เมื่อสัปดาห์ก่อน ทหารอียิปต์ยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหลังประชาชนจำนวนมากออกมาประท้วงด้วยข้ออ้างต่างๆ รวมทั้งมาตรการที่ถูกมองว่ารัฐบาลต้องการเปลี่ยนอียิปต์ให้เป็นรัฐลิสลามตามแนวอิหร่านและปัญหาด้านเศรษฐกิจ การยึดอำนาจของทหารเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่เรียกกันว่า “อาหรับสปริง” ซึ่งเริ่มเมื่อปลายปี 2553 เมื่อพ่อค้าผลไม้ในตูนีเซียประท้วงการกดขี่ของรัฐบาลด้วยการเผาตัวตาย การตายของเขานำไปสู่การลุกฮือขึ้นของชาวอาหรับเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการที่ครองอำนาจมายาวนานในหลายประเทศรวมทั้งในอียิปต์ด้วย
แม้จะได้รัฐบาลใหม่ แต่เหตุการณ์ส่วนใหญ่สงบลงเพียงชั่วคราวเท่านั้นเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานยังคงเดิม ปัจจัยพื้นฐานในอียิปต์ได้แก่ความขัดแย้งกันของฝ่ายทหารและผู้ไม่ต้องการเห็นอียิปต์เป็นรัฐอิสลามกับกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนอียิปต์เป็นรัฐอิสลาม และความไม่สมดุลระหว่างทรัพยากรกับจำนวนประชากรของประเทศ ความไม่สมดุลนี้เคยมีความร้ายแรงถึงขั้นทำลายอารยธรรมมาแล้ว
การยึดอำนาจของทหารอาจป้องกันมิให้อียิปต์เป็นรัฐอิสลามได้ในช่วงเวลาสองสามปีที่จะมาถึง หรือน่าจะนานกว่านั้นเพราะทหารเป็นไม้เบื่อไม้เมากับฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนอียิปต์ให้เป็นรัฐอิสลามมาตั้งแต่ครั้งยึดอำนาจจากกษัตริย์ฟารุกเมื่อ 60 ปีที่แล้ว แม้จะไม่เป็นรัฐอิสลาม แต่รัฐบาลชั่วคราวและรัฐบาลต่อไปที่ทหารให้ค่ำมั่นสัญญาว่าจะมาจากการเลือกตั้งจะไม่มีทางทำเศรษฐกิจให้ขยายตัวในอัตราสูงและกระจายผลออกไปจนลดความยากจนได้อย่างมีนัยสำคัญ การสรุปเช่นนั้นมาจากปัจจัยหลายอย่าง
ในเบื้องแรก ภาคท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญยิ่งในอียิปต์ ใครๆ ต่างอยากไปชมพีระมิด พิพิธภัณฑ์และซากปรักหักพังที่อารยธรรมโบราณทิ้งไว้ ภาคนี้กำลังมีปัญหามากเนื่องจากความซบเซาของเศรษฐกิจโลกซึ่งยืดเยื้อมาหลายปีและการขาดเสถียรภาพทางการเมืองในอียิปต์ทำให้ผู้ไปท่องเที่ยวลดลง ณ วันนี้ยังไม่มีทีท่าว่าเศรษฐกิจโลกจะยุติความซบเซาจนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องออกแถลงการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดลงจากอัตราที่เคยคาดไว้เมื่อหลายเดือนก่อน ทางด้านเสถียรภาพทางการเมือง อียิปต์จะมีปัญหาต่อไปเนื่องจากทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายต้องการเปลี่ยนอียิปต์ให้เป็นรัฐอิสลามคงตกลงกันยากเนื่องจากปัจจัยที่อ้างข้างต้น
ความซบเซาของเศรษฐกิจโลกทำให้การขนส่งลดลงตามไปด้วย การลดลงนั้นมีผลกระทบสูงต่อรายได้ของอียิปต์ซึ่งเก็บค่าผ่านคลองสุเอซได้ปีละหลายพันล้านดอลลาร์ ตามธรรมดาอียิปต์ก็ขาดงบประมาณสำหรับการลงทุนอยู่แล้วเนื่องจากใช้เงินจำนวนมหาศาลหมดไปกับโครงการประชานิยมโดยเฉพาะการสนับสนุนราคาขนมปังและราคาพลังงาน ขนมปังในอียิปต์ราคาถูกมาก (ตามรายงานล่าสุดตอนนี้กิโลกรัมละราว 2.5 บาท) เพราะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลมานมนาน จนในสมัยหนึ่งชาวอียิปต์นำไปเลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกับราคาน้ำมันซึ่งอียิปต์พยายามขายในราคาใกล้เคียงกับของเพื่อนบ้านที่มีน้ำนันเหลือใช้ทั้งที่ตนไม่มี เช่น พวกเขาส่งผลให้ต้องใช้งบประมาณปีละนับหมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อรายได้ลดลง เงินสนับสนุนโครงการประชานิยมไม่ลดด้วยเพราะถูกต่อต้าน ฉะนั้น รัฐบาลต้องลดงบลงทุน
