เอแบคโพลล์ชี้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีค่าความเสี่ยงทางการเมืองสูงสุด 9.19 ขณะที่กรุงเทพโพลล์ชี้คะแนนพึงพอใจรัฐบาล-นายกฯ ตกต่ำสุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากบอกไม่ชัดเจน ว่าจะนำพาประเทศไปทิศทางใด ส่วนสวนดุสิตโพลอ้างประชาชนส่วนใหญ่เบื่อม็อบ ก่อให้เกิดความแตกแยก ภาพลักษณ์ประเทศชาติเสียหาย
น.ส.ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องประเมินดัชนีความเสี่ยงทางการเมือง ประจำเดือน ก.ค.56 ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,114 ตัวอย่าง โดยดำเนินการสำรวจในระหว่างวันที่ 28 ก.ค.-3 ส.ค. พบว่า เมื่อประเมินดัชนีความเสี่ยงทางการเมืองประจำเดือนก.ค.56 คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าประเด็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองสูงที่สุดคือ 9.19 อันดับสองได้แก่ การแทรกแซงทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ที่ 8.60 อันดับสามได้แก่ ประเด็น พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ที่ 8.29 อันดับสี่ได้แก่ ข่าวอื้อฉาว อาทิ พฤติกรรมนักการเมือง ทุจริตคอร์รัปชัน มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ที่ 7.81 อันดับห้าได้แก่ โครงการจำนำข้าว มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ที่ 7.56
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อเปรียบเทียบดัชนีความเสี่ยงของเดือนพ.ค.56 กับครั้งล่าสุด พบว่า ทุกปัจจัยที่มีการเปรียบเทียบมีค่าดัชนีความเสี่ยงต่อรัฐบาลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ข่าวอื้อฉาว อาทิ พฤติกรรมนักการเมือง ทุจริตคอร์รัปชัน เอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง จาก 5.29 มา อยู่ที่ 7.81 ความไม่มั่นคงของประเทศโดยรวม จาก 5.13 มาอยู่ที่ 7.48 ปัญหาสังคมโดยรวม จาก 5.11 มาอยู่ที่ 7.45 ปัญหาเศรษฐกิจโดยรวม จาก 4.21 มาอยู่ที่ 7.21 ความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จาก 3.29 มาอยู่ที่ 7.16 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จาก 4.20 มาอยู่ที่ 6.93 และการปกครองระบอบประชาธิปไตย จาก 2.57 มาอยู่ที่ 6.67
จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองจากข้อมูลที่ศึกษาได้ในครั้งนี้ พบว่าสัญญาณเตือนภัยทางการเมืองของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่น่าพิจารณาในหลายตัวชี้วัด และถือว่าเป็นความเสี่ยงทางการเมือง เช่น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การแทรกแซงทางการเมือง พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ข่าวอื้อฉาว อาทิ พฤติกรรมนักการเมือง ทุจริตคอร์รัปชัน เอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง โครงการจำนำข้าว เป็นต้น โดยผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองโดยรวม อยู่ที่ 7.13
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 85.4 คิดว่า ประเด็นการพูดคุยในการประชุมสภาในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่า มีเพียงร้อยละ 14.6 คิดว่าเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติมากกว่า และที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนมาก หรือร้อยละ 81.9 ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นต้นเหตุแห่งความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นภายในประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 18.1 คิดว่าไม่เป็น
**ความพึงพอใจรัฐบาล-นายกฯต่ำสุด
เนื่องด้วยในเดือนส.ค.นี้ รัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะบริหารงานประเทศครบ 2 ปีบริบูรณ์ กรุงเทพโพลล์ จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประเมินผลงาน 2 ปี รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ " โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,419 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 4.49 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งลดลงจากการทำงานครบ 1 ปี 6 เดือน 0.38 คะแนน ทั้งยังเป็นระดับต่ำที่สุด ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศ และเป็นการปรับลดลงในทุกด้านที่ทำการประเมิน โดยได้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด (5.04 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านเศรษฐกิจ น้อยที่สุด (3.98 คะแนน)
ด้านคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ที่ 4.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งลดลงจากการทำงานครบ 1 ปี 6 เดือน 0.48 คะแนน และเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศ โดยได้คะแนนความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด (5.49 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด (4.56 คะแนน)
ด้านคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน และพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 4.94 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.40 คะแนน ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้าน ได้ 3.81 คะแนน และพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ 3.50 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ส่วนเรื่องที่บั่นทอนหรือทำลายภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันมากที่สุด อันดับ 1 คือ การคอร์รัปชั่น โกงกิน ในโครงการต่างๆ (ร้อยละ 19.9) อันดับ 2 คือ โครงการรับจำนำข้าวล้มเหลว ขาดทุน (ร้อยละ 19.3) อันดับ 3 คือ การไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เพราะข้าวของแพง น้ำมันแพงและค่าครองชีพยังสูงอยู่(ร้อยละ 11.1)
สำหรับความเห็นต่อระยะเวลา 2 ปี ของรัฐบาลที่นำโดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ว่าสามารถนำพาประเทศ เดินทางไปถูกทางหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.2 ยังเห็นไม่ชัดเจนว่าจะนำพาประเทศไปในทิศทางใด รองลงมาร้อยละ 27.7 เห็นว่านำพาไปถูกทางแล้ว และร้อยละ 17.1 เห็นว่ายังไม่ถูกทาง
สุดท้ายเมื่อถามว่า หากมีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะนำพาประเทศไทยให้มีลักษณะอย่างไร ประชาชนระบุว่าให้ทุกคนมีโอกาสในด้านต่างๆ เท่าเทียมกันมากที่สุดร้อยละ 34.8 รองลงมาคือ มีคอร์รัปชั่นให้น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย ร้อยละ 25.7 และมีกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาดที่ทุกคนเคารพ ร้อยละ 17.2
***อ้างประชาชนส่วนใหญ่เบื่อม็อบ
“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ 1,176 คน ระหว่างวันที่ 29 ก.ค.-2ส.ค.56 เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในช่วงที่มีการเปิดสภา และจะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ จนทำให้มีการชุมนุมของกลุ่มที่คัดค้านจำนวนมาก จนอาจทำให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในบ้านเมือง ซึ่งได้ผลสรุปผลดังนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไร กับ “การชุมนุมทางการเมือง”ณ วันนี้ อันดับ 1 รู้สึกเบื่อ ไม่อยากให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้น ก่อให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย 54.07 % อันดับ 2 เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ควรอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย 25.00 % อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีมาตรการการป้องกันที่เด็ดขาด รัดกุม ดูแลผู้ที่มาชุมนุมเป็นอย่างดี และต้องระวังผู้ไม่หวังดีเข้ามาสร้างความวุ่นวาย 11.63 %
2.“การชุมนุมทางการเมือง”แบบใด ที่ประชาชนต้องการให้เป็น อันดับ 1 ควรพูดคุยกันด้วยเหตุผล มีสติ ใจเย็น แกนนำต่างๆ ต้องไม่ยั่วยุ ปลุกปั่น 52.57% อันดับ 2 การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่มีการปะทะกัน ไม่มีการพกพาอาวุธร้ายแรง 22.29% อันดับ 3 การชุมนุมจะต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย 13.14%
3. การชุมนุมทางการเมืองแบบใด ที่ประชาชนไม่ต้องการให้เป็น อันดับ 1 การประท้วงที่รุนแรง /การทำร้ายร่างกาย มีอาวุธ /ทำลายทรัพย์สินให้เสียหาย 43.27% อันดับ 2 ขาดสติ ไม่มีเหตุผล ใช้อารมณ์ในการตัดสิน /เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง 42.69% อันดับ 3 การชุมนุมที่ยืดเยื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน 7.61%
4. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ กับการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่จะนำเข้าสภาในเดือนส.ค.นี้ อันดับ 1 เฉยๆ 37.24% เพราะเป็นเรื่องปกติทางการเมือง ประชาชนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น อันดับ 2 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม 33.67% เพราะ ส่งผลต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศ สังคมเกิดความวุ่นวาย เสี่ยงต่อการเกิดเหตุร้ายแรงผู้ชุมนุมปะทะกัน อันดับ 3 เห็นด้วยกับการชุมนุม 29.09 %เพราะ ทำให้รัฐบาลรู้ถึงความต้องการและความคิดเห็นของประชาชน รัฐบาลจะได้ดำเนินการด้วยความรอบคอบและรัดกุมมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้คนในสังคมตื่นตัว รับรู้ข้อมูลหลายด้าน
5. สิ่งที่ประชาชนกลัว/กังวลเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองครั้งนี้ อันดับ 1 อาจเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน การปะทะกันของผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 46.47% อันดับ 2 ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 22.35% อันดับ 3 มีผู้ไม่หวังดีเข้ามาสร้างความวุ่นวายในการชุมนุม ทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น 18.23%
6. ทำอย่างไร? จึงจะไม่เกิดความวุ่นวายทางการเมือง ณ วันนี้ อันดับ 1 ทุกคนต้องมีสติ ไม่วู่วาม มีเหตุผล และนึกถึงบ้านเมืองเป็นสำคัญ 38.01% อันดับ 2 ทุกๆฝ่ายควรร่วมมือกัน /ประชาชนไม่ออกมาเคลื่อนไหว /สื่อมวลชนจะต้องนำเสนอข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง ชัดเจน 25.73% อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดูแลอย่างเข้มงวดกวดขัน ตรวจสอบป้องกันไม่ให้มีการพกพาอาวุธเข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุม 23.39%.
น.ส.ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องประเมินดัชนีความเสี่ยงทางการเมือง ประจำเดือน ก.ค.56 ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,114 ตัวอย่าง โดยดำเนินการสำรวจในระหว่างวันที่ 28 ก.ค.-3 ส.ค. พบว่า เมื่อประเมินดัชนีความเสี่ยงทางการเมืองประจำเดือนก.ค.56 คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าประเด็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองสูงที่สุดคือ 9.19 อันดับสองได้แก่ การแทรกแซงทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ที่ 8.60 อันดับสามได้แก่ ประเด็น พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ที่ 8.29 อันดับสี่ได้แก่ ข่าวอื้อฉาว อาทิ พฤติกรรมนักการเมือง ทุจริตคอร์รัปชัน มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ที่ 7.81 อันดับห้าได้แก่ โครงการจำนำข้าว มีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองอยู่ที่ 7.56
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อเปรียบเทียบดัชนีความเสี่ยงของเดือนพ.ค.56 กับครั้งล่าสุด พบว่า ทุกปัจจัยที่มีการเปรียบเทียบมีค่าดัชนีความเสี่ยงต่อรัฐบาลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ข่าวอื้อฉาว อาทิ พฤติกรรมนักการเมือง ทุจริตคอร์รัปชัน เอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง จาก 5.29 มา อยู่ที่ 7.81 ความไม่มั่นคงของประเทศโดยรวม จาก 5.13 มาอยู่ที่ 7.48 ปัญหาสังคมโดยรวม จาก 5.11 มาอยู่ที่ 7.45 ปัญหาเศรษฐกิจโดยรวม จาก 4.21 มาอยู่ที่ 7.21 ความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จาก 3.29 มาอยู่ที่ 7.16 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จาก 4.20 มาอยู่ที่ 6.93 และการปกครองระบอบประชาธิปไตย จาก 2.57 มาอยู่ที่ 6.67
จากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองจากข้อมูลที่ศึกษาได้ในครั้งนี้ พบว่าสัญญาณเตือนภัยทางการเมืองของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่น่าพิจารณาในหลายตัวชี้วัด และถือว่าเป็นความเสี่ยงทางการเมือง เช่น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การแทรกแซงทางการเมือง พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ข่าวอื้อฉาว อาทิ พฤติกรรมนักการเมือง ทุจริตคอร์รัปชัน เอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง โครงการจำนำข้าว เป็นต้น โดยผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงทางการเมืองโดยรวม อยู่ที่ 7.13
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 85.4 คิดว่า ประเด็นการพูดคุยในการประชุมสภาในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่า มีเพียงร้อยละ 14.6 คิดว่าเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติมากกว่า และที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนมาก หรือร้อยละ 81.9 ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นต้นเหตุแห่งความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นภายในประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 18.1 คิดว่าไม่เป็น
**ความพึงพอใจรัฐบาล-นายกฯต่ำสุด
เนื่องด้วยในเดือนส.ค.นี้ รัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะบริหารงานประเทศครบ 2 ปีบริบูรณ์ กรุงเทพโพลล์ จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประเมินผลงาน 2 ปี รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ " โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,419 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 4.49 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งลดลงจากการทำงานครบ 1 ปี 6 เดือน 0.38 คะแนน ทั้งยังเป็นระดับต่ำที่สุด ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศ และเป็นการปรับลดลงในทุกด้านที่ทำการประเมิน โดยได้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด (5.04 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านเศรษฐกิจ น้อยที่สุด (3.98 คะแนน)
ด้านคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ที่ 4.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งลดลงจากการทำงานครบ 1 ปี 6 เดือน 0.48 คะแนน และเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศ โดยได้คะแนนความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด (5.49 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด (4.56 คะแนน)
ด้านคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน และพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 4.94 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.40 คะแนน ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้าน ได้ 3.81 คะแนน และพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ 3.50 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ส่วนเรื่องที่บั่นทอนหรือทำลายภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันมากที่สุด อันดับ 1 คือ การคอร์รัปชั่น โกงกิน ในโครงการต่างๆ (ร้อยละ 19.9) อันดับ 2 คือ โครงการรับจำนำข้าวล้มเหลว ขาดทุน (ร้อยละ 19.3) อันดับ 3 คือ การไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เพราะข้าวของแพง น้ำมันแพงและค่าครองชีพยังสูงอยู่(ร้อยละ 11.1)
สำหรับความเห็นต่อระยะเวลา 2 ปี ของรัฐบาลที่นำโดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ว่าสามารถนำพาประเทศ เดินทางไปถูกทางหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.2 ยังเห็นไม่ชัดเจนว่าจะนำพาประเทศไปในทิศทางใด รองลงมาร้อยละ 27.7 เห็นว่านำพาไปถูกทางแล้ว และร้อยละ 17.1 เห็นว่ายังไม่ถูกทาง
สุดท้ายเมื่อถามว่า หากมีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรี จะนำพาประเทศไทยให้มีลักษณะอย่างไร ประชาชนระบุว่าให้ทุกคนมีโอกาสในด้านต่างๆ เท่าเทียมกันมากที่สุดร้อยละ 34.8 รองลงมาคือ มีคอร์รัปชั่นให้น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย ร้อยละ 25.7 และมีกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาดที่ทุกคนเคารพ ร้อยละ 17.2
***อ้างประชาชนส่วนใหญ่เบื่อม็อบ
“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ 1,176 คน ระหว่างวันที่ 29 ก.ค.-2ส.ค.56 เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในช่วงที่มีการเปิดสภา และจะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ จนทำให้มีการชุมนุมของกลุ่มที่คัดค้านจำนวนมาก จนอาจทำให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในบ้านเมือง ซึ่งได้ผลสรุปผลดังนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไร กับ “การชุมนุมทางการเมือง”ณ วันนี้ อันดับ 1 รู้สึกเบื่อ ไม่อยากให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้น ก่อให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย 54.07 % อันดับ 2 เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ควรอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย 25.00 % อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีมาตรการการป้องกันที่เด็ดขาด รัดกุม ดูแลผู้ที่มาชุมนุมเป็นอย่างดี และต้องระวังผู้ไม่หวังดีเข้ามาสร้างความวุ่นวาย 11.63 %
2.“การชุมนุมทางการเมือง”แบบใด ที่ประชาชนต้องการให้เป็น อันดับ 1 ควรพูดคุยกันด้วยเหตุผล มีสติ ใจเย็น แกนนำต่างๆ ต้องไม่ยั่วยุ ปลุกปั่น 52.57% อันดับ 2 การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่มีการปะทะกัน ไม่มีการพกพาอาวุธร้ายแรง 22.29% อันดับ 3 การชุมนุมจะต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย 13.14%
3. การชุมนุมทางการเมืองแบบใด ที่ประชาชนไม่ต้องการให้เป็น อันดับ 1 การประท้วงที่รุนแรง /การทำร้ายร่างกาย มีอาวุธ /ทำลายทรัพย์สินให้เสียหาย 43.27% อันดับ 2 ขาดสติ ไม่มีเหตุผล ใช้อารมณ์ในการตัดสิน /เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง 42.69% อันดับ 3 การชุมนุมที่ยืดเยื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน 7.61%
4. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ กับการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่จะนำเข้าสภาในเดือนส.ค.นี้ อันดับ 1 เฉยๆ 37.24% เพราะเป็นเรื่องปกติทางการเมือง ประชาชนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น อันดับ 2 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม 33.67% เพราะ ส่งผลต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศ สังคมเกิดความวุ่นวาย เสี่ยงต่อการเกิดเหตุร้ายแรงผู้ชุมนุมปะทะกัน อันดับ 3 เห็นด้วยกับการชุมนุม 29.09 %เพราะ ทำให้รัฐบาลรู้ถึงความต้องการและความคิดเห็นของประชาชน รัฐบาลจะได้ดำเนินการด้วยความรอบคอบและรัดกุมมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้คนในสังคมตื่นตัว รับรู้ข้อมูลหลายด้าน
5. สิ่งที่ประชาชนกลัว/กังวลเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองครั้งนี้ อันดับ 1 อาจเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน การปะทะกันของผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 46.47% อันดับ 2 ภาพลักษณ์ของประเทศเสียหาย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 22.35% อันดับ 3 มีผู้ไม่หวังดีเข้ามาสร้างความวุ่นวายในการชุมนุม ทำให้เกิดความแตกแยกมากขึ้น 18.23%
6. ทำอย่างไร? จึงจะไม่เกิดความวุ่นวายทางการเมือง ณ วันนี้ อันดับ 1 ทุกคนต้องมีสติ ไม่วู่วาม มีเหตุผล และนึกถึงบ้านเมืองเป็นสำคัญ 38.01% อันดับ 2 ทุกๆฝ่ายควรร่วมมือกัน /ประชาชนไม่ออกมาเคลื่อนไหว /สื่อมวลชนจะต้องนำเสนอข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง ชัดเจน 25.73% อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดูแลอย่างเข้มงวดกวดขัน ตรวจสอบป้องกันไม่ให้มีการพกพาอาวุธเข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุม 23.39%.