ASTVผู้จัดการรายวัน- สนข.เดินหน้าประมูลวางระบบตั๋วร่วม ร่อนเทียบเชิญ 54 และประเทศร่วมคัดเลือกคาดได้ตัว ก.พ.57 วางระบบและทดสอบใน 2 ปีครึ่ง พร้อมจับ12 หน่วยขนส่งหลัก MOUเชื่อมใช้ตั๋วใบเดียว"ผอ.สนข."มั้นใจการเมืองไม่กระทบทุกรัฐบาลต้องทำเหมือนกัน รอแค่นโยบายเจรจาเอกชนเลิกค่าแรกเข้าใช้ข้ามระบบ
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการใช้ระบบตั๋วร่วม 4 ฝ่าย (รวม 12 หน่วยงาน) เช่น การรถไฟฟ้าขนส่วมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BTSC องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทยท(กทพ.) กรมเจ้าท่า เป็นต้น พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดในการเชิญชวนหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศในการส่งเอกสารแสดงความสนใจ (EOI) และกระบวนการประกวดราคาคัดเลือกเป็นผู้วางระบบและจัดทำศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางระบบตั๋วร่วมในภาคขนส่ง
(Central Clearing House : CCH)
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสนข.เปิดเผยว่า ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Clearing House) เป็นหัวใจสำคัญของระบบขนส่งที่ทุกส่วนต้องมาใช้งานร่วมกัน ซึ่งสนข.จะเปิดประกวดราคานานาชาติ โดยเชิญชวนไปยัง 54 ประเทศที่มีสถานทูตประจำประเทศไทยเพื่อให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอในวันที่ 23 มกราคม 2557 ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผู้สนใจ 20-30 ราย จากนั้นจะพิจารณาเทคนิค short list ให้เหลือ 6-7 ราย และสรุปผลในเดือนกุมภาพันธุ์ โดยทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลังจะจัดหาเงินกู้ประมาณ 400 ล้านบาท ในการจัดจ้าง โดยมีระยะเวลาดำเนินงานรวม 30 เดือนหลังจากลงนามสัญญาจ้าง
โดยในช่วง 6 เดือนแรกจะเป็นการออกแบบระบบ 6 เดือนต่อมาเริ่มติดตั้งระบบอีก 6 เดือนเป็นการปรับปรุงระบบเชื่อมเข้ากับขนส่งซึ่งจะเลือกระหว่าง รถเมล์ขสมก. หรือทางด่วน และอีก 6 เดือนต่อมาเป็นการเชื่อมกับระบบรางซึ่งจะเลือกระหว่าง แอร์พอร์ตลิ้งค์หรือรฟม. และใน 6 เดือนสุดท้ายจะเป็นการทดสอบการใช้งานของทั้งระบบ โดยในช่วงนี้
จะจัดตั้งบริษัทลูกรฟม.ขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบก่อน จากนั้นจึงจะให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในอนาคต
โดยขอบเขตของระบบ Clearing House ตั๋วร่วมมี 7 ส่วนหลัก คือ การออกแบบรายละเอียดระบบจัดเก็บรายได้และพัฒนาบัตรโดยสารร่วม การจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กล่ลาง (CCH) และระบบเชื่อมต่อต่างๆ ของระบบตั๋วร่วม (Interface document and interface protocol) การพัฒนาระบบต้นแบบที่ใช้กับระบบรถโดยสารประจำทาง หรือระบบทางพิเศษ สำหรับโครงการนำร่อง การพัฒนาระบบต้นแบบใช้กับระบบราง สำหรับโครงการนำร่อง การทดสอบระบบ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การบำรุงรักษา และระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการยุบสภาหรือการเปลี่ยนทางการเมืองจะไม่กระทบกับการประมูล เพราะระบบตั๋วร่วมและ Clearing House เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ต้องวางฐานไว้ก่อนและเชื่อว่าทุกรัฐบาลต้องเข้ามาทำต่อ แต่ในส่วนของการบริหารรายได้เมื่อมีการใช้ตั๋วร่วมข้ามจากระบบขนส่งหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งที่มีผู้บริหารสัมปทานคนละรายกันนั้น ในหลักการเมื่อใช้ตั๋วร่วมใบเดียวกันได้แล้ว ในส่วนของค่าแรกเข้าจะเรียกเก็บเพียงครั้งเดียวซึ่งจะต้องรอนโยบายเพื่อเจรจากับผู้ให้บริการในแต่ละระบบ ซึ่งสนข.จะเป็นตัวกลางในการเจรจาโดยหลักการจำนวนผู้ใช้ระบบขนส่งจะมีประมาณ 6 ล้านคนต่อวันซึ่งเป็นฐานที่ค่อนข้างใหญ่ และการมีตั๋วร่วมจะทำให้ผู้โดยสารของแต่ละระบบเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจะเป็นตัวแปรในการเจรจาส่วนต่างค่าแรกเข้าที่หายไป
