ASTVผู้จัดการรายวัน – สรรพสามิตเผยผลจัดเก็บรายได้เดือนเมษายนทั้งสิ้น 3.27 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 7.4 พันล้านบาท จากภาษีรถยนต์และภาษีน้ำมันที่หายไป ขณะที่ภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าเหตุประชาชนบริโภคมากขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนยอดรวม 7 เดือนแรกของปีงบประมาณจัดเก็บได้ 2.37 แสนล้านยบาท ต่ำกว่าประมาณการถึง 3.1 หมื่นล้านบาท
นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในเดือนเมษายน 2557 จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 3.27 หมื่นล้านบาท จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 7.4 พันล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เดือนตุลาคม 2556 ถึง มกราคม 2557 จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 2.37 แสนล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการถึง 3.15 หมื่นล้านบาท
โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงสุด 5 อันดับแรกของเดือนเมษายน 2557 ประกอบไปด้วย ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 8.1 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3.6 พันล้านบาท ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ 6.7 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 592 ล้านบาท ภาษียาสูบ จัดเก็บได้ 5.6 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 444 ล้านบาท ภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ 5.1 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3.2ล้านบาท และภาษีสุรา จัดเก็บได้ 4.9 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 707 ล้านบาท
“ยอดจัดเก็บรายได้ที่ลดลงมีผลมาจากการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ลดลงมากเพราะสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก ขณะที่ภาษียาสูบที่ลดลงมากเช่นกันเนื่องจากก่อนหน้านี้มีข่าวการปรับขึ้นภาษียาสูบจึงทำให้ยอดการผลิตมีมากเกิดการสต๊อกสินค้าเมี่อถึงเดือนนี้จึงมีการจัดเก็บลดลง ส่วนภาษีเบียร์มีการจัดเก็บสูงกว่าประมาณการเนื่องจากอยู่ในเทศกาลสงกรานต์จึงมีการบริโภคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าที่ลดลงจึงทำให้การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตลดลงตามไปด้วย” นายสมชายกล่าวและว่า ทั้งนี้หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายอาจส่งผลให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตด้วย
ทั้งนี้กรมสรรพสามิตได้ประมาณการจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณปี 2557 ไว้ที่ 4.63 แสนล้านบาท แต่ได้ปรับลดลงเหลือ 4.35 แสนล้านบาท เนื่องจากไม่มีการปรับขึ้นภาษีน้ำมันดีเซลตามที่ได้ประมาณการไว้ทำให้รายได้ในส่วนนี้ลดลง 2.8 หมื่นล้านบาท โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิต 5 อันดับแรกยังเป็นสินค้าในกลุ่มเดิมคือ ภาษีรถยนต์ 6 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1.8 หมื่นล้านบาท ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ 5 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6.9 พันล้านบาท ภาษีสุรา จัดเก็บได้ 4 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4.2 พันล้านบาท ภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ 3.6 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1.7 หมื่นล้านบา ท และภาษียาสูบ จัดเก็บได้ 3.5 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 5 พันล้านบาท
นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในเดือนเมษายน 2557 จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 3.27 หมื่นล้านบาท จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 7.4 พันล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เดือนตุลาคม 2556 ถึง มกราคม 2557 จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 2.37 แสนล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการถึง 3.15 หมื่นล้านบาท
โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงสุด 5 อันดับแรกของเดือนเมษายน 2557 ประกอบไปด้วย ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 8.1 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3.6 พันล้านบาท ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ 6.7 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 592 ล้านบาท ภาษียาสูบ จัดเก็บได้ 5.6 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 444 ล้านบาท ภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ 5.1 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3.2ล้านบาท และภาษีสุรา จัดเก็บได้ 4.9 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 707 ล้านบาท
“ยอดจัดเก็บรายได้ที่ลดลงมีผลมาจากการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ลดลงมากเพราะสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรก ขณะที่ภาษียาสูบที่ลดลงมากเช่นกันเนื่องจากก่อนหน้านี้มีข่าวการปรับขึ้นภาษียาสูบจึงทำให้ยอดการผลิตมีมากเกิดการสต๊อกสินค้าเมี่อถึงเดือนนี้จึงมีการจัดเก็บลดลง ส่วนภาษีเบียร์มีการจัดเก็บสูงกว่าประมาณการเนื่องจากอยู่ในเทศกาลสงกรานต์จึงมีการบริโภคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าที่ลดลงจึงทำให้การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตลดลงตามไปด้วย” นายสมชายกล่าวและว่า ทั้งนี้หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายอาจส่งผลให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตด้วย
ทั้งนี้กรมสรรพสามิตได้ประมาณการจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณปี 2557 ไว้ที่ 4.63 แสนล้านบาท แต่ได้ปรับลดลงเหลือ 4.35 แสนล้านบาท เนื่องจากไม่มีการปรับขึ้นภาษีน้ำมันดีเซลตามที่ได้ประมาณการไว้ทำให้รายได้ในส่วนนี้ลดลง 2.8 หมื่นล้านบาท โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิต 5 อันดับแรกยังเป็นสินค้าในกลุ่มเดิมคือ ภาษีรถยนต์ 6 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1.8 หมื่นล้านบาท ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ 5 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6.9 พันล้านบาท ภาษีสุรา จัดเก็บได้ 4 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4.2 พันล้านบาท ภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ 3.6 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1.7 หมื่นล้านบา ท และภาษียาสูบ จัดเก็บได้ 3.5 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 5 พันล้านบาท