วานนี้ (20 มิ.ย.) นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามเอกสารเพื่อยื่นอุทธรณ์กรณีการโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี จากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำแล้ว โดยประเด็นที่คณะทำงานที่มี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมพิจารณาแล้ว โดยนายกรัฐมนตรี เห็นควรที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง เนื่องจากเห็นว่า กรณีนี้ยังมีประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องการความชัดเจนโดยการชี้ขาดจากศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งคำสั่งศาลดังกล่าว อาจเป็นการก้าวล่วงการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหาร ในฐานะหัวหนัาส่วนราชการ ดังนั้นจึงเสนอให้มีการยื่นอุธรณ์คำสั่งศาล เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินต่อไปในอนาคต
นายธงทอง กล่าวด้วยว่า การอุธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางครั้งนี้ ไม่ใช่การกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่เป็นการใช้เอกสิทธิทางศาลของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานภาครัฐต่อไป โดยหลังจากนี้ จะส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อยื่นอุทรณ์ต่อไป
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ทางคณะกรรมการกลั่นกรองให้ความเห็น ได้ส่งความเห็นมาที่ตนแล้ว และได้รับเรื่องจากคณะกรรมการฯ ที่ให้ความเห็นว่าให้มีการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน วันที่ 30 มิ.ย.นี้
นายจาดุร อภิชาตบุตร อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการนายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การอุทธรณ์ คือการไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น จึงอยากทราบว่า นายกฯไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นในประเด็นใด ตนมองไม่เห็นประเด็น เพราะเรื่องที่จะอุทธรณ์ส่วนใหญ่ จะต้องมีข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเพิ่มขึ้นจากกรณีที่พิจารณาในศาลชั้นต้น ต้องอย่าลืมว่า คำพิพากษาของศาลปกครอง เป็นเรื่องการไต่สวนการออกคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อออกคำสั่งไม่ถูกต้อง จึงควรจะไปทำให้ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อรัฐ เหมือนกับคำพิพากษาธรรมดา
ส่วนข้อมูลที่นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นว่า ควรอุทธรณ์นั้น อยากถามว่า ไปเอาข้อมูลอะไรมา ทำไมไม่ไปยกมา ตั้งแต่การไต่สวนในชั้นศาลชั้นต้น ไม่เห็นมีอะไรใหม่ จึงสรุปได้ว่าการอุทธรณ์ครั้งนี้ เป็นการทำให้กระบวนการล่าช้า เป็นการประวิงเวลา ตนจึงอยากเห็นการตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ที่เฉียบขาด และศาลต้องแสดงให้สังคมเห็นว่า เป็นพึ่ง เรื่องนี้ศาลจะต้องพิจารณาเร่งรัดให้เร็วๆ กว่าคดีที่ผ่านๆมา
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีที่เคยแนะนำให้ นายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ร้องมายัง ป.ป.ช. หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่พิจารณาคืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง ว่า ยืนยันว่าไม่ได้ยุยงให้นายถวิล มายื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. เพียงแต่มีผู้มาสอบถาม ตนก็แนะนำไปตามช่องทางของกฎหมาย และหากมีการยื่นเรื่องเข้ามาจริง ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน ที่จะต้องมาพิจารณาว่าอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. หรือไม่ ตนเป็นเพียง 1 เสียงไม่สามารถตอบแทนได้
ทั้งนี้ หากรัฐบาลยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อสิทธิ์ของนายถวิล ที่จะร้องต่อ ป.ป.ช. แต่อย่างใด เพราะมีกฎหมายรองรับไว้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบ ขณะนี้ยังไม่มีการร้องเข้ามา
"จริงๆแล้ว ผมไม่ได้ยุให้คุณถวิลมามายื่นคำร้องกับป.ป.ช.อะไรทั้งสิ้น แต่ที่พูดไปเพราะมีคนถามผมว่า คุณถวิลจะฟ้องได้หรือไม่ ผมก็บอกไปว่า ร้องได้ตามกฎหมาย แต่หากร้องแล้วก็ต้องดูว่าอยู่ในอำนาจป.ป.ช.หรือไม่" นายกล้านรงค์ กล่าว
นายธงทอง กล่าวด้วยว่า การอุธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางครั้งนี้ ไม่ใช่การกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่เป็นการใช้เอกสิทธิทางศาลของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงานภาครัฐต่อไป โดยหลังจากนี้ จะส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อยื่นอุทรณ์ต่อไป
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ทางคณะกรรมการกลั่นกรองให้ความเห็น ได้ส่งความเห็นมาที่ตนแล้ว และได้รับเรื่องจากคณะกรรมการฯ ที่ให้ความเห็นว่าให้มีการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดภายใน วันที่ 30 มิ.ย.นี้
นายจาดุร อภิชาตบุตร อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการนายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การอุทธรณ์ คือการไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น จึงอยากทราบว่า นายกฯไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นในประเด็นใด ตนมองไม่เห็นประเด็น เพราะเรื่องที่จะอุทธรณ์ส่วนใหญ่ จะต้องมีข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเพิ่มขึ้นจากกรณีที่พิจารณาในศาลชั้นต้น ต้องอย่าลืมว่า คำพิพากษาของศาลปกครอง เป็นเรื่องการไต่สวนการออกคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง เมื่อออกคำสั่งไม่ถูกต้อง จึงควรจะไปทำให้ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อรัฐ เหมือนกับคำพิพากษาธรรมดา
ส่วนข้อมูลที่นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นว่า ควรอุทธรณ์นั้น อยากถามว่า ไปเอาข้อมูลอะไรมา ทำไมไม่ไปยกมา ตั้งแต่การไต่สวนในชั้นศาลชั้นต้น ไม่เห็นมีอะไรใหม่ จึงสรุปได้ว่าการอุทธรณ์ครั้งนี้ เป็นการทำให้กระบวนการล่าช้า เป็นการประวิงเวลา ตนจึงอยากเห็นการตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ที่เฉียบขาด และศาลต้องแสดงให้สังคมเห็นว่า เป็นพึ่ง เรื่องนี้ศาลจะต้องพิจารณาเร่งรัดให้เร็วๆ กว่าคดีที่ผ่านๆมา
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีที่เคยแนะนำให้ นายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ร้องมายัง ป.ป.ช. หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่พิจารณาคืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง ว่า ยืนยันว่าไม่ได้ยุยงให้นายถวิล มายื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. เพียงแต่มีผู้มาสอบถาม ตนก็แนะนำไปตามช่องทางของกฎหมาย และหากมีการยื่นเรื่องเข้ามาจริง ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน ที่จะต้องมาพิจารณาว่าอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. หรือไม่ ตนเป็นเพียง 1 เสียงไม่สามารถตอบแทนได้
ทั้งนี้ หากรัฐบาลยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อสิทธิ์ของนายถวิล ที่จะร้องต่อ ป.ป.ช. แต่อย่างใด เพราะมีกฎหมายรองรับไว้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบ ขณะนี้ยังไม่มีการร้องเข้ามา
"จริงๆแล้ว ผมไม่ได้ยุให้คุณถวิลมามายื่นคำร้องกับป.ป.ช.อะไรทั้งสิ้น แต่ที่พูดไปเพราะมีคนถามผมว่า คุณถวิลจะฟ้องได้หรือไม่ ผมก็บอกไปว่า ร้องได้ตามกฎหมาย แต่หากร้องแล้วก็ต้องดูว่าอยู่ในอำนาจป.ป.ช.หรือไม่" นายกล้านรงค์ กล่าว