ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.ปรับตัวลดลงอีก ต่ำสุดในรอบ 12 เดือน เหตุคนกังวลน้ำท่วม การเมืองป่วน เศรษฐกิจไม่ฟื้น แถมราคาเกษตรตกต่ำ ค่าครองชีพพุ่ง คาดซึมยางถึงต้นปีหน้า ห่วงปัญหาสหรัฐฯ ซัดดาวน์ลากยาว ฉุดเศรษฐกิจไทยวูบอีก ส่วนกินเจ เงินสะพัด 4 หมื่นล้าน เพิ่ม 6.3%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนก.ย.2556 ดัชนีทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และต่ำสุดในรอบ 12 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 67.9 ลดจาก 69.5 ในเดือนส.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน เท่ากับ 70.6
ลดจาก 71.6 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต เท่ากับ 95.1 ลดจาก 96.7 ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภครวมเท่ากับ 77.9 ลดจาก 79.3 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน เท่ากับ 61.3 ลดจาก 62.5 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต เท่ากับ 83.2 ลดจาก 84.7
ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง เนื่องจากคนวิตกสถานการณ์น้ำท่วมกระทบต่อการดำเนินชีวิต การท่องเที่ยว ผลผลิตทางการเกษตร และโอกาสในการทำธุรกิจ ความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายปี 2557 ที่จะกระทบต่อการลงทุนภาครัฐ การปรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงเหลือ 3.5-4% ความกังวลต่อปัญหาทางการเมือง
หลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเกี่ยวกับการดำเนินการทางเศรษฐกิจและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งยางพารา ปาล์มและข้าวโพด ค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง และความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
“ผลการสำรวจพบว่า คนมีความกังวลว่าเศรษฐกิจไทยจะซึมตัวยาวถึงปีต้นปีหน้า โดยเฉพาะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ความไม่แน่นอนทางการเมือง และเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า ยิ่งมาเจอปัญหาเรื่องสหรัฐฯ ชัดดาวน์ และกำลังจะมีปัญหาเรื่องการพักชำระหนี้ ซึ่งหากภายใน 2-3 สัปดาห์ไม่มีความชัดเจนเกิดขึ้น ก็จะกระทบต่อการส่งออก การท่องเที่ยว และกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น
และจะกระทบต่อไทยในที่สุด”
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าปัญหาในสหรัฐฯ จะกระทบกับไทย เพราะเงินบาทยังทรงตัวแข็งค่า ชี้ให้เห็นว่าเงินทุนต่างชาติยังอยู่ในไทย ไม่ได้ถอนออกไป เพราะต่างก็คาดว่าสหรัฐฯ จะหาทางออกได้เร็วๆ นี้ แต่หากเงินบาทอ่อนค่าเร็วจากการถอนการลงทุนของต่างชาติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวทันที
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ศูนย์ฯ คาดว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์เดิม 3.5-4% เหลือ 3.1-3.5% ซึ่งจะประเมินตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
สำหรับผลการสำรวจดัชนีความสุขในการดำเนินชีวิต ภาวะค่าครองชีพ ปัญหายาเสพติด และสถานการณ์ทางเมือง รวมถึงดัชนีความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่ การท่องเที่ยวและการลงทุนทำธุรกิจ พบว่า ลดต่ำลงในรอบ 11-12 เดือนเช่นกัน
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,153 รายทั่วประเทศระหว่างวันที่ 23-27 ก.ย. พบว่า จะมีเงินสะพัดมูลค่า 40,155.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.3% ซึ่งถือว่าไม่คึกคักเท่าที่ควร เพราะเศรษฐกิจไม่ดี คนกังวลปัญหาสินค้ามีราคาแพง โดยเฉพาะผัก ของเจ และอาหารเจปรุงสำเร็จ
