นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยกับสื่อมวลชนชี้ว่า ทหารมีทั้งอำนาจและหน้าที่ในการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน ดังนั้นที่รองโฆษกกองทัพบกแถลงว่าไม่มีอำนาจพิเศษ และต้องรอจนกว่าเกิดจลาจล ประชาชนเจ็บตายจำนวนมากจึงจะออกมาได้นั้นเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติและประชาชน เรียกร้องให้ทำความเข้าใจอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่ากองทัพไทยและสามเหล่าทัพ รวมทั้งหน่วยทหารทุกหน่วย และทหารทุกคน มีหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติถึงสองหน้าที่ คือหน้าที่ในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทย ที่มีหน้าที่อย่างเดียวกันกับที่มวลมหาประชาชนกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่อย่างหนึ่ง และหน้าที่ในฐานะทหาร คือมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยของประเทศ พิทักษ์รักษาประเทศชาติ พระมหากษัตริย์ และคุ้มครองประชาชน นี่คือหน้าที่ที่ทหารทุกคนมีอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย และเป็นหน้าที่ที่ได้ถวายสัตย์ไว้ต่อพระมหากษัตริย์ และได้ปฏิญาณต่อหน้าธงชัยเฉลิมพลตลอดมา กระทั่งได้เขียนเป็นข้อความเตือนใจไว้ที่หน้าหน่วยทหารทุกหน่วยว่า “เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน” นี่คือหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานเฉพาะในการดูแลรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ที่มีอำนาจและเขตอำนาจกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งกิจการทางทหาร และพลเรือน คือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีอำนาจแม้ในการปราบปรามโจรผู้ร้าย ในการปราบปรามยาเสพติด หรือความผิดในการเข้าเมือง หรือในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทหารทุกนายจึงต้องตระหนักและสำนึกในหน้าที่นี้ มิฉะนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตระบัดสัตย์ หรือไม่รับผิดชอบในหน้าที่เพราะว่าความขี้ขลาดตาขาว ซึ่งไม่ใช่วิสัยของทหาร
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าเมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ทหารมีหน้าที่สำคัญยิ่งอย่างนี้ รัฐธรรมนูญจึงให้อำนาจกองทัพและทหารในการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และอำนาจนั้นก็เหนือกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่วางแบบแผนในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่กองทัพและทหารและอำนาจของทหารมีไว้เพื่อคุ้มครองรักษาชาติ รัฐ และประชาชน นั่นคือรัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่กองทัพและทหารในการปฏิบัติการได้ทุกอย่างตามอำนาจของฝ่ายทหาร ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน คือเป็นพระราชอำนาจที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ 5 คือกฎอัยการศึก ซึ่งแม้หลัง พ.ศ. 2475 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญและกฎหมายทั้งหลายก็ยอมรับนับถือในอำนาจที่ว่านี้ และเพื่อให้การใช้อำนาจนี้มีประสิทธิภาพ กฎอัยการศึกจึงมีลักษณะพิเศษถึงสามประการ คือ
ประการแรก ให้อำนาจผู้บังคับหน่วยระดับกองพันที่มีทหารในบังคับบัญชา มีอำนาจที่จะประกาศกฎอัยการศึกได้ เมื่อมีเหตุที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่อพระมหากษัตริย์ และต่อประชาชน
