พัทลุง-อธิบดีกรมศิลปากรและสำนักศิลปากรที่ 14 ลงพิสูจน์ทองคำกลางสวนปาล์มเมืองพัทลุง พร้อมเตรียมเข้าตรวจสอบแหล่งที่มา คาดเป็นทองที่ขนมาปิดยอดพระธาตุเมืองนครศรีฯ สมัย "พระเอกาทศรถ" เจ้าของสวนโร่แจ้งความเอาผิดชาวบ้านฐานบุกรุก ฝ่ายชาวบ้านยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ยกพลนำจอบแห่ขุดไม่ขาดสาย บางรายนำสุนัขมาร่วมขุด พบเพิ่มอีกหลายชิ้น
วานนี้ (28 พ.ค.) นายสามารถ หนูอุ่น ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ได้เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์มในพื้นที่ ม.7 ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน เนื่องจากชาวบ้านแตกตื่นพากันไปขุดหาทองคำแผ่นกันจำนวนมาก หลังจากนายวิ ทับแสง เจ้าของที่ดินได้นำรถแบ็กโฮเข้ามาขุดร่องยกคันดินเพื่อเตรียมปลูกปาล์มแล้วพบทองคำแผ่นที่ติดขึ้นมาจำนวนมาก และได้นำไปขายได้เงินจำนวนหลายล้านบาท
นอกจากนี้ ยังพบเครื่องประดับและชิ้นส่วนของภาชนะอีก ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าสิ่งของทั้งหมดน่าจะอยู่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งลักษณะทองคำแผ่นเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดประมาณ 5x5 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณแผ่นละ 2 บาท ขุดพบในดินลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยช่วง 2 วันที่ผ่านมาขุดพบแล้วประมาณ 100 แผ่น จึงเกรงว่าหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้อาจเกิดปัญหาขัดแย้งกันเองหรือเกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างชาวบ้าน เพราะไม่ใช่มีเพียงชาวบ้านใน อ.เขาชัยสนเท่านั้น แต่ยังมีชาวบ้านจากอำเภอใกล้เคียงด้วย จึงอยากให้ตำรวจเข้ามาดูแลรักษาความปลอดภัย และให้ผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบทองคำแผ่นและสิ่งของอื่นๆ ให้ชัดเจน
ต่อมานายอาณัติ บำรุงวงค์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 14 จ.นครศรีธรรมราช พร้อมนายช่างศิลป์ได้เดินทางมาตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์มดังกล่าว พร้อมกับขอร้องให้ชาวบ้านที่กำลังขุดทองอยู่ให้หยุดขุดทอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของทองคำโบราณที่มีการขุดพบเพื่อสืบค้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของทองคำดังกล่าว
นายอาณัติกล่าวว่า คาดว่าทองคำที่พบน่าจะเป็นแผ่นทองคำของชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และนำทองคำดังกล่าวเพื่อไปห่อยอดพระธาตุเมืองนครศรีฯ ในสมัยก่อน ซึ่งแผ่นทองคำที่พบมีลักษณะตัวเลขเช่นเดียวกับแผ่นทองคำยอดพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อว่าเป็นแผ่นทองคำที่จะนำไปซ่อมบูรณะยอดพระธาตุครั้งใหญ่ในสมัยพระเอกาทศรถ นับว่าการพบแผ่นทองคำในครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าจังหวัดพัทลุง มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเช่นเดียวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
ส่วนบรรยากาศที่สวนปาล์มยังคงมีประชาชนและชาวบ้านทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด ได้นำจอบ เสียม บางรายนำสุนัขมาร่วมขุดค้นหาทองกันตั้งแต่เช้า และยังมีการขุดพบทองคำโดยเป็นทองคำแผ่น และตุ้มหูทองคำอีกหลายชิ้น ขณะที่นายวิ ทับแสง เจ้าของที่ดิน พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอ และตำรวจ ได้เดินทางมาเพื่อกันไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาขุด แต่ไม่สามารถห้ามปรามได้และได้มีชาวบ้านเดินทางมาขุดทองกันมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
เจ้าร้านทองคำรายหนึ่งใน จ.พัทลุง ระบุว่า ทองคำดังกล่าวเป็นทองคำบริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และเป็นทองคำที่คาดว่าผู้เลื่อมใสในศาสนานำมาจากแหลมมลายู เพื่อเอาไปห่มและทำปลียอดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้น แต่ด้วยอุปสรรคการเดินทางจึงทิ้งทองคำดังกล่าวไว้เป็นจำนวนมาก
