วานนี้ (15ก.ค.) พ.ต.ท.ไพศิษฏ์ สังคหะพงศ์ ผอ.ศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ว่า ดีเอสไอ ได้ตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายต่างด้าวและค้ามนุษย์โดยมี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธาน ซึ่งอนุกรรมการชุดดังกล่าว จะเป็นผู้กำหนดนโยบายแก้ปัญหาต่างด้าวและค้ามนุษย์
นอกจากนี้ยังจะมีอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) มาร่วมพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาโดยจะมีการประชุมคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดอีกครั้งในสัปดาห์นี้ เพื่อหาแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจน หลังเสร็จสิ้นการขึ้นทะเบียนต่างด้าวในวันที่ 21 ก.ค.
สำหรับปัญหาที่สำคัญของการค้ามนุษย์คือการค้ามนุษย์ในเด็กที่มี 3 รูปแบบ คือ การบังคับค้าประเวณี การบังคับค้าแรงงานประมง และการบังคับค้าแรงงานอุตสาหกรรม จากข้อมูลพบผู้ที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ จะเป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนใหญ่เข้ามาใช้แรงงานกลุ่มประมง ส่วนแรงงานที่ถูกบังคับเข้ามาขอทาน จะเป็นกลุ่มเด็กจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง พม่า กัมพูชา เนื่องจากเด็กที่ตกเป็นเหยื่อมักล่อลวงได้ง่าย เป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพที่ทำกันเป็นขบวนการ ปัจจุบันเด็กยังมีความเสี่ยงที่ถูกล่อลวงมาใช้แรงงานค้ามนุษย์ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะถูกล่อลวงมาค้าประเวณี ดังนั้น ในกลุ่มดังกล่าวผู้ปกครองต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการเหล่านี้
**ตรวจศูนย์จดทะเบียนแรงงาน
วานนี้ ( 15 ก.ค.) พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร ในฐานะประธารคณะอนุกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และค้ามนุษย์ (อกนร.) พร้อมนายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) เดินทางตรวจเยี่ยมการให้บริการ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเสร็จ (วัน สตอป เซอร์วิส) ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ (ไทย-ญี่ปุ่น เขตดินแดง) 1 ใน 6 ศูนย์ ในพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อม กล่าวว่า การเปิดศูนย์ฯเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี ซึ่งเปิดให้ขึ้นทะเบียนเป็นวันแรก ไปจนถึงวันที่ 14 ส.ค. 57 โดยศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ รับผิดชอบการขึ้นทะเบียน ของ 9 เขต คือ เขตดุสิต ราชเทวี ห้วยขวาง ดินแดง พญาไท ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ วังทองหลาง และพระนคร มีนายจ้างนำแรกงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนอย่างต่อเนื่อง
“ ขอย้ำเรื่องการดำเนินการลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่ายและโปร่งใส รวมทั้งแนะนำให้นายจ้างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เร่งพาแรงงานต่างด้าวมาดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ทำตามจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนข้อเรียกร้องของนายจ้างที่ต้องการให้ขยายระยะเวลาการขึ้นทะเบียนและพิสูจน์สัญชาติจาก 60 วันออกไปอีกนั้น มองว่ามีระยะเวลาเพียงพอ แต่หากมีความจำเป็นก็จะมีการพิจารณาอีกครั้ง ส่วนการเปิดศูนย์ในต่างจังหวัดเพิ่มเติม คาดว่าใน 1-2 สัปดาห์ จะมีการเปิดศูนย์ในอีก 15 จังหวัดติดชายทะเล ที่สำคัญขอให้กลุ่มบุคคลหยุดการหาผลประโยชน์จากแรงงาน” พล.อ.ศิริชัย กล่าว
นายสุเมถ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวในเขตดุสิต ราชเทวี ห้วยขวาง ดินแดง พญาไท ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ วังทองหลาง และพระนคร ต้องพาแรงงานต่างด้าวไปดำเนินการที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ จตุจักร สายไหม และบางเขน ไปดำเนินการที่ศูนย์กีฬารามอินทรา บางเขน ส่วนเขตคลองสามวา คันนายาว บางกะปิ บึงกุ่ม มีนบุรี ลาดพร้าว สะพานสูงและหนอกจอก ไปดำเนินการที่ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง ขณะที่เขต ปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง บางนาและประเวศน์ ไปดำเนินการที่ศูนย์เยาวชนลุมพินี เขต ปทุมวัน ด้านเขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา ไปดำเนินการที่ศูนย์เยาวชนทวีวัฒนา และเขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฏร์บูรณะและทุ่งครุ ไปดำเนินการที่ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา บางบอน
“การดำเนินการขึ้นทะเบียนช่วงเช้าที่ผ่านมาราบรื่น โดยประเมินว่า 6 ศูนย์ ในกทม.ที่จะเปิดให้บริการไปจนถึงวันที่ 14 ส.ค.นี้ จะมีนายจ้างนำแรงงานมาขึ้นทะเบียนประมาณ 100,000 คน ขณะที่ภาพรวมของศูนย์ วัน สตอป เซอร์วิส ทั้งหมด 13 ศูนย์ ในขณะนี้มีประมาณ 86,000 คน ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้ที่ประมาณ 100,000 คน สำหรับนายจ้างที่ไม่ทราบว่าจะต้องนำแรงงานต่างด้าวไปขึ้นทะเบียนที่ศูนย์ใดสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกรมการจัดหางาน” อธิบดี กกจ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนใช้เกณฑ์เดียวกับศูนย์ที่เปิดก่อนหน้านั้นแล้ว อยู่ที่ 1,350 บาท และหลังจากที่ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร ตรวจการลงทะเบียนของศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯแล้ว ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมที่ ศูนย์ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง เขตมีนบุรีด้วย
นอกจากนี้ยังจะมีอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) มาร่วมพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาโดยจะมีการประชุมคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดอีกครั้งในสัปดาห์นี้ เพื่อหาแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจน หลังเสร็จสิ้นการขึ้นทะเบียนต่างด้าวในวันที่ 21 ก.ค.
