รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) เห็นต่อ ร่าง ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1800 MHz หลังจากที่เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย ทั้งนักวิชาการ องค์กรอิสระ ผู้ประกอบการ รวมไปถึงองค์กรผู้บริโภค ถึงความไม่ชัดเจนของเงื่อนไข และวิธีการประมูลคลื่น 4G ย่าน 1800 MHz ดังกล่าว ตลอดจนการออกมาคัดค้าน และตั้งคำถามถึงความไม่ชอบมาพากลของการกำหนดเงื่อนไขในร่างประกาศ ที่ก่อให้เกิดการผูกขาด และยังอาจขัดต่อสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ภาครัฐสูญเสียประโยชน์อย่างมหาศาล รวมไปถึงอาจจะถูกฟ้องร้อง เพื่อล้มประมูลไปในที่สุด
โดย ผู้แทนของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT)มีความกังวลอย่างยิ่งว่า เงื่อนไขของร่างประกาศฉบับนี้ ขัดกับข้อสัญญาสัมปทานที่เอกชนทำไว้กับ CAT กำหนดห้ามไม่ให้เอกชนประกอบกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการที่ได้มีการทำสัญญาไว้ โดยเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ หากเป็นเอกชนคู่สัญญา หรือแม้เป็นบริษัทในเครือที่มีความเกี่ยวโยงกัน แต่ก็ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเดียวกัน อีกทั้งคลื่นความถี่ที่เปิดประมูล แม้จะกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการทำ 4G แต่ก็เป็นการให้บริการด้านโทรคมนาคมที่มีทั้งฐานการให้บริการและผู้ใช้บริการตามสัญญาสัมปทานเกี่ยวเนื่องอยู่ด้วย ซึ่งทำให้ CAT ในฐานะรัฐวิสาหกิจคู่สัญญาเสียประโยชน์ ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาส มีช่องว่างให้เอกชนที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานย้ายฐานการให้บริการและผู้ใช้บริการออกจากสัญญาสัมปทานไปยังใบอนุญาตทั้งที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาอีกด้วย โดยในประเด็นนี้ยังไม่มีคำชี้แจงจาก กสทช. แต่อย่างใด
"ตอนนี้ DTAC ติดสัมปทานกับ CAT ในย่าน 1800MHz อยู่เป็นปริมาณ 50MHz นอกจากนี้ทาง CATยังยืนยันว่าต้องการเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ แต่ติดปัญหาเรื่องการขออนุมัติงบในช่วงการเมืองไม่ปกติ นอกจากนี้เรื่องที่น่าห่วงในเวลานี้ คือ กรณีเดียวกันนี้อาจจะเกิดขึ้น ราวกับหนังม้วนเดิมกับการประมูลย่าน 900 MHz ที่ AIS ยังคงอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ TOT ปริมาณคลื่นความถี่ 17.5 MHz ซึ่งเป็นช่วงคลื่นความถี่ที่ กสทช. วางแผนจะนำมาประมูลล่วงหน้า โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกัน” แหล่งจาก CAT ระบุ
ในขณะเดียวกัน จากเสียงสะท้อนของบรรดาองค์กรไม่แสวงหากำไรกลุ่มผู้บริโภค (NGOs)ก็ออกมาต่อต้านเงื่อนไขของการประมูลในครั้งนี้ในหลายประเด็น โดยเฉพาะเงื่อนไขดังกล่าวมีช่องว่างที่ก่อให้เกิดการผูกขาด และมีการแข่งขันอย่างไม่เสรีเป็นธรรม รวมไปถึงการไม่ชัดเจนในการกำหนดคุณสมบัติผู้ประมูล เพื่อป้องกันการผูกขาดจาก กสทช.ด้วย เนื่องจาก กสทช.ได้เปิดช่องให้ผู้ที่ถือครองคลื่นเดิมอยู่แล้วสามารถเข้ามาสู่การประมูลได้โดยไม่มีการกำหนดเพดานการถือครองคลื่นความถี่ (spectrum caps) แต่อย่างใด