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการใช้ระบบตั๋วร่วม 4 ฝ่าย (รวม 12 หน่วยงาน) เช่น การรถไฟฟ้าขนส่วมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BTSC องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทยท(กทพ.) กรมเจ้าท่า เป็นต้น พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดในการเชิญชวนหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศในการส่งเอกสารแสดงความสนใจ (EOI) และกระบวนการประกวดราคาคัดเลือกเป็นผู้วางระบบและจัดทำศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางระบบตั๋วร่วมในภาคขนส่ง
(Central Clearing House : CCH)
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสนข.เปิดเผยว่า ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Clearing House) เป็นหัวใจสำคัญของระบบขนส่งที่ทุกส่วนต้องมาใช้งานร่วมกัน ซึ่งสนข.จะเปิดประกวดราคานานาชาติ โดยเชิญชวนไปยัง 54 ประเทศที่มีสถานทูตประจำประเทศไทยเพื่อให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอในวันที่ 23 มกราคม 2557 ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผู้สนใจ 20-30 ราย จากนั้นจะพิจารณาเทคนิค short list ให้เหลือ 6-7 ราย และสรุปผลในเดือนกุมภาพันธุ์ โดยทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลังจะจัดหาเงินกู้ประมาณ 400 ล้านบาท ในการจัดจ้าง โดยมีระยะเวลาดำเนินงานรวม 30 เดือนหลังจากลงนามสัญญาจ้าง
โดยในช่วง 6 เดือนแรกจะเป็นการออกแบบระบบ 6 เดือนต่อมาเริ่มติดตั้งระบบอีก 6 เดือนเป็นการปรับปรุงระบบเชื่อมเข้ากับขนส่งซึ่งจะเลือกระหว่าง รถเมล์ขสมก. หรือทางด่วน และอีก 6 เดือนต่อมาเป็นการเชื่อมกับระบบรางซึ่งจะเลือกระหว่าง แอร์พอร์ตลิ้งค์หรือรฟม. และใน 6 เดือนสุดท้ายจะเป็นการทดสอบการใช้งานของทั้งระบบ โดยในช่วงนี้
จะจัดตั้งบริษัทลูกรฟม.ขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบก่อน จากนั้นจึงจะให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในอนาคต
โดยขอบเขตของระบบ Clearing House ตั๋วร่วมมี 7 ส่วนหลัก คือ การออกแบบรายละเอียดระบบจัดเก็บรายได้และพัฒนาบัตรโดยสารร่วม การจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กล่ลาง (CCH) และระบบเชื่อมต่อต่างๆ ของระบบตั๋วร่วม (Interface document and interface protocol) การพัฒนาระบบต้นแบบที่ใช้กับระบบรถโดยสารประจำทาง หรือระบบทางพิเศษ สำหรับโครงการนำร่อง การพัฒนาระบบต้นแบบใช้กับระบบราง สำหรับโครงการนำร่อง การทดสอบระบบ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การบำรุงรักษา และระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการยุบสภาหรือการเปลี่ยนทางการเมืองจะไม่กระทบกับการประมูล เพราะระบบตั๋วร่วมและ Clearing House เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ต้องวางฐานไว้ก่อนและเชื่อว่าทุกรัฐบาลต้องเข้ามาทำต่อ แต่ในส่วนของการบริหารรายได้เมื่อมีการใช้ตั๋วร่วมข้ามจากระบบขนส่งหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งที่มีผู้บริหารสัมปทานคนละรายกันนั้น ในหลักการเมื่อใช้ตั๋วร่วมใบเดียวกันได้แล้ว ในส่วนของค่าแรกเข้าจะเรียกเก็บเพียงครั้งเดียวซึ่งจะต้องรอนโยบายเพื่อเจรจากับผู้ให้บริการในแต่ละระบบ ซึ่งสนข.จะเป็นตัวกลางในการเจรจาโดยหลักการจำนวนผู้ใช้ระบบขนส่งจะมีประมาณ 6 ล้านคนต่อวันซึ่งเป็นฐานที่ค่อนข้างใหญ่ และการมีตั๋วร่วมจะทำให้ผู้โดยสารของแต่ละระบบเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจะเป็นตัวแปรในการเจรจาส่วนต่างค่าแรกเข้าที่หายไป