หากมองว่าการศึกษาคือปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนา อียิปต์มีปัญหาพื้นฐานทางด้านการศึกษาทั้งที่เคยเป็นอารยธรรมเก่าแก่ นั่นคือ ประชาชนที่อ่านหนังสือไม่ได้มีอัตราสูงมากถึงเกือบ 30% โดยเฉพาะสตรีอ่านหนังสือไม่ได้เกือบ 40% เทคโนโลยีในยุคนี้ต้องการคนที่อ่านหนังสือได้และมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสูงมากจึงยากที่ชาวอียิปต์นับล้านจะรับงานที่ได้ค่าตอบแทนสูง ยิ่งกว่านั้น สตรีมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปูฐานให้ลูกๆ พร้อมที่จะออกไปเผชิญกับโลกยุคใหม่ การอ่านหนังสือไม่ได้ของสตรีอียิปต์จำกัดความพร้อมของชาวอียิปต์รุ่นต่อไปส่งผลให้เกิดสภาพคล้ายวงจรอุบาทว์ขึ้น ในด้านความสมดุลระหว่างทรัพยากรกับประชากร อียิปต์คงแก้ไขไม่ได้แม้จะใช้เวลาอีกหลายทศวรรษก็ตาม พื้นที่ของอียิปต์ซึ่งมีขนาดเกือบสองเท่าของเมืองไทยเป็นทะเลทรายถึงราว 96% เพียงที่ดินตรงสองฝั่งแม่น้ำไนล์ซึ่งไหลลงมาจากเอธิโอเปียและซูดานผ่านไปลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเท่านั้นที่ใช้ทำการเกษตรได้เนื่องจากเป็นดินดีและมีน้ำจากแม่น้ำไนล์เพียงพอ แต่ที่ดินและน้ำที่นำมาใช้ในการเกษตรได้ก็นับวันจะลดลงเนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้นทุกวันซึ่งจะต้องใช้ที่ดินปลูกบ้านและใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ยิ่งกว่านั้น หากเอธิโอเปียสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำไนล์ขึ้นมา ปัญหาการขาดแคลนน้ำของอียิปต์จะร้ายแรงขึ้นอีก
อียิปต์ได้สร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำไนล์และกักน้ำไว้ในอ่างหลังเขื่อนมากว่า 40 ปีแล้ว จริงอยู่เขื่อนนั้นช่วยกักน้ำไว้ได้ในปริมาณมาก แต่มันมีผลพวงสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งได้แก่การกักตะกอนไว้เหนือเขื่อน ตะกอนนั้นเสริมสร้างสันดอนปากแม่น้ำซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรและการประมง เมื่อตะกอนไม่ไหลลงมา ที่ดินเพื่อการเกษตรและปลาก็หายไปด้วย
อียิปต์มีน้ำมันปิโตรเลียมไม่พอใช้และจะต้องนำเข้าต่อไปมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ทรัพยากรร่อยหรอลง ประชากรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง องค์การสหประชาชาติเพิ่งพิมพ์การคาดการณ์ออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อนซึ่งคาดว่าประชากรของอียิปต์จะเพิ่มขึ้นต่อไปในราว 90 ปีข้างหน้า จาก 85 ล้านคนในปัจจุบันถึงราว 135 ล้านคน จำนวนประชากรขนาดนี้จะอยู่ดีกินดีกันได้ยาก ในขณะนี้ ชาวอียิปต์หลายแสนคนยากจนมากและต้องเข้าไปอาศัยอยู่ในสุสานกันแล้ว
เท่าที่เล่ามาคงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ไทยโชคดีและต่างกับอียิปต์เกือบทุกด้านยกเว้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกำลังถูกประท้วงอย่างต่อเนื่องด้วยเรื่องความฉ้อฉลและความไม่ชอบมาพากลสารพัด การประท้วงเช่นนี้เคยนำไปสู่การยึดอำนาจของทหารเมื่อปี 2549 แต่ทหารจะยึดอำนาจอีกหรือไม่คงทำนายยาก หากทหารยึดอำนาจแล้วทำอะไรไม่ได้ในด้านการนำเมืองไปไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงดังเมื่อครั้งปี 2549 ก็อย่ายึดเสียเลยดีกว่าเพราะมันเสียทั้งเวลาและงบประมาณ
พูดถึงทหาร เท่าที่ผ่านมากว่า 60 ปี ทหารอียิปต์ยึดจุดยืนเดิมอย่างเหนียวแน่น นั่นคือ ต่อต้านการเปลี่ยนอียิปต์ให้เป็นรัฐอิสลามแบบเอาเลือดทาแผ่นดิน ส่วนจุดยืนของทหารไทยดูจะไม่เหนียวแน่นเช่นนั้น เรื่องนี้ดูได้จากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ทหารน่าจะรู้ว่าคนไทยและชาติไทยอยู่ได้ด้วยข้าว โครงการรับจำนำข้าวกำลังทำลายทุกแง่ทุกมุมของข้าว ฉะนั้น มันมีค่าเท่ากับทำลายความมั่นคงของชาติไทย แต่ทหารไทยกำลังทำอะไรอยู่? ไม่รู้ หรือว่าอิ่มหมีพีมันกับการกินอย่างอื่นจนลืมไปว่าตนมีหน้าที่ปกปักรักษาความมั่นคงของชาติไทย?
