และแล้วรัฐบาลรักษาการก็ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. ของวันที่ 21 มกราคม 2557 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 22 มกราคม 2557 เป็นต้นไป มีกำหนด 60 วัน
เป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างพิลึกพิลั่น ส่อว่าจะเป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมาย จงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบและมีวาระซ่อนเร้น ซึ่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ให้สัมภาษณ์ทางเอเอสทีวีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 ว่าเป็นการประกาศเพื่อต้องการใช้กฎหมายคุ้มตัวในการฆ่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ เท่านั้น
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลรักษาการและ ศอ.รส.ได้ก่อความรุนแรง ใช้อำนาจมืด อำนาจเถื่อนทุกรูปแบบ และยังสมคบกับเขมรขนทั้งคนและอาวุธหนักเข้ามาเพื่อสร้างสถานการณ์รุนแรงในประเทศไทยเพื่อมาฆ่าคนไทยจำนวนมาก โดยทำเป็นไม่เห็น และยังให้ความคุ้มครองกองกำลังเถื่อนเหล่านี้
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ยังชี้ให้เห็นว่าฝ่ายทหารทุกเหล่าทัพไม่เห็นด้วยกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะ กปปส.ชุมนุมอย่างสงบและมือเปล่า ไม่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และไม่สามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ แต่รัฐบาลไม่ฟังเสียงทหาร จึงมุ่งใช้ตำรวจกลุ่มที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการปฏิบัติการ จึงเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลกับทหาร
หลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทาง กปปส.ได้ประกาศไม่ยอมรับ คือไม่ยอมรับอำนาจในการประกาศ และไม่ยอมรับความถูกต้องตามกฎหมายในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกลุ่ม คปท.ได้เคลื่อนพลเดินขบวนเพื่อแสดงความไม่ยอมรับ และไม่สนใจการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในขณะที่มวลมหาประชาชนก็ยังคงชุมนุมอยู่เหมือนเดิม และยิ่งเข้าร่วมการชุมนุมมากกว่าเก่าเพราะเป็นห่วงว่าจะมีการใช้ความรุนแรง และเพื่อคุ้มครองป้องกันแกนนำของ กปปส.ด้วย
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งนี้มีข้อน่าสังเกตถึงความพิลึกพิลั่นและเงื่อนงำอันควรที่ประชาชนทั้งหลายจะได้ทำความรู้ ทำความเข้าใจ ในประการที่สำคัญดังต่อไปนี้
ประการแรก การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย จึงต้องทำตามกฎหมายตามที่ตราไว้ทั้งหมด นั่นคือกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นมีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นผู้รับผิดชอบดูแล เมื่อเห็นว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วก็จะเสนอนายกรัฐมนตรี และเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินจึงมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีคนเดียวนึกเอาเองแล้วประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังที่กำลังทำกันอยู่นี้
จากการติดตามปรากฏว่า ไม่เคยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะกรรมการชุดนี้ก็ไม่เคยเสนอให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การที่รักษาการนายกรัฐมนตรีนึกเอง ประกาศเอง จึงไม่มีผลบังคับ
ประการที่สอง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งนี้อ้างว่าได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 21 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นเวลาหลังการประชุม ครม.มีการรายงานข่าวสั้นว่าไม่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ครั้นเวลาใกล้ 19.00 น. ก็มีข่าวสั้นเปลี่ยนแปลงใหม่ว่ามีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงน่าสงสัยว่า ครม.ได้มีการประชุมระหว่าง 17.00-19.00 น.หรือไม่ หากไม่มีการประชุมก็เป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเท็จ ไม่มีผลบังคับแต่ประการใด
ประการที่สาม เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งนี้ ก็มีการตั้งหน่วยงานพิเศษคือ ศอฉ.โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้มีอำนาจควบคุม กำกับ สั่งการ และมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับปฏิบัติการ แต่ในกรณีที่จะต้องใช้กำลังตำรวจ ก็กำหนดให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นผู้มีอำนาจควบคุมสั่งการ ซึ่งสับสนอลหม่าน ที่สำคัญคือใน ศอฉ.นั้น ไม่มีผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพ ซึ่งเป็นการไม่ยอมรับหรือไม่ไว้ใจผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพก็ได้ หรือผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพไม่เอาด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่ง และที่สำคัญ การประกาศและกำหนดตัวบุคคลเหล่านั้นเป็นโมฆะทั้งหมด เพราะขณะนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี ไม่มีคณะรัฐมนตรี คงมีแต่ผู้รักษาการรัฐมนตรี ดังนั้นเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่มีแต่ไปลงนามในประกาศ จึงไม่ใช่ประกาศของนายกรัฐมนตรี และไม่มีรัฐมนตรีคนไหนที่จะทำหน้าที่ได้เลย
ประการที่สี่ ในพลันที่มีการออกประกาศและออกคำสั่งตั้ง ศอฉ.อำนาจของรัฐมนตรีทุกกระทรวงจะโอนมาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มีการมอบหมายให้ ศอฉ.รับผิดชอบ โดยมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้กำกับ สั่งการ ให้มีการปฏิบัติ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับปฏิบัติ ดังนั้นจึงมีผลว่าขณะนี้ผู้รักษาการรัฐมนตรีทุกกระทรวงหมดอำนาจหน้าที่ และอำนาจหน้าที่นั้นไปรวมอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการกำกับ ควบคุม สั่งการ และไปอยู่ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่จะรับไปปฏิบัติการ แต่ถ้าเกี่ยวกับตำรวจก็จะต้องให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล สั่งการอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นรักษาการรัฐมนตรีทุกคนอย่าเผลอไปสั่งการใดๆ เป็นอันขาด และทั้งสามคนที่ได้รับมอบหมายก็อย่าได้ไปไหน และอะไรก็ตามถ้าไม่ได้สั่งโดยลำดับของสามคนนี้ ก็ไม่มีผลบังคับและใช้ไม่ได้ทั้งนั้น
ประการที่ห้า เพราะเหตุที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพไม่เห็นด้วย ดังนั้นจึงได้เห็นแต่กลุ่มสี่คน หรือที่เรียกว่าแก๊งสี่คนของ ศอ.รส.เดิม นั่งหน้าเศร้าแถลงผ่านโทรทัศน์ธรรมดา เพราะโทรทัศน์ฝ่ายทหารทั้งหมดไม่ร่วมถ่ายทอดเป็นโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ
ประการที่หก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นประกาศเพื่อคุ้มครองป้องกันประชาชน ไม่ได้ให้อำนาจ ศอฉ.สั่งการให้ทำร้ายหรือฆ่าประชาชนไม่ว่าคนไหนก็ตาม ดังนั้นใครลุแก่อำนาจสั่งการให้เกิดการทำร้ายหรือฆ่าประชาชนต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และเมื่อประกาศแล้วก็ต้องป้องกันปราบปรามผู้ก่อเหตุร้ายอันเป็นเหตุให้มีสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นจะต้องไปดำเนินการปราบปรามพวกนักเลงอันธพาล พวกมือสังหารและกองกำลังต่างชาติทั้งหมดโดยพลัน
ประการที่เจ็ด ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะประกาศได้ก็ต่อเมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นอันตรายต่อประชาชน ในเมื่อ กปปส. ไม่ได้ก่อเหตุร้ายเอง แต่ถูกก่อเหตุร้าย โดย ศอ.รส.และลิ่วล้อบริวาร จึงไม่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินอันจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้
ประการที่แปด การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่กระทำได้เป็นการชั่วคราว ไม่ใช่ประกาศถาวรถึง 60 วันซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ และทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงขัดต่อกฎหมายเลือกตั้งอีกสถานหนึ่ง
ดังนั้นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นความพยายามปฏิวัติเงียบ แต่เมื่อกองทัพและทุกเหล่าทัพไม่ร่วมสังฆกรรมด้วย สิ่งที่ทำก็จะกลายเป็นการกบฏต่อประเทศชาติและประชาชน ดังที่คุณเปลว สีเงินได้ว่าไว้นั่นแหละ.
