วานนี้ (3 เม.ย.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาว่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ละเลยการปฏิบัติหน้าที่กรณีปล่อยให้รถยนต์โดยสารประจำทาง ขสมก. หรือรถร่วมบริการเอกชน ออกวิ่งโดยปล่อยมลพิษจากไอเสีย (ควันดำ) เกินค่ามาตรฐาน และสั่งให้ขสมก. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย โดยไม่ให้รถยนต์โดยสารประจำทาง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของขสมก. ก่อให้เกิดมลพิษควันดำอีก
โดยให้รายงานผลการตรวจวัดควันดำของรถยนต์โดยสารของขสมก. และรถร่วมบริการเอกชนต่อศาลทุก 3 เดือนเป็นเวลา 1 ปี และให้กรมควบคุมมวลพิษกำหนดแผนปฏิบัติการในการกำกับดูแล ติดตาม ควบคุมเพื่อมิให้ขสมก. ปล่อยรถยนต์โดยสาร และรถร่วมบริการของเอกชน ออกวิ่งโดยปล่อยควันดำเกินมาตรฐาน และรายงานผลการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวต่อศาลทุก 3 เดือนเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพาษา รวมถึงให้กรมควบคุมมวลพิษ พิจารณาดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศให้รถยนต์โดยสารของขสมก. และรถร่วมบริการของเอกชนต้องถูกควบคุมการปล่อยอากาศเสีย ตาม มาตรา 68 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2535
ทั้งนี้คำพิพากษาดังกล่าว มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และประชาชนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) ยื่นฟ้อง ขสมก. กรมควบคุมมลพิษ รวม 4 คดี เมื่อปี 2545 และ ศาลได้มีคำสั่งรวมเป็นสำนวนคดีเดียวกัน โดยผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ขสมก. ละเลยในการดำเนินการสั่งการ ควบคุม กำกับดูแล ให้รถยนต์โดยสารประจำทางขสมก. และรถร่วมบริการเอกชนอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยไร้มลพิษและควันดำ
ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อ 10 พ.ย. 49 ว่า ขสมก.ละเลยการปฏิบัติหน้าที่และสั่งให้ดำเนินการไม่ให้รถยนต์โดยสารประจำทางในสังกัดตน และรถประทางที่ร่วมบริการปล่อยควันดำอีก และให้รายงานผลการตรวจวัดไอเสียของรถยนต์โดยสารของขสมก. และรถร่วมบริการเอกชนต่อศาลทุก 3 เดือนเป็นเวลา 1 ปี แต่ ขสมก.และกรมควบคุมมวลพิษ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขสมก. มีรถยนต์โดยสารและรถร่วมบริการเอกชนรวมกันทั้งหมด 14,700 คัน มีเครื่องตรวจวัดควันดำและเสียง 33 เครื่อง ใช้ประจำทุกๆ อู่ โดยกำหนดมาตรฐานการตรวจควันดำและเสียงรถทุก 15 วัน หากพบว่ารถคันใดมีค่าควันดำสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 50 ต้องหยุดนำรถกลับไปปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งหลังมีการร้องเรียนแม้ว่า ขสมก. จะได้เชิญผู้ประกอบการรถร่วมบริการทุกบริษัทมาประชุม เพื่อแก้ไขปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีปัญหาเรื่องควันดำ แต่ยังพบว่า รถเอกชนร่วมบริการที่วิ่งให้บริการมีการปล่อยควันดำอยู่ และรถร่วมบริการดังกล่าวส่วนหนึ่ง ก็มาจากการรับซื้อรถปลดระวางของ ขสมก. มาวิ่งให้บริการประชาชน ซึ่งก็ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติห้ามไม่ให้นำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงและอยู่ในสภาพที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพมาวิ่งให้บริการ
ดังนั้นเมื่อขสมก.เป็นหน่วยของรัฐที่มีหน้าที่ในการจัดกิจการควบคุมดูแลเกี่ยวกับการขนส่งบุคคล กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้เอกชนคู่สัญญาดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ควบคุมมลพิษทางอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตลอดจนไม่ควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงถือว่าขสมก.ละเลยต่อปฏิบัติหน้าที่
ส่วนกรมควบคุมมวลพิษ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่ด้านการควบคุมมลพิษมีภาระหน้าที่หลักในการกำกับดูแลติดตามประเมินผลเกี่ยวกับฟื้นฟูคุ้มครองรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเสนอความเห็นให้ข้อเสนอแนะจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมาตรการในการควบคุมป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษ ที่ผ่านมากรมควบคุมมลพิษเคยมีหนังสือ ลงวันที่ 30 ม.ค. 45 ไปยัง ขสมก. ให้กำกับดูแลรถ โดยสารที่อยู่ในความรับผิดชอบ ไม่ให้ก่อควันดำสร้างความเดือดร้อนรำคาญและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งเป็นเพียงการประสานไปยังหน่วยงานมีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกรณีเมื่อมีการร้องเรียนมาเท่านั้น และเมื่อศาลได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ขสมก.และเลยการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องดูแลให้รถโดยสารและรถร่วมบริการทุกคันอยู่ในสภาพที่มั่นคงเข็งแรงไม่ก่อให้เกิดมลพิษ กรมควบุคมมลพิษซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรง ก็กลับปล่อยปะละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในการกำกับดูแลประเมินผล ประสานงานหรือดำเนินการเพื่อฟื้นฟู หรือระงับเหตุ ที่อาจเป็นอันตรายจากมลพิษ ในกรณีดังกล่าวด้วย
ขณะที่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะกรรมการและเลขานุการของ คณะกรรมการควบคุมมลพิษ มีอำนาจหน้าที่เสนอคำแนะนำให้ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการใช้อำนาจอกกประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้รถยนต์โดยสารและรถร่วมบริการเอกชนเป็นแหล่งมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศไม่เกินมาตรฐาน แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ รักษาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ศาลจึงมีคำพิพากษาดังกล่าว
ขณะเดียวกัน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 23 คน ซึ่งเป็นประชาชนพักอาศัยในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ที่ใช้บริการขนส่งมวลชน ได้ยื่นฟ้อง ผู้อำนวยการ ขสมก. , คณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. , อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม , คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และ รมว.คมนาคม เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-5 กรณีละเลยปล่อยให้รถร่วมบริหารเอกชนสาย 8 ที่วิ่งให้บริการเส้นทางแฮปปี้แลนด์ –สะพานพุทธ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ให้บริการโดยประมาทเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ผู้ถูกฟ้อง เพิกถอนใบอนุญาต หรือใบประกอบการ หรือสัมปทานการเดินรถของรถร่วมบริการเอกชน สาย 8 ทั้งหมด , ให้ผู้ถูกฟ้อง กำหนดมาตรการติดตาม ตรวจสอบ ลงโทษ และเพิกถอนใบอนุญาต หือสัมปทาน รถ ขสมก. และรถร่วมบริการทั้งหมด ทุกประเภทที่มีพฤติการณ์ฝ่าฝืนกฎหมาย และการสัมปทาน และให้ติดตามตรวจสอบมาตรการด้านความปลอดภัย มลพิษ-ควันดำทุก 3 เดือน ตลอดอายุการได้รับใบประกอบการสัมปทาน และให้ผู้ถูกฟ้องกำหนดมาตรการเพิกถอนใบอนุญาตผู้ขับขี่รถโดยสาร ( พขร.) พนักงานเก็บค่าโดยสาร ( พกส.) ที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่เด็ดขาด กับผู้ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความเสียหายต่อผู้สัญจรบนถนน และห้ามขับขี่รถสาธารณะตลอดชีวิต รวมทั้งห้ามนำรถที่ประสบอุบัติเหตุ มาวิ่งโดยเด็ดขาดด้วย
โดยให้รายงานผลการตรวจวัดควันดำของรถยนต์โดยสารของขสมก. และรถร่วมบริการเอกชนต่อศาลทุก 3 เดือนเป็นเวลา 1 ปี และให้กรมควบคุมมวลพิษกำหนดแผนปฏิบัติการในการกำกับดูแล ติดตาม ควบคุมเพื่อมิให้ขสมก. ปล่อยรถยนต์โดยสาร และรถร่วมบริการของเอกชน ออกวิ่งโดยปล่อยควันดำเกินมาตรฐาน และรายงานผลการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวต่อศาลทุก 3 เดือนเป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพาษา รวมถึงให้กรมควบคุมมวลพิษ พิจารณาดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศให้รถยนต์โดยสารของขสมก. และรถร่วมบริการของเอกชนต้องถูกควบคุมการปล่อยอากาศเสีย ตาม มาตรา 68 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2535
ทั้งนี้คำพิพากษาดังกล่าว มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และประชาชนผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) ยื่นฟ้อง ขสมก. กรมควบคุมมลพิษ รวม 4 คดี เมื่อปี 2545 และ ศาลได้มีคำสั่งรวมเป็นสำนวนคดีเดียวกัน โดยผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ขสมก. ละเลยในการดำเนินการสั่งการ ควบคุม กำกับดูแล ให้รถยนต์โดยสารประจำทางขสมก. และรถร่วมบริการเอกชนอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยไร้มลพิษและควันดำ
ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา เมื่อ 10 พ.ย. 49 ว่า ขสมก.ละเลยการปฏิบัติหน้าที่และสั่งให้ดำเนินการไม่ให้รถยนต์โดยสารประจำทางในสังกัดตน และรถประทางที่ร่วมบริการปล่อยควันดำอีก และให้รายงานผลการตรวจวัดไอเสียของรถยนต์โดยสารของขสมก. และรถร่วมบริการเอกชนต่อศาลทุก 3 เดือนเป็นเวลา 1 ปี แต่ ขสมก.และกรมควบคุมมวลพิษ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขสมก. มีรถยนต์โดยสารและรถร่วมบริการเอกชนรวมกันทั้งหมด 14,700 คัน มีเครื่องตรวจวัดควันดำและเสียง 33 เครื่อง ใช้ประจำทุกๆ อู่ โดยกำหนดมาตรฐานการตรวจควันดำและเสียงรถทุก 15 วัน หากพบว่ารถคันใดมีค่าควันดำสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 50 ต้องหยุดนำรถกลับไปปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งหลังมีการร้องเรียนแม้ว่า ขสมก. จะได้เชิญผู้ประกอบการรถร่วมบริการทุกบริษัทมาประชุม เพื่อแก้ไขปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีปัญหาเรื่องควันดำ แต่ยังพบว่า รถเอกชนร่วมบริการที่วิ่งให้บริการมีการปล่อยควันดำอยู่ และรถร่วมบริการดังกล่าวส่วนหนึ่ง ก็มาจากการรับซื้อรถปลดระวางของ ขสมก. มาวิ่งให้บริการประชาชน ซึ่งก็ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติห้ามไม่ให้นำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงและอยู่ในสภาพที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพมาวิ่งให้บริการ
