ASTVผู้จัดการรายวัน-แบงก์ชาติเปิดตัวธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่ หลังใช้ธนบัตรแบบเดิมมากว่า 12 ปี เริ่มใช้ 12 พ.ค.นี้ พิเศษเพิ่มเทคโนโลยีต่อต้านปลอมแปลง ส่งล็อตแรกออกสู่ระบบ 100 ล้านฉบับ ย้ำธนบัตรแบบเดิมยังคงชำระหนี้ได้ตามปกติ คุยโรงพิมพ์และธนบัตรไทยติด 1 ใน 10 ของโลกและติด 1 ใน 3 ของเอเชียรองจีนและญี่ปุ่น
นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะนำธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่ (แบบ 16) มาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แทนแบบเก่า (แบบ15) ใช้มาแล้วนานกว่า 12 ปี คาดว่าจะเริ่มออกใช้ในวันที่ 12 พ.ค.นี้ โดยธนบัตรรุ่นใหม่ ได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยทุกสมัยที่สร้างคุณูปการแก่ประเทศชาติ พร้อมทั้งปรับรูปลักษณ์สวยงาม ทันสมัย เป็นสากล รวมถึงเพิ่มเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงมาใช้มากขึ้น
"ตลอดช่วง 40 ปีในการผลิตธนบัตรชนิดราคาต่างๆ ได้เพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งคุณภาพ ยากต่อการปลอมแปลง และให้มีปริมาณเพียงพอต่อระบบเศรษฐกิจ เพื่อรองรับการเติบโตเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ซึ่งแม้จะนำธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่ออกใช้ แต่แบบเก่าอย่าง 14,15 ยังคงสามารถชำระหนี้ตามกฎหมายได้ตามปกติ"
นายปริยวัจน์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธปท.กล่าวว่า ปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสารมีการพัฒนาค่อนข้างมาก สามารถถ่ายออกมาเหมือนของจริงมากขึ้น จึงได้ปรับสิ่งต่อต้านการปลอมแปลงในธนบัตรชนิดใหม่เพิ่มขึ้น โดยธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่ จะผลิตออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจล็อตแรก 100 ล้านฉบับ และคาดว่าจะสามารถทดแทนแบบเก่าและเรียกคืนได้ทั้งหมดได้ภายใน 1.5-2 ปี และในอนาคตมีแผนจะเปลี่ยนรูปแบบธนบัตรราคา 1000 บาทและ 100 บาทต่อไป
ปัจจุบันการพิมพ์ธนบัตรของไทยมีมาตรฐานระดับสากล นับได้ว่าโรงพิมพ์ธนบัตรไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เช่นเดียวกับคุณภาพธนบัตรไทย และติด 1 ใน 3 ของเอเชีย รองเฉพาะจีนและญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม หลังจากนำรูปแบบการผลิตธนบัตร แบบ 16 มาใช้กับชนิดราคา 20 บาท และ 50 บาท การปลอมแปลงลดลง ซึ่งธนบัตรที่นิยมปลอมแปลงมากที่สุด คือ ธนบัตรราคา1000 บาท ทำให้อัตราการปลอมแปลงธนบัตรไทยโดยรวมค่อนข้างน้อย 5 ฉบับต่อล้านฉบับ ขณะที่การปลอมแปลงสกุลเงินระดับสากลอย่างเงินดอลลาร์สหรัฐคิดเป็น 40 ฉบับต่อล้านฉบับ
สำหรับธนบัตร 500 บาท หมุนเวียนในระบบ 240 ล้านฉบับ จากปัจจุบันที่มีธนบัตร 5 ชนิดราคา (ราคา 20,50,500,100,1000) ในระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น 4,500 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท โดยปริมาณธนบัตรมากที่สุดในระบบ คือ ชนิดราคา 20 บาท สัดส่วน 30% ส่วนธนบัตรชนิด 50 และ 500 บาท อย่างละ 5% ธนบัตรชนิด 100 บาท สัดส่วน 35% และธนบัตร 1000 บาทสัดส่วน 25% ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของธนบัตรออกใช้ในระบบเป็นชนิดราคา 100 บาทและ 1000 บาท
นายวรพร ตั้งสง่าศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการอาวุโส โรงพิมพ์ธนบัตร ธปท.กล่าวว่า การนำธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่มาใช้ จะไม่สร้างปัญหาสำหรับเครื่องจักรนับคัดธนบัตรหรือเครื่องรับเงินสดอัตโนมัติต่างๆ โดยช่วงแรกยังคงมีการจ่ายธนบัตรทั้งแบบใหม่และเก่าพร้อมๆ กัน เบื้องต้นเครื่องที่ต้องจ่ายธนบัตรอย่างตู้เอทีเอ็มสามารถทำได้ทันที