เป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างพิลึกพิลั่น ส่อว่าจะเป็นการจงใจกระทำผิดกฎหมาย จงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบและมีวาระซ่อนเร้น ซึ่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ให้สัมภาษณ์ทางเอเอสทีวีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 ว่าเป็นการประกาศเพื่อต้องการใช้กฎหมายคุ้มตัวในการฆ่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ เท่านั้น
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลรักษาการและ ศอ.รส.ได้ก่อความรุนแรง ใช้อำนาจมืด อำนาจเถื่อนทุกรูปแบบ และยังสมคบกับเขมรขนทั้งคนและอาวุธหนักเข้ามาเพื่อสร้างสถานการณ์รุนแรงในประเทศไทยเพื่อมาฆ่าคนไทยจำนวนมาก โดยทำเป็นไม่เห็น และยังให้ความคุ้มครองกองกำลังเถื่อนเหล่านี้
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ยังชี้ให้เห็นว่าฝ่ายทหารทุกเหล่าทัพไม่เห็นด้วยกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะ กปปส.ชุมนุมอย่างสงบและมือเปล่า ไม่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และไม่สามารถประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ แต่รัฐบาลไม่ฟังเสียงทหาร จึงมุ่งใช้ตำรวจกลุ่มที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการปฏิบัติการ จึงเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลกับทหาร
หลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทาง กปปส.ได้ประกาศไม่ยอมรับ คือไม่ยอมรับอำนาจในการประกาศ และไม่ยอมรับความถูกต้องตามกฎหมายในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และกลุ่ม คปท.ได้เคลื่อนพลเดินขบวนเพื่อแสดงความไม่ยอมรับ และไม่สนใจการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในขณะที่มวลมหาประชาชนก็ยังคงชุมนุมอยู่เหมือนเดิม และยิ่งเข้าร่วมการชุมนุมมากกว่าเก่าเพราะเป็นห่วงว่าจะมีการใช้ความรุนแรง และเพื่อคุ้มครองป้องกันแกนนำของ กปปส.ด้วย
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งนี้มีข้อน่าสังเกตถึงความพิลึกพิลั่นและเงื่อนงำอันควรที่ประชาชนทั้งหลายจะได้ทำความรู้ ทำความเข้าใจ ในประการที่สำคัญดังต่อไปนี้
ประการแรก การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย จึงต้องทำตามกฎหมายตามที่ตราไว้ทั้งหมด นั่นคือกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นมีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นผู้รับผิดชอบดูแล เมื่อเห็นว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วก็จะเสนอนายกรัฐมนตรี และเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินจึงมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีคนเดียวนึกเอาเองแล้วประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังที่กำลังทำกันอยู่นี้
จากการติดตามปรากฏว่า ไม่เคยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะกรรมการชุดนี้ก็ไม่เคยเสนอให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การที่รักษาการนายกรัฐมนตรีนึกเอง ประกาศเอง จึงไม่มีผลบังคับ
ประการที่สอง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งนี้อ้างว่าได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่าในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 21 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นเวลาหลังการประชุม ครม.มีการรายงานข่าวสั้นว่าไม่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ครั้นเวลาใกล้ 19.00 น. ก็มีข่าวสั้นเปลี่ยนแปลงใหม่ว่ามีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงน่าสงสัยว่า ครม.ได้มีการประชุมระหว่าง 17.00-19.00 น.หรือไม่ หากไม่มีการประชุมก็เป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเท็จ ไม่มีผลบังคับแต่ประการใด