ส่วนการสอบถามถึงทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ภาวะน้ำท่วม หากให้คะแนนบริการจัดการน้ำของรัฐบาล คะแนนเต็ม 10 พบว่า ความพอใจในนโยบายการบริหารจัดการน้ำ ได้ 4.8 คะแนน การบริหารจัดการน้ำโดยรวม ได้ 4.2 คะแนน และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน ได้ 4.1 คะแนน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนก.ย.2556 ดัชนีทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และต่ำสุดในรอบ 12 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 67.9 ลดจาก 69.5 ในเดือนส.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน เท่ากับ 70.6
ลดจาก 71.6 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต เท่ากับ 95.1 ลดจาก 96.7 ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภครวมเท่ากับ 77.9 ลดจาก 79.3 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน เท่ากับ 61.3 ลดจาก 62.5 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต เท่ากับ 83.2 ลดจาก 84.7
ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง เนื่องจากคนวิตกสถานการณ์น้ำท่วมกระทบต่อการดำเนินชีวิต การท่องเที่ยว ผลผลิตทางการเกษตร และโอกาสในการทำธุรกิจ ความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายปี 2557 ที่จะกระทบต่อการลงทุนภาครัฐ การปรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงเหลือ 3.5-4% ความกังวลต่อปัญหาทางการเมือง
หลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเกี่ยวกับการดำเนินการทางเศรษฐกิจและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งยางพารา ปาล์มและข้าวโพด ค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง และความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
“ผลการสำรวจพบว่า คนมีความกังวลว่าเศรษฐกิจไทยจะซึมตัวยาวถึงปีต้นปีหน้า โดยเฉพาะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ความไม่แน่นอนทางการเมือง และเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า ยิ่งมาเจอปัญหาเรื่องสหรัฐฯ ชัดดาวน์ และกำลังจะมีปัญหาเรื่องการพักชำระหนี้ ซึ่งหากภายใน 2-3 สัปดาห์ไม่มีความชัดเจนเกิดขึ้น ก็จะกระทบต่อการส่งออก การท่องเที่ยว และกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น
และจะกระทบต่อไทยในที่สุด”
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าปัญหาในสหรัฐฯ จะกระทบกับไทย เพราะเงินบาทยังทรงตัวแข็งค่า ชี้ให้เห็นว่าเงินทุนต่างชาติยังอยู่ในไทย ไม่ได้ถอนออกไป เพราะต่างก็คาดว่าสหรัฐฯ จะหาทางออกได้เร็วๆ นี้ แต่หากเงินบาทอ่อนค่าเร็วจากการถอนการลงทุนของต่างชาติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวทันที
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ศูนย์ฯ คาดว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์เดิม 3.5-4% เหลือ 3.1-3.5% ซึ่งจะประเมินตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
สำหรับผลการสำรวจดัชนีความสุขในการดำเนินชีวิต ภาวะค่าครองชีพ ปัญหายาเสพติด และสถานการณ์ทางเมือง รวมถึงดัชนีความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่ บ้านหลังใหม่ การท่องเที่ยวและการลงทุนทำธุรกิจ พบว่า ลดต่ำลงในรอบ 11-12 เดือนเช่นกัน
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,153 รายทั่วประเทศระหว่างวันที่ 23-27 ก.ย. พบว่า จะมีเงินสะพัดมูลค่า 40,155.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.3% ซึ่งถือว่าไม่คึกคักเท่าที่ควร เพราะเศรษฐกิจไม่ดี คนกังวลปัญหาสินค้ามีราคาแพง โดยเฉพาะผัก ของเจ และอาหารเจปรุงสำเร็จ
ส่วนการสอบถามถึงทัศนะเกี่ยวกับสถานการณ์ภาวะน้ำท่วม หากให้คะแนนบริการจัดการน้ำของรัฐบาล คะแนนเต็ม 10 พบว่า ความพอใจในนโยบายการบริหารจัดการน้ำ ได้ 4.8 คะแนน การบริหารจัดการน้ำโดยรวม ได้ 4.2 คะแนน และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบัน ได้ 4.1 คะแนน