กกต.นัดถกแก้กฎหมายเลือกตั้งวันนี้ ก่อนสรุปเสนอ คสช. พิจารณา ยันยึดแนวทางเยอรมนี ปฏิรูประบบเลือกตั้งเป็นแค่แนวคิด รอ "5 เสือกกต."เคาะก่อน ระบุพร้อมปฏิบัติตามหากหัวหน้าคสช. ชงสรรหาผู้บริหารท้องถิ่นแทนเลือกตั้ง
วานนี้ (6ก.ค.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกกต. และการจัดการเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสรุปแนวทางให้กับคณะทำงานด้านปฏิรูปของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้พิจารณาว่า ช่วงเช้าวันนี้ (7ก.ค.) ทางผู้บริหารของสำนักงานกกต. และผู้ทรงคุณวุฒิ จะมีการประชุมเพื่อทบทวน ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดของแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมกกต.ได้พิจารณาในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ซึ่งเบื้องต้นตนได้รับรายงานจากคณะทำงานด้านการยกร่างฯว่า ขณะนี้โจทย์จำนวน 6 ข้อ ที่ทางคสช.ให้การบ้านกกต.กลับมาพิจารณา อาทิ โครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ โครงสร้างฝ่ายบริหาร การปฏิรูปพรรคการเมือง การปฏิรูปการเลือกตั้ง และการกระจายอำนาจ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
ทั้งนี้ หากที่ประชุมกกต.พิจารณาแล้วได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ก็จะสามารถเสนอคสช.ได้ในวันดังกล่าวทันที แต่หากไม่ทัน ก็น่าจะเสนอต่อคสช.ได้ภายในวันอังคารที่ 8 ก.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นแนวทางดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอและความเห็นในส่วนของกกต.เท่านั้น ซึ่งทางคณะทำงานด้านการปฏิรูปโดย พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม อาจต้องมีการนำข้อเสนอของกกต.ไปรวมกับข้อเสนอและแนวทางการแก้ไขปัญหาจากองค์กรอื่นๆ ด้วย ก่อนเสนอสภาปฏิรูปได้พิจารณาต่อไป
นายภุชงค์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่สำนักงานฯ เตรียมเสนอกกต. ยึดแนวทางเลือกตั้งของประเทศเยอรมนีมาปฏิรูประบบเลือกตั้งไทย ว่า การพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งนั้น ทางกกต.มีการศึกษาข้อมูล รายละเอียด รวมทั้งแนวทางเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประเทศต่างๆไว้ไม่เฉพาะแค่ประเทศเยอรมนีเท่านั้น แต่จากการไปศึกษาดูงานที่ประเทศเยอรมนี กกต.เห็นว่า รูปแบบการเลือกตั้งของประเทศดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบพรรคการเมือง การเข้าสู่ตำแหน่งของ ส.ส.และส.ว. และอื่นๆ เป็นระบบที่ได้มาตรฐาน และนานาชาติให้การยอมรับ แต่เบื้องต้นก็ยังเป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้น ทั้งนี้ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกกต. ว่าจะเห็นเป็นอย่างไร
ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และหัวหน้าคสช. ออกมาระบุว่า กำลังพิจารณาแนวทางวิธีการสรรหาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีที่หมดวาระนั้น นายภุชงค์ กล่าวว่า กรณีนี้คงต้องขอรับนโยบายจากทางหัวหน้าคสช.ก่อน ซึ่งช่วงเวลานี้สามารถทำได้ทั้งสองประเภท คือ การสรรหาและการเลือกตั้ง หากสถานการณ์เหมาะสม จะใช้วิธีการสรรหา มองว่าน่าจะเป็นไปได้ กกต.ไม่ได้ขัดแย้ง ถ้าคสช.มีนโยบายอย่างไร กกต.ก็พร้อมปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ เชื่อว่าจะสามารถได้คนดี มีความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ แต่ก็คงต้องรอนโยบายจากคสช.ก่อนว่าท้ายที่สุดจะพิจารณาอย่างไร.
วานนี้ (6ก.ค.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกกต. และการจัดการเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสรุปแนวทางให้กับคณะทำงานด้านปฏิรูปของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้พิจารณาว่า ช่วงเช้าวันนี้ (7ก.ค.) ทางผู้บริหารของสำนักงานกกต. และผู้ทรงคุณวุฒิ จะมีการประชุมเพื่อทบทวน ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดของแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมกกต.ได้พิจารณาในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ซึ่งเบื้องต้นตนได้รับรายงานจากคณะทำงานด้านการยกร่างฯว่า ขณะนี้โจทย์จำนวน 6 ข้อ ที่ทางคสช.ให้การบ้านกกต.กลับมาพิจารณา อาทิ โครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ โครงสร้างฝ่ายบริหาร การปฏิรูปพรรคการเมือง การปฏิรูปการเลือกตั้ง และการกระจายอำนาจ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
ทั้งนี้ หากที่ประชุมกกต.พิจารณาแล้วได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ก็จะสามารถเสนอคสช.ได้ในวันดังกล่าวทันที แต่หากไม่ทัน ก็น่าจะเสนอต่อคสช.ได้ภายในวันอังคารที่ 8 ก.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นแนวทางดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอและความเห็นในส่วนของกกต.เท่านั้น ซึ่งทางคณะทำงานด้านการปฏิรูปโดย พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม อาจต้องมีการนำข้อเสนอของกกต.ไปรวมกับข้อเสนอและแนวทางการแก้ไขปัญหาจากองค์กรอื่นๆ ด้วย ก่อนเสนอสภาปฏิรูปได้พิจารณาต่อไป
นายภุชงค์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่สำนักงานฯ เตรียมเสนอกกต. ยึดแนวทางเลือกตั้งของประเทศเยอรมนีมาปฏิรูประบบเลือกตั้งไทย ว่า การพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งนั้น ทางกกต.มีการศึกษาข้อมูล รายละเอียด รวมทั้งแนวทางเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประเทศต่างๆไว้ไม่เฉพาะแค่ประเทศเยอรมนีเท่านั้น แต่จากการไปศึกษาดูงานที่ประเทศเยอรมนี กกต.เห็นว่า รูปแบบการเลือกตั้งของประเทศดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบพรรคการเมือง การเข้าสู่ตำแหน่งของ ส.ส.และส.ว. และอื่นๆ เป็นระบบที่ได้มาตรฐาน และนานาชาติให้การยอมรับ แต่เบื้องต้นก็ยังเป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้น ทั้งนี้ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกกต. ว่าจะเห็นเป็นอย่างไร
ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และหัวหน้าคสช. ออกมาระบุว่า กำลังพิจารณาแนวทางวิธีการสรรหาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีที่หมดวาระนั้น นายภุชงค์ กล่าวว่า กรณีนี้คงต้องขอรับนโยบายจากทางหัวหน้าคสช.ก่อน ซึ่งช่วงเวลานี้สามารถทำได้ทั้งสองประเภท คือ การสรรหาและการเลือกตั้ง หากสถานการณ์เหมาะสม จะใช้วิธีการสรรหา มองว่าน่าจะเป็นไปได้ กกต.ไม่ได้ขัดแย้ง ถ้าคสช.มีนโยบายอย่างไร กกต.ก็พร้อมปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ เชื่อว่าจะสามารถได้คนดี มีความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ แต่ก็คงต้องรอนโยบายจากคสช.ก่อนว่าท้ายที่สุดจะพิจารณาอย่างไร.