เผยที่ปรึกษาทางการเงินรฟม.ชงผลศึกษาแนะแนวทางไม่จำเป็นร่วมเพิ่มทุน BMCL ระบุไม่มีผลกระทบ เหตุกำกับดูแลโครงการผ่านสัมปทานได้ ส่วนการเงินไม่ใช่ประเด็นสำคัญเพราะยังไม่เคยมีการปันผล ชี้ เงินเพิ่มทุนกว่า 2 พันล.ไปใช้อย่างอื่นคุ้มกว่า ยันบอร์ด ตัดสินใจ29 พ.ย.นี้
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากบอร์ดได้ให้รฟม.จ้่งที่ปรึกษาทางการเงินประเมินแนวทางที่เหมาะสมกรณีการร่วมเพิ่มทุนในบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เพื่อรักษาสัดส่วนไว้ที่ 25% นั้น ล่าสุด ที่ปรึกษาได้สรุปข้อดีข้อเสียแนวทางการร่วมและไม่ร่วมเพิ่มทุนกับ BMCL มาแล้ว
เพื่อนำเสนอที่ประชุมบอร์ดรฟม. ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธาน ในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งแนวทางที่เสนอนั้นพบว่า มีแนวโน้มไปในด้านรฟม.ไม่ควรร่วมเพิ่มทุน
ทั้งนี้ ที่ปรึกษาฯประเมินแล้วเห็นว่า รฟม.สามารถกำกับดูแล BMCL ผ่านสัญญาสัมปทานได้อยู่แล้ว ดังนั้นการที่สัดส่วนหุ้นจะลดลงเหลือเพียง 14% จาก 25% ภายหลังจากที่ BMCL ได้เพิ่มทุนบริษัท จึงไม่ใช่ปัญหา ส่วนรายได้จากการปันผลนั้น ที่ปรึกษาไม่ได้ให้ความสนใจในประเด็นดังกล่าวมากนัก เพราะที่ผ่านมา BMCL ยังไม่เคยมีการจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น
และหากมองในแง่ของการซื้อเพื่อเก็งกำไรหุ้น ยิ่งไม่สามารถทำได้ เพราะตามหลักปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐมักจะเป็นการเข้าถือหุ้นธรรมดาโดยไม่ทำการซื้อขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการประชุมบอร์ดรฟม.วันที่ 29 พฤศจิกายนนี้จะมีการหารือผลศึกษาของที่ปรึกษาทางการเงินก่อนพิจารณาตัดสินใจว่าจะร่วมเพิ่มทุนหรือไม่ จากนั้นจะเสนอมติบอร์ดไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยก่อนหน้านี้บอร์ดรฟม.ส่วนใหญ่เห็นว่ากับแนวทางไม่ควรเพิ่มทุน เพราะไม่มีความจำเป็นและควรนำเงินที่ต้องใช้ในการเพิ่มทุนถึง 2,100 ล้านบาท
ไปพัฒนาประเทศด้านอื่นที่จะคุ้มค่ามากกว่า
“ผลศึกษาของที่ปรึกษาทางการเงิน มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน โดยเห็นว่า รฟม.สามารถกำกับ BMCL ผ่านสัญญาสัมปทานได้ไม่มีปัญหา กรณี สัดส่วนหุ้นจะลดลงเหลือ 14% จึงไม่ใช่ประเด็นที่ต้องกังวล ซึ่งการที่ รฟม.ไม่ร่วมเพิ่มทุน ไม่ได้ส่งผลกระทบกับ BMCL เพราะจะมีรายอื่นซื้อหุ้นไปอยู่ดี” แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากบอร์ดได้ให้รฟม.จ้่งที่ปรึกษาทางการเงินประเมินแนวทางที่เหมาะสมกรณีการร่วมเพิ่มทุนในบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เพื่อรักษาสัดส่วนไว้ที่ 25% นั้น ล่าสุด ที่ปรึกษาได้สรุปข้อดีข้อเสียแนวทางการร่วมและไม่ร่วมเพิ่มทุนกับ BMCL มาแล้ว
เพื่อนำเสนอที่ประชุมบอร์ดรฟม. ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธาน ในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งแนวทางที่เสนอนั้นพบว่า มีแนวโน้มไปในด้านรฟม.ไม่ควรร่วมเพิ่มทุน
ทั้งนี้ ที่ปรึกษาฯประเมินแล้วเห็นว่า รฟม.สามารถกำกับดูแล BMCL ผ่านสัญญาสัมปทานได้อยู่แล้ว ดังนั้นการที่สัดส่วนหุ้นจะลดลงเหลือเพียง 14% จาก 25% ภายหลังจากที่ BMCL ได้เพิ่มทุนบริษัท จึงไม่ใช่ปัญหา ส่วนรายได้จากการปันผลนั้น ที่ปรึกษาไม่ได้ให้ความสนใจในประเด็นดังกล่าวมากนัก เพราะที่ผ่านมา BMCL ยังไม่เคยมีการจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น
และหากมองในแง่ของการซื้อเพื่อเก็งกำไรหุ้น ยิ่งไม่สามารถทำได้ เพราะตามหลักปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐมักจะเป็นการเข้าถือหุ้นธรรมดาโดยไม่ทำการซื้อขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการประชุมบอร์ดรฟม.วันที่ 29 พฤศจิกายนนี้จะมีการหารือผลศึกษาของที่ปรึกษาทางการเงินก่อนพิจารณาตัดสินใจว่าจะร่วมเพิ่มทุนหรือไม่ จากนั้นจะเสนอมติบอร์ดไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยก่อนหน้านี้บอร์ดรฟม.ส่วนใหญ่เห็นว่ากับแนวทางไม่ควรเพิ่มทุน เพราะไม่มีความจำเป็นและควรนำเงินที่ต้องใช้ในการเพิ่มทุนถึง 2,100 ล้านบาท
ไปพัฒนาประเทศด้านอื่นที่จะคุ้มค่ามากกว่า
“ผลศึกษาของที่ปรึกษาทางการเงิน มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน โดยเห็นว่า รฟม.สามารถกำกับ BMCL ผ่านสัญญาสัมปทานได้ไม่มีปัญหา กรณี สัดส่วนหุ้นจะลดลงเหลือ 14% จึงไม่ใช่ประเด็นที่ต้องกังวล ซึ่งการที่ รฟม.ไม่ร่วมเพิ่มทุน ไม่ได้ส่งผลกระทบกับ BMCL เพราะจะมีรายอื่นซื้อหุ้นไปอยู่ดี” แหล่งข่าว กล่าว