ขณะที่นายวิ ทับแสง เจ้าของพื้นที่สวนปาล์มที่พบทองคำ และวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง ได้เดินทางเข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สภ.เขาชัยสน เพื่อเอาผิดต่อชาวบ้านที่เข้าไปขุดทองคำแล้ว
ต่อมาเวลา 17.00 น. นายอเนก สีหามาตย์ อธิบกรมศิลปากร และเจ้าหน้าที่จากกรมศิลป์ ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบทองคำดังกล่าวด้วยตนเอง
นายเอนก กล่าวว่า ทองคำที่ค้นพบจะต้องตรวจสอบว่าเป็นทองคำในยุคใด ซึ่งตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 ในมาตรา 24 ระบุไว้ว่าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ซ่อนหรือฝังหรือทอดทิ้งไว้ในราชอาณาจักรหรือในบริเวณเขตเศรษฐกิจจำเพาะโดยพฤติการณ์ ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ ไม่ว่าที่ที่ซ่อนหรือฝังหรือทอดทิ้งจะอยู่ในกรรมสิทธิ์หรือความครอบครองของบุคคลใดหรือไม่ ให้ตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ผู้เก็บได้ต้องส่งมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วมีสิทธิจะได้รับรางวัลไม่เกินหนึ่งในสามแห่งค่าของทรัพย์สินนั้น
"ผมไม่ห่วงเรื่องที่ชาวบ้านยังพากันไปขุดหาทองคำ แต่ห่วงเรื่องของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จารึกบนแผ่นทอง หรือลักษณะลวดลายบนเครื่องประดับที่จะบ่งบอกได้ว่าเป็นศิลปะในยุคใดและเกี่ยวข้องอะไรกับบริเวณนั้น ซึ่งในส่วนที่ชาวบ้านได้ขุดแล้วนำไปขายอาจจะตามได้ยาก เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ตั้งแต่ต้น เจ้าหน้าที่จึงได้ร้องขอให้ชาวบ้านหยุดขุดทอง แต่ก็ยังไม่เป็นผล ผมจึงขอแจ้งเตือนต่อชาวบ้านว่า หากขุดพบแล้วนำมามอบให้แก่กรมศิลปากร ก็จะมีการประเมินราคามอบให้ 1 ใน 3 แก่ผู้ค้นพบ เช่น แผ่นทองราคา 30,000 บาทก็จะได้รับ 10,000 บาท และถือว่าไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย รวมทั้งโบราณวัตถุเหล่านี้ ยังอยู่ให้ คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาเป็นสมบัติของชาติต่อไป" นายเอนกกล่าว
วานนี้ (28 พ.ค.) นายสามารถ หนูอุ่น ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ได้เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์มในพื้นที่ ม.7 ต.เขาชัยสน อ.เขาชัยสน เนื่องจากชาวบ้านแตกตื่นพากันไปขุดหาทองคำแผ่นกันจำนวนมาก หลังจากนายวิ ทับแสง เจ้าของที่ดินได้นำรถแบ็กโฮเข้ามาขุดร่องยกคันดินเพื่อเตรียมปลูกปาล์มแล้วพบทองคำแผ่นที่ติดขึ้นมาจำนวนมาก และได้นำไปขายได้เงินจำนวนหลายล้านบาท
นอกจากนี้ ยังพบเครื่องประดับและชิ้นส่วนของภาชนะอีก ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าสิ่งของทั้งหมดน่าจะอยู่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งลักษณะทองคำแผ่นเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดประมาณ 5x5 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณแผ่นละ 2 บาท ขุดพบในดินลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยช่วง 2 วันที่ผ่านมาขุดพบแล้วประมาณ 100 แผ่น จึงเกรงว่าหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้อาจเกิดปัญหาขัดแย้งกันเองหรือเกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างชาวบ้าน เพราะไม่ใช่มีเพียงชาวบ้านใน อ.เขาชัยสนเท่านั้น แต่ยังมีชาวบ้านจากอำเภอใกล้เคียงด้วย จึงอยากให้ตำรวจเข้ามาดูแลรักษาความปลอดภัย และให้ผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบทองคำแผ่นและสิ่งของอื่นๆ ให้ชัดเจน
ต่อมานายอาณัติ บำรุงวงค์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 14 จ.นครศรีธรรมราช พร้อมนายช่างศิลป์ได้เดินทางมาตรวจสอบพื้นที่สวนปาล์มดังกล่าว พร้อมกับขอร้องให้ชาวบ้านที่กำลังขุดทองอยู่ให้หยุดขุดทอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของทองคำโบราณที่มีการขุดพบเพื่อสืบค้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของทองคำดังกล่าว
นายอาณัติกล่าวว่า คาดว่าทองคำที่พบน่าจะเป็นแผ่นทองคำของชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และนำทองคำดังกล่าวเพื่อไปห่อยอดพระธาตุเมืองนครศรีฯ ในสมัยก่อน ซึ่งแผ่นทองคำที่พบมีลักษณะตัวเลขเช่นเดียวกับแผ่นทองคำยอดพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อว่าเป็นแผ่นทองคำที่จะนำไปซ่อมบูรณะยอดพระธาตุครั้งใหญ่ในสมัยพระเอกาทศรถ นับว่าการพบแผ่นทองคำในครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าจังหวัดพัทลุง มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเช่นเดียวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
ส่วนบรรยากาศที่สวนปาล์มยังคงมีประชาชนและชาวบ้านทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด ได้นำจอบ เสียม บางรายนำสุนัขมาร่วมขุดค้นหาทองกันตั้งแต่เช้า และยังมีการขุดพบทองคำโดยเป็นทองคำแผ่น และตุ้มหูทองคำอีกหลายชิ้น ขณะที่นายวิ ทับแสง เจ้าของที่ดิน พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอ และตำรวจ ได้เดินทางมาเพื่อกันไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาขุด แต่ไม่สามารถห้ามปรามได้และได้มีชาวบ้านเดินทางมาขุดทองกันมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
เจ้าร้านทองคำรายหนึ่งใน จ.พัทลุง ระบุว่า ทองคำดังกล่าวเป็นทองคำบริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และเป็นทองคำที่คาดว่าผู้เลื่อมใสในศาสนานำมาจากแหลมมลายู เพื่อเอาไปห่มและทำปลียอดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้น แต่ด้วยอุปสรรคการเดินทางจึงทิ้งทองคำดังกล่าวไว้เป็นจำนวนมาก
ขณะที่นายวิ ทับแสง เจ้าของพื้นที่สวนปาล์มที่พบทองคำ และวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง ได้เดินทางเข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สภ.เขาชัยสน เพื่อเอาผิดต่อชาวบ้านที่เข้าไปขุดทองคำแล้ว
ต่อมาเวลา 17.00 น. นายอเนก สีหามาตย์ อธิบกรมศิลปากร และเจ้าหน้าที่จากกรมศิลป์ ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบทองคำดังกล่าวด้วยตนเอง
นายเอนก กล่าวว่า ทองคำที่ค้นพบจะต้องตรวจสอบว่าเป็นทองคำในยุคใด ซึ่งตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 ในมาตรา 24 ระบุไว้ว่าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ซ่อนหรือฝังหรือทอดทิ้งไว้ในราชอาณาจักรหรือในบริเวณเขตเศรษฐกิจจำเพาะโดยพฤติการณ์ ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ ไม่ว่าที่ที่ซ่อนหรือฝังหรือทอดทิ้งจะอยู่ในกรรมสิทธิ์หรือความครอบครองของบุคคลใดหรือไม่ ให้ตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ผู้เก็บได้ต้องส่งมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วมีสิทธิจะได้รับรางวัลไม่เกินหนึ่งในสามแห่งค่าของทรัพย์สินนั้น
"ผมไม่ห่วงเรื่องที่ชาวบ้านยังพากันไปขุดหาทองคำ แต่ห่วงเรื่องของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จารึกบนแผ่นทอง หรือลักษณะลวดลายบนเครื่องประดับที่จะบ่งบอกได้ว่าเป็นศิลปะในยุคใดและเกี่ยวข้องอะไรกับบริเวณนั้น ซึ่งในส่วนที่ชาวบ้านได้ขุดแล้วนำไปขายอาจจะตามได้ยาก เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ตั้งแต่ต้น เจ้าหน้าที่จึงได้ร้องขอให้ชาวบ้านหยุดขุดทอง แต่ก็ยังไม่เป็นผล ผมจึงขอแจ้งเตือนต่อชาวบ้านว่า หากขุดพบแล้วนำมามอบให้แก่กรมศิลปากร ก็จะมีการประเมินราคามอบให้ 1 ใน 3 แก่ผู้ค้นพบ เช่น แผ่นทองราคา 30,000 บาทก็จะได้รับ 10,000 บาท และถือว่าไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย รวมทั้งโบราณวัตถุเหล่านี้ ยังอยู่ให้ คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาเป็นสมบัติของชาติต่อไป" นายเอนกกล่าว