ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 2 รับวินิจฉัยแก้ที่มา ส.ว. ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เหตุเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง แต่ไม่สั่งระงับการลงมติวาระ 3 เพื่อไทยไม่สน นัดโหวตวาระ 3 เสาร์นี้ ปชป.หอบคลิปฉาว ส.ส. เสียบบัตรแทนร้องศาลสั่งระงับการลงมติ
วานนี้ ( 25 ก.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 2 สั่งรับคำร้องกรณีคำร้องของพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม กับพวก และคำร้องของนายวิรัตน์ กลัยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของส.ว. เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ไว้วินิจฉัย เนื่องจากเห็นว่า กรณีมีมูลว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้รัฐธรรมนูญ
ส่วนคำขอให้ศาลมีคำสั่งระงับกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉิน ให้ระงับการพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอ
ทั้งนี้ นายชัช ชลวร ตุลาการเสียงข้างน้อย เห็นว่า ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ประสงค์ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเท่านั้น ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรง
ขณะที่นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตุลาการเสียงข้างน้อย เห็นว่า ตามคำร้องยังไม่มีมูลกรณีฝ่าฝืนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
**ลุยโหวตแก้วาระ3หลังศาลไม่ชะลอ
นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวยืนยันว่า จะลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่มาของ ส.ว. วาระ 3 วันที่ 28 ก.ย.2556 ตามกำหนดเดิม แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องคัดค้านของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จึงถือว่าสมาชิกรัฐสภา สามารถลงมติได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ อย่างไรก็ตาม หากหลังการลงมติในวาระ 3 แล้ว ต้องคอยดูว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเป็นอย่างไร จึงจะตัดสินว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายสมศักดิ์ เกรียติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ส่งหนังสือเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว.วาระ 3 ในวันเสาร์ที่ 28 ก.ย.2555 เวลา 10.00 น. ซึ่งจะเป็นการลงมติแบบเปิดเผย และจะเป็นการประชุมเพื่อลงมติเพียงเรื่องเดียว
**ปชป.หอบคลิปร้องศาลรัฐธรรมนูญ
นายพีระพันธ์ สารีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมพวกรวม 10 คน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยการกระทำของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และพวกรวม 312 คน กรณีมีคลิปวีดีโอ ส.ส.พรรคการเมืองหนึ่งเสียบบัตรลงคะแนนแทนกันในระหว่างการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นที่มาของ ส.ว.มาตรา 9 ในการประชุมรัฐสภาวันที่ 10 ก.ย. เวลา 17.33 น. มาตรา10 วันที่ 11 ก.ย. เวลา 11.43 ซึ่งถือว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ว่าด้วยสมาชิกรัฐสภาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต และมาตรา 126 สมาชิกมีสิทธิลงมติหนึ่งคนต่อหนึ่งเสียงและจะต้องมีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งในการลงมติ จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าประธานรัฐสภากระทำการไม่เป็นกลางทุจริตต่อหน้าที่ และการกระทำดังกล่าวเป็นการทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ต้องสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดการกระทำดังกล่าว และสั่งให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกรณีดังกล่าวเป็นโมฆะ รวมทั้ง ให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวฉุกเฉินสั่งระงับการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ ไว้จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย
นายพีระพันธุ์กล่าวว่า คลิปดังกล่าวเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ชัดเจนว่ามีการเสียบบัตรเพื่อลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญแทนกันจริง จนให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถผ่านในวาระ 2 ได้ และหวังว่าการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญจะทันก่อนการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติในวาระ 3
**"มาร์ค"ถาม "ปู"โกงเสียบบัตรคิดยังไง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลักฐานปรากฎชัดเจน คำถาม คือ กระบวนการจะชอบธรรมได้อย่างไร ในเมื่อการลงคะแนนโดยไม่สุจริต และตรงกับที่มีการร้องต่อศาลว่าเป็นการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ชอบ กำลังจะแก้กฎหมายเอื้อพรรคพวกของตนเอง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และนอกจากจะมีคนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนลงคะแนนแล้ว ยังมีการทุจริตในการลงคะแนนด้วย จึงต้องถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า คิดอย่างไรกับเรื่องนี้
ส่วนเหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การล้มรัฐบาลในวันที่ 8 ต.ค. เหมือนอย่างที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ไม่เข้าใจคนที่พูดมาตั้งแต่ต้นว่าไปเอาอะไรมาจากไหน เพราะว่าทุกอย่างที่เราพูด ได้วิเคราะห์กันก็ว่ากันตามเหตุผล ตามผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของคนทั้งนั้น
