นับแต่ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 เป็นต้นมา จนถึงบัดนี้เป็นเวลาเกือบ 60 ปีแล้ว ตลอดระยะเวลาดังกล่าวนี้เป็นระยะเวลาที่ประเทศไทยเดินหนทางอุตสาหกรรม
มีบางห้วงเวลาของการทำแผน ดังเช่นในช่วงทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ก็ได้สะดุดคิดและพิจารณากันว่าการเดินหนทางอุตสาหกรรมถูกต้องแท้จริงแล้วหรือ?
แต่ในที่สุดก็หาทางออกไม่ได้ แนวทางของแผนฉบับนั้นจึงย่ำอยู่กับที่ หรือนัยหนึ่งก็คือยังคงเดินหน้าในหนทางอุตสาหกรรมต่อไป เพียงแต่เพิ่มสาระสำคัญขึ้นบางประการว่า การพัฒนาประเทศต้องถือคนเป็นศูนย์กลาง
และจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ยังคงย่ำเท้าอยู่ในทิศทางเดิม ทำให้ประเทศไทยยังคงดำดิ่งเดินหน้าไปในหนทางอุตสาหกรรม
การเดินหนทางอุตสาหกรรมตั้งแต่แผนฉบับที่ 1 เป็นผลให้รัฐได้จัดตั้งองค์กรและหน่วยงานจำนวนมากเพื่อรองรับ สนับสนุน ส่งเสริม กำกับ และตรวจสอบกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรม ทำให้ส่วนราชการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนองค์กรและบุคลากรของรัฐ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางอุตสาหกรรม
ได้มีการตรากฎหมาย ระเบียบ จำนวนมากเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน กำกับตรวจสอบ คุ้มครอง ป้องกัน ตลอดจนการให้อภิสิทธิ์ต่างๆ ในการเดินหนทางอุตสาหกรรม
และพร้อมๆ กับการเดินหนทางอุตสาหกรรม ความเป็นความตายของเศรษฐกิจของประเทศจึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มาขึ้นอยู่กับอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเติบโตทางการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
พร้อมๆ กับการเดินหนทางอุตสาหกรรม รัฐก็ต้องระดมการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งในรูปการส่งเสริมการลงทุน ทั้งในรูปของการก่อหนี้สาธารณะเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้รองรับกับการเดินหนทางอุตสาหกรรม
ประเทศไทยได้เริ่มเป็นหนี้สาธารณะผูกพันประเทศชาติเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จากที่เคยมีหนี้ไม่กี่หมื่นล้านบาท กลายเป็นมีหนี้สาธารณะสูงสุดในปัจจุบันถึง 5.6 ล้านล้านบาท ใกล้ระดับที่จะกลายเป็นประเทศล้มละลายเต็มทีแล้ว
ผลจากการเดินหนทางอุตสาหกรรม ทำให้ผืนดิน แหล่งน้ำ และอากาศเป็นพิษโดยทั่วไป ได้บังเกิดสารพัดโรคและสารพัดภัยขึ้นกับประเทศชาติและประชาชน อัตราคนป่วยจากพิษภัยของมลพิษอันเป็นพิษจากภาคอุตสาหกรรมและความพิการทั้งร่างกายและจิตใจของคนไทยได้เพิ่มขึ้น จนทำให้อัตรารายจ่ายในการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การพัฒนาประเทศชาติในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะที่เป็นพื้นฐานที่แท้จริงของประเทศคือภาคเกษตรและภาคบริการท่องเที่ยวถูกทอดทิ้งอยู่ข้างหลัง และกลายเป็นภาคที่ถูกกดขี่ข่มเหง รังแก เอารัดเอาเปรียบมากที่สุด
ในขณะที่ส่งเสริมให้มีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขยายเวลาการทำงานเพิ่มขึ้น แต่ในภาคเกษตรกลับมีปัญหาโดยทั่วไป เกษตรกรถูกทอดทิ้งจนง่อยเปลี้ยเสียขา ส่วนภาคบริการก็ถูกจำกัดเวลาการประกอบการ ถูกจำกัดกิจกรรมในการประกอบการ และเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูง
ประเทศถูกชักจูงให้หลงผิดไปกับคำว่าอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่นำเอามูลค่าการผลิตซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นภาคอุตสาหกรรมมาถือเป็นหลักในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ถือเอารายได้จากผลผลิตรวมมาเฉลี่ยเป็นรายได้รายหัวของคนไทย ซึ่งไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงเลยแม้แต่น้อย
ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่บริโภคพลังงานสูงลิ่ว และทำให้รายจ่ายภาคพลังงานมีมูลค่าสูงกว่ารายได้จากการผลิตภาคเกษตรของประชากรทั้งประเทศไปแล้ว
ถึงวันนี้ประเทศไทยจะไปทางไหนกัน? เมื่อจะปฏิรูปประเทศไทยก็จะต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปทิศทางการพัฒนาประเทศไทยเสียก่อน ว่าเราจะเดินหนทางอุตสาหกรรมต่อไป หรือว่าจะปรับทิศทางใหม่ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศไทย
แต่ดูเหมือนว่าหามีใครสนใจในเรื่องนี้ไม่! คงหยิบฉวยพูดจากันเฉพาะเรื่องเฉพาะราว ซึ่งมิได้ยึดโยงกับการพัฒนาประเทศเลย
ณ เวลานี้สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนบนพื้นฐานความจริงของประเทศไทยแล้วว่า การเดินหนทางอุตสาหกรรมตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมาเป็นการเดินหนทางผิด เป็นการเดินหนทางที่ก่อหนี้สินให้กับประเทศชาติจนเกือบล้มละลายแล้ว ทำให้ประชาชนชาวไทยลำบากยากจนโดยทั่วไปและไร้อนาคตมากขึ้น
ความจริงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เคยมีพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องทิศทางพัฒนาประเทศไทยมาก่อนแล้วหลังจากเสด็จกลับจากยุโรป
ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่จะมั่งคั่งได้เพราะการประกอบกิจการในภาคเกษตรแบบดั้งเดิม ยุโรปมั่งคั่งร่ำรวยเพราะเดินหนทางอุตสาหกรรม แต่ประเทศไทยไม่มีพื้นฐานใดๆ ทางอุตสาหกรรมเลย คือไม่มีทุน ไม่มี Know-how ไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีเครือข่ายการตลาด ไม่มีการพัฒนาและวิจัย จึงไม่มีทางเดินหนทางอุตสาหกรรมได้
เมื่อเดินหนทางเกษตรกรรมดั้งเดิมไม่ได้ และเดินหนทางอุตสาหกรรมก็ไม่ได้ พระองค์จึงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าจากความเป็นจริงของประเทศไทยกำหนดให้ประเทศไทยต้องเดินหนทางแปรรูปภาคเกษตร หรือถ้าพูดเป็นภาษาปัจจุบันก็คือการเดินหนทางเกษตรอุตสาหกรรม
ดังนั้นตลอดรัชสมัยของพระองค์จึงเดินหนทางเกษตรกรรมแปรรูปอย่างเต็มอัตรา ในขณะเดียวกัน ก็ทรงนำพาประเทศคู่ขนานกันอีกเส้นทางหนึ่งคือการพัฒนาประเทศไปเป็นประเทศบริการ หรืออุตสาหกรรมบริการในปัจจุบัน
เพราะเหตุนี้ตลอดรัชสมัยของพระองค์จึงถือได้ว่าประเทศไทยได้เดินหนทางสองแนวทาง คือ เดินหนทางเกษตรกรรมแปรรูป หรืออุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมบริการ
การพัฒนาประเทศตลอดรัชสมัยของพระองค์เป็นไปเพื่อการเดินหนทางอุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมบริการอย่างเต็มอัตราศึก เป็นผลให้สยามเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในภูมิภาค แม้กระทั่งพระจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่นยังมีพระราชศรัทธาส่งคนมาดูงานการพัฒนาประเทศสยาม
สยามได้พัฒนาอย่างทั่วด้านไปตามหนทางอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมบริการ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ อาณาประชาราษฎรร่มเย็นเป็นสุข เศรษฐกิจเข้มแข็ง ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและมั่นคงที่สุด มีอัตราแลกเปลี่ยน 1 บาทเท่ากับ 2 ปอนด์สเตอริง
นั่นคือยุคสมัยที่สยามรุ่งเรืองที่สุด ด้วยการเดินหนทางเกษตรอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมบริการ
น่าเสียดายนักที่แนวทางพัฒนาประเทศไทยที่ทรงวางไว้ได้ชะงักลงและล้มเลิกไปในที่สุด เพราะหลังสิ้นรัชกาลแล้วก็เกิดวิกฤตต่อเนื่อง มาจนกระทั่งถึงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่แทนที่จะเดินหน้าทิศทางพัฒนาประเทศไทยตามที่ทรงวางไว้ กลับเปลี่ยนหันเหทิศทางมาเดินหนทางอุตสาหกรรม
ดังนั้นในวันนี้เมื่อจะมีการปฏิรูปใหญ่ประเทศไทย ก็สมควรจะได้พิจารณากันในเบื้องต้นก่อนว่าเรายังจะเดินหน้าในหนทางอุตสาหกรรมต่อไป หรือว่าจะเปลี่ยนทิศทางพัฒนาประเทศเป็นเดินหนทางเกษตรอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งประเทศไทยมีรากฐานทุกอย่างพร้อมเพรียง
และเป็นผลประโยชน์ของมวลมหาประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ของนักลงทุนต่างชาติเพียงหยิบมือเดียวดังที่เป็นอยู่!
มีบางห้วงเวลาของการทำแผน ดังเช่นในช่วงทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ก็ได้สะดุดคิดและพิจารณากันว่าการเดินหนทางอุตสาหกรรมถูกต้องแท้จริงแล้วหรือ?
แต่ในที่สุดก็หาทางออกไม่ได้ แนวทางของแผนฉบับนั้นจึงย่ำอยู่กับที่ หรือนัยหนึ่งก็คือยังคงเดินหน้าในหนทางอุตสาหกรรมต่อไป เพียงแต่เพิ่มสาระสำคัญขึ้นบางประการว่า การพัฒนาประเทศต้องถือคนเป็นศูนย์กลาง
และจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ยังคงย่ำเท้าอยู่ในทิศทางเดิม ทำให้ประเทศไทยยังคงดำดิ่งเดินหน้าไปในหนทางอุตสาหกรรม
การเดินหนทางอุตสาหกรรมตั้งแต่แผนฉบับที่ 1 เป็นผลให้รัฐได้จัดตั้งองค์กรและหน่วยงานจำนวนมากเพื่อรองรับ สนับสนุน ส่งเสริม กำกับ และตรวจสอบกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรม ทำให้ส่วนราชการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนองค์กรและบุคลากรของรัฐ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางอุตสาหกรรม
ได้มีการตรากฎหมาย ระเบียบ จำนวนมากเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน กำกับตรวจสอบ คุ้มครอง ป้องกัน ตลอดจนการให้อภิสิทธิ์ต่างๆ ในการเดินหนทางอุตสาหกรรม
และพร้อมๆ กับการเดินหนทางอุตสาหกรรม ความเป็นความตายของเศรษฐกิจของประเทศจึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มาขึ้นอยู่กับอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเติบโตทางการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
พร้อมๆ กับการเดินหนทางอุตสาหกรรม รัฐก็ต้องระดมการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งในรูปการส่งเสริมการลงทุน ทั้งในรูปของการก่อหนี้สาธารณะเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้รองรับกับการเดินหนทางอุตสาหกรรม
ประเทศไทยได้เริ่มเป็นหนี้สาธารณะผูกพันประเทศชาติเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จากที่เคยมีหนี้ไม่กี่หมื่นล้านบาท กลายเป็นมีหนี้สาธารณะสูงสุดในปัจจุบันถึง 5.6 ล้านล้านบาท ใกล้ระดับที่จะกลายเป็นประเทศล้มละลายเต็มทีแล้ว
ผลจากการเดินหนทางอุตสาหกรรม ทำให้ผืนดิน แหล่งน้ำ และอากาศเป็นพิษโดยทั่วไป ได้บังเกิดสารพัดโรคและสารพัดภัยขึ้นกับประเทศชาติและประชาชน อัตราคนป่วยจากพิษภัยของมลพิษอันเป็นพิษจากภาคอุตสาหกรรมและความพิการทั้งร่างกายและจิตใจของคนไทยได้เพิ่มขึ้น จนทำให้อัตรารายจ่ายในการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การพัฒนาประเทศชาติในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะที่เป็นพื้นฐานที่แท้จริงของประเทศคือภาคเกษตรและภาคบริการท่องเที่ยวถูกทอดทิ้งอยู่ข้างหลัง และกลายเป็นภาคที่ถูกกดขี่ข่มเหง รังแก เอารัดเอาเปรียบมากที่สุด
ในขณะที่ส่งเสริมให้มีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขยายเวลาการทำงานเพิ่มขึ้น แต่ในภาคเกษตรกลับมีปัญหาโดยทั่วไป เกษตรกรถูกทอดทิ้งจนง่อยเปลี้ยเสียขา ส่วนภาคบริการก็ถูกจำกัดเวลาการประกอบการ ถูกจำกัดกิจกรรมในการประกอบการ และเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูง
ประเทศถูกชักจูงให้หลงผิดไปกับคำว่าอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่นำเอามูลค่าการผลิตซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นภาคอุตสาหกรรมมาถือเป็นหลักในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ถือเอารายได้จากผลผลิตรวมมาเฉลี่ยเป็นรายได้รายหัวของคนไทย ซึ่งไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงเลยแม้แต่น้อย
ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่บริโภคพลังงานสูงลิ่ว และทำให้รายจ่ายภาคพลังงานมีมูลค่าสูงกว่ารายได้จากการผลิตภาคเกษตรของประชากรทั้งประเทศไปแล้ว
ถึงวันนี้ประเทศไทยจะไปทางไหนกัน? เมื่อจะปฏิรูปประเทศไทยก็จะต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปทิศทางการพัฒนาประเทศไทยเสียก่อน ว่าเราจะเดินหนทางอุตสาหกรรมต่อไป หรือว่าจะปรับทิศทางใหม่ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศไทย
แต่ดูเหมือนว่าหามีใครสนใจในเรื่องนี้ไม่! คงหยิบฉวยพูดจากันเฉพาะเรื่องเฉพาะราว ซึ่งมิได้ยึดโยงกับการพัฒนาประเทศเลย
ณ เวลานี้สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนบนพื้นฐานความจริงของประเทศไทยแล้วว่า การเดินหนทางอุตสาหกรรมตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมาเป็นการเดินหนทางผิด เป็นการเดินหนทางที่ก่อหนี้สินให้กับประเทศชาติจนเกือบล้มละลายแล้ว ทำให้ประชาชนชาวไทยลำบากยากจนโดยทั่วไปและไร้อนาคตมากขึ้น
ความจริงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เคยมีพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องทิศทางพัฒนาประเทศไทยมาก่อนแล้วหลังจากเสด็จกลับจากยุโรป
ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่จะมั่งคั่งได้เพราะการประกอบกิจการในภาคเกษตรแบบดั้งเดิม ยุโรปมั่งคั่งร่ำรวยเพราะเดินหนทางอุตสาหกรรม แต่ประเทศไทยไม่มีพื้นฐานใดๆ ทางอุตสาหกรรมเลย คือไม่มีทุน ไม่มี Know-how ไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีเครือข่ายการตลาด ไม่มีการพัฒนาและวิจัย จึงไม่มีทางเดินหนทางอุตสาหกรรมได้
เมื่อเดินหนทางเกษตรกรรมดั้งเดิมไม่ได้ และเดินหนทางอุตสาหกรรมก็ไม่ได้ พระองค์จึงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าจากความเป็นจริงของประเทศไทยกำหนดให้ประเทศไทยต้องเดินหนทางแปรรูปภาคเกษตร หรือถ้าพูดเป็นภาษาปัจจุบันก็คือการเดินหนทางเกษตรอุตสาหกรรม
ดังนั้นตลอดรัชสมัยของพระองค์จึงเดินหนทางเกษตรกรรมแปรรูปอย่างเต็มอัตรา ในขณะเดียวกัน ก็ทรงนำพาประเทศคู่ขนานกันอีกเส้นทางหนึ่งคือการพัฒนาประเทศไปเป็นประเทศบริการ หรืออุตสาหกรรมบริการในปัจจุบัน
เพราะเหตุนี้ตลอดรัชสมัยของพระองค์จึงถือได้ว่าประเทศไทยได้เดินหนทางสองแนวทาง คือ เดินหนทางเกษตรกรรมแปรรูป หรืออุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมบริการ
การพัฒนาประเทศตลอดรัชสมัยของพระองค์เป็นไปเพื่อการเดินหนทางอุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมบริการอย่างเต็มอัตราศึก เป็นผลให้สยามเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในภูมิภาค แม้กระทั่งพระจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่นยังมีพระราชศรัทธาส่งคนมาดูงานการพัฒนาประเทศสยาม
สยามได้พัฒนาอย่างทั่วด้านไปตามหนทางอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมบริการ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ อาณาประชาราษฎรร่มเย็นเป็นสุข เศรษฐกิจเข้มแข็ง ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและมั่นคงที่สุด มีอัตราแลกเปลี่ยน 1 บาทเท่ากับ 2 ปอนด์สเตอริง
นั่นคือยุคสมัยที่สยามรุ่งเรืองที่สุด ด้วยการเดินหนทางเกษตรอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมบริการ
น่าเสียดายนักที่แนวทางพัฒนาประเทศไทยที่ทรงวางไว้ได้ชะงักลงและล้มเลิกไปในที่สุด เพราะหลังสิ้นรัชกาลแล้วก็เกิดวิกฤตต่อเนื่อง มาจนกระทั่งถึงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่แทนที่จะเดินหน้าทิศทางพัฒนาประเทศไทยตามที่ทรงวางไว้ กลับเปลี่ยนหันเหทิศทางมาเดินหนทางอุตสาหกรรม
ดังนั้นในวันนี้เมื่อจะมีการปฏิรูปใหญ่ประเทศไทย ก็สมควรจะได้พิจารณากันในเบื้องต้นก่อนว่าเรายังจะเดินหน้าในหนทางอุตสาหกรรมต่อไป หรือว่าจะเปลี่ยนทิศทางพัฒนาประเทศเป็นเดินหนทางเกษตรอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งประเทศไทยมีรากฐานทุกอย่างพร้อมเพรียง
และเป็นผลประโยชน์ของมวลมหาประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ของนักลงทุนต่างชาติเพียงหยิบมือเดียวดังที่เป็นอยู่!