นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวชี้แจงกรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยื่นเรื่องขอให้กกต.ระงับการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เนื่องจากเห็นว่า มีการเสนอตรา พ.ร.ฎ.เลือกตั้งส.ว. ก่อนที่ก่อนส.ว.เลือกตั้งจะหมดวาระว่า กกต. ยอมรับว่าได้ดำเนินการส่ง ร่าง พ.ร.ฎ.ก่อนจริง โดยได้มีการเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ก.พ. และได้มีการส่งต่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาควบคู่กัน จากนั้นจึงมีการกราบบังคมทูล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวลงมา ในวันที่ 26 ก.พ. แต่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 2 มี.ค. คือหลังจากวันที่ส.ว.เลือกตั้งหมดวาระ ในวันที่ 1 มี.ค. ซึ่งมาตรา 2 ของพ.ร.ฎ.ดังกล่าว ก็ได้กำหนดไว้ว่า พ.ร.ฎ.นี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งก็มีผลบังคับใช้ วันที่ 2 มี.ค. ดังนั้นจึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด เพราะที่มีการดำเนินการในการเสนอ ร่าง พ.ร.ฎ.ก่อนถือเป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินการทางธรุการ เพื่อให้การจัดการเลือกตั้ง ส.ว.ทำได้ทันในกรอบเวลา 30 วัน ตามที่กฎหมายเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.กำหนด โดยทุกฝ่ายก็รับรู้ระยะเวลา ขั้นตอนของการสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งของส.ว.อยู่แล้ว
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. กล่าวยืนยันว่า การออก พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแล้ว โดยได้นำภาพพ.ร.ฎ.เลือกตั้งวุฒิสภา เมื่อปี 2549 มาให้ดูเป็นแบบอย่าง การปฏิบัติที่เคยเกิดขึ้น
"ตัวอย่าง พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภา ปี 2549 ได้ให้ไว้ วันที่ 3 มี.ค. 49 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 9 มี.ค.49 โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 22 เม.ย. 49 เนื่องจากงานด้านธุรกรรมจะต้องทำไว้ก่อน มิฉะนั้นจะไม่ทัน" ประธาน กกต.ระบุ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลของผู้สื่อข่าวพบว่า วุฒิสภาชุดที่ 8 ซึ่งเลือกตั้งมาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้เริ่มวาระเมื่อ 22 มี.ค. 43 อยู่ครบเทอม 6 ปี จนหมดวาระในวันที่ 21 มี.ค. 49 โดย พ.ร.ฎ. เลือกตั้งครั้งถัดมา ออกในวันที่ 3 มี.ค. และมีผลบังคับ 22 มี.ค. ซึ่งแสดงชัดเจนว่า การปฏิบัติโดย
กกต. ชุดก่อนๆ ได้ยื่น พ.ร.ฎ. ก่อนครบวาระของวุฒิสภามาแล้ว อีกทั้งยังพบว่า นายเรืองไกร เองก็ยังเคยเป็นผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา กทม. ในวันที่ 19 เม.ย. 49 โดยพ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าวมาแล้ว แต่สอบตก จนต่อมานายเรืองไกร ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในแบบสรรหา เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 51 จึงเป็นเรื่องที่ตลกหรือนับเป็นการ ‘ปล่อยไก่’เพราะนายเรืองไกร ได้ร้องคัดค้านในสิ่งที่ตนเองเคยร่วมกระบวนการมาแล้วในอดีต โดยลงสมัครในการรับเลือกตั้งโดย พ.ร.ฎ.ที่ออกก่อนวุฒิสภาชุดก่อนจะหมดวาระ ซึ่งหากนายเรืองไกร เห็นว่าควรเป็นเหตุให้การเลือกตั้งวุฒิสภาเป็นโมฆะ นายเรืองไกร ก็คงไม่ลงสมัครและยอมเสียค่าสมัครดังที่เคยดำเนินการมาแล้ว
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. กล่าวยืนยันว่า การออก พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญแล้ว โดยได้นำภาพพ.ร.ฎ.เลือกตั้งวุฒิสภา เมื่อปี 2549 มาให้ดูเป็นแบบอย่าง การปฏิบัติที่เคยเกิดขึ้น
"ตัวอย่าง พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภา ปี 2549 ได้ให้ไว้ วันที่ 3 มี.ค. 49 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 9 มี.ค.49 โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 22 เม.ย. 49 เนื่องจากงานด้านธุรกรรมจะต้องทำไว้ก่อน มิฉะนั้นจะไม่ทัน" ประธาน กกต.ระบุ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลของผู้สื่อข่าวพบว่า วุฒิสภาชุดที่ 8 ซึ่งเลือกตั้งมาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้เริ่มวาระเมื่อ 22 มี.ค. 43 อยู่ครบเทอม 6 ปี จนหมดวาระในวันที่ 21 มี.ค. 49 โดย พ.ร.ฎ. เลือกตั้งครั้งถัดมา ออกในวันที่ 3 มี.ค. และมีผลบังคับ 22 มี.ค. ซึ่งแสดงชัดเจนว่า การปฏิบัติโดย
กกต. ชุดก่อนๆ ได้ยื่น พ.ร.ฎ. ก่อนครบวาระของวุฒิสภามาแล้ว อีกทั้งยังพบว่า นายเรืองไกร เองก็ยังเคยเป็นผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา กทม. ในวันที่ 19 เม.ย. 49 โดยพ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าวมาแล้ว แต่สอบตก จนต่อมานายเรืองไกร ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในแบบสรรหา เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 51 จึงเป็นเรื่องที่ตลกหรือนับเป็นการ ‘ปล่อยไก่’เพราะนายเรืองไกร ได้ร้องคัดค้านในสิ่งที่ตนเองเคยร่วมกระบวนการมาแล้วในอดีต โดยลงสมัครในการรับเลือกตั้งโดย พ.ร.ฎ.ที่ออกก่อนวุฒิสภาชุดก่อนจะหมดวาระ ซึ่งหากนายเรืองไกร เห็นว่าควรเป็นเหตุให้การเลือกตั้งวุฒิสภาเป็นโมฆะ นายเรืองไกร ก็คงไม่ลงสมัครและยอมเสียค่าสมัครดังที่เคยดำเนินการมาแล้ว