**จี้สอบจริยธรรมกดบัตรแทนกัน
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ได้เรียกร้องให้นายสมศักดิ์ ออกคำสั่งเพื่อตั้งกรรมการสอบ สส. ที่มีการกดบัตรแทนกัน หรือนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการปกป้องศักดิ์ศรีของสภาไทย และเพื่อให้ระบบการปกครองที่รัฐบาลเรียกร้องให้ยึดหลักการของรัฐสภามีความศักดิ์สิทธิ์ ถ้านายสมศักดิ์ไม่เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวจะถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ ได้สอบถามถึงกรณีที่มีการตั้งคณะกรรมการร่วมรัฐสภาเพื่อตรวจสอบสมาชิกรัฐสภาที่มีพฤติกรรมการกดบัตรแทนกันด้วยว่าคณะกรรมการร่วมดังกล่าวมีการประชุมเพียง 2 ครั้ง และหลังจากที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้ลาออกจากประธานกรรมการตรวจสอบฯ เพราะได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ก็ไม่มีการประชุมตรวจสอบอีก และจนถึงขณะนี้ การตรวจสอบดังกล่าวไม่มีบทสรุปออกมาที่ชัดเจน
**พท.อ้างใช่คลิปวันลงมติจริงหรือไม่
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นที่สภาฯ ไม่ได้เกิดที่พรรค ดังนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาฯ ซึ่งมีคณะกรรมการจริยธรรมทำหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งก็ต้องว่ากันตามหลักฐาน โดยที่ผ่านมา ได้เตือนลูกพรรคอยู่แล้วว่าต้องให้ความสำคัญกับเรื่องวินัยสูงสุด ใครผิดก็ต้องว่าไปตามผิด ต้องยึดหลักการความถูกต้อง ส่วนที่ฝ่ายค้านนำประเด็นนี้ ไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ก็ถือเป็นสิทธิ อยากยื่นก็ยื่นไป ไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะและกระทบกับรัฐบาล
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. พรรคเพื่อไทย ได้มีการกำชับให้สมาชิกมาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งในการถ่ายทอดสดก็เห็นชัดเจนว่ามีสมาชิกเต็มห้องประชุมสภาฯ ดังนั้น ต้องมีการตรวจสอบว่าคลิปดังกล่าวเป็นคลิปในวันลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ภาพที่ออกมานั้น ไม่ได้เห็นใบหน้าของผู้กระทำอย่างชัดเจน เป็นเพียงด้านหลังเท่านั้น และคลิปดังกล่าวยังมีเสียงกับภาพที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งตนได้เห็นคลิปทั้งหมดแล้ว ซึ่งจากการที่ตนมีความเชี่ยวชาญอยู่กับวางการโทรทัศน์มากว่า 28 ปี คิดว่าคลิปนี้อาจจะมีการตัดต่อเกิดขึ้นได้ เพราะมีพิรุธ ซึ่งถ้ามีการตรวจสอบและพบว่ามีการตัดต่อจริง ก็จะต้องมีการนำคนผิดมาลงโทษด้วย ตนจึงอยากให้คนกลางมาทำหน้าที่ตรวจสอบ อย่างคณะกรรมการจริยธรรมของสภาฯ ทั้งนี้ ฝ่ายค้านก็ควรจะตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่ด่วนสรุปว่ามีการกระทำผิด
***ท้า"เด็จพี่"ถ้าไม่ตัดต่อต้องลาออก
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ แถลงตอบโต้ว่า เป็นคำพูดที่ไร้ความรับผิดชอบ โดยเรื่องนี้ พรรคเพื่อไทยและนายพร้อมพงศ์ ต้องรับผิดชอบตรวจสอบเพื่อค้นหาความจริงว่าใครทำผิด ที่สำคัญ คือ อย่ากดดันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และให้เคารพการตัดสินของศาล โดยเฉพาะนายพร้อมพงศ์ หากคลิปดังกล่าวไม่ตัดต่อพร้อมจะรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือไม่
**ยื่นป.ป.ช.สอย310สส.-สว.
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สว.สรรหา กล่าวว่า ในวันที่ 26 ก.ย. เวลา 11.00 น. ตนเองและนายวันชัย สอนศิริ และนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา จะไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ดำเนินการไต่สวน สมาชิกรัฐสภา จำนวน 310 คน ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ว. เนื่องจากระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว พบพฤติกรรมของสมาชิกและประธานในที่ประชุม ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตราที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิ์และเสรีภาพ และมาตรา 122 ว่าด้วยเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์
ทั้งนี้ พบว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ได้มีผลประโยชน์ที่เอื้อกับส.ว.ชุดปัจจุบัน โดยเฉพาะนายนิคม ที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะมีการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. อีกครั้ง หลังจากที่หมดวาระการดำรงตำแหน่งในปี 2556 และประเด็นที่สำคัญ คือ การพบพฤติกรรมของ ส.ส. ที่มีการกดบัตรลงคะแนนแทนกันระหว่างการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มที่มาของ ส.ว.
วานนี้ ( 25 ก.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 2 สั่งรับคำร้องกรณีคำร้องของพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม กับพวก และคำร้องของนายวิรัตน์ กลัยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของส.ว. เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ไว้วินิจฉัย เนื่องจากเห็นว่า กรณีมีมูลว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้รัฐธรรมนูญ
ส่วนคำขอให้ศาลมีคำสั่งระงับกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเป็นกรณีฉุกเฉิน ให้ระงับการพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอ
ทั้งนี้ นายชัช ชลวร ตุลาการเสียงข้างน้อย เห็นว่า ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ประสงค์ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเท่านั้น ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลได้โดยตรง
ขณะที่นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตุลาการเสียงข้างน้อย เห็นว่า ตามคำร้องยังไม่มีมูลกรณีฝ่าฝืนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
**ลุยโหวตแก้วาระ3หลังศาลไม่ชะลอ
นายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวยืนยันว่า จะลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่มาของ ส.ว. วาระ 3 วันที่ 28 ก.ย.2556 ตามกำหนดเดิม แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องคัดค้านของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จึงถือว่าสมาชิกรัฐสภา สามารถลงมติได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ อย่างไรก็ตาม หากหลังการลงมติในวาระ 3 แล้ว ต้องคอยดูว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาเป็นอย่างไร จึงจะตัดสินว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายสมศักดิ์ เกรียติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ส่งหนังสือเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มา ส.ว.วาระ 3 ในวันเสาร์ที่ 28 ก.ย.2555 เวลา 10.00 น. ซึ่งจะเป็นการลงมติแบบเปิดเผย และจะเป็นการประชุมเพื่อลงมติเพียงเรื่องเดียว
**ปชป.หอบคลิปร้องศาลรัฐธรรมนูญ
นายพีระพันธ์ สารีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมพวกรวม 10 คน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยการกระทำของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และพวกรวม 312 คน กรณีมีคลิปวีดีโอ ส.ส.พรรคการเมืองหนึ่งเสียบบัตรลงคะแนนแทนกันในระหว่างการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นที่มาของ ส.ว.มาตรา 9 ในการประชุมรัฐสภาวันที่ 10 ก.ย. เวลา 17.33 น. มาตรา10 วันที่ 11 ก.ย. เวลา 11.43 ซึ่งถือว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ว่าด้วยสมาชิกรัฐสภาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต และมาตรา 126 สมาชิกมีสิทธิลงมติหนึ่งคนต่อหนึ่งเสียงและจะต้องมีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งในการลงมติ จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าประธานรัฐสภากระทำการไม่เป็นกลางทุจริตต่อหน้าที่ และการกระทำดังกล่าวเป็นการทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ต้องสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดการกระทำดังกล่าว และสั่งให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกรณีดังกล่าวเป็นโมฆะ รวมทั้ง ให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวฉุกเฉินสั่งระงับการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ในวันที่ 28 ก.ย.นี้ ไว้จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย
นายพีระพันธุ์กล่าวว่า คลิปดังกล่าวเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ชัดเจนว่ามีการเสียบบัตรเพื่อลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญแทนกันจริง จนให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถผ่านในวาระ 2 ได้ และหวังว่าการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญจะทันก่อนการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติในวาระ 3
**"มาร์ค"ถาม "ปู"โกงเสียบบัตรคิดยังไง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลักฐานปรากฎชัดเจน คำถาม คือ กระบวนการจะชอบธรรมได้อย่างไร ในเมื่อการลงคะแนนโดยไม่สุจริต และตรงกับที่มีการร้องต่อศาลว่าเป็นการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ชอบ กำลังจะแก้กฎหมายเอื้อพรรคพวกของตนเอง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และนอกจากจะมีคนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนลงคะแนนแล้ว ยังมีการทุจริตในการลงคะแนนด้วย จึงต้องถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า คิดอย่างไรกับเรื่องนี้
ส่วนเหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การล้มรัฐบาลในวันที่ 8 ต.ค. เหมือนอย่างที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ไม่เข้าใจคนที่พูดมาตั้งแต่ต้นว่าไปเอาอะไรมาจากไหน เพราะว่าทุกอย่างที่เราพูด ได้วิเคราะห์กันก็ว่ากันตามเหตุผล ตามผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของคนทั้งนั้น
**จี้สอบจริยธรรมกดบัตรแทนกัน
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ได้เรียกร้องให้นายสมศักดิ์ ออกคำสั่งเพื่อตั้งกรรมการสอบ สส. ที่มีการกดบัตรแทนกัน หรือนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการปกป้องศักดิ์ศรีของสภาไทย และเพื่อให้ระบบการปกครองที่รัฐบาลเรียกร้องให้ยึดหลักการของรัฐสภามีความศักดิ์สิทธิ์ ถ้านายสมศักดิ์ไม่เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวจะถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ ได้สอบถามถึงกรณีที่มีการตั้งคณะกรรมการร่วมรัฐสภาเพื่อตรวจสอบสมาชิกรัฐสภาที่มีพฤติกรรมการกดบัตรแทนกันด้วยว่าคณะกรรมการร่วมดังกล่าวมีการประชุมเพียง 2 ครั้ง และหลังจากที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้ลาออกจากประธานกรรมการตรวจสอบฯ เพราะได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ก็ไม่มีการประชุมตรวจสอบอีก และจนถึงขณะนี้ การตรวจสอบดังกล่าวไม่มีบทสรุปออกมาที่ชัดเจน
**พท.อ้างใช่คลิปวันลงมติจริงหรือไม่
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นที่สภาฯ ไม่ได้เกิดที่พรรค ดังนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาฯ ซึ่งมีคณะกรรมการจริยธรรมทำหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งก็ต้องว่ากันตามหลักฐาน โดยที่ผ่านมา ได้เตือนลูกพรรคอยู่แล้วว่าต้องให้ความสำคัญกับเรื่องวินัยสูงสุด ใครผิดก็ต้องว่าไปตามผิด ต้องยึดหลักการความถูกต้อง ส่วนที่ฝ่ายค้านนำประเด็นนี้ ไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ก็ถือเป็นสิทธิ อยากยื่นก็ยื่นไป ไม่ควรคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะและกระทบกับรัฐบาล
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. พรรคเพื่อไทย ได้มีการกำชับให้สมาชิกมาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งในการถ่ายทอดสดก็เห็นชัดเจนว่ามีสมาชิกเต็มห้องประชุมสภาฯ ดังนั้น ต้องมีการตรวจสอบว่าคลิปดังกล่าวเป็นคลิปในวันลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ภาพที่ออกมานั้น ไม่ได้เห็นใบหน้าของผู้กระทำอย่างชัดเจน เป็นเพียงด้านหลังเท่านั้น และคลิปดังกล่าวยังมีเสียงกับภาพที่ไม่สอดคล้องกัน ซึ่งตนได้เห็นคลิปทั้งหมดแล้ว ซึ่งจากการที่ตนมีความเชี่ยวชาญอยู่กับวางการโทรทัศน์มากว่า 28 ปี คิดว่าคลิปนี้อาจจะมีการตัดต่อเกิดขึ้นได้ เพราะมีพิรุธ ซึ่งถ้ามีการตรวจสอบและพบว่ามีการตัดต่อจริง ก็จะต้องมีการนำคนผิดมาลงโทษด้วย ตนจึงอยากให้คนกลางมาทำหน้าที่ตรวจสอบ อย่างคณะกรรมการจริยธรรมของสภาฯ ทั้งนี้ ฝ่ายค้านก็ควรจะตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่ด่วนสรุปว่ามีการกระทำผิด
***ท้า"เด็จพี่"ถ้าไม่ตัดต่อต้องลาออก
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ แถลงตอบโต้ว่า เป็นคำพูดที่ไร้ความรับผิดชอบ โดยเรื่องนี้ พรรคเพื่อไทยและนายพร้อมพงศ์ ต้องรับผิดชอบตรวจสอบเพื่อค้นหาความจริงว่าใครทำผิด ที่สำคัญ คือ อย่ากดดันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และให้เคารพการตัดสินของศาล โดยเฉพาะนายพร้อมพงศ์ หากคลิปดังกล่าวไม่ตัดต่อพร้อมจะรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือไม่
**ยื่นป.ป.ช.สอย310สส.-สว.
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สว.สรรหา กล่าวว่า ในวันที่ 26 ก.ย. เวลา 11.00 น. ตนเองและนายวันชัย สอนศิริ และนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา จะไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ดำเนินการไต่สวน สมาชิกรัฐสภา จำนวน 310 คน ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ว. เนื่องจากระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว พบพฤติกรรมของสมาชิกและประธานในที่ประชุม ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตราที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิ์และเสรีภาพ และมาตรา 122 ว่าด้วยเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์
ทั้งนี้ พบว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ได้มีผลประโยชน์ที่เอื้อกับส.ว.ชุดปัจจุบัน โดยเฉพาะนายนิคม ที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะมีการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. อีกครั้ง หลังจากที่หมดวาระการดำรงตำแหน่งในปี 2556 และประเด็นที่สำคัญ คือ การพบพฤติกรรมของ ส.ส. ที่มีการกดบัตรลงคะแนนแทนกันระหว่างการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มที่มาของ ส.ว.