เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (28 พ.ย.) ที่รัฐสภามีการประชุมสภาฯ เพื่อลงมติในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม และ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย โดยมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยประธานที่ประชุมได้ให้ลงมติ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก่อน ผลปรากฏว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เสียงไว้วางใจ 297 เสียง ไม่ไว้วางใจ 134 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงมติ 5 ถือว่าที่ประชุมมีมติ ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อไป
จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ผลการลงคะแนน ได้เสียงไว้วางใจ 296 เสียง ไม่ไว้วางใจ 135 เสียง งดออกเสียง 4 ถือว่าเสียงส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจนายจารุพงศ์ ทำงานต่อไป
จากนั้นนายสมศักดิ์ได้รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฏรในช่วงสมัยที่ผ่านมา ก่อนที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร ได้อ่านพระบรมราชโองการปิดสมัยประชุม จากนั้น นายสมศักดิ์ ได้สั่งปิดประชุมเวลา 10.15 น.
**เพื่อไทยพรึบหนุน 250 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบผลการลงคะแนน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ได้รับคะแนนไว้วางใจด้วยคะแนน 297 ต่อ 134 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 5 จากการตรวจสอบพบว่า 297 เสียงมาจาก พรรคเพื่อไทย 250 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 18 เสียง พรรคภูมิใจไทย 11 เสียง พรรคพลังชล 7 เสียง พรรคชาติพัฒนา 6 เสียง พรรคมาตุภูมิ 2 เสียง พรรคมหาชน 1 เสียง พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน พรรครักประเทศไทย 1 เสียง
ทั้งนี้จากการตรวจสอบรายพรรคพบว่า พรรคเพื่อไทย มีสมาชิก 264 คน โหวตไว้วางใจ 250 คน ส่วนรัฐมนตรีที่ไม่ลงคะแนน 4 คน ได้แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ
ผู้ที่ใช้สิทธิ์งดออกเสียงมี 2 คน คือ นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
ส่วนผู้ที่เข้าร่วมประชุมแต่ไม่ออกเสียงใดๆ มี 7 คน ได้แก่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย นายพ้อง ชีวานันท์ รมช.คมนาคม นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.สารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ลาป่วย 2 คน ได้แก่ นายสมคิด บาลไธสง ส.ส.หนองคาย และนายองอาจ วชิรพงศ์ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา
** "บิ๊กบัง"หิ้วลูกพรรคยกมือหนุน
ในขณะที่ร่วมรัฐบาล ก็ไม่มีใครแหกโผโดย พรรคชาติไทยพัฒนา 19 คน โหวตไว้วางใจให้ 18 คน ยกเว้น นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.เกษตรฯ พรรคชาติพัฒนา 7 คน โหวตไว้วางใจ 6 คน ยกเว้น นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม พรรคพลังชล 7 คน โหวตไว้วางใจทั้งหมด
พรรคมาตุภูมิ 2 คน คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี พรรคมหาชน 1 คน คือ นายอภิรัต ศิรินาวิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ โหวตไว้วางใจ พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน คือนางพัชรินทร์ มั่นปาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ โหวตไว้วางใจ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ 161 คน โหวตไม่ไว้วางใจทั้ง 130 คน อีก 31 คน ไม่เข้าร่วมประชุม
** ภท.เสียงแตก โหวตหนุน 11 เสียง
ส่วนพรรคภูมิใจไทย มี ส.ส.33 คน การลงคะแนน พบว่าเสียงแตกมากที่สุด คือโหวตไว้วางใจ 11 เสียง แยกเป็น ส.ส.กลุ่มมัชฌิมา จำนวน 7 คน ได้แก่ 1.นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ส.ส.สุโขทัย 2. นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี 3. นางนันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.ชัยนาท 4. นางพรทิวา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท 5. นายมานิต นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี 6. นายมนู พุกประเสริฐ ส.ส.สุโขทัย 7. นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ ส่วน 2 คนจะไปลงสมัครส.ส.พรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งสมัยหน้าได้แก่ น.ส.ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร ส.ส.ราชบุรี นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ ส่วน 2 คนที่ไว้วางใจ คือ นายประนอม โพธิ์คำ ส.ส.นครราชสีมา นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ส.ส.นครราชสีมา