"ผลของการประมูลตามเงื่อนไขนี้ จะเปลี่ยนตลาดโทรคมนาคมไทยให้กลายเป็นตลาดผูกขาด ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงอยากเรียกร้องให้ประชาชนคนไทยจับตาดูท่าทีของ กสทช.ในเรื่องนี้ รวมไปถึงความไม่ถูกต้องของร่างจัดการประมูล 4G ในครั้งนี้ เพราะหากยังเดินหน้าจัดการประมูลต่อไป ผู้บริโภคจะสูญเสียประโยชน์อย่างร้ายแรง" ผู้แทน NGOsรายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกต
โดย ผู้แทนของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT)มีความกังวลอย่างยิ่งว่า เงื่อนไขของร่างประกาศฉบับนี้ ขัดกับข้อสัญญาสัมปทานที่เอกชนทำไว้กับ CAT กำหนดห้ามไม่ให้เอกชนประกอบกิจการที่เป็นการแข่งขันกับกิจการที่ได้มีการทำสัญญาไว้ โดยเอกชนผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ หากเป็นเอกชนคู่สัญญา หรือแม้เป็นบริษัทในเครือที่มีความเกี่ยวโยงกัน แต่ก็ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเดียวกัน อีกทั้งคลื่นความถี่ที่เปิดประมูล แม้จะกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการทำ 4G แต่ก็เป็นการให้บริการด้านโทรคมนาคมที่มีทั้งฐานการให้บริการและผู้ใช้บริการตามสัญญาสัมปทานเกี่ยวเนื่องอยู่ด้วย ซึ่งทำให้ CAT ในฐานะรัฐวิสาหกิจคู่สัญญาเสียประโยชน์ ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาส มีช่องว่างให้เอกชนที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานย้ายฐานการให้บริการและผู้ใช้บริการออกจากสัญญาสัมปทานไปยังใบอนุญาตทั้งที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาอีกด้วย โดยในประเด็นนี้ยังไม่มีคำชี้แจงจาก กสทช. แต่อย่างใด
"ตอนนี้ DTAC ติดสัมปทานกับ CAT ในย่าน 1800MHz อยู่เป็นปริมาณ 50MHz นอกจากนี้ทาง CATยังยืนยันว่าต้องการเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้ แต่ติดปัญหาเรื่องการขออนุมัติงบในช่วงการเมืองไม่ปกติ นอกจากนี้เรื่องที่น่าห่วงในเวลานี้ คือ กรณีเดียวกันนี้อาจจะเกิดขึ้น ราวกับหนังม้วนเดิมกับการประมูลย่าน 900 MHz ที่ AIS ยังคงอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ TOT ปริมาณคลื่นความถี่ 17.5 MHz ซึ่งเป็นช่วงคลื่นความถี่ที่ กสทช. วางแผนจะนำมาประมูลล่วงหน้า โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกัน” แหล่งจาก CAT ระบุ
ในขณะเดียวกัน จากเสียงสะท้อนของบรรดาองค์กรไม่แสวงหากำไรกลุ่มผู้บริโภค (NGOs)ก็ออกมาต่อต้านเงื่อนไขของการประมูลในครั้งนี้ในหลายประเด็น โดยเฉพาะเงื่อนไขดังกล่าวมีช่องว่างที่ก่อให้เกิดการผูกขาด และมีการแข่งขันอย่างไม่เสรีเป็นธรรม รวมไปถึงการไม่ชัดเจนในการกำหนดคุณสมบัติผู้ประมูล เพื่อป้องกันการผูกขาดจาก กสทช.ด้วย เนื่องจาก กสทช.ได้เปิดช่องให้ผู้ที่ถือครองคลื่นเดิมอยู่แล้วสามารถเข้ามาสู่การประมูลได้โดยไม่มีการกำหนดเพดานการถือครองคลื่นความถี่ (spectrum caps) แต่อย่างใด
"ผลของการประมูลตามเงื่อนไขนี้ จะเปลี่ยนตลาดโทรคมนาคมไทยให้กลายเป็นตลาดผูกขาด ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงอยากเรียกร้องให้ประชาชนคนไทยจับตาดูท่าทีของ กสทช.ในเรื่องนี้ รวมไปถึงความไม่ถูกต้องของร่างจัดการประมูล 4G ในครั้งนี้ เพราะหากยังเดินหน้าจัดการประมูลต่อไป ผู้บริโภคจะสูญเสียประโยชน์อย่างร้ายแรง" ผู้แทน NGOsรายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกต