ASTVผู้จัดการรายวัน- 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ถอยกรูด ไม่เป็นคนกลาง หวั่นถูกมองเอียง เอื้อประโยชน์ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ชงคู่ขัดแย้ง“รัฐบาล-กปปส.” จริงใจเจรจา ให้เสนอ 10 รายชื่อที่แต่ละฝ่ายยอมรับ ภายใน 7 วัน ก่อนหาจุดร่วมไม่น้อยกว่า 5 รายชื่อ นั่ง “คณะคนกลาง”วางกรอบเจรจา "มาร์ค" คาดการเจรจาส่อล่ม เหตุ"ยิ่งลักษณ์" ยังเดินหน้ารักษาอำนาจเพราะคิดว่าฝ่ายตัวเองเหนือกว่า แฉ เล่ห์รัฐยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อเปิดทางให้ "แก๊งแดง" บุกกรุง ตามใบสั่ง"แม้ว"
วานนี้ ( 17 มี.ค.) ตัวแทน 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง และ นายพรชัย จำรูญพานิชย์กุล รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้แถลงรูปแบบ และแผนที่ความสำเร็จ เพื่อหาทางออกของประเทศ
โดยนางผาณิต กล่าวว่า วิกฤติทางการเมืองของประเทศในขณะนี้ ถือเป็นวิกฤติการที่อาจนำประเทศไปสู่ความเสียหาย ความสูญเสียที่ไม่อาจแก้ไขเยียวยาได้ โดยความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของทั้งสองฝ่าย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้น จึงจำเป็นที่ คนไทยต้องช่วยกันหาทางยุติความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และลดความขัดแย้งที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้น เพื่อให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
ที่ผ่านมาองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญไม่ได้นิ่งเฉย มีความห่วงใยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้มีการหารือร่วมกันมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ รวมทั้งผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ก็มีความเห็นว่า องค์กรอิสระ ควรเป็นผู้ประสานเบื้องต้น ในการสร้างสะพานเชื่อมในการสื่อสารประเด็นความขัดแย้งระหว่างคู่ขัดแย้ง เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ที่ตกผลึกร่วมกัน และข้อยุติที่เห็นร่วมกัน
ขณะที่นายสมชัย กล่าวว่า การเปิดตัวของ 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำเกินหน้าที่ ไม่ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่า ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใด ที่ระบุว่า เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง ให้มีองค์กรใดมาทำหน้าที่แก้ไข แต่การที่ทั้ง 6 องค์กร ต้องออกมาเป็นการตระหนักถึงหน้าที่ของพลเมืองไทยที่รักประเทศไทย จึงจำเป็นต้องทำบางอย่าง ซึ่งก็มีข้อครหา เรื่องความไม่เป็นกลาง และมีการคาดการว่า สิ่งที่จะเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทำให้ก่อนแถลงข่าวในครั้งนี้ ทั้ง 6 องค์กร ได้มีการประชุมทบทวนแนวทางของ 4 กรอบการเจรจา และ 6 ขั้นตอนความสำเร็จ และใครจะเป็นคนกลาง ที่จะทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จ
โดยได้ข้อสรุปว่า ทั้ง 6 องค์กรฯ จะไม่เป็นคนกลางในการเจรจา ระหว่างคู่ขัดแย้งหลัก คือรัฐบาล กับ กปปส. แต่จะมีหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาล และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาฯ กปปส. ในวันนี้ (18 มี.ค.) เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้เสนอรายชื่อบุคคลที่แต่ละฝ่ายยอมรับและ พร้อมให้เป็นคนกลาง ฝ่ายละ 10 คน เพื่อหารายชื่อที่ตรงกัน ไม่น้อยกว่า 5 รายชื่อ มาทำหน้าที่คณะคนกลาง เพื่อวางกรอบการเจรจา และแผนความสำเร็จ ซึ่งอาจใช้กรอบการเจรจาเดิมที่ตั้งไว้เป็นแนวทาง หรือไม่ก็ได้ ซึ่งนายโอกาส จะเป็นผู้ทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อ
ขณะที่ ทั้ง 6 องค์กรฯ พร้อมที่จะสนับสนุนการจัดประชุมของคณะคนกลาง ซึ่งหากมีเรื่องต้องใช้งบประมาณ ก็จะเป็นผู้เสนอขอต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตาม กระบวนการเสนอชื่อคณะคนกลาง อาจไม่สำเร็จได้ในครั้งเดียว แต่ละฝ่ายอาจจะต้องเสนอรายชื่อคนกลาง 2-3 ครั้ง กว่าจะได้ข้อสรุป แต่หากได้รับการตอบรับจากคู่ขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย ก็เชื่อว่าน่าจะประสบความสำเร็จภาย ใน 1 เดือน
"ตามแผนที่ความสำเร็จ 6 ขั้นตอน ตอนนี้เราได้ประกาศต่อสาธารณะ เพื่อให้คู้ขัดแย้งมีการแจรจา ซึ่งสังคมต้องร่วมกันกดดันให้เกิดการเจรจา ซึ่งเป็นขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 คือ การให้มีคณะคนกลางที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ ส่วนขั้นตอนที่ 3-6 คือ การรับฟังข้อเสนอของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อสร้างข้อเสนอใหม่ที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ การประสานเพื่อปรับข้อเสนอให้ 2 ฝ่ายเข้าใกล้กันมากที่สุด การจัดประชุมของผู้มีอำนาจสูงสุดของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อสร้างข้อยุติ และการร่วมกันแถลงผลการเจรจาต่อสาธารณะนั้น ต้องให้คณะคนกลางเป็นผู้กำหนด และดำเนินการ 6 องค์กรฯ จะไม่เข้ายุ่งเกี่ยว ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการนี้ จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายมากที่สุด”
นายสมชัย ยังกล่าวอีกว่า บุคคลที่ถูกเสนอมาเป็นคนกลาง ต้องเสียสละ และพร้อมที่จะทำหน้าที่ โดยจะเป็นใครก็ได้ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ ไม่ปิดกั้น ประมุข 6 องค์กรฯ หรือ ผู้นำเหล่าทัพ หากมีการเสนอชื่อ แต่ทั้งนี้การทำงานของคณะคนกลาง จะต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย และอยู่ภายใต้การตรวจสอบของสาธารณะ และไม่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย หรือ เกี้ยเซียะกัน และต้องเป็นไปตามกฎหมาย ไม่สร้างเงื่อนไขโดยนำคดีต่างๆ ที่ทั้ง 6 องค์กร กำลังพิจารณามาต่อรอง เช่น การพิจารณาคดีของ ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังคงดำเนินต่อไป กกต.เอง ก็ยังเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งหากว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนี้ 6 องค์กร ก็จะประกาศถอนตัวทันที
** ส่อล่ม เหตุ"ปู"ยังเดินหน้ารักษาอำนาจ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แต่ละหน่วยงานควรจะทำหน้าที่ของตนเอง สังคมต่างหากที่ต้องพยายามหาทางออกให้ได้ โดยไม่ต้องพูดถึงฝักฝ่าย แต่พูดถึงความถูกต้อง และเหมาะสมในแนวทางที่ควรจะเดินไป หาก 6 องค์กรอิสระ อยากลองใช้วิธีนี้ ตนไม่ทราบว่าการตอบสนองของทั้งรัฐบาล และ กปปส. จะเป็นอย่างไร เพราะยังนึกภาพอย่างเป็นรูปธรรมไม่ออก เนื่องจากเคยมีความพยายามของหลายฝ่ายในการหาคำตอบมาแล้ว ทั้งนี้ ตนเห็นใจองค์กรอิสระ ที่มองว่ายากจะมีการเริ่มต้นขบวนการ แต่มีคนพยายามทำงานในลักษณะนี้อยู่มากแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่รัฐบาล ยังเชื่อมั่นในการครองอำนาจ มีมวลชนสนับสนุน ที่จะนำมาใช้ จึงมีท่าทีเผชิญหน้า เดินหน้ารักษาอำนาจ ทำให้ยากที่จะพูดคุย
อย่างไรก็ตาม เมื่อบทสรุปขององค์กรอิสระ เป็นแค่คนกลาง ก็ไม่มีปัญหา เรื่องการเข้ามาเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง เพราะเพียงแต่เสนอให้เกิดวิธีการพูดคุย ตนก็เคยกังวลว่า หากมีข้อเสนอใดกระทบ หรือเกี่ยวพันกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้น ก็ไม่ดี
"ทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ของตัวเอง คดีต่างๆ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาขององค์กรอิสระ แม้จะได้ข้อยุติในคดีต่างๆ ก็ยังไม่เพียงพอในการหาคำตอบทางการเมือง หากรัฐบาลยังไม่พร้อมที่จะพูดคุยหาทางออก นอกจากที่นายกฯ ยืนยันให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน แล้วเดินหน้าให้เสร็จ หากยังไม่ถอยจากจุดนี้ ก็เป็นเรื่องยาก เพราะในที่สุด ก็จะได้รับผลกระทบจาก ป.ป.ช. หรือศาลรัธรรมนูญ เพราะมีหลายคดีของรัฐบาลค้างอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดมาตั้งแต่ต้น และสุดท้ายก็เกิดปัญหา รัฐบาลจะไม่ยอมรับคำตัดสินไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ เห็นหลายคดีที่ชนะ ก็ยอมรับ ขณะนี้ไม่มีเหตุที่ประชาชนจะตกเป็นเหยื่อของการปลุกระดมด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากรัฐบาล"
** ชี้เลิกพ.ร.ก.เปิดทางให้นปช.เข้ากรุง
นายอภิสิทธิ์ ยังไม่สนใจที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ นปช. เพราะเป็นการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มเดียวกัน แต่ไม่แน่ใจว่า จะนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงหรือไม่ เพราะยังไม่มีการเผชิญหน้า แต่ตั้งข้อสังเกตถึงจังหวะการยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องการเปิดทางให้กลุ่ม นปช.เข้ามา กทม.หรือไม่ ซึ่งน่าเป็นห่วง เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลอยากใช้เครื่องมือ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ยังคิดจะอุทธรณ์คำสั่งศาลแพ่ง แต่กลับมีการเปลี่ยนท่าทีหลังพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บอกให้เลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งตนก็เป็นห่วงว่า จะมีการนำมวลชนมาปะทะกัน เพราะรัฐบาลส่งสัญญาณพร้อมเผชิญหน้าทุกอย่าง
เมื่อถามว่า ตอนปี 2549 เงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เกิดรัฐประการ คือการนำมวลชนมาปะทะกัน คิดว่าครั้งนี้จะซ้ำรอยได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าในปี 49 มีความวิตกว่าประชาชนจะปะทะกัน แต่วันนี้ กปปส.พูดชัดว่า ถ้ามาปะทะเขาไม่ปะทะด้วย ก็ไม่มีเงื่อนไข แม้ว่าจะมีการชุมนุมเพื่อวัดจำนวนคน ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะ กปปส.พูดชัดเจนว่า หากมีเจตนาจะมาปะทะ เขาไม่ปะทะด้วย จึงน่าจะลดความกังวลไปได้ระดับหนึ่ง
ส่วนกรณีที่ นายวุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ ระบุว่า เตรียมกองกำลัง ช้างสารมดแดง ที่จะปกป้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ หากถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตจำนำข้าว นั้น นายอภิสิทธิ์ เห็นว่าเป็นบทบาทของ นายโกตี๋ มาตลอด ไม่เข้าใจทำไมเจ้าหน้าไม่เคยปรามเรื่องเหล่านี้ ซึ่งตนคิดว่า มีความพยายามที่จะใช้การสื่อสารเพื่อข่มขู่คนที่ทำหน้าที่ แต่บ้านเมืองจะเดินไปได้ระยะยาว คนทำหน้าที่ต้องเที่ยงตรง เป็นธรรม ขณะนี้นอกจากข่มขู่องค์กรอิสระแล้ว นายกฯ ยังขู่ประชาชนด้วยว่า จะยืนสู้ตราบเท่าที่รัฐบาลเป็นอย่างนี้ รัฐบาล คือคนที่ขวางการหาทางออก เพราะไม่พร้อมรับฟังคนที่ไม่เห็นด้วย และมีการประท้วงมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้เห็นว่า คนในรัฐบาลพยายามปลุกกระแสการทำรัฐประหาร เพื่อสร้างเงื่อนไขในการระดมมวลชน
