เอเจนซีส์ – เผย นักบิน “เอเชียนา แอร์ไลนส์” ไม่ได้สั่งอพยพผู้โดยสารทันทีที่เครื่องกระแทกรันเวย์ ณ สนามบินซานฟรานซิสโก นอกจากนี้นักบินยังรายงานว่า ตาบอดชั่วคราวจากแสงจ้าที่ส่องเข้าตาขณะนำเครื่องร่อนลง อย่างไรก็ดี ไม่มีใครรู้ที่มาของแสงดังกล่าว และไม่รู้ว่าแสงนั้นมีผลต่ออุบัติเหตุครั้งนี้อย่างไร
เดบอราห์ เฮอร์สแมน ประธานสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งชาติ (เอ็นทีเอสบี) แถลงเมื่อวันพุธ (10) ว่า ภายหลังเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777 ของสายการบินอันดับสองของเกาหลีใต้ เที่ยวบินที่ 214 ตกกระแทกรันเวย์ขณะพยายามร่อนลงจอดเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (6) พวกลูกเรือพยายามขอคำแนะนำจากภายในห้องนักบิน ทว่า แรกทีเดียวนักบินบอกกับพนักงานต้อนรับว่า ไม่ต้องเริ่มกระบวนการอพยพใดๆ
แต่เมื่อพนักงานต้อนรับผู้หนึ่งสังเกตเห็นไฟลุกไหม้ที่ตัวเครื่องด้านนอก และแจ้งไปยังห้องนักบิน จึงได้มีคำสั่งให้เริ่มอพยพผู้โดยสาร
“เราไม่รู้ว่านักบินคิดอะไรอยู่ จริงอยู่ว่าในอุบัติเหตุครั้งก่อนๆ ลูกเรืออาจยังไม่อพยพจนกว่าจะมีรถมารับผู้โดยสารออกไปอย่างปลอดภัย” เฮอร์สแมนกล่าว และแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า นักบินที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อาจอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นว่าเกิดไฟไหม้นอกตัวเครื่อง จึงต้องรอฟังข้อมูลจากพนักงานต้อนรับ และการสอบสวนควรคำนึงถึงข้อมูลที่นักบินได้รับ แนวทางและกระบวนการปฏิบัติ รวมทั้งพิจารณาว่า การอพยพทันการณ์หรือไม่
เธอย้ำด้วยว่า หลังจากเห็นเปลวไฟ การอพยพผู้โดยสารเริ่มต้นขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียง 90 วินาทีหลังจากเครื่องกระแทกรันเวย์
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า นักบินชื่อ ลี คังคุก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบนำเครื่องบินลงจอด ชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่ของเกาหลีใต้และพนักงานสอบสวนของสหรัฐฯ ว่า เขาเหมือนตาบอดชั่วขณะเพราะมีแสงสว่างวาบส่องเข้าตา ขณะที่เครื่องอยู่ที่ระดับความสูง 500 ฟุตและกำลังบินเข้าใกล้รันเวย์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เฮอร์สแมนบอกว่า จำเป็นต้องระบุแหล่งแสงนั้นให้ได้
ทั้งนี้ รถฉุกเฉินของสนามบินไปถึงที่เกิดเหตุราว 2 นาทีหลังเครื่องบินตก และเริ่มดับเพลิงหลังจากนั้น 1 นาที
รายงานระบุว่า อุปกรณ์สำหรับสไลด์ตัวออกจากเครื่องในเวลาฉุกเฉิน 2 ชุด ได้พองลมขณะยังอยู่ภายในเครื่อง ทำให้พนักงานต้อนรับ 2 คนถูกอัดติดอยู่กับที่ขณะที่การอพยพเริ่มต้นขึ้น และเจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องตัดอุปกรณ์สไลด์ตัวดังกล่าวเพื่อช่วยพนักงานต้อนรับทั้งสองออกมา ยังไม่มีใครรู้ว่าเหตุใดอุปกรณ์สไลด์ตัวจึงเกิดพองลมในลักษณะที่ยังอยู่ข้างในเครื่องบินเช่นนี้
