ASTVผู้จัดการรายวัน-ส่งออกพ.ย.กู่ไม่กลับ ติดลบ 4% หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่วนปัญหาการเมืองเริ่มส่งผลทางจิตวิทยา ทำให้คู่ค้าเริ่มชะงัก ส่วนยอด 11 เดือนติดลบ 0.49% เผยหากตัวเลข ธ.ค. ทำไม่ได้ 1.95 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งปีติดลบแน่ และกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 4 ปี
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนพ.ย.2556 มีมูลค่า 18,757.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.08% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 579,002.5 ล้านบาท ลดลง 2.81% การนำเข้ามีมูลค่า 19,314.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 8.60% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 603,522.8 ล้านบาท ลดลง 7.41% ดุลการค้าขาดดุล 557 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดดุล 24,520.4 ล้านบาท ส่วนในช่วง 11 เดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 210,090.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.49% และเมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 6.331 ล้านล้านบาท ลดลง 3.05% การนำเข้ามีมูลค่า 231,997.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.22% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 7.071 ล้านล้านบาท ลดลง 1.39% ส่งผลให้มีดุลการค้าขาดดุล 21,907.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดดุล 740,484.1 ล้านบาท
ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2556 จะขยายตัวเป็นบวกหรือหรือลบนั้น ขึ้นอยู่กับว่าการส่งออกในเดือนธ.ค.2556 จะทำได้เท่าไร หากทำได้มูลค่า 19,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้ยอดส่งออกทั้งปีโตได้ 0.2% แต่ถ้าทำได้ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งปีจะติดลบ 0.06% หรือถ้าต่ำกว่า 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะยิ่งติดลบมากกว่านี้ ซึ่งจะเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับจากปี 2552 ที่การส่งออกทั้งปีติดลบ 14.26% แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ยังหวังว่า ตัวเลขการส่งออกในเดือนธ.ค.จะทำได้สูงกว่าที่คาดไว้ และทำให้ยอดทั้งปีกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้
"สาเหตุที่ทำให้มูลค่าการส่งออกเดือนพ.ย. ลดลงมากถึง 4.08% มาจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวค่อนข้างช้ากว่าที่คาดการณ์ ปัญหาการพัฒนาเทคโนโลยีของสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการที่ยังไม่ก้าวหน้า และมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จนเกิดสินค้าดาวร่วง รวมไปถึงปัญหาผลผลิตสินค้าเกษตรที่ราคาตกต่ำทั่วโลก"
ส่วนปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนต.ค.2556 แม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย เพราะผู้ผลิตและผู้ส่งออก ยังสามารถผลิตสินค้าและส่งออกได้ตามคำสั่งซื้อ เนื่องจากการขนส่งยังไม่ถูกปิดกั้น ทั้งสนามบิน และท่าเรือ แต่ยอมรับว่ามีผลกระทบทางจิตวิทยา เพราะทำให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ชะลอการลงทุนเพิ่ม ผู้นำเข้ารายสำคัญ ที่มักวางแผนการสั่งซื้อล่วงหน้าเป็นเวลานาน ก็ชะลอการสั่งซื้อ ซึ่งจากการสอบถามผู้ส่งออกรายสำคัญ แจ้งว่า หากปัญหาการเมืองยังไม่ยุติลง ก็น่าจะกระทบต่อการส่งออกไปจนถึงกลางปีหน้า
นางศรีรัตน์กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2557 กระทรวงพาณิชย์ได้คาดว่าจะขยายตัวได้ 5% แต่ยังไม่ถือเป็นเป้าหมายอย่างเป็นทางการ เพราะจนถึงขณะนี้ ปัจจัยต่างๆ ที่กระทบต่อการส่งออก ยังไม่นิ่ง คงต้องคาดการณ์ใหม่อีกครั้งหลังได้รัฐบาลใหม่แล้ว โดยปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในปี 2557 มาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะเติบโตได้ 3.6% โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัว 2.6% จีน ขยายตัว7.3% ญี่ปุ่น ขยายตัว 1.2% สหภาพยุโรป ขยายตัว 1.3% ซึ่งน่าจะทำให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้มากกว่าปี 2556 ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ของไทยได้คาดการณ์ตั้งแต่เดือนต.ค.2556 ว่าการส่งออกไทยจะขยายตัวได้ 7.0-8.1%