** เตือน"ปู"จะมีจุดจบเหมือน"แม้ว"
เมื่อถามว่า รัฐบาลจะปลุกผีรัฐประหารสำเร็จหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่ท่าทีของกองทัพ แต่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ก็มีความชัดเจนในแนวทางของกองทัพอยู่ ก็ต้องยอมรับว่า หากยังเดินกันไปแบบนี้ บ้านเมืองก็ติดหล่มอยู่ตรงนี้ ประชาชนเดือดร้อน ต้องช่วยกันหาทางออกไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ไม่ใช่หาทางออกพื่อให้จบๆ กันไป แต่ในที่สุดปัญหาจะกลับมาปะทุใหม่ ตนเชื่อว่ามีแนวทาง อยู่ที่รัฐบาลพร้อมจะเดินหรือไม่ เพราะต้องเริ่มจากฝ่ายการเมืองเป็นหลัก
"ผมฝากถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ จนเหนื่อยแล้ว แต่ก็ยังอยากให้ทบทวน และถามตัวเองเพราะเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มีความสุข ต้องถามว่าจะให้บ้านเมืองเดินไปอย่างนี้เพื่ออะไร ขอให้ฟังคนอื่นบ้าง ไม่ใช่ฟังคนรอบตัวแล้วให้ตรรกะเดิมๆ อยากเตือน จะได้ไม่มาตกใจภายหลังว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะสิ่งที่นายกฯ แสดงอาการขณะนี้ คนอื่นเตือนมานานแล้ว แต่นายกฯ มัวแต่เชื่อคนรอบข้าง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าสุดท้ายคิดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมีจุดจบอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตกใจ แต่ขอย้ำว่า ควรดูบทเรีบนพี่ชายตัวเองว่า ในที่สุดไม่ว่าจะเงิน หรืออำนาจ หรือคนรอบข้าง ก็ไม่สามารถอยู่เหนือความถูกต้อง และกฎหมายได้ เพราะสังคมไทยไม่ยอม เงิน อำนาจ หรือ มวลชนอย่างเดียว เพราะสุดท้ายเดินไปไม่ได้
SCฟ้องแพ่งเรียก110ล. "สุเทพ -กปปส."ปิดตึกชินฯ
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC มอบอำนาจให้ทนายความ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. กับพวกรวม 13 คน เป็นจำเลย เรื่องกระทำละเมิดจากกรณีที่นำผู้ชุมนุม กปปส.ปิดล้อม อาคารชินวัตร 3 ถ.วิภาวดี ที่ตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยเรียกค่าเสียหายกว่า 110 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ขณะนี้ยังไม่มีเหตุบ่งชี้ว่าจะเกิดการกระทำที่เป็นเหตุฉุกเฉิน ดังนั้นจึงยังไม่ได้ไต่สวนใดๆ ศาลจึงเพียงแต่รับคำฟ้องที่เรียกค่าเสียหายไว้พิจารณาและกำหนดนัดชี้ 2 สถาน หรือนัดตรวจพยานหลักฐาน เพื่อนัดพร้อมคู่ความพิจารณาคดีนี้ในวันที่ 2 มิถุนายน นี้ เวลา 13.00 น.
วานนี้ ( 17 มี.ค.) ตัวแทน 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง และ นายพรชัย จำรูญพานิชย์กุล รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้แถลงรูปแบบ และแผนที่ความสำเร็จ เพื่อหาทางออกของประเทศ
โดยนางผาณิต กล่าวว่า วิกฤติทางการเมืองของประเทศในขณะนี้ ถือเป็นวิกฤติการที่อาจนำประเทศไปสู่ความเสียหาย ความสูญเสียที่ไม่อาจแก้ไขเยียวยาได้ โดยความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของทั้งสองฝ่าย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมืองด้วยกันทั้งสิ้น จึงจำเป็นที่ คนไทยต้องช่วยกันหาทางยุติความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และลดความขัดแย้งที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้น เพื่อให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
ที่ผ่านมาองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญไม่ได้นิ่งเฉย มีความห่วงใยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้มีการหารือร่วมกันมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ รวมทั้งผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ก็มีความเห็นว่า องค์กรอิสระ ควรเป็นผู้ประสานเบื้องต้น ในการสร้างสะพานเชื่อมในการสื่อสารประเด็นความขัดแย้งระหว่างคู่ขัดแย้ง เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ที่ตกผลึกร่วมกัน และข้อยุติที่เห็นร่วมกัน
