นายอภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินมีสาเหตุพื้นฐานมาจากการชะล้างพังทลายของดิน จึงต้องมีเจ้าหน้าที่ออกไปทำการแนะนำส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ สำหรับการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ มีทั้งที่ลุ่มและที่ดอน โดยวิธีกลและวิธีพืช ซึ่งจะดำเนินการก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ และการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยเน้นถึงวิธีการที่ง่ายและเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ สำหรับวิธีกลจะเน้นหนักในการสร้างสิ่งกีดขวางความลาดชันของพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำไว้ในพื้นที่ ไม่ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินลงสู่พื้นที่ต่ำลงไป โดยการสร้างคันดินกั้นน้ำ และร่องน้ำขวางความลาดชันของพื้นที่ เพื่อลดความยาวของพื้นที่รับน้ำฝนให้น้อยลง แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ดังนี้
ชนิดเเรกคันดินแบบบันได โดยการปรับพื้นที่ลาดเทให้เป็นขั้นบันได มีความลาดเทระหว่าง15-35 เปอร์เซ็นต์ และดินบนต้องมีความลึกมากกว่า 1 เมตร
ชนิดที่สองคันดินกั้นน้ำ โดยการสร้างคันดินและร่องน้ำขวางความลาดเทของพื้นที่เป็นช่วง ๆ มีความลาดเท3-10 เปอร์เซ็นต์ ชนิดที่สามคันดินเบนน้ำ โดยเป็นคันดินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเบนน้ำเหนือพื้นที่ไม่ให้เข้าไปในไร่นา หรือลงสู่บ่อน้ำในไร่นา ชนิดที่สี่ทางระบายน้ำ เพื่อรับน้ำจากคันดินกั้นน้ำ และเบนน้ำลงสู่บ่อน้ำในไร่นาหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ชนิดที่ห้าบ่อน้ำในไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำ ชนิดสุดท้ายคูรับน้ำรอบขอบเขา โดยเป็นคูรับน้ำที่ทำขึ้นขวางความลาดเทของพื้นที่ ใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเท 15-35 เปอร์เซ็นต์
สำหรับวิธีพืช สามารถใช้เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในการลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ ที่จะสามารถปลูกพืชตามแนวระดับ การปลูกพืชสลับเป็นแถบ การปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชต่างชนิดกันบนพื้นที่แห่งเดียวกัน ปลูกหลายครั้งต่อเนื่องกัน เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด และถั่วเขียว เป็นต้น การปลูกพืชแซม เช่น ปลูกถั่วลิสงแซมระหว่างแถวมันสำปะหลัง การปลูกพืชเหลื่อมฤดู การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อปกคลุมดินไม่ให้พื้นที่ว่างเปล่า เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และป้องกันการถูกกัดเซาะของผิวดิน พืชที่นิยมปลูก คือ พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ
ทั้งนี้การแนะนำและส่งเสริมยังมีอุปสรรคและปัญหาอยู่มาก เพราะนอกจากเกษตรกรจะยังไม่เข้าใจถึงประโยชน์และวิธีการอันแท้จริงแล้ว เกษตรกรยังไม่เห็นถึงประโยชน์ต่อทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินในระยะยาว ดังนั้นจึงให้เจ้าหน้าที่ทุกสถานีพัฒนาที่ดิน นักวิชาการ ตลอดจนผู้เชียวชาญในพื้นที่ และหมอดินอาสากรมพัฒนาที่ดิน ต้องพยายามอธิบายโดยใช้แปลงสาธิตการใช้ประโยชน์ รวมทั้งได้รับความรู้ความเข้าใจ และรับทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้มาตรการทางด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟูทรัพยากรดินเสื่อมโทรม ให้ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยั่งยืนสืบไป
ชนิดเเรกคันดินแบบบันได โดยการปรับพื้นที่ลาดเทให้เป็นขั้นบันได มีความลาดเทระหว่าง15-35 เปอร์เซ็นต์ และดินบนต้องมีความลึกมากกว่า 1 เมตร
ชนิดที่สองคันดินกั้นน้ำ โดยการสร้างคันดินและร่องน้ำขวางความลาดเทของพื้นที่เป็นช่วง ๆ มีความลาดเท3-10 เปอร์เซ็นต์ ชนิดที่สามคันดินเบนน้ำ โดยเป็นคันดินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเบนน้ำเหนือพื้นที่ไม่ให้เข้าไปในไร่นา หรือลงสู่บ่อน้ำในไร่นา ชนิดที่สี่ทางระบายน้ำ เพื่อรับน้ำจากคันดินกั้นน้ำ และเบนน้ำลงสู่บ่อน้ำในไร่นาหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ชนิดที่ห้าบ่อน้ำในไร่นาเพื่อกักเก็บน้ำ ชนิดสุดท้ายคูรับน้ำรอบขอบเขา โดยเป็นคูรับน้ำที่ทำขึ้นขวางความลาดเทของพื้นที่ ใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเท 15-35 เปอร์เซ็นต์
สำหรับวิธีพืช สามารถใช้เป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในการลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ ที่จะสามารถปลูกพืชตามแนวระดับ การปลูกพืชสลับเป็นแถบ การปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชต่างชนิดกันบนพื้นที่แห่งเดียวกัน ปลูกหลายครั้งต่อเนื่องกัน เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด และถั่วเขียว เป็นต้น การปลูกพืชแซม เช่น ปลูกถั่วลิสงแซมระหว่างแถวมันสำปะหลัง การปลูกพืชเหลื่อมฤดู การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อปกคลุมดินไม่ให้พื้นที่ว่างเปล่า เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และป้องกันการถูกกัดเซาะของผิวดิน พืชที่นิยมปลูก คือ พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ
ทั้งนี้การแนะนำและส่งเสริมยังมีอุปสรรคและปัญหาอยู่มาก เพราะนอกจากเกษตรกรจะยังไม่เข้าใจถึงประโยชน์และวิธีการอันแท้จริงแล้ว เกษตรกรยังไม่เห็นถึงประโยชน์ต่อทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินในระยะยาว ดังนั้นจึงให้เจ้าหน้าที่ทุกสถานีพัฒนาที่ดิน นักวิชาการ ตลอดจนผู้เชียวชาญในพื้นที่ และหมอดินอาสากรมพัฒนาที่ดิน ต้องพยายามอธิบายโดยใช้แปลงสาธิตการใช้ประโยชน์ รวมทั้งได้รับความรู้ความเข้าใจ และรับทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้มาตรการทางด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟูทรัพยากรดินเสื่อมโทรม ให้ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยั่งยืนสืบไป