**กลุ่มเพื่อนเนวิน 20 คนไม่เข้าประชุม
ขณะที่ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน จำนวน 20 คน ไม่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ 1. นายจักรกฤษณ์ ทองศิริ ส.ส.บุรีรัมย์ 2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3. นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4. นายนาที รัชกิจประการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 5. นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา ส.ส.ราชบุรี 6. นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ 7. นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ ส.ส.ปราจีนบุรี 8. นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ ส.ส.บุรีรัมย์ 9. น.ส.มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ส.ส.ลพบุรี 10. นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.บุรีรัมย์ 11. นายรุ่งโรจน์ ทองศิริ ส.ส.บุรีรัมย์ 12. น.ส.เรวดี รัศมีทัต ส.ส.สมุทรปราการ 13. นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ ส.ส.สระบุรี 14. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก 15. นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 16. นายอักษร เทพอักษรณรงค์ ส.ส.บุรีรัมย์ 17. นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ส.ส.ปัตตานี 18. นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ 19. นายอำนาจ วิลาวัลย์ ส.ส.ปราจีนบุรี 20. นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ส.ส.ชัยภูมิ
**“บุญจง”1เสียงโหวตไม่ไว้วางใจ
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่า มีเพียงนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา เพียงคนเดียว ที่โหวตไม่ไว้วางใจ เช่นเดียวกับ พรรครักษ์สันติ 1 คน คือ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็โหวตไม่ไว้วางใจ
พรรครักประเทศไทย 4 คน แบ่งเป็น 3 คน โหวตไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี ได้แก่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นายโปรดปราน โต๊ะราหนี นายสมเพชร แต่งงาม ในขณะที่ นายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โหวตไว้วางใจ
**“จุติ”ไว้วางใจ มท.1
ส่วนนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ได้รับคะแนนไว้วางใจด้วยคะแนน 296 เสียง ต่อ 135 คะแนน งดออกเสียง 4 คะแนน ไม่ลงคะแนน 4 คะแนน จากการตรวจสอบผลการลงคะแนนเสียง 296 เสียง ซึ่งมีคะแนนน้อยกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ 1 คะแนน พบว่า เสียงที่หายไปคือ นายกนก ลิ้มตระกูล ส.ส.อุตรดิตถ์ ที่งดออกเสียง และยังมีของ นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย ที่ร่วมงดออกเสียงทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ได้โหวตสนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ และเป็นที่น่าสังเกตว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้ร่วมลงคะแนนไว้วางใจให้ด้วย แต่เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามไป นายจุติ ระบุว่า น่าจะเกิดความผิดพลาด ตนน่าจะกดปุ่มลงคะแนนผิดปุ่ม
** "ปุ"แจง 2 ปมไม่ไว้วางใจ"ปู"
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์สันติ กล่าวถึงกรณีที่ลงมติไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับนายจารุงพงศ์ ว่า ในการอภิปรายครั้งที่แล้ว ตนได้งดออกเสียง เพราะเห็นว่าช่วงนั้นรัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงาน และมาประสบปัญหากับอุทกภัยปี 54 แต่วันนี้ผ่านมา 2 ปีกว่าแล้ว จึงสามารถประเมินการทำงานได้ และที่ชัดเจนมากที่สุดใน 2 เหตุการณ์คือ 1. เรื่องในสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยออกมาแล้ว ทั้งนี้จาก 2 เหตุการณ์รัฐบาลได้กระทำการเร่งรัด ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการไปตัดสิทธิคนที่จะพูด ตรงนี้ควรเปิดโอกาสให้อย่างเต็มที่ จะใช้เวลาก็วันก็ต้องให้พูด เพราะสภาคือสถานที่ ที่แต่ละฝ่ายต้องได้แสดงความเห็นอย่างรอบครอบ ในการออกกฎหมายแต่ละฉบับ 2. เรื่องการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ตรงนี้น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก เพราะชาวนาจำนวนมาก ที่ไปจำนำข้าวยังไม่ได้เงิน ในขณะที่คนได้ประโยชน์โดยตรงคือคนกลาง ซึ่งเป็นพ่อค้า
**“ปู”สั่งรมต.ออกช่อง 11แจงเพิ่ม
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกฯ มีคำสั่งให้รัฐมนตรี อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรมช.เกษตรและสหกรณ์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ที่ฝ่ายค้านอภิปรายไม่วางใจ ผ่านทางรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน คืนนี้เวลา 20.30 น. ความยาว 2 ชั่วโมงครึ่ง ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ช่อง11
-----
จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ผลการลงคะแนน ได้เสียงไว้วางใจ 296 เสียง ไม่ไว้วางใจ 135 เสียง งดออกเสียง 4 ถือว่าเสียงส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจนายจารุพงศ์ ทำงานต่อไป
จากนั้นนายสมศักดิ์ได้รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฏรในช่วงสมัยที่ผ่านมา ก่อนที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร ได้อ่านพระบรมราชโองการปิดสมัยประชุม จากนั้น นายสมศักดิ์ ได้สั่งปิดประชุมเวลา 10.15 น.