ขณะที่นายสมชัย กล่าวว่า การเปิดตัวของ 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำเกินหน้าที่ ไม่ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่า ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใด ที่ระบุว่า เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมือง ให้มีองค์กรใดมาทำหน้าที่แก้ไข แต่การที่ทั้ง 6 องค์กร ต้องออกมาเป็นการตระหนักถึงหน้าที่ของพลเมืองไทยที่รักประเทศไทย จึงจำเป็นต้องทำบางอย่าง ซึ่งก็มีข้อครหา เรื่องความไม่เป็นกลาง และมีการคาดการว่า สิ่งที่จะเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทำให้ก่อนแถลงข่าวในครั้งนี้ ทั้ง 6 องค์กร ได้มีการประชุมทบทวนแนวทางของ 4 กรอบการเจรจา และ 6 ขั้นตอนความสำเร็จ และใครจะเป็นคนกลาง ที่จะทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จ
โดยได้ข้อสรุปว่า ทั้ง 6 องค์กรฯ จะไม่เป็นคนกลางในการเจรจา ระหว่างคู่ขัดแย้งหลัก คือรัฐบาล กับ กปปส. แต่จะมีหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาล และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาฯ กปปส. ในวันนี้ (18 มี.ค.) เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้เสนอรายชื่อบุคคลที่แต่ละฝ่ายยอมรับและ พร้อมให้เป็นคนกลาง ฝ่ายละ 10 คน เพื่อหารายชื่อที่ตรงกัน ไม่น้อยกว่า 5 รายชื่อ มาทำหน้าที่คณะคนกลาง เพื่อวางกรอบการเจรจา และแผนความสำเร็จ ซึ่งอาจใช้กรอบการเจรจาเดิมที่ตั้งไว้เป็นแนวทาง หรือไม่ก็ได้ ซึ่งนายโอกาส จะเป็นผู้ทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อ
ขณะที่ ทั้ง 6 องค์กรฯ พร้อมที่จะสนับสนุนการจัดประชุมของคณะคนกลาง ซึ่งหากมีเรื่องต้องใช้งบประมาณ ก็จะเป็นผู้เสนอขอต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตาม กระบวนการเสนอชื่อคณะคนกลาง อาจไม่สำเร็จได้ในครั้งเดียว แต่ละฝ่ายอาจจะต้องเสนอรายชื่อคนกลาง 2-3 ครั้ง กว่าจะได้ข้อสรุป แต่หากได้รับการตอบรับจากคู่ขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย ก็เชื่อว่าน่าจะประสบความสำเร็จภาย ใน 1 เดือน
"ตามแผนที่ความสำเร็จ 6 ขั้นตอน ตอนนี้เราได้ประกาศต่อสาธารณะ เพื่อให้คู้ขัดแย้งมีการแจรจา ซึ่งสังคมต้องร่วมกันกดดันให้เกิดการเจรจา ซึ่งเป็นขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 คือ การให้มีคณะคนกลางที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ ส่วนขั้นตอนที่ 3-6 คือ การรับฟังข้อเสนอของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อสร้างข้อเสนอใหม่ที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ การประสานเพื่อปรับข้อเสนอให้ 2 ฝ่ายเข้าใกล้กันมากที่สุด การจัดประชุมของผู้มีอำนาจสูงสุดของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อสร้างข้อยุติ และการร่วมกันแถลงผลการเจรจาต่อสาธารณะนั้น ต้องให้คณะคนกลางเป็นผู้กำหนด และดำเนินการ 6 องค์กรฯ จะไม่เข้ายุ่งเกี่ยว ซึ่งเชื่อว่ากระบวนการนี้ จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายมากที่สุด”
นายสมชัย ยังกล่าวอีกว่า บุคคลที่ถูกเสนอมาเป็นคนกลาง ต้องเสียสละ และพร้อมที่จะทำหน้าที่ โดยจะเป็นใครก็ได้ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ ไม่ปิดกั้น ประมุข 6 องค์กรฯ หรือ ผู้นำเหล่าทัพ หากมีการเสนอชื่อ แต่ทั้งนี้การทำงานของคณะคนกลาง จะต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย และอยู่ภายใต้การตรวจสอบของสาธารณะ และไม่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย หรือ เกี้ยเซียะกัน และต้องเป็นไปตามกฎหมาย ไม่สร้างเงื่อนไขโดยนำคดีต่างๆ ที่ทั้ง 6 องค์กร กำลังพิจารณามาต่อรอง เช่น การพิจารณาคดีของ ป.ป.ช. ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังคงดำเนินต่อไป กกต.เอง ก็ยังเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งหากว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนี้ 6 องค์กร ก็จะประกาศถอนตัวทันที