อีกด้านหนึ่งซึ่งไทยคล้ายอียิปต์มากได้แก่ ถ้าถามชาวอียิปต์ว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้อัตราการขยายตัวของประชาการลดลงเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างทรัพยากรกับประชากร พวกเขามักตอบแบบหัวเสียว่า เมื่อพระเจ้าสร้างพวกเขาขึ้นมา พระเจ้าย่อมดูแลพวกเขาได้ การปัดความรับผิดชอบแนวนี้ไม่ต่างกับการพูดกับคนไทยซึ่งส่วนใหญ่ดูดายไม่ว่าปัญหาอะไรจะเกิดขึ้นและมักได้คำตอบว่า พระสยามเทวาธิราชจะมาช่วยแก้ปัญหาเมื่อเวลามาถึง ชาวอียิปต์อ่านหนังสือได้ในอัตราต่ำกว่าคนไทยมาก คำตอบของพวกเขาจึงไม่ยากที่จะเข้าใจ แต่คำตอบของคนไทยยากที่จะเข้าใจโดยเฉพาะในบริบทที่พูดกันไม่ขาดปากว่าต้องการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
หรือคนไทยกลายเป็นนกแก้วนกขุนทองกันหมดแล้ว พูดแจ้วๆ ไปวันๆ เพื่ออาหารที่คนจับตนมาขังกรงหยิบยื่นให้โดยไม่เข้าใจแม้แต่น้อยนิดว่าประชาธิปไตยคืออะไรและความดูดายจะทำให้เมืองไทยกลายเป็นรัฐล้มเหลวแบบกู่ไม่กลับ?
แม้จะได้รัฐบาลใหม่ แต่เหตุการณ์ส่วนใหญ่สงบลงเพียงชั่วคราวเท่านั้นเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานยังคงเดิม ปัจจัยพื้นฐานในอียิปต์ได้แก่ความขัดแย้งกันของฝ่ายทหารและผู้ไม่ต้องการเห็นอียิปต์เป็นรัฐอิสลามกับกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนอียิปต์เป็นรัฐอิสลาม และความไม่สมดุลระหว่างทรัพยากรกับจำนวนประชากรของประเทศ ความไม่สมดุลนี้เคยมีความร้ายแรงถึงขั้นทำลายอารยธรรมมาแล้ว
การยึดอำนาจของทหารอาจป้องกันมิให้อียิปต์เป็นรัฐอิสลามได้ในช่วงเวลาสองสามปีที่จะมาถึง หรือน่าจะนานกว่านั้นเพราะทหารเป็นไม้เบื่อไม้เมากับฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนอียิปต์ให้เป็นรัฐอิสลามมาตั้งแต่ครั้งยึดอำนาจจากกษัตริย์ฟารุกเมื่อ 60 ปีที่แล้ว แม้จะไม่เป็นรัฐอิสลาม แต่รัฐบาลชั่วคราวและรัฐบาลต่อไปที่ทหารให้ค่ำมั่นสัญญาว่าจะมาจากการเลือกตั้งจะไม่มีทางทำเศรษฐกิจให้ขยายตัวในอัตราสูงและกระจายผลออกไปจนลดความยากจนได้อย่างมีนัยสำคัญ การสรุปเช่นนั้นมาจากปัจจัยหลายอย่าง
ในเบื้องแรก ภาคท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญยิ่งในอียิปต์ ใครๆ ต่างอยากไปชมพีระมิด พิพิธภัณฑ์และซากปรักหักพังที่อารยธรรมโบราณทิ้งไว้ ภาคนี้กำลังมีปัญหามากเนื่องจากความซบเซาของเศรษฐกิจโลกซึ่งยืดเยื้อมาหลายปีและการขาดเสถียรภาพทางการเมืองในอียิปต์ทำให้ผู้ไปท่องเที่ยวลดลง ณ วันนี้ยังไม่มีทีท่าว่าเศรษฐกิจโลกจะยุติความซบเซาจนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องออกแถลงการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดลงจากอัตราที่เคยคาดไว้เมื่อหลายเดือนก่อน ทางด้านเสถียรภาพทางการเมือง อียิปต์จะมีปัญหาต่อไปเนื่องจากทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายต้องการเปลี่ยนอียิปต์ให้เป็นรัฐอิสลามคงตกลงกันยากเนื่องจากปัจจัยที่อ้างข้างต้น
ความซบเซาของเศรษฐกิจโลกทำให้การขนส่งลดลงตามไปด้วย การลดลงนั้นมีผลกระทบสูงต่อรายได้ของอียิปต์ซึ่งเก็บค่าผ่านคลองสุเอซได้ปีละหลายพันล้านดอลลาร์ ตามธรรมดาอียิปต์ก็ขาดงบประมาณสำหรับการลงทุนอยู่แล้วเนื่องจากใช้เงินจำนวนมหาศาลหมดไปกับโครงการประชานิยมโดยเฉพาะการสนับสนุนราคาขนมปังและราคาพลังงาน ขนมปังในอียิปต์ราคาถูกมาก (ตามรายงานล่าสุดตอนนี้กิโลกรัมละราว 2.5 บาท) เพราะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลมานมนาน จนในสมัยหนึ่งชาวอียิปต์นำไปเลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกับราคาน้ำมันซึ่งอียิปต์พยายามขายในราคาใกล้เคียงกับของเพื่อนบ้านที่มีน้ำนันเหลือใช้ทั้งที่ตนไม่มี เช่น พวกเขาส่งผลให้ต้องใช้งบประมาณปีละนับหมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อรายได้ลดลง เงินสนับสนุนโครงการประชานิยมไม่ลดด้วยเพราะถูกต่อต้าน ฉะนั้น รัฐบาลต้องลดงบลงทุน
หากมองว่าการศึกษาคือปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนา อียิปต์มีปัญหาพื้นฐานทางด้านการศึกษาทั้งที่เคยเป็นอารยธรรมเก่าแก่ นั่นคือ ประชาชนที่อ่านหนังสือไม่ได้มีอัตราสูงมากถึงเกือบ 30% โดยเฉพาะสตรีอ่านหนังสือไม่ได้เกือบ 40% เทคโนโลยีในยุคนี้ต้องการคนที่อ่านหนังสือได้และมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสูงมากจึงยากที่ชาวอียิปต์นับล้านจะรับงานที่ได้ค่าตอบแทนสูง ยิ่งกว่านั้น สตรีมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปูฐานให้ลูกๆ พร้อมที่จะออกไปเผชิญกับโลกยุคใหม่ การอ่านหนังสือไม่ได้ของสตรีอียิปต์จำกัดความพร้อมของชาวอียิปต์รุ่นต่อไปส่งผลให้เกิดสภาพคล้ายวงจรอุบาทว์ขึ้น ในด้านความสมดุลระหว่างทรัพยากรกับประชากร อียิปต์คงแก้ไขไม่ได้แม้จะใช้เวลาอีกหลายทศวรรษก็ตาม พื้นที่ของอียิปต์ซึ่งมีขนาดเกือบสองเท่าของเมืองไทยเป็นทะเลทรายถึงราว 96% เพียงที่ดินตรงสองฝั่งแม่น้ำไนล์ซึ่งไหลลงมาจากเอธิโอเปียและซูดานผ่านไปลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเท่านั้นที่ใช้ทำการเกษตรได้เนื่องจากเป็นดินดีและมีน้ำจากแม่น้ำไนล์เพียงพอ แต่ที่ดินและน้ำที่นำมาใช้ในการเกษตรได้ก็นับวันจะลดลงเนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้นทุกวันซึ่งจะต้องใช้ที่ดินปลูกบ้านและใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ยิ่งกว่านั้น หากเอธิโอเปียสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำไนล์ขึ้นมา ปัญหาการขาดแคลนน้ำของอียิปต์จะร้ายแรงขึ้นอีก
อียิปต์ได้สร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำไนล์และกักน้ำไว้ในอ่างหลังเขื่อนมากว่า 40 ปีแล้ว จริงอยู่เขื่อนนั้นช่วยกักน้ำไว้ได้ในปริมาณมาก แต่มันมีผลพวงสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งได้แก่การกักตะกอนไว้เหนือเขื่อน ตะกอนนั้นเสริมสร้างสันดอนปากแม่น้ำซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรและการประมง เมื่อตะกอนไม่ไหลลงมา ที่ดินเพื่อการเกษตรและปลาก็หายไปด้วย
อียิปต์มีน้ำมันปิโตรเลียมไม่พอใช้และจะต้องนำเข้าต่อไปมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ทรัพยากรร่อยหรอลง ประชากรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง องค์การสหประชาชาติเพิ่งพิมพ์การคาดการณ์ออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อนซึ่งคาดว่าประชากรของอียิปต์จะเพิ่มขึ้นต่อไปในราว 90 ปีข้างหน้า จาก 85 ล้านคนในปัจจุบันถึงราว 135 ล้านคน จำนวนประชากรขนาดนี้จะอยู่ดีกินดีกันได้ยาก ในขณะนี้ ชาวอียิปต์หลายแสนคนยากจนมากและต้องเข้าไปอาศัยอยู่ในสุสานกันแล้ว
เท่าที่เล่ามาคงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ไทยโชคดีและต่างกับอียิปต์เกือบทุกด้านยกเว้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกำลังถูกประท้วงอย่างต่อเนื่องด้วยเรื่องความฉ้อฉลและความไม่ชอบมาพากลสารพัด การประท้วงเช่นนี้เคยนำไปสู่การยึดอำนาจของทหารเมื่อปี 2549 แต่ทหารจะยึดอำนาจอีกหรือไม่คงทำนายยาก หากทหารยึดอำนาจแล้วทำอะไรไม่ได้ในด้านการนำเมืองไปไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงดังเมื่อครั้งปี 2549 ก็อย่ายึดเสียเลยดีกว่าเพราะมันเสียทั้งเวลาและงบประมาณ
พูดถึงทหาร เท่าที่ผ่านมากว่า 60 ปี ทหารอียิปต์ยึดจุดยืนเดิมอย่างเหนียวแน่น นั่นคือ ต่อต้านการเปลี่ยนอียิปต์ให้เป็นรัฐอิสลามแบบเอาเลือดทาแผ่นดิน ส่วนจุดยืนของทหารไทยดูจะไม่เหนียวแน่นเช่นนั้น เรื่องนี้ดูได้จากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ทหารน่าจะรู้ว่าคนไทยและชาติไทยอยู่ได้ด้วยข้าว โครงการรับจำนำข้าวกำลังทำลายทุกแง่ทุกมุมของข้าว ฉะนั้น มันมีค่าเท่ากับทำลายความมั่นคงของชาติไทย แต่ทหารไทยกำลังทำอะไรอยู่? ไม่รู้ หรือว่าอิ่มหมีพีมันกับการกินอย่างอื่นจนลืมไปว่าตนมีหน้าที่ปกปักรักษาความมั่นคงของชาติไทย?
อีกด้านหนึ่งซึ่งไทยคล้ายอียิปต์มากได้แก่ ถ้าถามชาวอียิปต์ว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้อัตราการขยายตัวของประชาการลดลงเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างทรัพยากรกับประชากร พวกเขามักตอบแบบหัวเสียว่า เมื่อพระเจ้าสร้างพวกเขาขึ้นมา พระเจ้าย่อมดูแลพวกเขาได้ การปัดความรับผิดชอบแนวนี้ไม่ต่างกับการพูดกับคนไทยซึ่งส่วนใหญ่ดูดายไม่ว่าปัญหาอะไรจะเกิดขึ้นและมักได้คำตอบว่า พระสยามเทวาธิราชจะมาช่วยแก้ปัญหาเมื่อเวลามาถึง ชาวอียิปต์อ่านหนังสือได้ในอัตราต่ำกว่าคนไทยมาก คำตอบของพวกเขาจึงไม่ยากที่จะเข้าใจ แต่คำตอบของคนไทยยากที่จะเข้าใจโดยเฉพาะในบริบทที่พูดกันไม่ขาดปากว่าต้องการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
หรือคนไทยกลายเป็นนกแก้วนกขุนทองกันหมดแล้ว พูดแจ้วๆ ไปวันๆ เพื่ออาหารที่คนจับตนมาขังกรงหยิบยื่นให้โดยไม่เข้าใจแม้แต่น้อยนิดว่าประชาธิปไตยคืออะไรและความดูดายจะทำให้เมืองไทยกลายเป็นรัฐล้มเหลวแบบกู่ไม่กลับ?