เที่ยวบิน 214 ตกหลังจากส่วนหางเบียดกับกำแพงกันคลื่นขณะลงจอด ทำให้ส่วนหางขาดออก เครื่องเสียหลักไถลตัวจนออกจากรันเวย์และไฟลุกไหม้ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 คนและบาดเจ็บมากกว่า 180 คน
เอ็นทีเอสบีระบุแล้วว่า เครื่องบินใช้ความเร็วต่ำกว่าระดับที่แนะนำสำหรับการลงจอด ซึ่งเฮอร์สแมนระบุว่า เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องบินตก
นอกจากนี้ยังพบว่า ลี ซึ่งแม้จัดเป็นนักบินที่มีประสบการณ์ แต่เขาเพิ่งนำเครื่องโบอิ้ง 777 ลงจอดครั้งแรกในเที่ยวบินที่เกิดเหตุ และยังอยู่ระหว่างการฝึกบินด้วยเครื่องบินรุ่นนี้
เฮอร์สแมนสำทับว่า จำเป็นต้องวิเคราะห์ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติและระบบควบคุมลิ้นปีกผีเสื้ออัตโนมัติเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจว่า นักบินทำสิ่งใดในช่วงวินาทีท้ายๆ ก่อนเครื่องตก
นักบินที่ควบคุมเครื่องขณะเกิดเหตุรายงานต่อเอ็นทีเอสบีว่า เขาใช้ระบบควบคุมลิ้นปีกผีเสื้ออัตโนมัติเพื่อรักษาความเร็วในระดับที่เหมาะสม และไม่สังเกตว่า เครื่องบินบินช้ามากขณะเข้าใกล้รันเวย์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เฮอร์สแมนย้ำว่า แม้ระบบควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ทำงานผิดพลาด แต่นักบินควรสามารถนำเครื่องลงจอดอย่างปลอดภัยได้
บทบาทที่ซับซ้อนมากขึ้นของระบบควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์บนเครื่องบินโดยสาร ปัจจุบันกำลังเป็นประเด็นถกเถียงในแวดวงการบินอยู่แล้ว และดูเหมือนจะกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนยิ่งขึ้นจากเหตุเครื่องบินของเอเชียนาตกในครั้งนี้
เดบอราห์ เฮอร์สแมน ประธานสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งชาติ (เอ็นทีเอสบี) แถลงเมื่อวันพุธ (10) ว่า ภายหลังเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777 ของสายการบินอันดับสองของเกาหลีใต้ เที่ยวบินที่ 214 ตกกระแทกรันเวย์ขณะพยายามร่อนลงจอดเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (6) พวกลูกเรือพยายามขอคำแนะนำจากภายในห้องนักบิน ทว่า แรกทีเดียวนักบินบอกกับพนักงานต้อนรับว่า ไม่ต้องเริ่มกระบวนการอพยพใดๆ
แต่เมื่อพนักงานต้อนรับผู้หนึ่งสังเกตเห็นไฟลุกไหม้ที่ตัวเครื่องด้านนอก และแจ้งไปยังห้องนักบิน จึงได้มีคำสั่งให้เริ่มอพยพผู้โดยสาร
“เราไม่รู้ว่านักบินคิดอะไรอยู่ จริงอยู่ว่าในอุบัติเหตุครั้งก่อนๆ ลูกเรืออาจยังไม่อพยพจนกว่าจะมีรถมารับผู้โดยสารออกไปอย่างปลอดภัย” เฮอร์สแมนกล่าว และแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า นักบินที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อาจอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นว่าเกิดไฟไหม้นอกตัวเครื่อง จึงต้องรอฟังข้อมูลจากพนักงานต้อนรับ และการสอบสวนควรคำนึงถึงข้อมูลที่นักบินได้รับ แนวทางและกระบวนการปฏิบัติ รวมทั้งพิจารณาว่า การอพยพทันการณ์หรือไม่