** ส่อล่ม เหตุ"ปู"ยังเดินหน้ารักษาอำนาจ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แต่ละหน่วยงานควรจะทำหน้าที่ของตนเอง สังคมต่างหากที่ต้องพยายามหาทางออกให้ได้ โดยไม่ต้องพูดถึงฝักฝ่าย แต่พูดถึงความถูกต้อง และเหมาะสมในแนวทางที่ควรจะเดินไป หาก 6 องค์กรอิสระ อยากลองใช้วิธีนี้ ตนไม่ทราบว่าการตอบสนองของทั้งรัฐบาล และ กปปส. จะเป็นอย่างไร เพราะยังนึกภาพอย่างเป็นรูปธรรมไม่ออก เนื่องจากเคยมีความพยายามของหลายฝ่ายในการหาคำตอบมาแล้ว ทั้งนี้ ตนเห็นใจองค์กรอิสระ ที่มองว่ายากจะมีการเริ่มต้นขบวนการ แต่มีคนพยายามทำงานในลักษณะนี้อยู่มากแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่รัฐบาล ยังเชื่อมั่นในการครองอำนาจ มีมวลชนสนับสนุน ที่จะนำมาใช้ จึงมีท่าทีเผชิญหน้า เดินหน้ารักษาอำนาจ ทำให้ยากที่จะพูดคุย
อย่างไรก็ตาม เมื่อบทสรุปขององค์กรอิสระ เป็นแค่คนกลาง ก็ไม่มีปัญหา เรื่องการเข้ามาเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง เพราะเพียงแต่เสนอให้เกิดวิธีการพูดคุย ตนก็เคยกังวลว่า หากมีข้อเสนอใดกระทบ หรือเกี่ยวพันกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้น ก็ไม่ดี
"ทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ของตัวเอง คดีต่างๆ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาขององค์กรอิสระ แม้จะได้ข้อยุติในคดีต่างๆ ก็ยังไม่เพียงพอในการหาคำตอบทางการเมือง หากรัฐบาลยังไม่พร้อมที่จะพูดคุยหาทางออก นอกจากที่นายกฯ ยืนยันให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน แล้วเดินหน้าให้เสร็จ หากยังไม่ถอยจากจุดนี้ ก็เป็นเรื่องยาก เพราะในที่สุด ก็จะได้รับผลกระทบจาก ป.ป.ช. หรือศาลรัธรรมนูญ เพราะมีหลายคดีของรัฐบาลค้างอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดมาตั้งแต่ต้น และสุดท้ายก็เกิดปัญหา รัฐบาลจะไม่ยอมรับคำตัดสินไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ เห็นหลายคดีที่ชนะ ก็ยอมรับ ขณะนี้ไม่มีเหตุที่ประชาชนจะตกเป็นเหยื่อของการปลุกระดมด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากรัฐบาล"
** ชี้เลิกพ.ร.ก.เปิดทางให้นปช.เข้ากรุง
นายอภิสิทธิ์ ยังไม่สนใจที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ นปช. เพราะเป็นการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มเดียวกัน แต่ไม่แน่ใจว่า จะนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงหรือไม่ เพราะยังไม่มีการเผชิญหน้า แต่ตั้งข้อสังเกตถึงจังหวะการยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องการเปิดทางให้กลุ่ม นปช.เข้ามา กทม.หรือไม่ ซึ่งน่าเป็นห่วง เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลอยากใช้เครื่องมือ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ยังคิดจะอุทธรณ์คำสั่งศาลแพ่ง แต่กลับมีการเปลี่ยนท่าทีหลังพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บอกให้เลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งตนก็เป็นห่วงว่า จะมีการนำมวลชนมาปะทะกัน เพราะรัฐบาลส่งสัญญาณพร้อมเผชิญหน้าทุกอย่าง
เมื่อถามว่า ตอนปี 2549 เงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เกิดรัฐประการ คือการนำมวลชนมาปะทะกัน คิดว่าครั้งนี้จะซ้ำรอยได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าในปี 49 มีความวิตกว่าประชาชนจะปะทะกัน แต่วันนี้ กปปส.พูดชัดว่า ถ้ามาปะทะเขาไม่ปะทะด้วย ก็ไม่มีเงื่อนไข แม้ว่าจะมีการชุมนุมเพื่อวัดจำนวนคน ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะ กปปส.พูดชัดเจนว่า หากมีเจตนาจะมาปะทะ เขาไม่ปะทะด้วย จึงน่าจะลดความกังวลไปได้ระดับหนึ่ง
