ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม”สรุปผลศึกษายกเลิกมาตรการรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี แบบเหมาเข่ง ให้จัดกลุ่มช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข คือกลุ่มฟรี และกลุ่มได้ส่วนลดพิเศษ พร้อมดึงรถร่วมฯขสมก.เข้าระบบ เพื่อความเป็นธรรมและเส้นทางเดินรถครอบคลุมมากขึ้น ระบุระหว่างนี้ต้องทำตามมาตรการเดิมไปก่อน เหตุต้องรอให้มีระบบ E-ticketและ ตั๋วร่วม ก่อน
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านการขนส่ง) เปิดเผยว่า การศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินงานการสนับสนุนมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชน รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี โดยวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ควรยกเลิกมาตรการลดค่าครองชีพเดิม ทั้งรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรี และกำหนดเป็นมาตรการใหม่ให้ฟรีเฉพาะกลุ่มแบบมีเงื่อนไข ได้แก่ กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก ทหารผ่านศึก และกลุ่มให้ส่วนลดพิเศษ 50% ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ผู้มีรายได้น้อย (โดยดูจากเส้นความยากจนและให้ลงทะเบียน) ผู้ว่างงาน โดยให้แต่ละกลุ่มถือบัตรเพื่อยืนยันการใช้บริการ ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่จัดรถฟรีบริการโดยสามารถขึ้นฟรีได้ทุกกลุ่ม ซึ่งในระหว่างนี้ รัฐบาลจะต้องดำเนินมาตรการเดิมไปก่อน จนกว่าระบบการให้บริการด้านตั๋ว E-ticket หรือตั๋วร่วมจะพร้อม
ทั้งนี้ในส่วนของมาตรการรถเมล์ฟรี รถไฟฟรีในปัจจุบันพบว่ามีปัญหาอุปสรรคทั้งเรื่องความไม่แน่นของโครงการที่ต้องขึ้นนโยบายของรัฐบาล และส่งผลให้การจัดสรรงบอุดหนุนให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ล่าช้า ส่งผลให้หน่วยงานขาดสภาพคล่อง ทำให้ขสมก.ต้องชำระหนี้ค่าน้ำมันและค่าเหมาซ่อมล่าช้า ต้องเสียค่าปรับ 7-8% ทำให้คุณภาพในการให้บริการรถเมล์ฟรีไม่เป็นไปตามคาดหวัง โดยรัฐบาลกำหนดให้ขสมก.จัดรถฟรี 800 คัน ครอบคลุมเพียง 85 ส้นทาง จากเส้นทางในกรุงเทพและปริมณฑลทั้งหมด 221 เส้นทาง (รถขสมก. 116 เส้นทาง รถร่วมเอกชน 105 เส้นทาง ) มีการเดินรถเมล์ทับซ้อนเส้นทางเอกชนทำให้รายได้ของเอกชนลดลง โดยตลอด 12 ระยะที่ดำเนินการ ขสมก.ได้รับเงินชดเชยรวม 13,980.84 ล้านบาท ส่วนรถไฟฟรีจัดบริการครอบคลุมทุกเส้นทาง 172 ขบวนต่อวัน ประกอบด้วยขบวนรถไฟเชิงสังคม 164 ขบวน และขบวนรถเชิงพาณิชย์ (รถเร็ว) รถไฟฟรีชั้น3 เท่านั้นจำนวน 8 ขบวน ดำเนินการ 12 ระยะ ร.ฟ.ท.ได้รับเงินชดเชยรวม 4,950.22 ล้านบาท
นายธีระพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถรับมอบผลการศึกษาได้ เนื่องจากรายละเอียดยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะนำเสนอและอธิบายให้ฝ่ายนโยบายตัดสินใจได้ เช่น ตัวเลข วงเงินอุดหนุนในอนาคตจะต้องมีการประเมินให้ชัดเจน ไม่สามารถยึดตัวเลขผู้ใช้บริการในปัจจุบันได้ เช่น รถเมล์ฟรีมี 800 คัน ผู้ใช้บริการ 380,000 คนไม่ใช่จำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ฟรีและลดหย่อนทั้งหมด เนื่องจากมีผู้ไม่ได้รับสิทธิ์ เช่นมีรายได้สูง ร่วมใช้บริการด้วย จึงใช้มาเป็นจำนวนผู้โดยสารที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตไม่ได้ และทำให้การประมาณการเงินอุดหนุนคลาดเคลื่อนไปด้วย โดยจะต้องกำหนดผู้ได้รับสิทธิ์ยกเว้นให้ครบทุกกลุ่มตามที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ประกาศไว้ ซึ่งการศึกษาไม่ได้รวมพระภิกษุไว้ รวมถึงการดึงรถร่วมเอกชนเข้าร่วมโครงการด้วย
เพื่อให้เส้นทางเดินรถครอบคลุมทุกพื้นที่และเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ จึงให้ไปทำเพิ่มเติมและเสนอกลับมาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากครบกำหนดเวลาศึกษาแล้ว
นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านการขนส่ง) เปิดเผยว่า การศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินงานการสนับสนุนมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชน รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี โดยวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ควรยกเลิกมาตรการลดค่าครองชีพเดิม ทั้งรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรี และกำหนดเป็นมาตรการใหม่ให้ฟรีเฉพาะกลุ่มแบบมีเงื่อนไข ได้แก่ กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก ทหารผ่านศึก และกลุ่มให้ส่วนลดพิเศษ 50% ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ผู้มีรายได้น้อย (โดยดูจากเส้นความยากจนและให้ลงทะเบียน) ผู้ว่างงาน โดยให้แต่ละกลุ่มถือบัตรเพื่อยืนยันการใช้บริการ ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่จัดรถฟรีบริการโดยสามารถขึ้นฟรีได้ทุกกลุ่ม ซึ่งในระหว่างนี้ รัฐบาลจะต้องดำเนินมาตรการเดิมไปก่อน จนกว่าระบบการให้บริการด้านตั๋ว E-ticket หรือตั๋วร่วมจะพร้อม
ทั้งนี้ในส่วนของมาตรการรถเมล์ฟรี รถไฟฟรีในปัจจุบันพบว่ามีปัญหาอุปสรรคทั้งเรื่องความไม่แน่นของโครงการที่ต้องขึ้นนโยบายของรัฐบาล และส่งผลให้การจัดสรรงบอุดหนุนให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ล่าช้า ส่งผลให้หน่วยงานขาดสภาพคล่อง ทำให้ขสมก.ต้องชำระหนี้ค่าน้ำมันและค่าเหมาซ่อมล่าช้า ต้องเสียค่าปรับ 7-8% ทำให้คุณภาพในการให้บริการรถเมล์ฟรีไม่เป็นไปตามคาดหวัง โดยรัฐบาลกำหนดให้ขสมก.จัดรถฟรี 800 คัน ครอบคลุมเพียง 85 ส้นทาง จากเส้นทางในกรุงเทพและปริมณฑลทั้งหมด 221 เส้นทาง (รถขสมก. 116 เส้นทาง รถร่วมเอกชน 105 เส้นทาง ) มีการเดินรถเมล์ทับซ้อนเส้นทางเอกชนทำให้รายได้ของเอกชนลดลง โดยตลอด 12 ระยะที่ดำเนินการ ขสมก.ได้รับเงินชดเชยรวม 13,980.84 ล้านบาท ส่วนรถไฟฟรีจัดบริการครอบคลุมทุกเส้นทาง 172 ขบวนต่อวัน ประกอบด้วยขบวนรถไฟเชิงสังคม 164 ขบวน และขบวนรถเชิงพาณิชย์ (รถเร็ว) รถไฟฟรีชั้น3 เท่านั้นจำนวน 8 ขบวน ดำเนินการ 12 ระยะ ร.ฟ.ท.ได้รับเงินชดเชยรวม 4,950.22 ล้านบาท
นายธีระพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถรับมอบผลการศึกษาได้ เนื่องจากรายละเอียดยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะนำเสนอและอธิบายให้ฝ่ายนโยบายตัดสินใจได้ เช่น ตัวเลข วงเงินอุดหนุนในอนาคตจะต้องมีการประเมินให้ชัดเจน ไม่สามารถยึดตัวเลขผู้ใช้บริการในปัจจุบันได้ เช่น รถเมล์ฟรีมี 800 คัน ผู้ใช้บริการ 380,000 คนไม่ใช่จำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ฟรีและลดหย่อนทั้งหมด เนื่องจากมีผู้ไม่ได้รับสิทธิ์ เช่นมีรายได้สูง ร่วมใช้บริการด้วย จึงใช้มาเป็นจำนวนผู้โดยสารที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตไม่ได้ และทำให้การประมาณการเงินอุดหนุนคลาดเคลื่อนไปด้วย โดยจะต้องกำหนดผู้ได้รับสิทธิ์ยกเว้นให้ครบทุกกลุ่มตามที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ประกาศไว้ ซึ่งการศึกษาไม่ได้รวมพระภิกษุไว้ รวมถึงการดึงรถร่วมเอกชนเข้าร่วมโครงการด้วย
เพื่อให้เส้นทางเดินรถครอบคลุมทุกพื้นที่และเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ จึงให้ไปทำเพิ่มเติมและเสนอกลับมาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากครบกำหนดเวลาศึกษาแล้ว