เอเจนซีส์ – ชาวอเมริกันในเมืองต่างๆ กว่า 100 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งคู่แรปเปอร์ดัง-ซูเปอร์สตาร์เพลงป็อป เจย์ ซี และบียอนเซ ออกมาชุมนุมประท้วงกันในวันเสาร์ (20ก.ค.) เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้ เทรย์วอน มาร์ติน วัยรุ่นผิวดำปราศจากอาวุธซึ่งถูก จอร์จ ซิมเมอร์แมน อาสาสมัครดูแลชุมชนใช้ปืนยิงเสียชีวิต แล้วศาลในมลรัฐฟลอริดาพิพากษาในสัปดาห์ที่แล้วว่า จำเลยผิวขาว-ฮิสแปนิกผู้นี้ไม่มีความผิด
การประท้วงที่นำโดยกลุ่มเนชันแนล แอ็กชัน เน็ตเวิร์ก ที่มีสาธุคุณ แอล ชาร์ปตัน นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิพลเมืองเป็นแกนนำ ต้องการให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายสิทธิพลเมืองต่อ ซิมเมอร์แมน วัย 29 ปี จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว
“เราไม่ได้ออกมาก่อความรุนแรง แต่เราออกมาเพื่อประณามความรุนแรง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีอาวุธในมือที่ชื่อ เทรย์วอน มาร์ติน” ชาร์ปตันกล่าวกับผู้ชุมนุมราว 2,000 คนในนครนิวยอร์ก
การประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมให้เทรย์วอน วัย 17 ปี ยังเกิดขึ้นในเมืองต่างๆ อย่างน้อย 100 แห่งทั่วอเมริกา ซึ่งรวมถึงแอตแลนตา ชิคาโก แอลเอ และไมอามี โดยเป็นการชุมนุมอย่างสงบ และมีผู้เข้าร่วมหลักร้อยถึงหลักพัน ส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำ
ชาร์ปตันเสริมว่า ต้องการให้ทางการยกเลิกกฎหมายป้องกันตัวเองที่เรียกว่า "stand your ground" ที่บังคับใช้ใน 30 มลรัฐ รวมถึงฟลอริดา เพื่อไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
ไซบรินา แม่ของเทรย์วอน กล่าวกับฝูงชนว่า “วันนี้เป็นลูกของฉัน แต่พรุ่งนี้อาจเป็นลูกของพวกคุณ” เธอสำทับว่า การตายของลูกชายจะต้องไม่สูญเปล่า พร้อมเรียกร้องให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ
แรปเปอร์ชื่อดัง เจย์ ซี และภรรยา บียอนเซ ซูเปอร์สตาร์เพลงป็อป ปรากฏตัวบนเวทีชุมนุมที่นิวยอร์กด้วย นักร้องสาวยังโพสต์บนเว็บไซต์ของตัวเองว่า “เราต้องต่อสู้เพื่อเทรย์วอนแบบเดียวกับที่คนรุ่นก่อนต่อสู้เพื่อเอ็มเม็ต ทิลล์” ซึ่งหมายถึงวัยรุ่นผิวดำอายุ 14 ปีที่ถูกสังหารในมิสซิสซิปปีในปี 1955 หลังจากไปพูดคุยกับสาวผิวขาวที่แต่งงานแล้ว
ที่เมืองไมอามี เมืองสำคัญของฟลอริดา เทรซี มาร์ติน พ่อของเทรย์วอน กล่าวว่า “เราเชื่อว่า การเสียชีวิตของลูกชายผมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมของเรา และจะมีการยกเลิกกฎหมายที่อนุญาตให้ฆ่าคนอื่นได้เพียงเพราะคิดว่า คนๆ นั้นน่าสงสัย”
ขณะเดียวกัน มาร์ติน ลูเธอร์ คิงที่ 3 ยังนัดชุมนุมที่วอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 24 เดือนหน้า ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 50 ปีการเดินขบวนในเมืองหลวงของสหรัฐฯที่มีมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ พ่อของเขาเป็นผู้นำ อีกทั้งได้ขึ้นกล่าวปราศรัย “ผมมีความฝัน” อันเลื่องชื่อเป็นที่จดจำมาจนถึงทุกวันนี้
ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้จัดแถลงข่าวนอกกำหนดการ โดยกล่าวว่า มีคนผิวดำน้อยคนมากในอเมริกาที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการถูกเหมาว่า เป็นคนไม่ดี หรือที่เรียกว่า การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (racial profiling) และบอกว่า ถ้าเรื่องนี้เกิดกับวัยรุ่นผิวขาว ทั้งผลลัพธ์และเหตุการณ์ที่ตามมาอาจแตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้
"ตอนที่เทรย์วอน มาร์ติน ถูกยิง ผมเคยบอกว่า นั่นอาจเป็นลูกชายผมก็ได้ หรือพูดได้อีกอย่างก็คือ เทรย์วอน มาร์ติน อาจเป็นผมเมื่อ 35 ปีที่แล้ว”
โอบามายังเรียกร้องให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยเหมือนที่ผ่านมา โดยบอกว่า ความรุนแรงจะทำให้เทรย์วอนเสื่อมเสีย
ผู้นำสหรัฐฯ สำทับว่า แม้คดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมายเป็นเรื่องของแต่ละมลรัฐ แต่จะเป็นประโยชน์มากหากมีการตรวจสอบเพื่อพิจารณาว่า บางรัฐและกฎหมายบางฉบับของท้องถิ่นได้กลายเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเผชิญหน้าในบางสถานการณ์หรือไม่
ทั้งนี้ วันพุธที่ผ่านมา (17) อิริก โฮลเดอร์ รัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ได้เรียกร้องให้มีการทบทวนกฎหมาย "stand your ground" ที่อนุญาตให้ใช้กำลังรุนแรงกระทั่งถึงขั้นเอาชีวิตฝ่ายตรงข้ามได้ โดยที่ไม่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า หากรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคามอย่างร้ายแรง
นอกจากนี้ โฮลเดอร์ ซึ่งโดยตำแหน่งของเขาก็คือเป็นอัยการสูงสุดของสหรัฐฯด้วย ยังเปิดเผยว่า กำลังตรวจสอบว่า ซิมเมอร์แมนละเมิดกฎหมายสิทธิพลเมืองหรือไม่
กระนั้น ทนายความของซิมเมอร์แมนยังคงเชื่อว่า จะไม่มีการตั้งข้อหาใหม่ใดๆ อีก
แม้ทางฝ่ายจำเลยไม่มีการหยิบยกกฎหมาย stand your ground มาอ้างในระหว่างการพิจารณาคดีซิมเมอร์แมน แต่ผู้พิพากษาได้ให้คำแนะนำคณะลูกขุนที่ประกอบด้วยหญิงผิวขาว 6 คนว่า จำเลยมีสิทธิ์ภายใต้ธรรมนูญของรัฐปี 2005 ในการใช้กำลังรุนแรง หากเชื่อได้ว่าจำเป็นต้องทำเพื่อป้องกันตัวเอง
เทรย์วอนถูกซิมเมอร์แมนยิงเสียชีวิต หลังการทะเลาะวิวาทกันในชุมชนล้อมรั้วในเมืองแซนฟอร์ด รัฐฟลอริดา ซึ่งเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว (13) คณะลูกขุนตัดสินว่า ซิมเมอร์แมนไม่มีความผิดทั้งในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา และข้อหาฆ่าคนตายโดยประมาท
การประท้วงที่นำโดยกลุ่มเนชันแนล แอ็กชัน เน็ตเวิร์ก ที่มีสาธุคุณ แอล ชาร์ปตัน นักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิพลเมืองเป็นแกนนำ ต้องการให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายสิทธิพลเมืองต่อ ซิมเมอร์แมน วัย 29 ปี จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว
“เราไม่ได้ออกมาก่อความรุนแรง แต่เราออกมาเพื่อประณามความรุนแรง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้บริสุทธิ์ที่ไม่มีอาวุธในมือที่ชื่อ เทรย์วอน มาร์ติน” ชาร์ปตันกล่าวกับผู้ชุมนุมราว 2,000 คนในนครนิวยอร์ก
การประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมให้เทรย์วอน วัย 17 ปี ยังเกิดขึ้นในเมืองต่างๆ อย่างน้อย 100 แห่งทั่วอเมริกา ซึ่งรวมถึงแอตแลนตา ชิคาโก แอลเอ และไมอามี โดยเป็นการชุมนุมอย่างสงบ และมีผู้เข้าร่วมหลักร้อยถึงหลักพัน ส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำ
ชาร์ปตันเสริมว่า ต้องการให้ทางการยกเลิกกฎหมายป้องกันตัวเองที่เรียกว่า "stand your ground" ที่บังคับใช้ใน 30 มลรัฐ รวมถึงฟลอริดา เพื่อไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
ไซบรินา แม่ของเทรย์วอน กล่าวกับฝูงชนว่า “วันนี้เป็นลูกของฉัน แต่พรุ่งนี้อาจเป็นลูกของพวกคุณ” เธอสำทับว่า การตายของลูกชายจะต้องไม่สูญเปล่า พร้อมเรียกร้องให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ
แรปเปอร์ชื่อดัง เจย์ ซี และภรรยา บียอนเซ ซูเปอร์สตาร์เพลงป็อป ปรากฏตัวบนเวทีชุมนุมที่นิวยอร์กด้วย นักร้องสาวยังโพสต์บนเว็บไซต์ของตัวเองว่า “เราต้องต่อสู้เพื่อเทรย์วอนแบบเดียวกับที่คนรุ่นก่อนต่อสู้เพื่อเอ็มเม็ต ทิลล์” ซึ่งหมายถึงวัยรุ่นผิวดำอายุ 14 ปีที่ถูกสังหารในมิสซิสซิปปีในปี 1955 หลังจากไปพูดคุยกับสาวผิวขาวที่แต่งงานแล้ว
ที่เมืองไมอามี เมืองสำคัญของฟลอริดา เทรซี มาร์ติน พ่อของเทรย์วอน กล่าวว่า “เราเชื่อว่า การเสียชีวิตของลูกชายผมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคมของเรา และจะมีการยกเลิกกฎหมายที่อนุญาตให้ฆ่าคนอื่นได้เพียงเพราะคิดว่า คนๆ นั้นน่าสงสัย”
ขณะเดียวกัน มาร์ติน ลูเธอร์ คิงที่ 3 ยังนัดชุมนุมที่วอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 24 เดือนหน้า ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 50 ปีการเดินขบวนในเมืองหลวงของสหรัฐฯที่มีมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ พ่อของเขาเป็นผู้นำ อีกทั้งได้ขึ้นกล่าวปราศรัย “ผมมีความฝัน” อันเลื่องชื่อเป็นที่จดจำมาจนถึงทุกวันนี้
ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้จัดแถลงข่าวนอกกำหนดการ โดยกล่าวว่า มีคนผิวดำน้อยคนมากในอเมริกาที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการถูกเหมาว่า เป็นคนไม่ดี หรือที่เรียกว่า การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (racial profiling) และบอกว่า ถ้าเรื่องนี้เกิดกับวัยรุ่นผิวขาว ทั้งผลลัพธ์และเหตุการณ์ที่ตามมาอาจแตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้
"ตอนที่เทรย์วอน มาร์ติน ถูกยิง ผมเคยบอกว่า นั่นอาจเป็นลูกชายผมก็ได้ หรือพูดได้อีกอย่างก็คือ เทรย์วอน มาร์ติน อาจเป็นผมเมื่อ 35 ปีที่แล้ว”
โอบามายังเรียกร้องให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยเหมือนที่ผ่านมา โดยบอกว่า ความรุนแรงจะทำให้เทรย์วอนเสื่อมเสีย
ผู้นำสหรัฐฯ สำทับว่า แม้คดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมายเป็นเรื่องของแต่ละมลรัฐ แต่จะเป็นประโยชน์มากหากมีการตรวจสอบเพื่อพิจารณาว่า บางรัฐและกฎหมายบางฉบับของท้องถิ่นได้กลายเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเผชิญหน้าในบางสถานการณ์หรือไม่
ทั้งนี้ วันพุธที่ผ่านมา (17) อิริก โฮลเดอร์ รัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ได้เรียกร้องให้มีการทบทวนกฎหมาย "stand your ground" ที่อนุญาตให้ใช้กำลังรุนแรงกระทั่งถึงขั้นเอาชีวิตฝ่ายตรงข้ามได้ โดยที่ไม่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า หากรู้สึกว่ากำลังถูกคุกคามอย่างร้ายแรง
นอกจากนี้ โฮลเดอร์ ซึ่งโดยตำแหน่งของเขาก็คือเป็นอัยการสูงสุดของสหรัฐฯด้วย ยังเปิดเผยว่า กำลังตรวจสอบว่า ซิมเมอร์แมนละเมิดกฎหมายสิทธิพลเมืองหรือไม่
กระนั้น ทนายความของซิมเมอร์แมนยังคงเชื่อว่า จะไม่มีการตั้งข้อหาใหม่ใดๆ อีก
แม้ทางฝ่ายจำเลยไม่มีการหยิบยกกฎหมาย stand your ground มาอ้างในระหว่างการพิจารณาคดีซิมเมอร์แมน แต่ผู้พิพากษาได้ให้คำแนะนำคณะลูกขุนที่ประกอบด้วยหญิงผิวขาว 6 คนว่า จำเลยมีสิทธิ์ภายใต้ธรรมนูญของรัฐปี 2005 ในการใช้กำลังรุนแรง หากเชื่อได้ว่าจำเป็นต้องทำเพื่อป้องกันตัวเอง
เทรย์วอนถูกซิมเมอร์แมนยิงเสียชีวิต หลังการทะเลาะวิวาทกันในชุมชนล้อมรั้วในเมืองแซนฟอร์ด รัฐฟลอริดา ซึ่งเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว (13) คณะลูกขุนตัดสินว่า ซิมเมอร์แมนไม่มีความผิดทั้งในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา และข้อหาฆ่าคนตายโดยประมาท