เธอย้ำด้วยว่า หลังจากเห็นเปลวไฟ การอพยพผู้โดยสารเริ่มต้นขึ้นอย่างรวดเร็ว เพียง 90 วินาทีหลังจากเครื่องกระแทกรันเวย์
ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า นักบินชื่อ ลี คังคุก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบนำเครื่องบินลงจอด ชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่ของเกาหลีใต้และพนักงานสอบสวนของสหรัฐฯ ว่า เขาเหมือนตาบอดชั่วขณะเพราะมีแสงสว่างวาบส่องเข้าตา ขณะที่เครื่องอยู่ที่ระดับความสูง 500 ฟุตและกำลังบินเข้าใกล้รันเวย์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เฮอร์สแมนบอกว่า จำเป็นต้องระบุแหล่งแสงนั้นให้ได้
ทั้งนี้ รถฉุกเฉินของสนามบินไปถึงที่เกิดเหตุราว 2 นาทีหลังเครื่องบินตก และเริ่มดับเพลิงหลังจากนั้น 1 นาที
รายงานระบุว่า อุปกรณ์สำหรับสไลด์ตัวออกจากเครื่องในเวลาฉุกเฉิน 2 ชุด ได้พองลมขณะยังอยู่ภายในเครื่อง ทำให้พนักงานต้อนรับ 2 คนถูกอัดติดอยู่กับที่ขณะที่การอพยพเริ่มต้นขึ้น และเจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องตัดอุปกรณ์สไลด์ตัวดังกล่าวเพื่อช่วยพนักงานต้อนรับทั้งสองออกมา ยังไม่มีใครรู้ว่าเหตุใดอุปกรณ์สไลด์ตัวจึงเกิดพองลมในลักษณะที่ยังอยู่ข้างในเครื่องบินเช่นนี้
เที่ยวบิน 214 ตกหลังจากส่วนหางเบียดกับกำแพงกันคลื่นขณะลงจอด ทำให้ส่วนหางขาดออก เครื่องเสียหลักไถลตัวจนออกจากรันเวย์และไฟลุกไหม้ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 2 คนและบาดเจ็บมากกว่า 180 คน
เอ็นทีเอสบีระบุแล้วว่า เครื่องบินใช้ความเร็วต่ำกว่าระดับที่แนะนำสำหรับการลงจอด ซึ่งเฮอร์สแมนระบุว่า เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องบินตก
นอกจากนี้ยังพบว่า ลี ซึ่งแม้จัดเป็นนักบินที่มีประสบการณ์ แต่เขาเพิ่งนำเครื่องโบอิ้ง 777 ลงจอดครั้งแรกในเที่ยวบินที่เกิดเหตุ และยังอยู่ระหว่างการฝึกบินด้วยเครื่องบินรุ่นนี้
เฮอร์สแมนสำทับว่า จำเป็นต้องวิเคราะห์ระบบควบคุมการบินอัตโนมัติและระบบควบคุมลิ้นปีกผีเสื้ออัตโนมัติเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจว่า นักบินทำสิ่งใดในช่วงวินาทีท้ายๆ ก่อนเครื่องตก
นักบินที่ควบคุมเครื่องขณะเกิดเหตุรายงานต่อเอ็นทีเอสบีว่า เขาใช้ระบบควบคุมลิ้นปีกผีเสื้ออัตโนมัติเพื่อรักษาความเร็วในระดับที่เหมาะสม และไม่สังเกตว่า เครื่องบินบินช้ามากขณะเข้าใกล้รันเวย์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เฮอร์สแมนย้ำว่า แม้ระบบควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ทำงานผิดพลาด แต่นักบินควรสามารถนำเครื่องลงจอดอย่างปลอดภัยได้
บทบาทที่ซับซ้อนมากขึ้นของระบบควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์บนเครื่องบินโดยสาร ปัจจุบันกำลังเป็นประเด็นถกเถียงในแวดวงการบินอยู่แล้ว และดูเหมือนจะกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนยิ่งขึ้นจากเหตุเครื่องบินของเอเชียนาตกในครั้งนี้