**เพื่อไทยพรึบหนุน 250 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบผลการลงคะแนน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ได้รับคะแนนไว้วางใจด้วยคะแนน 297 ต่อ 134 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 5 จากการตรวจสอบพบว่า 297 เสียงมาจาก พรรคเพื่อไทย 250 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 18 เสียง พรรคภูมิใจไทย 11 เสียง พรรคพลังชล 7 เสียง พรรคชาติพัฒนา 6 เสียง พรรคมาตุภูมิ 2 เสียง พรรคมหาชน 1 เสียง พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน พรรครักประเทศไทย 1 เสียง
ทั้งนี้จากการตรวจสอบรายพรรคพบว่า พรรคเพื่อไทย มีสมาชิก 264 คน โหวตไว้วางใจ 250 คน ส่วนรัฐมนตรีที่ไม่ลงคะแนน 4 คน ได้แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ
ผู้ที่ใช้สิทธิ์งดออกเสียงมี 2 คน คือ นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
ส่วนผู้ที่เข้าร่วมประชุมแต่ไม่ออกเสียงใดๆ มี 7 คน ได้แก่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย นายพ้อง ชีวานันท์ รมช.คมนาคม นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.สารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ลาป่วย 2 คน ได้แก่ นายสมคิด บาลไธสง ส.ส.หนองคาย และนายองอาจ วชิรพงศ์ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา
** "บิ๊กบัง"หิ้วลูกพรรคยกมือหนุน
ในขณะที่ร่วมรัฐบาล ก็ไม่มีใครแหกโผโดย พรรคชาติไทยพัฒนา 19 คน โหวตไว้วางใจให้ 18 คน ยกเว้น นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.เกษตรฯ พรรคชาติพัฒนา 7 คน โหวตไว้วางใจ 6 คน ยกเว้น นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม พรรคพลังชล 7 คน โหวตไว้วางใจทั้งหมด
พรรคมาตุภูมิ 2 คน คือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี พรรคมหาชน 1 คน คือ นายอภิรัต ศิรินาวิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ โหวตไว้วางใจ พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน คือนางพัชรินทร์ มั่นปาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ โหวตไว้วางใจ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ 161 คน โหวตไม่ไว้วางใจทั้ง 130 คน อีก 31 คน ไม่เข้าร่วมประชุม
** ภท.เสียงแตก โหวตหนุน 11 เสียง
ส่วนพรรคภูมิใจไทย มี ส.ส.33 คน การลงคะแนน พบว่าเสียงแตกมากที่สุด คือโหวตไว้วางใจ 11 เสียง แยกเป็น ส.ส.กลุ่มมัชฌิมา จำนวน 7 คน ได้แก่ 1.นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ส.ส.สุโขทัย 2. นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี 3. นางนันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.ชัยนาท 4. นางพรทิวา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท 5. นายมานิต นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี 6. นายมนู พุกประเสริฐ ส.ส.สุโขทัย 7. นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ ส่วน 2 คนจะไปลงสมัครส.ส.พรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งสมัยหน้าได้แก่ น.ส.ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร ส.ส.ราชบุรี นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ ส่วน 2 คนที่ไว้วางใจ คือ นายประนอม โพธิ์คำ ส.ส.นครราชสีมา นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ส.ส.นครราชสีมา
**กลุ่มเพื่อนเนวิน 20 คนไม่เข้าประชุม
ขณะที่ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน จำนวน 20 คน ไม่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ 1. นายจักรกฤษณ์ ทองศิริ ส.ส.บุรีรัมย์ 2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3. นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4. นายนาที รัชกิจประการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 5. นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา ส.ส.ราชบุรี 6. นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ 7. นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ ส.ส.ปราจีนบุรี 8. นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ ส.