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนพ.ย.2556 มีมูลค่า 18,757.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.08% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 579,002.5 ล้านบาท ลดลง 2.81% การนำเข้ามีมูลค่า 19,314.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 8.60% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 603,522.8 ล้านบาท ลดลง 7.41% ดุลการค้าขาดดุล 557 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดดุล 24,520.4 ล้านบาท ส่วนในช่วง 11 เดือนของปี 2556 (ม.ค.-พ.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 210,090.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.49% และเมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 6.331 ล้านล้านบาท ลดลง 3.05% การนำเข้ามีมูลค่า 231,997.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.22% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 7.071 ล้านล้านบาท ลดลง 1.39% ส่งผลให้มีดุลการค้าขาดดุล 21,907.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขาดดุล 740,484.1 ล้านบาท
ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2556 จะขยายตัวเป็นบวกหรือหรือลบนั้น ขึ้นอยู่กับว่าการส่งออกในเดือนธ.ค.2556 จะทำได้เท่าไร หากทำได้มูลค่า 19,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้ยอดส่งออกทั้งปีโตได้ 0.2% แต่ถ้าทำได้ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งปีจะติดลบ 0.06% หรือถ้าต่ำกว่า 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะยิ่งติดลบมากกว่านี้ ซึ่งจะเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับจากปี 2552 ที่การส่งออกทั้งปีติดลบ 14.26% แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ยังหวังว่า ตัวเลขการส่งออกในเดือนธ.ค.จะทำได้สูงกว่าที่คาดไว้ และทำให้ยอดทั้งปีกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้
"สาเหตุที่ทำให้มูลค่าการส่งออกเดือนพ.ย. ลดลงมากถึง 4.08% มาจากปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวค่อนข้างช้ากว่าที่คาดการณ์ ปัญหาการพัฒนาเทคโนโลยีของสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการที่ยังไม่ก้าวหน้า และมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จนเกิดสินค้าดาวร่วง รวมไปถึงปัญหาผลผลิตสินค้าเกษตรที่ราคาตกต่ำทั่วโลก"
ส่วนปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนต.ค.2556 แม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย เพราะผู้ผลิตและผู้ส่งออก ยังสามารถผลิตสินค้าและส่งออกได้ตามคำสั่งซื้อ เนื่องจากการขนส่งยังไม่ถูกปิดกั้น ทั้งสนามบิน และท่าเรือ แต่ยอมรับว่ามีผลกระทบทางจิตวิทยา เพราะทำให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ชะลอการลงทุนเพิ่ม ผู้นำเข้ารายสำคัญ ที่มักวางแผนการสั่งซื้อล่วงหน้าเป็นเวลานาน ก็ชะลอการสั่งซื้อ ซึ่งจากการสอบถามผู้ส่งออกรายสำคัญ แจ้งว่า หากปัญหาการเมืองยังไม่ยุติลง ก็น่าจะกระทบต่อการส่งออกไปจนถึงกลางปีหน้า
นางศรีรัตน์กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2557 กระทรวงพาณิชย์ได้คาดว่าจะขยายตัวได้ 5% แต่ยังไม่ถือเป็นเป้าหมายอย่างเป็นทางการ เพราะจนถึงขณะนี้ ปัจจัยต่างๆ ที่กระทบต่อการส่งออก ยังไม่นิ่ง คงต้องคาดการณ์ใหม่อีกครั้งหลังได้รัฐบาลใหม่แล้ว โดยปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในปี 2557 มาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะเติบโตได้ 3.6% โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัว 2.6% จีน ขยายตัว7.3% ญี่ปุ่น ขยายตัว 1.2% สหภาพยุโรป ขยายตัว 1.3% ซึ่งน่าจะทำให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้มากกว่าปี 2556 ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ของไทยได้คาดการณ์ตั้งแต่เดือนต.ค.2556 ว่าการส่งออกไทยจะขยายตัวได้ 7.0-8.1%