ประการที่สอง ให้อำนาจอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องรับผิดชอบในทางแพ่งหรือทางอาญาใดๆ มีขอบเขตอำนาจกว้างขวางถึงขนาดประหารชีวิต หรือทำลายล้างอย่างใดๆ ก็ได้ หรือจะเกณฑ์ หรือจะจับกุม ตรวจค้น ควบคุมกิจการใดๆ ก็ได้ อำนาจนี้สามารถที่จะจับกุม ควบคุมตัว ผู้ที่เห็นเป็นอันตรายได้ทุกคน ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงมาจนถึงอันธพาลข้างถนน
ประการที่สาม ประกันการใช้อำนาจของกองทัพและทหารว่าจะไม่ถูกแทรกแซงหรือยกเลิกเพิกถอนโดยรัฐบาล หรือนักการเมือง หรือแม้กระทั่งผู้บังคับบัญชาที่ทรยศต่อประเทศชาติ ต่อพระมหากษัตริย์ และต่อประชาชน โดยกฎอัยการศึกนั้นเมื่อประกาศใช้แล้วจะยกเลิกเสียได้ก็แต่โดยพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์เท่านั้น
เหล่านี้คือหน้าที่เฉพาะของกองทัพและทหาร ซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายได้มอบอำนาจพิเศษไว้ให้เพื่อทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวอีกว่าสถานการณ์ทุกวันนี้เป็นที่ชัดเจนต่อประชาชนทั่วประเทศแล้วว่า มีการก่อกบฏเกิดขึ้นในราชอาณาจักร มีการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างร้ายแรงและกว้างขวาง มีการใช้กองกำลังต่างชาติติดอาวุธร้ายแรงร่วมกับกองกำลังนอกกฎหมาย และเจ้าหน้าที่บางส่วนก่อเหตุรุนแรงขึ้นในประเทศ แม้กระทั่งใจกลางกรุงเทพฯ ใช้อาวุธสงครามทำร้ายประชาชน ฆ่าประชาชน ทั้งกลางวันและกลางคืนไม่เว้นแต่ละวันแต่ละคืน และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระดมมาแล้วจำนวนมากก็ไม่สามารถป้องกันแก้ไขใดๆ ได้เลย ยังมีการกระทำดังที่รองโฆษกกองทัพบกเคยแถลงไว้เองว่า กระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรงมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกองทัพและทหารที่จะต้องทำหน้าที่โดยอาศัยอำนาจที่ มีอยู่ พร้อมกับเตือนด้วยว่าถ้าสถานการณ์ยังเป็นอยู่เช่นนี้ สักวันหนึ่งก็อาจจะมีนายทหารที่มีอำนาจตามกฎอัยการศึกประกาศกฎอัยการศึกด้วย อำนาจตามกฎหมายนั้น เพื่อปกป้องคุ้มครองช่วยเหลือประชาชน และพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้.
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่ากองทัพไทยและสามเหล่าทัพ รวมทั้งหน่วยทหารทุกหน่วย และทหารทุกคน มีหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติถึงสองหน้าที่ คือหน้าที่ในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทย ที่มีหน้าที่อย่างเดียวกันกับที่มวลมหาประชาชนกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่อย่างหนึ่ง และหน้าที่ในฐานะทหาร คือมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยของประเทศ พิทักษ์รักษาประเทศชาติ พระมหากษัตริย์ และคุ้มครองประชาชน นี่คือหน้าที่ที่ทหารทุกคนมีอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย และเป็นหน้าที่ที่ได้ถวายสัตย์ไว้ต่อพระมหากษัตริย์ และได้ปฏิญาณต่อหน้าธงชัยเฉลิมพลตลอดมา กระทั่งได้เขียนเป็นข้อความเตือนใจไว้ที่หน้าหน่วยทหารทุกหน่วยว่า “เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน” นี่คือหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานเฉพาะในการดูแลรักษาความมั่นคงภายในประเทศ ที่มีอำนาจและเขตอำนาจกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งกิจการทางทหาร และพลเรือน คือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีอำนาจแม้ในการปราบปรามโจรผู้ร้าย ในการปราบปรามยาเสพติด หรือความผิดในการเข้าเมือง หรือในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทหารทุกนายจึงต้องตระหนักและสำนึกในหน้าที่นี้ มิฉะนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตระบัดสัตย์ หรือไม่รับผิดชอบในหน้าที่เพราะว่าความขี้ขลาดตาขาว ซึ่งไม่ใช่วิสัยของทหาร
