ASTVผู้จัดการรายวัน-บริษัทจีน-ไทย แบ่งเค้กแท็บเล็ต ป.1 ไปคนละโซน ทุบราคากลางต่ำสุดถึง 30% "จาตุรนต์" หวั่นซ้ำรอยเดิม "เสิ่นเจิ้น" เคาะราคาต่ำ แต่สุดท้ายจัดซื้อไม่ได้ จนต้องเลิกสัญญา
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า วานนี้ (26 มี.ค.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออกชัน ในโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ปีการศึกษา 2556 เพื่อจัดซื้อแท็บเล็ตนักเรียนระดับประถมศึกษา ป.1 ในโซน 1 (ภาคกลางและภาคใต้) จำนวน 431,105 เครื่อง วงเงิน 1,172 ล้านบาท และระดับป.1 โซน 2 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 373,637 เครื่อง วงเงิน 1,016 ล้านบาท ซึ่งเป็นการอี-ออกชัน ครั้งที่ 2 ภายหลังจากบริษัท เสิ่นเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้นท์ คอนโทรล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาครั้งที่ผ่านมาทั้ง 2 โซน แต่ไม่สามารถส่งมอบแท็บเล็ตได้ทัน จนเป็นเหตุให้ สพฐ. ยกเลิกสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างไปในที่สุด
สำหรับผลการอี-ออกชัน ครั้งนี้ ปรากฎว่า โซน 1 มีผู้เข้าแข่งขัน 2 บริษัท คือ บริษัท สุพรีมดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ไฮเออร์อิเลคทรอนิคอล แอพพลายแอนซ์ จำกัด (Haier) จากประเทศจีน โดยผู้ชนะ ได้แก่ บริษัท ไฮเออร์ฯ เสนอราคาต่ำสุดที่ 867 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงิน 305 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อเครื่องอยู่ที่ 2,011 บาท ส่วนโซน 2 มีผู้เข้าแข่งขัน 3 บริษัท คือ บริษัท ไทยทรานมิชชั่นส์อินดัสตรี จำกัด ,บริษัท สุพรีมฯ และบริษัท ไฮเออร์ฯ โดยผู้ชนะ ได้แก่ บริษัท ไทยทรานมิชชั่นส์ฯ เสนอราคาต่ำสุดที่ 700 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงิน 316 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อเครื่อง 1,873 บาท ขณะที่ราคากลางต่อเครื่องแท็บเล็ต ป.1 ตั้งไว้ที่ 2,720 บาทต่อเครื่อง
"หลังจากนี้ คณะกรรมการประกวดราคาจัดซื้อแท็บเล็ต จะต้องรายงานผลอี-ออกชันให้เลขาธิการ กพฐ. รับทราบเพื่อลงนามในสัญญา แต่ก่อนลงนาม เลขาธิการ กพฐ. จะต้องรายงานให้ รมว.ศึกษาธิการ และคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน เห็นชอบก่อน"
นายจาตุรนต์กล่าวว่า จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากส่วนต่างจากบริษัท เสิ่นเจิ้น อิงถังฯ ด้วย เพราะราคาที่ประมูลได้ในโซน 1 สูงขึ้นถึง 25 ล้านบาท จากราคาเดิมที่ประมูลไว้วงเงิน 842 ล้านบาท เฉลี่ยต่อเครื่องอยู่ที่ 1,953 บาท ส่วนโซน 2 ถูกลงถึง 86 ล้านบาท จากเดิมที่บริษัท เสิ่นเจิ้น เคยประกวดราคาได้ที่ 786 ล้านบาท เฉลี่ยต่อเครื่องอยู่ที่ 2,103 บาท
อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้ สพฐ.ไปดูว่า กรณีที่เสนอราคามาต่ำกว่าราคากลางมาก จะสามารถดำเนินการจัดซื้อได้จริงหรือไม่ และให้ไปดูความเป็นไปได้ ศักยภาพของบริษัท และเอาบทเรียนจากคราวที่แล้ว ซึ่งบริษัท เสิ่นเจิ้นฯ เสนอราคาต่ำกว่าราคากลางกว่า 30% แล้วก็จัดซื้อไม่ได้จริงมาเป็นบทเรียน โดยให้ สพฐ. ไปสำรวจด้วยว่าราคาที่ควรจะเป็นน่าจะอยู่ที่เท่าใด และถ้าจัดซื้อตามราคาที่ประมูลได้จริงแล้ว จะผลิตยังไง ใช้ชิ้นส่วนจากไหน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า วานนี้ (26 มี.ค.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ออกชัน ในโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ปีการศึกษา 2556 เพื่อจัดซื้อแท็บเล็ตนักเรียนระดับประถมศึกษา ป.1 ในโซน 1 (ภาคกลางและภาคใต้) จำนวน 431,105 เครื่อง วงเงิน 1,172 ล้านบาท และระดับป.1 โซน 2 (ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 373,637 เครื่อง วงเงิน 1,016 ล้านบาท ซึ่งเป็นการอี-ออกชัน ครั้งที่ 2 ภายหลังจากบริษัท เสิ่นเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้นท์ คอนโทรล จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาครั้งที่ผ่านมาทั้ง 2 โซน แต่ไม่สามารถส่งมอบแท็บเล็ตได้ทัน จนเป็นเหตุให้ สพฐ. ยกเลิกสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างไปในที่สุด
สำหรับผลการอี-ออกชัน ครั้งนี้ ปรากฎว่า โซน 1 มีผู้เข้าแข่งขัน 2 บริษัท คือ บริษัท สุพรีมดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ไฮเออร์อิเลคทรอนิคอล แอพพลายแอนซ์ จำกัด (Haier) จากประเทศจีน โดยผู้ชนะ ได้แก่ บริษัท ไฮเออร์ฯ เสนอราคาต่ำสุดที่ 867 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงิน 305 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อเครื่องอยู่ที่ 2,011 บาท ส่วนโซน 2 มีผู้เข้าแข่งขัน 3 บริษัท คือ บริษัท ไทยทรานมิชชั่นส์อินดัสตรี จำกัด ,บริษัท สุพรีมฯ และบริษัท ไฮเออร์ฯ โดยผู้ชนะ ได้แก่ บริษัท ไทยทรานมิชชั่นส์ฯ เสนอราคาต่ำสุดที่ 700 ล้านบาท ต่ำกว่าวงเงิน 316 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยต่อเครื่อง 1,873 บาท ขณะที่ราคากลางต่อเครื่องแท็บเล็ต ป.1 ตั้งไว้ที่ 2,720 บาทต่อเครื่อง
"หลังจากนี้ คณะกรรมการประกวดราคาจัดซื้อแท็บเล็ต จะต้องรายงานผลอี-ออกชันให้เลขาธิการ กพฐ. รับทราบเพื่อลงนามในสัญญา แต่ก่อนลงนาม เลขาธิการ กพฐ. จะต้องรายงานให้ รมว.ศึกษาธิการ และคณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน เห็นชอบก่อน"
นายจาตุรนต์กล่าวว่า จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากส่วนต่างจากบริษัท เสิ่นเจิ้น อิงถังฯ ด้วย เพราะราคาที่ประมูลได้ในโซน 1 สูงขึ้นถึง 25 ล้านบาท จากราคาเดิมที่ประมูลไว้วงเงิน 842 ล้านบาท เฉลี่ยต่อเครื่องอยู่ที่ 1,953 บาท ส่วนโซน 2 ถูกลงถึง 86 ล้านบาท จากเดิมที่บริษัท เสิ่นเจิ้น เคยประกวดราคาได้ที่ 786 ล้านบาท เฉลี่ยต่อเครื่องอยู่ที่ 2,103 บาท
อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้ สพฐ.ไปดูว่า กรณีที่เสนอราคามาต่ำกว่าราคากลางมาก จะสามารถดำเนินการจัดซื้อได้จริงหรือไม่ และให้ไปดูความเป็นไปได้ ศักยภาพของบริษัท และเอาบทเรียนจากคราวที่แล้ว ซึ่งบริษัท เสิ่นเจิ้นฯ เสนอราคาต่ำกว่าราคากลางกว่า 30% แล้วก็จัดซื้อไม่ได้จริงมาเป็นบทเรียน โดยให้ สพฐ. ไปสำรวจด้วยว่าราคาที่ควรจะเป็นน่าจะอยู่ที่เท่าใด และถ้าจัดซื้อตามราคาที่ประมูลได้จริงแล้ว จะผลิตยังไง ใช้ชิ้นส่วนจากไหน