ทั้งนี้ ในแต่ละปีประเทศไทยจะพิมพ์ธบัตรออกใช้ 3,000 ล้านฉบับต่อปี ซึ่งระยะหลังแนวโน้มการผลิตลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากอายุการใช้ธนบัตรยาวนานขึ้น แต่ปัญหาพบมาก คือ ธนบัตรมีรอยขีดเขียนทั้งจากธนาคารพาณิชย์และประชาชนทั่วไป
นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะนำธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่ (แบบ 16) มาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แทนแบบเก่า (แบบ15) ใช้มาแล้วนานกว่า 12 ปี คาดว่าจะเริ่มออกใช้ในวันที่ 12 พ.ค.นี้ โดยธนบัตรรุ่นใหม่ ได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยทุกสมัยที่สร้างคุณูปการแก่ประเทศชาติ พร้อมทั้งปรับรูปลักษณ์สวยงาม ทันสมัย เป็นสากล รวมถึงเพิ่มเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงมาใช้มากขึ้น
"ตลอดช่วง 40 ปีในการผลิตธนบัตรชนิดราคาต่างๆ ได้เพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งคุณภาพ ยากต่อการปลอมแปลง และให้มีปริมาณเพียงพอต่อระบบเศรษฐกิจ เพื่อรองรับการเติบโตเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน ซึ่งแม้จะนำธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่ออกใช้ แต่แบบเก่าอย่าง 14,15 ยังคงสามารถชำระหนี้ตามกฎหมายได้ตามปกติ"
นายปริยวัจน์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธปท.กล่าวว่า ปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสารมีการพัฒนาค่อนข้างมาก สามารถถ่ายออกมาเหมือนของจริงมากขึ้น จึงได้ปรับสิ่งต่อต้านการปลอมแปลงในธนบัตรชนิดใหม่เพิ่มขึ้น โดยธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่ จะผลิตออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจล็อตแรก 100 ล้านฉบับ และคาดว่าจะสามารถทดแทนแบบเก่าและเรียกคืนได้ทั้งหมดได้ภายใน 1.5-2 ปี และในอนาคตมีแผนจะเปลี่ยนรูปแบบธนบัตรราคา 1000 บาทและ 100 บาทต่อไป
ปัจจุบันการพิมพ์ธนบัตรของไทยมีมาตรฐานระดับสากล นับได้ว่าโรงพิมพ์ธนบัตรไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เช่นเดียวกับคุณภาพธนบัตรไทย และติด 1 ใน 3 ของเอเชีย รองเฉพาะจีนและญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม หลังจากนำรูปแบบการผลิตธนบัตร แบบ 16 มาใช้กับชนิดราคา 20 บาท และ 50 บาท การปลอมแปลงลดลง ซึ่งธนบัตรที่นิยมปลอมแปลงมากที่สุด คือ ธนบัตรราคา1000 บาท ทำให้อัตราการปลอมแปลงธนบัตรไทยโดยรวมค่อนข้างน้อย 5 ฉบับต่อล้านฉบับ ขณะที่การปลอมแปลงสกุลเงินระดับสากลอย่างเงินดอลลาร์สหรัฐคิดเป็น 40 ฉบับต่อล้านฉบับ
สำหรับธนบัตร 500 บาท หมุนเวียนในระบบ 240 ล้านฉบับ จากปัจจุบันที่มีธนบัตร 5 ชนิดราคา (ราคา 20,50,500,100,1000) ในระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น 4,500 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท โดยปริมาณธนบัตรมากที่สุดในระบบ คือ ชนิดราคา 20 บาท สัดส่วน 30% ส่วนธนบัตรชนิด 50 และ 500 บาท อย่างละ 5% ธนบัตรชนิด 100 บาท สัดส่วน 35% และธนบัตร 1000 บาทสัดส่วน 25% ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของธนบัตรออกใช้ในระบบเป็นชนิดราคา 100 บาทและ 1000 บาท
นายวรพร ตั้งสง่าศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการอาวุโส โรงพิมพ์ธนบัตร ธปท.กล่าวว่า การนำธนบัตรชนิดราคา 500 บาทแบบใหม่มาใช้ จะไม่สร้างปัญหาสำหรับเครื่องจักรนับคัดธนบัตรหรือเครื่องรับเงินสดอัตโนมัติต่างๆ โดยช่วงแรกยังคงมีการจ่ายธนบัตรทั้งแบบใหม่และเก่าพร้อมๆ กัน เบื้องต้นเครื่องที่ต้องจ่ายธนบัตรอย่างตู้เอทีเอ็มสามารถทำได้ทันที
ทั้งนี้ ในแต่ละปีประเทศไทยจะพิมพ์ธบัตรออกใช้ 3,000 ล้านฉบับต่อปี ซึ่งระยะหลังแนวโน้มการผลิตลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากอายุการใช้ธนบัตรยาวนานขึ้น แต่ปัญหาพบมาก คือ ธนบัตรมีรอยขีดเขียนทั้งจากธนาคารพาณิชย์และประชาชนทั่วไป