ดังนั้นเมื่อขสมก.เป็นหน่วยของรัฐที่มีหน้าที่ในการจัดกิจการควบคุมดูแลเกี่ยวกับการขนส่งบุคคล กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้เอกชนคู่สัญญาดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ควบคุมมลพิษทางอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตลอดจนไม่ควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงถือว่าขสมก.ละเลยต่อปฏิบัติหน้าที่
ส่วนกรมควบคุมมวลพิษ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่ด้านการควบคุมมลพิษมีภาระหน้าที่หลักในการกำกับดูแลติดตามประเมินผลเกี่ยวกับฟื้นฟูคุ้มครองรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเสนอความเห็นให้ข้อเสนอแนะจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมาตรการในการควบคุมป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษ ที่ผ่านมากรมควบคุมมลพิษเคยมีหนังสือ ลงวันที่ 30 ม.ค. 45 ไปยัง ขสมก. ให้กำกับดูแลรถ โดยสารที่อยู่ในความรับผิดชอบ ไม่ให้ก่อควันดำสร้างความเดือดร้อนรำคาญและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งเป็นเพียงการประสานไปยังหน่วยงานมีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกรณีเมื่อมีการร้องเรียนมาเท่านั้น และเมื่อศาลได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ขสมก.และเลยการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องดูแลให้รถโดยสารและรถร่วมบริการทุกคันอยู่ในสภาพที่มั่นคงเข็งแรงไม่ก่อให้เกิดมลพิษ กรมควบุคมมลพิษซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรง ก็กลับปล่อยปะละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในการกำกับดูแลประเมินผล ประสานงานหรือดำเนินการเพื่อฟื้นฟู หรือระงับเหตุ ที่อาจเป็นอันตรายจากมลพิษ ในกรณีดังกล่าวด้วย
ขณะที่อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะกรรมการและเลขานุการของ คณะกรรมการควบคุมมลพิษ มีอำนาจหน้าที่เสนอคำแนะนำให้ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการใช้อำนาจอกกประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้รถยนต์โดยสารและรถร่วมบริการเอกชนเป็นแหล่งมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศไม่เกินมาตรฐาน แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการจึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ รักษาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ศาลจึงมีคำพิพากษาดังกล่าว
ขณะเดียวกัน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 23 คน ซึ่งเป็นประชาชนพักอาศัยในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ที่ใช้บริการขนส่งมวลชน ได้ยื่นฟ้อง ผู้อำนวยการ ขสมก. , คณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. , อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม , คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และ รมว.คมนาคม เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-5 กรณีละเลยปล่อยให้รถร่วมบริหารเอกชนสาย 8 ที่วิ่งให้บริการเส้นทางแฮปปี้แลนด์ –สะพานพุทธ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ให้บริการโดยประมาทเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ผู้ถูกฟ้อง เพิกถอนใบอนุญาต หรือใบประกอบการ หรือสัมปทานการเดินรถของรถร่วมบริการเอกชน สาย 8 ทั้งหมด , ให้ผู้ถูกฟ้อง กำหนดมาตรการติดตาม ตรวจสอบ ลงโทษ และเพิกถอนใบอนุญาต หือสัมปทาน รถ ขสมก. และรถร่วมบริการทั้งหมด ทุกประเภทที่มีพฤติการณ์ฝ่าฝืนกฎหมาย และการสัมปทาน และให้ติดตามตรวจสอบมาตรการด้านความปลอดภัย มลพิษ-ควันดำทุก 3 เดือน ตลอดอายุการได้รับใบประกอบการสัมปทาน และให้ผู้ถูกฟ้องกำหนดมาตรการเพิกถอนใบอนุญาตผู้ขับขี่รถโดยสาร ( พขร.) พนักงานเก็บค่าโดยสาร ( พกส.) ที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่เด็ดขาด กับผู้ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุสร้างความเสียหายต่อผู้สัญจรบนถนน และห้ามขับขี่รถสาธารณะตลอดชีวิต รวมทั้งห้ามนำรถที่ประสบอุบัติเหตุ มาวิ่งโดยเด็ดขาดด้วย