ASTVผู้จัดการรายวัน - เงินบาทหลุด 31 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าสูงสุดในรอบ 8 เดือน หลังนักลงทุนแห่ขายหุ้น-ขายพันธบัตรนำเงินออก เผยทิศทางยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง "กิตติรัตน์" พอใจไม่ต้องใช้มาตรการควบคุม ชี้เงินไหลออกเป็นเงินทุนระยะสั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) ว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 30.93/95 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจนแตะที่ระดับต่ำสุดในรอบเช้าที่ 31.03/05 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากนั้นเงินบาทอ่อนค่าลงอีกระหว่างการซื้อขายในช่วงบ่าย แตะระดับต่ำสุดที่ 31.12 บาทต่อดอลลาร์ หลุดกรอบแนวรับแนวต้านที่ 30.80-31.20 บาทต่อดอลลาร์ ทำสถิติอ่อนค่าสูงสุดในรอบ 8 เดือน ก่อนจะปิดตลาดที่ 30.93/95 บาทต่อดอลลาร์
นักบริหารเงินคาดว่า เงินบาทมีแนวโน้มว่าจะอ่อนค่าลงอีก เป็นผลจากแรงเทขายนักลงทุนต่างชาติ ที่เทขายหุ้นและพันธบัตร เพื่อนำเงินไปลงทุนที่สหรัฐฯ หลังจากเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง จากการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของ S&P
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า เงินทุนระยะสั้นที่ไหลออกจากประเทศในขณะนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการทยอยลดการอัดฉีดเงินออกสู่ระบบเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐ และการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นจนมีกำไรในระดับหนึ่งแล้วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้บรรดากองทุนและเงินทุนระยะสั้น เทขายหุ้นออกมาเพื่อปรับพอร์ตการลงทุน และเป็นการปรับลดลงตามตลาดหุ้นในภูมิภาค อีกทั้งเงินทุนที่ไหลออกในช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น
"เงินทุนต่างชาติไหลออกไปในช่วงนี้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมานับตั้งแต่ปลายปีก่อน ไหลเข้ามาหาผลตอบแทนทั้งส่วนต่างจากพันธบัตรระยะสั้นและตลาดหุ้นไทย ทำให้มีเงินทุนต่างชาติในประเทศสูงมาก 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าอย่างต่อเนื่องในระดับประมาณ 28-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเงินทุนไหลออกไปบ้าง จึงเป็นดีต่อการดำเนินนโยบายการเงิน โดยเฉพาะการใช้แนวทางลดดอกเบี้ย" นายกิตติรัตน์กล่าวและว่า มาตรการอื่นที่เตรียมไว้จึงไม่จำเป็นนำออกมาใช้ แต่เป็นการเตรียมพร้อมเมื่อจำเป็นต้องใช้ แต่ทุกฝ่ายต้องติดตามสถานการณ์ตลาดโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมีความเหมาะสม.
ผู้สื่อข่าวรายงานการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) ว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 30.93/95 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจนแตะที่ระดับต่ำสุดในรอบเช้าที่ 31.03/05 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากนั้นเงินบาทอ่อนค่าลงอีกระหว่างการซื้อขายในช่วงบ่าย แตะระดับต่ำสุดที่ 31.12 บาทต่อดอลลาร์ หลุดกรอบแนวรับแนวต้านที่ 30.80-31.20 บาทต่อดอลลาร์ ทำสถิติอ่อนค่าสูงสุดในรอบ 8 เดือน ก่อนจะปิดตลาดที่ 30.93/95 บาทต่อดอลลาร์
นักบริหารเงินคาดว่า เงินบาทมีแนวโน้มว่าจะอ่อนค่าลงอีก เป็นผลจากแรงเทขายนักลงทุนต่างชาติ ที่เทขายหุ้นและพันธบัตร เพื่อนำเงินไปลงทุนที่สหรัฐฯ หลังจากเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง จากการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของ S&P
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า เงินทุนระยะสั้นที่ไหลออกจากประเทศในขณะนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการทยอยลดการอัดฉีดเงินออกสู่ระบบเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐ และการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นจนมีกำไรในระดับหนึ่งแล้วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้บรรดากองทุนและเงินทุนระยะสั้น เทขายหุ้นออกมาเพื่อปรับพอร์ตการลงทุน และเป็นการปรับลดลงตามตลาดหุ้นในภูมิภาค อีกทั้งเงินทุนที่ไหลออกในช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น
"เงินทุนต่างชาติไหลออกไปในช่วงนี้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมานับตั้งแต่ปลายปีก่อน ไหลเข้ามาหาผลตอบแทนทั้งส่วนต่างจากพันธบัตรระยะสั้นและตลาดหุ้นไทย ทำให้มีเงินทุนต่างชาติในประเทศสูงมาก 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินบาทให้แข็งค่าอย่างต่อเนื่องในระดับประมาณ 28-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเงินทุนไหลออกไปบ้าง จึงเป็นดีต่อการดำเนินนโยบายการเงิน โดยเฉพาะการใช้แนวทางลดดอกเบี้ย" นายกิตติรัตน์กล่าวและว่า มาตรการอื่นที่เตรียมไว้จึงไม่จำเป็นนำออกมาใช้ แต่เป็นการเตรียมพร้อมเมื่อจำเป็นต้องใช้ แต่ทุกฝ่ายต้องติดตามสถานการณ์ตลาดโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมีความเหมาะสม.