วานนี้ (22 ก.ค.)ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่รัฐบาลมอบหมายให้กทม.รับผิดชอบการก่อสร้าง ทั้งหมด 4 สะพานได้แก่ 1.สะพานเกียกกาย 2.สะพานท่าดินแดง-ราชวงศ์ 3.สะพานถนนจันทร์-ถนนเจริญนคร และ4.สะพานลาดหญ้า-มหาพฤกฒาราม ว่า ขณะนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาอนุมัติให้ กทม. ก่อสร้างสะพานเกียกกายเป็นอันดับแรก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรัดออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน รวมถึงการจัดประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และการประกวดราคาหาผู้รับเหมา คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 57 เพื่อจะได้เริ่มมีการก่อสร้างให้สอดคล้องกับการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่จะแล้วเสร็จภายในปี 59 สำหรับสะพานอีก 3 แห่งที่เหลือนั้นรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง คาดว่าประมาณกลางปี 57 จะสามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คณะกรรมการการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) กระทรวงคมนาคม มีมติเสนอแผนแม่บทการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งหมด 11 แห่งเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีโครงการที่ กทม. รับผิดชอบทั้งหมด 5 แห่ง ประกอบด้วย 1.สะพานเกียกกาย 2.สะพานท่าดินแดง-ราชวงศ์ 3.สะพานถนนจันทร์-ถนนเจริญนคร 4.สะพานลาดหญ้า-มหาพฤกฒาราม และ5.สะพานปลายถนนพระราม2 โดยตามแผนนั้นสะพานที่ 1 – 4 จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปื 56 – 64 ซึ่งขณะนี้ทั้ง 4 สะพาน กทม.ได้ทำรายงานการศึกษาออกแบบและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้วทั้ง 4 สะพาน และสะพานแห่งที่ 5 นั้นจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 64 - 74 ต่อไป
นายจุมพล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามสะพานทั้ง 4 เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายถนนและระบบรางที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เพื่อรองรับการจราจรในอนาคตที่มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้สะพานข้าวแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจุบันมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 9 แห่ง ได้แก่ สะพานพระราม 7 สะพานกรุงธน(ซังฮี้) สะพานพระราม8 สะพานพระปิ่นเก้า สะพานพุทธ สะพานพระปกเกล้า สะพานสาธร สะพานรุงเทพ และสะพานพระราม9
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คณะกรรมการการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) กระทรวงคมนาคม มีมติเสนอแผนแม่บทการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งหมด 11 แห่งเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีโครงการที่ กทม. รับผิดชอบทั้งหมด 5 แห่ง ประกอบด้วย 1.สะพานเกียกกาย 2.สะพานท่าดินแดง-ราชวงศ์ 3.สะพานถนนจันทร์-ถนนเจริญนคร 4.สะพานลาดหญ้า-มหาพฤกฒาราม และ5.สะพานปลายถนนพระราม2 โดยตามแผนนั้นสะพานที่ 1 – 4 จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปื 56 – 64 ซึ่งขณะนี้ทั้ง 4 สะพาน กทม.ได้ทำรายงานการศึกษาออกแบบและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้วทั้ง 4 สะพาน และสะพานแห่งที่ 5 นั้นจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 64 - 74 ต่อไป
นายจุมพล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามสะพานทั้ง 4 เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายถนนและระบบรางที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้เพื่อรองรับการจราจรในอนาคตที่มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้สะพานข้าวแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจุบันมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 9 แห่ง ได้แก่ สะพานพระราม 7 สะพานกรุงธน(ซังฮี้) สะพานพระราม8 สะพานพระปิ่นเก้า สะพานพุทธ สะพานพระปกเกล้า สะพานสาธร สะพานรุงเทพ และสะพานพระราม9