วานนี้ (12พ.ญ.) นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และโฆษก ป.ป.ช. แถลงถึงความคืบหน้าการไต่สวนโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลของทางเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ที่ได้ลงพื้นที่ไปในหลายจังหวัด จึงต้องรอฟังข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งจะนำมาสรุป และรายงานเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีทุจริตจำนำข้าวของรัฐบาล ภายในสิ้นเดือนพ.ย.นี้ ขณะเดียวกัน ในช่วงนี้ได้มีการเรียกพยานมาให้ถ้อยคำเพิ่มเติมอีกหลายคน คงต้องรอให้ครบถ้วนก่อน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการตรวจสอบเส้นทางการเงินจากเช็คนั้นได้ยุติแล้ว ตอนนี้เป็นการตรวจสอบในส่วนของบุคคล
นายวิชา นยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่มีการนำไปอ้างบนเวทีปราศรัยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลนั้น ยืนยันว่าป.ป.ช.ไม่เกี่ยว แต่ป.ป.ช.ทำงานตามเป้าหมายที่ได้วางแผนการทำงานไว้ ตั้งแต่เก็บข้อมูลให้ละเอียด เรียกพยานสอบเพิ่มเติมซึ่งเป็นพยานปากสำคัญ โดยยืนยันไม่มีการชี้มูลในวันที่ 20 พ.ย.นี้ อย่างแน่นอน อาจจะมีการให้เจ้าหน้าที่มาสรุปข้อมูลที่ลงไปเก็บในพื้นที่มารายงานต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนเท่านั้น
“เราจะทำงานชุ่ยๆไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องระดับประเทศ เป็นเรื่องระดับโลกที่จับตามอง และเพิ่งทราบว่า ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องการให้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวนี้เสีย เพราะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก สื่อต่างประเทศได้นำเสนอข่าวเรื่องนี้ไปทั่วโลก”
นายวิชา ยังได้เปิดเผยถึงการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการป.ป.ช. และสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ว่า ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมหารือกันถึงประเด็นปัญหาขัดข้องในการทำงานระหว่างกัน เพื่อหวังให้เกิดความร่วมมือ และประโยชน์ของทางราชการทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งภายหลังการหารือ ได้มีข้อตกลงร่วมกันดังนี้
1. เนื่องจากได้มีการประกาศใช้ระเบียบที่ประชุมศาลฎีกา ว่าด้วยการดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา 275 ซึ่งเป็นเรื่องที่อนุมัติตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 98 วรรค 1 เกี่ยวกับการการใช้ระบบไต่สวนในศาลยุติธรรมขั้นต้น โดยให้ถือสำนวนป.ป.ช.เป็นหลัก จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งจัดสัมมนาระหว่างเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. กับเจ้าหน้าที่อัยการโดยเร่งด่วนในเดือนธ.ค.นี้ เพื่อหารือกันในรายละเอียด และทำความเข้าใจอันดีระหว่างการดำเนินคดีสำคัญต่างๆ
2.การแต่งตั้งผู้ประสานงานคดี และผู้ประสานงานทั่วไปของป.ป.ช. และ อสส. เพื่อช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องระหว่างสองสำนักงาน และเพื่อเร่งรัด ติดตามคดีที่อยู่ระหว่างการส่งเรื่องจากป.ป.ช.ไปยัง อสส.พิจารณาสั่งฟ้อง หรือมีการตั้งคณะร่วม เพื่อให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการหารือครั้งนี้ทาง ป.ป.ช.และ อสส.ไม่ได้มีการพูดถึงคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างเคารพในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกันและกัน อีกทั้งไม่ต้องการไปก้าวล่วงบทบาทการทำงานของแต่ละหน่วยงาน
นายวิชา นยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่มีการนำไปอ้างบนเวทีปราศรัยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลนั้น ยืนยันว่าป.ป.ช.ไม่เกี่ยว แต่ป.ป.ช.ทำงานตามเป้าหมายที่ได้วางแผนการทำงานไว้ ตั้งแต่เก็บข้อมูลให้ละเอียด เรียกพยานสอบเพิ่มเติมซึ่งเป็นพยานปากสำคัญ โดยยืนยันไม่มีการชี้มูลในวันที่ 20 พ.ย.นี้ อย่างแน่นอน อาจจะมีการให้เจ้าหน้าที่มาสรุปข้อมูลที่ลงไปเก็บในพื้นที่มารายงานต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนเท่านั้น
“เราจะทำงานชุ่ยๆไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องระดับประเทศ เป็นเรื่องระดับโลกที่จับตามอง และเพิ่งทราบว่า ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องการให้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวนี้เสีย เพราะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก สื่อต่างประเทศได้นำเสนอข่าวเรื่องนี้ไปทั่วโลก”
นายวิชา ยังได้เปิดเผยถึงการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการป.ป.ช. และสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ว่า ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมหารือกันถึงประเด็นปัญหาขัดข้องในการทำงานระหว่างกัน เพื่อหวังให้เกิดความร่วมมือ และประโยชน์ของทางราชการทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งภายหลังการหารือ ได้มีข้อตกลงร่วมกันดังนี้
1. เนื่องจากได้มีการประกาศใช้ระเบียบที่ประชุมศาลฎีกา ว่าด้วยการดำเนินกระบวนการพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา 275 ซึ่งเป็นเรื่องที่อนุมัติตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 98 วรรค 1 เกี่ยวกับการการใช้ระบบไต่สวนในศาลยุติธรรมขั้นต้น โดยให้ถือสำนวนป.ป.ช.เป็นหลัก จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งจัดสัมมนาระหว่างเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. กับเจ้าหน้าที่อัยการโดยเร่งด่วนในเดือนธ.ค.นี้ เพื่อหารือกันในรายละเอียด และทำความเข้าใจอันดีระหว่างการดำเนินคดีสำคัญต่างๆ
2.การแต่งตั้งผู้ประสานงานคดี และผู้ประสานงานทั่วไปของป.ป.ช. และ อสส. เพื่อช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องระหว่างสองสำนักงาน และเพื่อเร่งรัด ติดตามคดีที่อยู่ระหว่างการส่งเรื่องจากป.ป.ช.ไปยัง อสส.พิจารณาสั่งฟ้อง หรือมีการตั้งคณะร่วม เพื่อให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการหารือครั้งนี้ทาง ป.ป.ช.และ อสส.ไม่ได้มีการพูดถึงคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างเคารพในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกันและกัน อีกทั้งไม่ต้องการไปก้าวล่วงบทบาทการทำงานของแต่ละหน่วยงาน