xs
xsm
sm
md
lg

สรรพากรขยายฐานภาษี เล็งรีดร.ร.กวดวิชา-หมอ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - สรรพากรเร่งศึกษาขยายฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลังพบอีกหลายกลุ่มอาชีพรายได้ถึงเกณฑ์แต่ยังหลบเลี่ยงภาษี ทั้งหมอ-ครูสอนกวดวิชา-ตัวแทนนายหน้าขายประกัน อธิบดีเผยเน้นกลุ่มโรงเรียนกวดวิชา

    นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรกำลังพิจารณาขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมผู้มีรายในกลุ่มอาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากที่มีผู้ยื่นแบบในปัจจุบัน 10 ล้านราย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้อิสระ และที่ยังไม่เข้ามาอยู่ในระบบทั้งที่ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์หรือตั้งใจจะหลบเลี่ยงภาษีภาษี  เพื่อเตรียมเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาเห็นชอบต่อไป

    สำหรับกลุ่มที่กำลังพิจารณา ประกอบด้วยกลุ่มแม่ค้าพ่อค้า ร้านอาหาร ตามตลาดนัด ตลาดสด ซึ่งปัจจุบันบางแห่งได้เสียเงินในรูปแบบค่าธรรมเนียม โดยมีเทศกิจเป็นผู้จัดเก็บเป็นรายวัน ซึ่งกลุ่มนี้ยอมรับว่าค่อนข้างยากเพราะต้องพิจารณาด้วยว่ามีที่ค้าขายเป็นหลักแหล่งอย่างไรและเจ้าหน้าที่สรรพากรเองอาจจะเข้าไม่ถึงคนกลุ่มนี้ จึงอาจต้องหาวิธีประเมินเพื่อจัดเก็บภาษีที่ต่างจากการยื่นแบบปกติ

    นอกจากนั้นยังมีกลุ่มแพทย์ ที่อาจมีการกรอบรายได้ในการยื่นเสียภาษีไม่ครบถ้วน เพราะหากพิจารณาดูการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน พบว่าทำหน้าที่เหมือนกับอาพาร์ทเม้นท์ในการให้เช่าบริการทางการแพทย์ ทั้งห้องผู้ป่วย  เครื่องมืออุปกรณ์  ห้องผ่าตัด เพื่อจ่ายให้กับแพทย์ผู้มารักษา แต่โรงพยาบาลเหมือนกับทำหน้าที่จำหน่ายยารักษาโรคเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นการทำสัญญาระหว่างหมอกับโรงพยาบาล จึงต้องศึกษาแนวทางดูว่าจะเก็บภาษีจากกลุ่มแพทย์อย่างไร     นอกจากนั้นยังมีการตั้งคณะบุคคลขึ้นมากระจายการเสียภาษีออกไปให้ต่ำกว่าความเป็นจริงด้วย โดยการแก้ไขกฎหมายในเรื่องดังกล่าวยังไม่ผ่านสภาทำให้ปีนี้กรมฯจะเข้มงวดในการตรวจสอบการยื่นแบบของกลุ่มอาชีพนี้เป็นพิเศษ

    นายสุทธิชัยกล่าวอีกว่า กลุ่มที่กรมสรรพากรให้ความสนใจเป็นพิเศษคือกลุ่มอาจารย์ที่สอนในโรงเรียนกรดวิชา ที่นับว่าเป็นกลุ่มมีรายได้สูงและพยายามจะเข้าไปตรวจสอบการเสียภาษีแต่ก็ถูกคัดค้านมาโดย เพราะปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชาได้รับการยกเว้นภาษีรายได้จากการประกอบธุรกิจด้านการศึกษา ตามกฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการ

    “การสอนในโรงเรียนกวดวิชาบางแห่งใช้วีดีโอจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง เพื่อส่งไปเปิดตามโรงเรียนกรวดวิชาต่างจังหวัดด้วยซ้ำ กรมฯจึงจะเข้าไปดูส่วนของรายได้ของอาจารย์กวดวิชาแทนที่จะดูจากตัวสถาบันกวดวิชาว่ามีการแจ้งเสียภาษีถูกต้องครบถ้วนหรือไม่  คิดว่าในส่วนนี้น่าจำได้จริงในปีหน้าหลังจากที่กรมฯพยายามมานาน” นายสุทธิชัยกล่าวและว่า ยังมีกลุ่มตัวแทนนายหน้าขายประกัน แม้ว่าได้จดทะเบียนเป็นคณะบุคคล แต่หากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังมีผู้หลีกเลี่ยงด้วยแนวทางต่างๆ จึงต้องหาแนวทางดูแลให้ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น