สำหรับปัญหาที่สำคัญของการค้ามนุษย์คือการค้ามนุษย์ในเด็กที่มี 3 รูปแบบ คือ การบังคับค้าประเวณี การบังคับค้าแรงงานประมง และการบังคับค้าแรงงานอุตสาหกรรม จากข้อมูลพบผู้ที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ จะเป็นผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนใหญ่เข้ามาใช้แรงงานกลุ่มประมง ส่วนแรงงานที่ถูกบังคับเข้ามาขอทาน จะเป็นกลุ่มเด็กจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง พม่า กัมพูชา เนื่องจากเด็กที่ตกเป็นเหยื่อมักล่อลวงได้ง่าย เป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพที่ทำกันเป็นขบวนการ ปัจจุบันเด็กยังมีความเสี่ยงที่ถูกล่อลวงมาใช้แรงงานค้ามนุษย์ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะถูกล่อลวงมาค้าประเวณี ดังนั้น ในกลุ่มดังกล่าวผู้ปกครองต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการเหล่านี้
**ตรวจศูนย์จดทะเบียนแรงงาน
วานนี้ ( 15 ก.ค.) พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร ในฐานะประธารคณะอนุกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และค้ามนุษย์ (อกนร.) พร้อมนายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) เดินทางตรวจเยี่ยมการให้บริการ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเสร็จ (วัน สตอป เซอร์วิส) ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ (ไทย-ญี่ปุ่น เขตดินแดง) 1 ใน 6 ศูนย์ ในพื้นที่กรุงเทพฯ พร้อม กล่าวว่า การเปิดศูนย์ฯเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี ซึ่งเปิดให้ขึ้นทะเบียนเป็นวันแรก ไปจนถึงวันที่ 14 ส.ค. 57 โดยศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ รับผิดชอบการขึ้นทะเบียน ของ 9 เขต คือ เขตดุสิต ราชเทวี ห้วยขวาง ดินแดง พญาไท ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ วังทองหลาง และพระนคร มีนายจ้างนำแรกงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนอย่างต่อเนื่อง
“ ขอย้ำเรื่องการดำเนินการลดขั้นตอน ลดค่าใช้จ่ายและโปร่งใส รวมทั้งแนะนำให้นายจ้างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เร่งพาแรงงานต่างด้าวมาดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ทำตามจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนข้อเรียกร้องของนายจ้างที่ต้องการให้ขยายระยะเวลาการขึ้นทะเบียนและพิสูจน์สัญชาติจาก 60 วันออกไปอีกนั้น มองว่ามีระยะเวลาเพียงพอ แต่หากมีความจำเป็นก็จะมีการพิจารณาอีกครั้ง ส่วนการเปิดศูนย์ในต่างจังหวัดเพิ่มเติม คาดว่าใน 1-2 สัปดาห์ จะมีการเปิดศูนย์ในอีก 15 จังหวัดติดชายทะเล ที่สำคัญขอให้กลุ่มบุคคลหยุดการหาผลประโยชน์จากแรงงาน” พล.อ.ศิริชัย กล่าว
นายสุเมถ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวในเขตดุสิต ราชเทวี ห้วยขวาง ดินแดง พญาไท ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ วังทองหลาง และพระนคร ต้องพาแรงงานต่างด้าวไปดำเนินการที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ จตุจักร สายไหม และบางเขน ไปดำเนินการที่ศูนย์กีฬารามอินทรา บางเขน ส่วนเขตคลองสามวา คันนายาว บางกะปิ บึงกุ่ม มีนบุรี ลาดพร้าว สะพานสูงและหนอกจอก ไปดำเนินการที่ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง ขณะที่เขต ปทุมวัน บางรัก สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา พระโขนง สวนหลวง บางนาและประเวศน์ ไปดำเนินการที่ศูนย์เยาวชนลุมพินี เขต ปทุมวัน ด้านเขตธนบุรี คลองสาน จอมทอง บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด ตลิ่งชันและทวีวัฒนา ไปดำเนินการที่ศูนย์เยาวชนทวีวัฒนา และเขตภาษีเจริญ บางแค หนองแขม บางขุนเทียน บางบอน ราษฏร์บูรณะและทุ่งครุ ไปดำเนินการที่ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา บางบอน
“การดำเนินการขึ้นทะเบียนช่วงเช้าที่ผ่านมาราบรื่น โดยประเมินว่า 6 ศูนย์ ในกทม.ที่จะเปิดให้บริการไปจนถึงวันที่ 14 ส.ค.นี้ จะมีนายจ้างนำแรงงานมาขึ้นทะเบียนประมาณ 100,000 คน ขณะที่ภาพรวมของศูนย์ วัน สตอป เซอร์วิส ทั้งหมด 13 ศูนย์ ในขณะนี้มีประมาณ 86,000 คน ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้ที่ประมาณ 100,000 คน สำหรับนายจ้างที่ไม่ทราบว่าจะต้องนำแรงงานต่างด้าวไปขึ้นทะเบียนที่ศูนย์ใดสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกรมการจัดหางาน” อธิบดี กกจ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนใช้เกณฑ์เดียวกับศูนย์ที่เปิดก่อนหน้านั้นแล้ว อยู่ที่ 1,350 บาท และหลังจากที่ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร ตรวจการลงทะเบียนของศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯแล้ว ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมที่ ศูนย์ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง เขตมีนบุรีด้วย