เอเจนซีส์ – ฝ่ายค้านอียิปต์ได้ใจ หลังประสบความสำเร็จรวมพลังมหาชนนับล้านออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซี เมื่อวันอาทิตย์ (30 มิ.ย.) ก็ประกาศในวันจันทร์(1ก.ค.) ขีดเส้นตายให้ประมุขประเทศคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยผู้นี้ ต้องลาอออกภายในเย็นวันอังคาร (2) หลังปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงปีเดียว ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะต้องเผชิญ “อารยะขัดขืน” ทั่วแดนไอยคุปต์
ขบวนการ “ตอมาร็อด” (Tamarod คำในภาษาอาหรับแปลว่า “กบฏ”) ประกาศให้เวลา มอร์ซี จนถึง 17.00 น.วันอังคาร (ตรงกับ 22.00 น. เวลาในไทย) ในการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์ เพื่อให้สถาบันของรัฐเตรียมการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนกำหนด ไม่เช่นนั้น ทางกลุ่มจะเริ่มต้นโครงการอารยะขัดขืนเบ็ดเสร็จทั่วประเทศ
ตอมาร็อด ขบวนการรณรงค์ระดับรากหญ้าที่อ้างว่า สามารถล่ารายชื่อได้กว่า 22 ล้านรายชื่อเพื่อถอดถอนมอร์ซี ยังเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงที่มีชาวอียิปต์ทั่วประเทศเข้าร่วมนับล้านๆ คนเมื่อวันอาทิตย์ ที่ผ่านมา อันเป็นวันครบรอบ 1 ปีแห่งการเข้าดำรงตำแหน่งของมอร์ซี
ไม่เฉพาะเผชิญแรงกระหน่ำจากผู้ประท้วงเท่านั้น เจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลรายหนึ่งแจ้งในวันจันทร์ว่า มีรัฐมนตรีที่ไม่ใช่พวกกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) รวม 4 คน ได้แก่ รัฐมนตรีการท่องเที่ยว, สิ่งแวดล้อม, การสื่อสาร, และกิจการทางกฎหมาย ได้ยื่นใบลาออกต่อนายกรัฐมนตรี ฮิชัม กอนดิล แล้ว
โดยเฉพาะรัฐมนตรีการท่องเที่ยว ฮิชัม ซาซู ได้พยายามขอลาออกตั้งแต่เดือนที่แล้ว ภายหลังประธานาธิบดีมอร์ซี แต่งตั้ง อะเดล อัล-คายัต สมาชิกของพรรคแนวทางอิสลามิสต์ซึ่งพัวพันกับเหตุสังหารหมู่นักท่องเที่ยวในเมืองลักซอร์เมื่อหลายปีก่อน ให้เป็นผู้ว่าการของเมืองนี้ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของอียิปต์
การยื่นใบลาออกในวันจันทร์ ถือเป็นเพิ่มปัญหาในการแสวงหาแนวร่วมสำหรับมอร์ซี ผู้ซึ่งเมื่อขึ้นสู่อำนาจแล้วก็ได้เปิดศึกต่อสู้กับทั้งฝ่ายตุลาการ, สื่อมวลชน, และตำรวจ
ถึงแม้การชุมนุมประท้วงตามเมืองต่างๆ ในวันอาทิตย์ส่วนใหญ่แล้วดำเนินไปด้วยความสงบ แต่ก็เกิดการปะทะกันในหลายจุด โดยกระทรวงสาธารณสุขแถลงว่า รวมทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตไป 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คนตายจากการต่อสู้กันระหว่างพวกผู้คัดค้านและพวกผู้สนับสนุนมอร์ซี ที่บริเวณด้านนอกของสำนักงานประจำกรุงไคโรของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ซึ่งเป็นฐานสนับสนุนสำคัญที่สุดของประธานาธิบดีผู้มีแนวคิดอิสลามเคร่งจารีตผู้นี้
นอกจากนั้นมีอีก 3 คนซึ่งเสียชีวิตในจังหวัดอัสซุอุต ซึ่งอยู่ทางภาคกลางของประเทศ และเสียชีวิตไปแห่งละ 1 คนในจังหวัดฟายุม, เบนิซูอิฟ, และ คัฟร์ เอล-ไชค์
กระทรวงสาธารณสุขแจกแจงอีกว่า ยังมีผู้ประท้วงรายหนึ่งตายเนื่องจากอาการหายใจไม่ออกขณะร่วมชุมนุมอยู่บริเวณด้านนอกทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงไคโร และอีกคนหนึ่งเสียชีวิตจากบาดแผลหลายแห่งที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ
เหตุการณ์ปะทะกันที่ด้านนอกสำนักงานไคโรของขบวนการภราดรภาพมุสลิมซึ่งยังผลให้มีผู้เสียชีวิตไป 8 คนนั้น เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนจนกระทั่งถึงเช้ามืดวันจันทร์ โดยผู้สื่อข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ในที่สุดแล้วผู้ประท้วงได้จุดไฟเผาอาคารก่อนบุกเข้าไปทำลายข้าวของกระจายเกลื่อน
เกฮัด เอล-ฮัดดัด โฆษกอย่างเป็นทางการของภราดรภาพมุสลิมบอกกับรอยเตอร์ว่า การโจมตีคราวนี้ถือเป็นการล้ำเส้นแดงแห่งความรุนแรง และหนึ่งในทางเลือกต่างๆ ที่ทางกลุ่มอาจนำมาใช้ตอบโต้ ได้แก่การฟื้นฟู “คณะกรรมการป้องกันตนเอง” ซึ่งเคยจัดตั้งขึ้นในระหว่างเข้าร่วมการลุกฮือ “อาหรับสปริง” ในปี 2011
มีรายงานว่า ไม่เพียงที่ทำการของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในไคโร แต่ในอีกหลายๆ เมืองก็ถูกเผาและปล้นในคืนวันอาทิตย์เช่นกัน พวกผู้นำของกลุ่มยังร้องเรียนว่าตำรวจไม่ช่วยปกป้องพวกตนเลย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังคงมีปัญหาในการควบคุมหน่วยงานความมั่นคง
ทั้งนี้ ข่าวระบุว่ามีตำรวจสวมเครื่องแบบจำนวนหนึ่งเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงทั้งในไคโรและอเล็กซานเดรีย และนายตำรวจอาวุโสหลายคนยังขึ้นเวทีปราศรัยที่จัตุรัสตอห์รี ของกรุงไคโรด้วย
พวกกลุ่มผู้สนับสนุนประธานาธิบดีก็ได้นัดหมายจัดการชุมนุมของตนในวันอาทิตย์เช่นกัน ในย่านนาสร์ซิตี้ของไคโร ทว่ามีผู้เข้าร่วมเพียง 25,000 คน เทียบไม่ได้เลยกับจำนวนคนซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายค้าน
กระนั้น อีฮับ ฟาห์มี โฆษกของมอร์ซี ยังคงยืนกรานว่า ทางออกเดียวสำหรับวิกฤตการเมืองในขณะนี้คือการเจรจา
ฮัมดีน ซับบาฮี ผู้นำฝ่ายค้าน ออกมาเรียกร้องให้ทหารเข้าแทรกแซง ขณะที่ตอมาร็อดก็ขอให้สถาบันรัฐทั้งหบายอยู่ข้างผู้ประท้วง
ก่อนหน้านี้ กองทัพที่มีบทบาทสำคัญในการปลดอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค เมื่อปี 2011 ได้ออกมาเตือนว่า จะเข้าแทรกแซงหากสถานการณ์รุนแรงลุกลามเกินการควบคุม
ภายหลังการชุมนุมของคนนับล้านในวันอาทิตย์ เมืองต่างๆ ทั่วอียิปต์ก็สงบเงียบลงเมื่อเข้าสู่เช้าวันจันทร์ ที่จัตุรัสตอห์รีในไคโร สัญลักษณ์การปฏิวัติโค่นอำนาจผู้นำเผด็จการ ตลอดจนบริเวณหน้าทำเนียบประธานาธิบดี เหลือผู้ประท้วงปักหลักชุมนุมเพียงหลักร้อย แต่ถ้าหากมวลชนจำนวนมากกลับเข้ามาใหม่ในตอนกลางคืน และโดยเฉพาะเมื่อถึงกำหนดเส้นคืนเย็นวันอังคารที่ขีดโดยขบวนการตอมาร็อด สถานการณ์ก็สามารถกลับคืนสู่ความร้อนระอุ โดยจุดสนใจจะไปรวมศูนย์อยู่ที่ว่ากองทัพจะคิดอ่านดำเนินการอย่างไรต่อไป
การประท้วงของมหาชนครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่เพียงโดดเดี่ยวกลุ่มเสรีนิยมและฆราวาสนิยมเท่านั้น แต่ยังสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนนับล้านจากการบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด
ปัจจุบัน การท่องเที่ยวและการลงทุนของอียิปต์ซบเซา ผิดกับเงินเฟ้อที่บานสะพรั่ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนน้ำมัน และไฟฟ้าดับเป็นเวลานานในฤดูร้อน
ขบวนการ “ตอมาร็อด” (Tamarod คำในภาษาอาหรับแปลว่า “กบฏ”) ประกาศให้เวลา มอร์ซี จนถึง 17.00 น.วันอังคาร (ตรงกับ 22.00 น. เวลาในไทย) ในการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์ เพื่อให้สถาบันของรัฐเตรียมการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนกำหนด ไม่เช่นนั้น ทางกลุ่มจะเริ่มต้นโครงการอารยะขัดขืนเบ็ดเสร็จทั่วประเทศ
ตอมาร็อด ขบวนการรณรงค์ระดับรากหญ้าที่อ้างว่า สามารถล่ารายชื่อได้กว่า 22 ล้านรายชื่อเพื่อถอดถอนมอร์ซี ยังเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงที่มีชาวอียิปต์ทั่วประเทศเข้าร่วมนับล้านๆ คนเมื่อวันอาทิตย์ ที่ผ่านมา อันเป็นวันครบรอบ 1 ปีแห่งการเข้าดำรงตำแหน่งของมอร์ซี
ไม่เฉพาะเผชิญแรงกระหน่ำจากผู้ประท้วงเท่านั้น เจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลรายหนึ่งแจ้งในวันจันทร์ว่า มีรัฐมนตรีที่ไม่ใช่พวกกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) รวม 4 คน ได้แก่ รัฐมนตรีการท่องเที่ยว, สิ่งแวดล้อม, การสื่อสาร, และกิจการทางกฎหมาย ได้ยื่นใบลาออกต่อนายกรัฐมนตรี ฮิชัม กอนดิล แล้ว
โดยเฉพาะรัฐมนตรีการท่องเที่ยว ฮิชัม ซาซู ได้พยายามขอลาออกตั้งแต่เดือนที่แล้ว ภายหลังประธานาธิบดีมอร์ซี แต่งตั้ง อะเดล อัล-คายัต สมาชิกของพรรคแนวทางอิสลามิสต์ซึ่งพัวพันกับเหตุสังหารหมู่นักท่องเที่ยวในเมืองลักซอร์เมื่อหลายปีก่อน ให้เป็นผู้ว่าการของเมืองนี้ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของอียิปต์
การยื่นใบลาออกในวันจันทร์ ถือเป็นเพิ่มปัญหาในการแสวงหาแนวร่วมสำหรับมอร์ซี ผู้ซึ่งเมื่อขึ้นสู่อำนาจแล้วก็ได้เปิดศึกต่อสู้กับทั้งฝ่ายตุลาการ, สื่อมวลชน, และตำรวจ
ถึงแม้การชุมนุมประท้วงตามเมืองต่างๆ ในวันอาทิตย์ส่วนใหญ่แล้วดำเนินไปด้วยความสงบ แต่ก็เกิดการปะทะกันในหลายจุด โดยกระทรวงสาธารณสุขแถลงว่า รวมทั่วประเทศมีผู้เสียชีวิตไป 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คนตายจากการต่อสู้กันระหว่างพวกผู้คัดค้านและพวกผู้สนับสนุนมอร์ซี ที่บริเวณด้านนอกของสำนักงานประจำกรุงไคโรของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ซึ่งเป็นฐานสนับสนุนสำคัญที่สุดของประธานาธิบดีผู้มีแนวคิดอิสลามเคร่งจารีตผู้นี้
นอกจากนั้นมีอีก 3 คนซึ่งเสียชีวิตในจังหวัดอัสซุอุต ซึ่งอยู่ทางภาคกลางของประเทศ และเสียชีวิตไปแห่งละ 1 คนในจังหวัดฟายุม, เบนิซูอิฟ, และ คัฟร์ เอล-ไชค์
กระทรวงสาธารณสุขแจกแจงอีกว่า ยังมีผู้ประท้วงรายหนึ่งตายเนื่องจากอาการหายใจไม่ออกขณะร่วมชุมนุมอยู่บริเวณด้านนอกทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงไคโร และอีกคนหนึ่งเสียชีวิตจากบาดแผลหลายแห่งที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ
เหตุการณ์ปะทะกันที่ด้านนอกสำนักงานไคโรของขบวนการภราดรภาพมุสลิมซึ่งยังผลให้มีผู้เสียชีวิตไป 8 คนนั้น เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนจนกระทั่งถึงเช้ามืดวันจันทร์ โดยผู้สื่อข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ในที่สุดแล้วผู้ประท้วงได้จุดไฟเผาอาคารก่อนบุกเข้าไปทำลายข้าวของกระจายเกลื่อน
เกฮัด เอล-ฮัดดัด โฆษกอย่างเป็นทางการของภราดรภาพมุสลิมบอกกับรอยเตอร์ว่า การโจมตีคราวนี้ถือเป็นการล้ำเส้นแดงแห่งความรุนแรง และหนึ่งในทางเลือกต่างๆ ที่ทางกลุ่มอาจนำมาใช้ตอบโต้ ได้แก่การฟื้นฟู “คณะกรรมการป้องกันตนเอง” ซึ่งเคยจัดตั้งขึ้นในระหว่างเข้าร่วมการลุกฮือ “อาหรับสปริง” ในปี 2011
มีรายงานว่า ไม่เพียงที่ทำการของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในไคโร แต่ในอีกหลายๆ เมืองก็ถูกเผาและปล้นในคืนวันอาทิตย์เช่นกัน พวกผู้นำของกลุ่มยังร้องเรียนว่าตำรวจไม่ช่วยปกป้องพวกตนเลย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังคงมีปัญหาในการควบคุมหน่วยงานความมั่นคง
ทั้งนี้ ข่าวระบุว่ามีตำรวจสวมเครื่องแบบจำนวนหนึ่งเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงทั้งในไคโรและอเล็กซานเดรีย และนายตำรวจอาวุโสหลายคนยังขึ้นเวทีปราศรัยที่จัตุรัสตอห์รี ของกรุงไคโรด้วย
พวกกลุ่มผู้สนับสนุนประธานาธิบดีก็ได้นัดหมายจัดการชุมนุมของตนในวันอาทิตย์เช่นกัน ในย่านนาสร์ซิตี้ของไคโร ทว่ามีผู้เข้าร่วมเพียง 25,000 คน เทียบไม่ได้เลยกับจำนวนคนซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายค้าน
กระนั้น อีฮับ ฟาห์มี โฆษกของมอร์ซี ยังคงยืนกรานว่า ทางออกเดียวสำหรับวิกฤตการเมืองในขณะนี้คือการเจรจา
ฮัมดีน ซับบาฮี ผู้นำฝ่ายค้าน ออกมาเรียกร้องให้ทหารเข้าแทรกแซง ขณะที่ตอมาร็อดก็ขอให้สถาบันรัฐทั้งหบายอยู่ข้างผู้ประท้วง
ก่อนหน้านี้ กองทัพที่มีบทบาทสำคัญในการปลดอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค เมื่อปี 2011 ได้ออกมาเตือนว่า จะเข้าแทรกแซงหากสถานการณ์รุนแรงลุกลามเกินการควบคุม
ภายหลังการชุมนุมของคนนับล้านในวันอาทิตย์ เมืองต่างๆ ทั่วอียิปต์ก็สงบเงียบลงเมื่อเข้าสู่เช้าวันจันทร์ ที่จัตุรัสตอห์รีในไคโร สัญลักษณ์การปฏิวัติโค่นอำนาจผู้นำเผด็จการ ตลอดจนบริเวณหน้าทำเนียบประธานาธิบดี เหลือผู้ประท้วงปักหลักชุมนุมเพียงหลักร้อย แต่ถ้าหากมวลชนจำนวนมากกลับเข้ามาใหม่ในตอนกลางคืน และโดยเฉพาะเมื่อถึงกำหนดเส้นคืนเย็นวันอังคารที่ขีดโดยขบวนการตอมาร็อด สถานการณ์ก็สามารถกลับคืนสู่ความร้อนระอุ โดยจุดสนใจจะไปรวมศูนย์อยู่ที่ว่ากองทัพจะคิดอ่านดำเนินการอย่างไรต่อไป
การประท้วงของมหาชนครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่เพียงโดดเดี่ยวกลุ่มเสรีนิยมและฆราวาสนิยมเท่านั้น แต่ยังสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนนับล้านจากการบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด
ปัจจุบัน การท่องเที่ยวและการลงทุนของอียิปต์ซบเซา ผิดกับเงินเฟ้อที่บานสะพรั่ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนน้ำมัน และไฟฟ้าดับเป็นเวลานานในฤดูร้อน