ส.บุรีรัมย์ 9. น.ส.มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ส.ส.ลพบุรี 10. นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.บุรีรัมย์ 11. นายรุ่งโรจน์ ทองศิริ ส.ส.บุรีรัมย์ 12. น.ส.เรวดี รัศมีทัต ส.ส.สมุทรปราการ 13. นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ ส.ส.สระบุรี 14. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก 15. นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 16. นายอักษร เทพอักษรณรงค์ ส.ส.บุรีรัมย์ 17. นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ส.ส.ปัตตานี 18. นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ 19. นายอำนาจ วิลาวัลย์ ส.ส.ปราจีนบุรี 20. นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ส.ส.ชัยภูมิ
**“บุญจง”1เสียงโหวตไม่ไว้วางใจ
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตุว่า มีเพียงนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา เพียงคนเดียว ที่โหวตไม่ไว้วางใจ เช่นเดียวกับ พรรครักษ์สันติ 1 คน คือ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็โหวตไม่ไว้วางใจ
พรรครักประเทศไทย 4 คน แบ่งเป็น 3 คน โหวตไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี ได้แก่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นายโปรดปราน โต๊ะราหนี นายสมเพชร แต่งงาม ในขณะที่ นายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โหวตไว้วางใจ
**“จุติ”ไว้วางใจ มท.1
ส่วนนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ได้รับคะแนนไว้วางใจด้วยคะแนน 296 เสียง ต่อ 135 คะแนน งดออกเสียง 4 คะแนน ไม่ลงคะแนน 4 คะแนน จากการตรวจสอบผลการลงคะแนนเสียง 296 เสียง ซึ่งมีคะแนนน้อยกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ 1 คะแนน พบว่า เสียงที่หายไปคือ นายกนก ลิ้มตระกูล ส.ส.อุตรดิตถ์ ที่งดออกเสียง และยังมีของ นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย ที่ร่วมงดออกเสียงทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ได้โหวตสนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ และเป็นที่น่าสังเกตว่า นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้ร่วมลงคะแนนไว้วางใจให้ด้วย แต่เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามไป นายจุติ ระบุว่า น่าจะเกิดความผิดพลาด ตนน่าจะกดปุ่มลงคะแนนผิดปุ่ม
** "ปุ"แจง 2 ปมไม่ไว้วางใจ"ปู"
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์สันติ กล่าวถึงกรณีที่ลงมติไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับนายจารุงพงศ์ ว่า ในการอภิปรายครั้งที่แล้ว ตนได้งดออกเสียง เพราะเห็นว่าช่วงนั้นรัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงาน และมาประสบปัญหากับอุทกภัยปี 54 แต่วันนี้ผ่านมา 2 ปีกว่าแล้ว จึงสามารถประเมินการทำงานได้ และที่ชัดเจนมากที่สุดใน 2 เหตุการณ์คือ 1. เรื่องในสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยออกมาแล้ว ทั้งนี้จาก 2 เหตุการณ์รัฐบาลได้กระทำการเร่งรัด ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการไปตัดสิทธิคนที่จะพูด ตรงนี้ควรเปิดโอกาสให้อย่างเต็มที่ จะใช้เวลาก็วันก็ต้องให้พูด เพราะสภาคือสถานที่ ที่แต่ละฝ่ายต้องได้แสดงความเห็นอย่างรอบครอบ ในการออกกฎหมายแต่ละฉบับ 2. เรื่องการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ตรงนี้น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก เพราะชาวนาจำนวนมาก ที่ไปจำนำข้าวยังไม่ได้เงิน ในขณะที่คนได้ประโยชน์โดยตรงคือคนกลาง ซึ่งเป็นพ่อค้า
**“ปู”สั่งรมต.ออกช่อง 11แจงเพิ่ม
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกฯ มีคำสั่งให้รัฐมนตรี อาทิ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรมช.เกษตรและสหกรณ์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ที่ฝ่ายค้านอภิปรายไม่วางใจ ผ่านทางรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน คืนนี้เวลา 20.30 น. ความยาว 2 ชั่วโมงครึ่ง ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ช่อง11
-----