วานนี้(14 ก.ค.56) นายชวนนท์ อิทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทที่จะนำมาใช้ในโครงการบริหารจัดการน้ำว่า ขณะนี้ฐบาลเหมือนมวยวัด ถอยหลังไม่ได้ เดินหน้าก็ติด จึงเป็นที่มาว่าจะทำประชาพิจารณ์ให้เสร็จภายใน 3 เดือนและทำอีไอเอให้เสร็จ ซึ่งตนยืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ เพราะแค่การสร้างคอนโดมีเนียม ยังต้องใช้เวลากว่า 1 ปี นอกจากว่าจะมีการลักไก่ ยัดเยียดข้อมูลให้รายงานผ่านโดยที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน และสุดท้ายก็จะเดินหน้าต่อไม่ได้
ส่วนที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า จะรับฟังความเห็นประชาชนนั้น ตนยืนยันว่า จะทำต้องใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความเห็นของประชาชน พศ. 2548 ข้อที่ 7 คือ เหตุผลความจำเป็นของโครงการ สาระสำคัญของโครงการ ผู้ดำเนินการ สถานที่ดำเนินการ ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน รวมทั้งประมาณการค่าใช้จ่าย
"จึงขอถามนายปลอดประสพว่า มีส่วนไหนที่จะไปบอกกับประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวได้บ้าง เพราะขณะนี้รัฐบาลยังไม่รู้แม้กระทั่งว่าจะสร้างที่ไหน กินพื้นที่เท่าใด จึงไม่อยากให้มีการหลอกต้มประชาชนอีกครั้ง และไม่ต้องการให้เกิดปัญหาคอร์รัปชัน ทิ้งโครงการ จนกลายเป็นอนุเสาวรีย์แห่งการคอร์รัปชัน ซึ่งพรรคจะตรวจสอบต่อไป" นายชวนนท์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัวเพื่อชี้แจงเหตุผลที่งานราชดำเนินเสวนา "กู้ 2 ล้านล้าน ... วิกฤตหรือทางรอด" ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดขึ้นต้องงดไปกระทันหัน โดยโพสต์ข้อความไว้ว่า
เดิมทีทางสมาคมผู้สื่อข่าวได้นัดผมและดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ ให้ไปร่วมบรรยายในส่วนของฝ่ายค้านในหัวข้อ 'กู้ ๒ ล้านล้าน...วิกฤติหรือทางรอด' โดยที่มีท่านรัฐมนตรีวราเทพและรัฐมนตรีชัชชาติได้ยืนยันตอบรับที่จะมาในส่วนของรัฐบาล
ปรากฏว่าเมื่อเย็นวันศุกร์ผมได้รับแจ้งว่าทั้งสองรัฐมนตรีถอนตัว งานจึงจำเป็นต้องถูกยกเลิกไป
ส่วนตัวผมไม่แปลกใจ เพราะรัฐบาลตระหนักว่ามีมากประเด็นที่ตอบเราไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความพร้อมของโครงการ เรื่องความคุ้มค่า เรื่องความหละหลวมในการกำหนดงบประมาณ เรื่องผลของการกู้เงิน และเรื่องความเป็นไปได้ทางกฎหมายว่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
และทางรัฐบาลก็เพียงคิดว่า ถ้ามาร่วมงาน ก็เท่ากับเป็นการช่วยให้เสียงทักท้วงมีพื้นที่ข่าว บวกลบแล้วน่าจะ 'ขาดทุน'
สู้ยอมให้นักข่าวกลุ่มเล็กๆด่าเงียบๆดีกว่า และปิดไม่ให้ประชาชนต้องรับรู้ข้อเท็จจริง เพราะพื้นที่สื่อเพื่อ 'พูดฝ่ายเดียว' ของรัฐบาลนั้นมีเหลือเฟืออยู่แล้ว
วันเดียวกันน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการเร่งด่วนรัฐบาล จ.บุรีรัมย์ และจ.มหาสารคาม ระหว่างวันที่ 14-15 ก.ค. ร่วมกับรัฐมนตรี และ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) อาทิ นายรอยล จิตรดอน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รวมทั้งส.ส.พรรคเพื่อไทยในพื้นที่ อาทิ นายโสภณ เพชรสว่าง นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน ฯ ในภารกิจที่นายกฯเดินทางตรวจราชการในจังหวัดบุรีรัมย์
โดยลงตรวจเยี่ยมศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ชุมชนบ้านลิ่มทอง ต.หนองโบสถ์ อ.นารอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นศูนย์ขนาดเล็กประกอบด้วยห้องคอมพิวเตอร์และห้องสมุดชุมชนขนาดเล็ก เพื่อให้โอกาสแก่เยาวชนในบ้านลิ่มทองได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำเกษตร โดยนายกฯได้มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์จำนวน 20 ทุน ผ่านโครงการมูลนิธิไทยคม
ขณะที่ได้พูดคุยกับนางสนิท ทิพย์นางรอง (น้าน้อย) เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ และจัดทำบัญชีครัวเรือนจนประสบความสำเร็จ
ก่อนจะพบปะกับชาวบ้านเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเสริมนอกฤดูเก็บเกี่ยว 5 กลุ่ม ที่ได้นำเงินจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนหมู่บ้าน โครงการเอสเอ็มแอล และเอสเอ็มอี เน้นเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ นายกฯรับปากจะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติอีกครั้ง จากนั้นตัวแทนกลุ่มแม่บ้านได้มอบผ้าไหมเปลือกนอกสีแดงและสีชมพูให้กับนายกฯเป็นที่ระลึก
ขณะที่คณะได้เดินทางไปยังโรงเรียนวัดสุวรรณาราม เพื่อพบประชาชนในพื้นที่ โดยปราศัยแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม 2 ล้านล้านบาท
ก่อนที่จะเปิดโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร และมอบบัตรสินเชื่อเกษตรกร ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ระยะ 2 จำนวน 2 ล้านบัตร วงเงิน 57 ล้านบาท ที่โรงเรียนบ้านโนนศิลา หมู่ที่ 3 ต.ถลุงเหล็ก อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ มีเกษตรกรพื้นที่อีสานตอนล่างกว่า 15,000 คนร่วมงาน
เวลา 17.00 น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ต่อไปยังวัดพัฒนวนาราม ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ ดูพื้นที่เกษตรโซนนิ่ง ที่ได้เริ่มเป็นแห่งแรกของภาคอีสาน จากนั้นนายกฯเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยัง บึงกุย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เพื่อรับฟังภาพรวมแผนยุทธศาสตร์ของ จ.มหาสารคาม
ส่วนที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า จะรับฟังความเห็นประชาชนนั้น ตนยืนยันว่า จะทำต้องใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความเห็นของประชาชน พศ. 2548 ข้อที่ 7 คือ เหตุผลความจำเป็นของโครงการ สาระสำคัญของโครงการ ผู้ดำเนินการ สถานที่ดำเนินการ ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการ ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน รวมทั้งประมาณการค่าใช้จ่าย
"จึงขอถามนายปลอดประสพว่า มีส่วนไหนที่จะไปบอกกับประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวได้บ้าง เพราะขณะนี้รัฐบาลยังไม่รู้แม้กระทั่งว่าจะสร้างที่ไหน กินพื้นที่เท่าใด จึงไม่อยากให้มีการหลอกต้มประชาชนอีกครั้ง และไม่ต้องการให้เกิดปัญหาคอร์รัปชัน ทิ้งโครงการ จนกลายเป็นอนุเสาวรีย์แห่งการคอร์รัปชัน ซึ่งพรรคจะตรวจสอบต่อไป" นายชวนนท์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัวเพื่อชี้แจงเหตุผลที่งานราชดำเนินเสวนา "กู้ 2 ล้านล้าน ... วิกฤตหรือทางรอด" ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดขึ้นต้องงดไปกระทันหัน โดยโพสต์ข้อความไว้ว่า
เดิมทีทางสมาคมผู้สื่อข่าวได้นัดผมและดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ ให้ไปร่วมบรรยายในส่วนของฝ่ายค้านในหัวข้อ 'กู้ ๒ ล้านล้าน...วิกฤติหรือทางรอด' โดยที่มีท่านรัฐมนตรีวราเทพและรัฐมนตรีชัชชาติได้ยืนยันตอบรับที่จะมาในส่วนของรัฐบาล
ปรากฏว่าเมื่อเย็นวันศุกร์ผมได้รับแจ้งว่าทั้งสองรัฐมนตรีถอนตัว งานจึงจำเป็นต้องถูกยกเลิกไป
ส่วนตัวผมไม่แปลกใจ เพราะรัฐบาลตระหนักว่ามีมากประเด็นที่ตอบเราไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความพร้อมของโครงการ เรื่องความคุ้มค่า เรื่องความหละหลวมในการกำหนดงบประมาณ เรื่องผลของการกู้เงิน และเรื่องความเป็นไปได้ทางกฎหมายว่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
และทางรัฐบาลก็เพียงคิดว่า ถ้ามาร่วมงาน ก็เท่ากับเป็นการช่วยให้เสียงทักท้วงมีพื้นที่ข่าว บวกลบแล้วน่าจะ 'ขาดทุน'
สู้ยอมให้นักข่าวกลุ่มเล็กๆด่าเงียบๆดีกว่า และปิดไม่ให้ประชาชนต้องรับรู้ข้อเท็จจริง เพราะพื้นที่สื่อเพื่อ 'พูดฝ่ายเดียว' ของรัฐบาลนั้นมีเหลือเฟืออยู่แล้ว
วันเดียวกันน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการเร่งด่วนรัฐบาล จ.บุรีรัมย์ และจ.มหาสารคาม ระหว่างวันที่ 14-15 ก.ค. ร่วมกับรัฐมนตรี และ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) อาทิ นายรอยล จิตรดอน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รวมทั้งส.ส.พรรคเพื่อไทยในพื้นที่ อาทิ นายโสภณ เพชรสว่าง นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน ฯ ในภารกิจที่นายกฯเดินทางตรวจราชการในจังหวัดบุรีรัมย์
โดยลงตรวจเยี่ยมศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ชุมชนบ้านลิ่มทอง ต.หนองโบสถ์ อ.นารอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นศูนย์ขนาดเล็กประกอบด้วยห้องคอมพิวเตอร์และห้องสมุดชุมชนขนาดเล็ก เพื่อให้โอกาสแก่เยาวชนในบ้านลิ่มทองได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นศูนย์การเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำเกษตร โดยนายกฯได้มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์จำนวน 20 ทุน ผ่านโครงการมูลนิธิไทยคม
ขณะที่ได้พูดคุยกับนางสนิท ทิพย์นางรอง (น้าน้อย) เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ และจัดทำบัญชีครัวเรือนจนประสบความสำเร็จ
ก่อนจะพบปะกับชาวบ้านเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเสริมนอกฤดูเก็บเกี่ยว 5 กลุ่ม ที่ได้นำเงินจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนหมู่บ้าน โครงการเอสเอ็มแอล และเอสเอ็มอี เน้นเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ นายกฯรับปากจะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติอีกครั้ง จากนั้นตัวแทนกลุ่มแม่บ้านได้มอบผ้าไหมเปลือกนอกสีแดงและสีชมพูให้กับนายกฯเป็นที่ระลึก
ขณะที่คณะได้เดินทางไปยังโรงเรียนวัดสุวรรณาราม เพื่อพบประชาชนในพื้นที่ โดยปราศัยแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม 2 ล้านล้านบาท
ก่อนที่จะเปิดโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร และมอบบัตรสินเชื่อเกษตรกร ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ระยะ 2 จำนวน 2 ล้านบัตร วงเงิน 57 ล้านบาท ที่โรงเรียนบ้านโนนศิลา หมู่ที่ 3 ต.ถลุงเหล็ก อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ มีเกษตรกรพื้นที่อีสานตอนล่างกว่า 15,000 คนร่วมงาน
เวลา 17.00 น.น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ต่อไปยังวัดพัฒนวนาราม ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ ดูพื้นที่เกษตรโซนนิ่ง ที่ได้เริ่มเป็นแห่งแรกของภาคอีสาน จากนั้นนายกฯเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยัง บึงกุย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เพื่อรับฟังภาพรวมแผนยุทธศาสตร์ของ จ.มหาสารคาม