ส่วนกรณีที่ นายวุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ ระบุว่า เตรียมกองกำลัง ช้างสารมดแดง ที่จะปกป้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ หากถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตจำนำข้าว นั้น นายอภิสิทธิ์ เห็นว่าเป็นบทบาทของ นายโกตี๋ มาตลอด ไม่เข้าใจทำไมเจ้าหน้าไม่เคยปรามเรื่องเหล่านี้ ซึ่งตนคิดว่า มีความพยายามที่จะใช้การสื่อสารเพื่อข่มขู่คนที่ทำหน้าที่ แต่บ้านเมืองจะเดินไปได้ระยะยาว คนทำหน้าที่ต้องเที่ยงตรง เป็นธรรม ขณะนี้นอกจากข่มขู่องค์กรอิสระแล้ว นายกฯ ยังขู่ประชาชนด้วยว่า จะยืนสู้ตราบเท่าที่รัฐบาลเป็นอย่างนี้ รัฐบาล คือคนที่ขวางการหาทางออก เพราะไม่พร้อมรับฟังคนที่ไม่เห็นด้วย และมีการประท้วงมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้เห็นว่า คนในรัฐบาลพยายามปลุกกระแสการทำรัฐประหาร เพื่อสร้างเงื่อนไขในการระดมมวลชน
** เตือน"ปู"จะมีจุดจบเหมือน"แม้ว"
เมื่อถามว่า รัฐบาลจะปลุกผีรัฐประหารสำเร็จหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่ท่าทีของกองทัพ แต่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ก็มีความชัดเจนในแนวทางของกองทัพอยู่ ก็ต้องยอมรับว่า หากยังเดินกันไปแบบนี้ บ้านเมืองก็ติดหล่มอยู่ตรงนี้ ประชาชนเดือดร้อน ต้องช่วยกันหาทางออกไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ไม่ใช่หาทางออกพื่อให้จบๆ กันไป แต่ในที่สุดปัญหาจะกลับมาปะทุใหม่ ตนเชื่อว่ามีแนวทาง อยู่ที่รัฐบาลพร้อมจะเดินหรือไม่ เพราะต้องเริ่มจากฝ่ายการเมืองเป็นหลัก
"ผมฝากถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ จนเหนื่อยแล้ว แต่ก็ยังอยากให้ทบทวน และถามตัวเองเพราะเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มีความสุข ต้องถามว่าจะให้บ้านเมืองเดินไปอย่างนี้เพื่ออะไร ขอให้ฟังคนอื่นบ้าง ไม่ใช่ฟังคนรอบตัวแล้วให้ตรรกะเดิมๆ อยากเตือน จะได้ไม่มาตกใจภายหลังว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะสิ่งที่นายกฯ แสดงอาการขณะนี้ คนอื่นเตือนมานานแล้ว แต่นายกฯ มัวแต่เชื่อคนรอบข้าง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
เมื่อถามว่าสุดท้ายคิดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมีจุดจบอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตกใจ แต่ขอย้ำว่า ควรดูบทเรีบนพี่ชายตัวเองว่า ในที่สุดไม่ว่าจะเงิน หรืออำนาจ หรือคนรอบข้าง ก็ไม่สามารถอยู่เหนือความถูกต้อง และกฎหมายได้ เพราะสังคมไทยไม่ยอม เงิน อำนาจ หรือ มวลชนอย่างเดียว เพราะสุดท้ายเดินไปไม่ได้
SCฟ้องแพ่งเรียก110ล. "สุเทพ -กปปส."ปิดตึกชินฯ
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC มอบอำนาจให้ทนายความ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. กับพวกรวม 13 คน เป็นจำเลย เรื่องกระทำละเมิดจากกรณีที่นำผู้ชุมนุม กปปส.ปิดล้อม อาคารชินวัตร 3 ถ.วิภาวดี ที่ตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยเรียกค่าเสียหายกว่า 110 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ขณะนี้ยังไม่มีเหตุบ่งชี้ว่าจะเกิดการกระทำที่เป็นเหตุฉุกเฉิน ดังนั้นจึงยังไม่ได้ไต่สวนใดๆ ศาลจึงเพียงแต่รับคำฟ้องที่เรียกค่าเสียหายไว้พิจารณาและกำหนดนัดชี้ 2 สถาน หรือนัดตรวจพยานหลักฐาน เพื่อนัดพร้อมคู่ความพิจารณาคดีนี้ในวันที่ 2 มิถุนายน นี้ เวลา 13.00 น.