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าเมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ทหารมีหน้าที่สำคัญยิ่งอย่างนี้ รัฐธรรมนูญจึงให้อำนาจกองทัพและทหารในการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และอำนาจนั้นก็เหนือกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่วางแบบแผนในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่กองทัพและทหารและอำนาจของทหารมีไว้เพื่อคุ้มครองรักษาชาติ รัฐ และประชาชน นั่นคือรัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่กองทัพและทหารในการปฏิบัติการได้ทุกอย่างตามอำนาจของฝ่ายทหาร ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน คือเป็นพระราชอำนาจที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ 5 คือกฎอัยการศึก ซึ่งแม้หลัง พ.ศ. 2475 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญและกฎหมายทั้งหลายก็ยอมรับนับถือในอำนาจที่ว่านี้ และเพื่อให้การใช้อำนาจนี้มีประสิทธิภาพ กฎอัยการศึกจึงมีลักษณะพิเศษถึงสามประการ คือ
ประการแรก ให้อำนาจผู้บังคับหน่วยระดับกองพันที่มีทหารในบังคับบัญชา มีอำนาจที่จะประกาศกฎอัยการศึกได้ เมื่อมีเหตุที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่อพระมหากษัตริย์ และต่อประชาชน
ประการที่สอง ให้อำนาจอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องรับผิดชอบในทางแพ่งหรือทางอาญาใดๆ มีขอบเขตอำนาจกว้างขวางถึงขนาดประหารชีวิต หรือทำลายล้างอย่างใดๆ ก็ได้ หรือจะเกณฑ์ หรือจะจับกุม ตรวจค้น ควบคุมกิจการใดๆ ก็ได้ อำนาจนี้สามารถที่จะจับกุม ควบคุมตัว ผู้ที่เห็นเป็นอันตรายได้ทุกคน ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงมาจนถึงอันธพาลข้างถนน
ประการที่สาม ประกันการใช้อำนาจของกองทัพและทหารว่าจะไม่ถูกแทรกแซงหรือยกเลิกเพิกถอนโดยรัฐบาล หรือนักการเมือง หรือแม้กระทั่งผู้บังคับบัญชาที่ทรยศต่อประเทศชาติ ต่อพระมหากษัตริย์ และต่อประชาชน โดยกฎอัยการศึกนั้นเมื่อประกาศใช้แล้วจะยกเลิกเสียได้ก็แต่โดยพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์เท่านั้น
เหล่านี้คือหน้าที่เฉพาะของกองทัพและทหาร ซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายได้มอบอำนาจพิเศษไว้ให้เพื่อทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวอีกว่าสถานการณ์ทุกวันนี้เป็นที่ชัดเจนต่อประชาชนทั่วประเทศแล้วว่า มีการก่อกบฏเกิดขึ้นในราชอาณาจักร มีการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างร้ายแรงและกว้างขวาง มีการใช้กองกำลังต่างชาติติดอาวุธร้ายแรงร่วมกับกองกำลังนอกกฎหมาย และเจ้าหน้าที่บางส่วนก่อเหตุรุนแรงขึ้นในประเทศ แม้กระทั่งใจกลางกรุงเทพฯ ใช้อาวุธสงครามทำร้ายประชาชน ฆ่าประชาชน ทั้งกลางวันและกลางคืนไม่เว้นแต่ละวันแต่ละคืน และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระดมมาแล้วจำนวนมากก็ไม่สามารถป้องกันแก้ไขใดๆ ได้เลย ยังมีการกระทำดังที่รองโฆษกกองทัพบกเคยแถลงไว้เองว่า กระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรงมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกองทัพและทหารที่จะต้องทำหน้าที่โดยอาศัยอำนาจที่ มีอยู่ พร้อมกับเตือนด้วยว่าถ้าสถานการณ์ยังเป็นอยู่เช่นนี้ สักวันหนึ่งก็อาจจะมีนายทหารที่มีอำนาจตามกฎอัยการศึกประกาศกฎอัยการศึกด้วย อำนาจตามกฎหมายนั้น เพื่อปกป้องคุ้มครองช่วยเหลือประชาชน และพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้.