะมีการกำหนดแนวปฏิบัติให้ชัดเจนใช้สำหรับรับสมัครการรับสมัครผู้บริหารระดับต้นในครั้งต่อ ๆ ไปซึ่งประเด็นสำคัญ คือ การรับสมัครผู้บริหารระดับต้นขององค์กรหลัก จะต้องเปิดกว้าง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้อาจจะต้องหารือกับ ก.พ.และอ.ก.พ.ของแต่ละแท่งก่อน รวมทั้งจะพิจารณาด้วยว่าจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่”นางสุทธศรี กล่าว