ประการที่สาม เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งนี้ ก็มีการตั้งหน่วยงานพิเศษคือ ศอฉ.โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้มีอำนาจควบคุม กำกับ สั่งการ และมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับปฏิบัติการ แต่ในกรณีที่จะต้องใช้กำลังตำรวจ ก็กำหนดให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นผู้มีอำนาจควบคุมสั่งการ ซึ่งสับสนอลหม่าน ที่สำคัญคือใน ศอฉ.นั้น ไม่มีผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพ ซึ่งเป็นการไม่ยอมรับหรือไม่ไว้ใจผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพก็ได้ หรือผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพไม่เอาด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่ง และที่สำคัญ การประกาศและกำหนดตัวบุคคลเหล่านั้นเป็นโมฆะทั้งหมด เพราะขณะนี้ไม่มีนายกรัฐมนตรี ไม่มีคณะรัฐมนตรี คงมีแต่ผู้รักษาการรัฐมนตรี ดังนั้นเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่มีแต่ไปลงนามในประกาศ จึงไม่ใช่ประกาศของนายกรัฐมนตรี และไม่มีรัฐมนตรีคนไหนที่จะทำหน้าที่ได้เลย
ประการที่สี่ ในพลันที่มีการออกประกาศและออกคำสั่งตั้ง ศอฉ.อำนาจของรัฐมนตรีทุกกระทรวงจะโอนมาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้มีการมอบหมายให้ ศอฉ.รับผิดชอบ โดยมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้กำกับ สั่งการ ให้มีการปฏิบัติ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รับปฏิบัติ ดังนั้นจึงมีผลว่าขณะนี้ผู้รักษาการรัฐมนตรีทุกกระทรวงหมดอำนาจหน้าที่ และอำนาจหน้าที่นั้นไปรวมอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการกำกับ ควบคุม สั่งการ และไปอยู่ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่จะรับไปปฏิบัติการ แต่ถ้าเกี่ยวกับตำรวจก็จะต้องให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล สั่งการอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นรักษาการรัฐมนตรีทุกคนอย่าเผลอไปสั่งการใดๆ เป็นอันขาด และทั้งสามคนที่ได้รับมอบหมายก็อย่าได้ไปไหน และอะไรก็ตามถ้าไม่ได้สั่งโดยลำดับของสามคนนี้ ก็ไม่มีผลบังคับและใช้ไม่ได้ทั้งนั้น
ประการที่ห้า เพราะเหตุที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพไม่เห็นด้วย ดังนั้นจึงได้เห็นแต่กลุ่มสี่คน หรือที่เรียกว่าแก๊งสี่คนของ ศอ.รส.เดิม นั่งหน้าเศร้าแถลงผ่านโทรทัศน์ธรรมดา เพราะโทรทัศน์ฝ่ายทหารทั้งหมดไม่ร่วมถ่ายทอดเป็นโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ
ประการที่หก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นประกาศเพื่อคุ้มครองป้องกันประชาชน ไม่ได้ให้อำนาจ ศอฉ.สั่งการให้ทำร้ายหรือฆ่าประชาชนไม่ว่าคนไหนก็ตาม ดังนั้นใครลุแก่อำนาจสั่งการให้เกิดการทำร้ายหรือฆ่าประชาชนต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และเมื่อประกาศแล้วก็ต้องป้องกันปราบปรามผู้ก่อเหตุร้ายอันเป็นเหตุให้มีสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นจะต้องไปดำเนินการปราบปรามพวกนักเลงอันธพาล พวกมือสังหารและกองกำลังต่างชาติทั้งหมดโดยพลัน
ประการที่เจ็ด ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะประกาศได้ก็ต่อเมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นอันตรายต่อประชาชน ในเมื่อ กปปส. ไม่ได้ก่อเหตุร้ายเอง แต่ถูกก่อเหตุร้าย โดย ศอ.รส.และลิ่วล้อบริวาร จึงไม่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินอันจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้
ประการที่แปด การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่กระทำได้เป็นการชั่วคราว ไม่ใช่ประกาศถาวรถึง 60 วันซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ และทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงขัดต่อกฎหมายเลือกตั้งอีกสถานหนึ่ง
ดังนั้นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นความพยายามปฏิวัติเงียบ แต่เมื่อกองทัพและทุกเหล่าทัพไม่ร่วมสังฆกรรมด้วย สิ่งที่ทำก็จะกลายเป็นการกบฏต่อประเทศชาติและประชาชน ดังที่คุณเปลว สีเงินได้ว่าไว้นั่นแหละ.