ASTV ผู้จัดการรายวัน-ศาลมีนบุรีพิพากษาประหารชีวิต 4 อดีตตำรวจสืบสวน บก.น.3 อมยาบ้า 3 แสนเม็ด ยาไอซ์ 5 กิโลกรัม แต่ให้การเป็นประโยชน์ลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุกตลอดชีวิต และให้ยกฟ้องจำเลยที่เป็นพลเรือน
วานนี้ (30 พ.ค.) ที่ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลอ่านคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1790/2555 ที่อัยการฝ่ายพิเศษฝ่ายคดีอาญา11 (มีนบุรี 1) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ร.ต.ท.เชิงชอบ ราชคม อดีตรอง สว.สส.กก.สส.บก.น.3 ด.ต.สมศักดิ์ ทิพย์รัศมีวงศ์ ผบ.หมู่ ป.สน.ประชาสำราญ จ.ส.ต.ภัทระ วรชาณินธ์ ผบ.หมู่ สน.จรเข้น้อย ส.ต.ท.นพดล พันธุ์อารีย์ ผบ.หมู่ กก.สส.บก.น.3 และนายชวลิต กำเนิดขอนแก่น จำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐาน ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
โดยโจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2555 เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. จำเลยทั้ง 5 ได้บังอาจร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) จำนวน 305,200 เม็ด และยาไอซ์ น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.น. สืบสวนพบว่าจำเลยทั้ง 5 ซึ่งเป็นตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติด บก.น.3 ดำเนินการโดยมิชอบ โดยร่วมกันตรวจยึดยาเสพติด แต่ไม่นำไปดำเนินคดีตามกฎหมาย และยังปล่อยตัวผู้ต้องหาในคดียาเสพติดไป
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.น. จึงร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.ปส. เข้าตรวจสอบและจับกุมจำเลยทั้ง 5 ก่อนนำตัวไปตรวจสอบพบยาเสพติดของกลางที่รถยนต์ของจำเลย จึงดำเนินคดีกับจำเลยทั้ง 5 คน ซึ่งเป็นตำรวจ 4 คน และพลเรือน 1 คน ในข้อหาร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ยาบ้า,ยาไอซ์) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อนนำตัวจำเลยทั้งหมดพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวน บช.ปส. ดำเนินคดี เหตุเกิดที่ กก.สส. บก.น.3 แขวง-เขตมีนบุรี กทม. โดยในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานโจทก์เบิกความเป็นลำดับสำคัญเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง โดยได้ติดตามพฤติการณ์ของจำเลยทั้ง5มาเป็นเวลานาน อีกทั้งพยานโจทก์เป็นเจ้าพนักงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัย เชื่อว่าเบิกความไปตามที่พบเห็นจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยจำเลยที่ 1-4 ได้ไปพบผู้ต้องหาคดียาเสพติดพร้อมด้วยของกลาง แต่กลับไม่นำตัวส่งดำเนินคดีและยังได้ปล่อยผู้ต้องหาไป อีกทั้งเมื่อจำเลยได้นำยาเสพติดของกลางกลับมาที่ กก.สส. บก.น.3 แล้ว ก็ไม่มีการทำบันทึกตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และยังไม่รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ทั้งๆ ที่มีโอกาสในการให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงาน ทั้งที่การจับกุมยาเสพติดจำนวนมากย่อมเป็นผลงานดีเด่น จึงไม่มีเหตุผลที่จะไม่รายงานผู้บังคับบัญชา และไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะต้องปล่อยผู้ต้องหาในคดียาเสพติดไป
การที่จำเลยที่ 1-4 ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป เชื่อว่าจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันก่อน หากมีใครคัดค้านเชื่อว่าคงไม่กล้ากระทำการดังกล่าว คำกล่าวอ้างของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังเพียงพอ ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น เห็นว่าจำเลยที่ 1-4 ไม่มีเจตนานำยาเสพติดของกลางมาทำการบันทึกจับกุมและรายงานต่อผู้บังคับบัญชา ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1-4 ยึดยาเสพติดไว้เพื่อประโยชน์แห่งตน ส่วนจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นพลเรือน ทำหน้าที่คอยรับใช้และทำตามจำเลยที่ 1 โดยการช่วยเหลือขับรถให้ ซึ่งการที่จำเลยที่ 1-4 จะปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือกระทำการใดๆ ไม่จำเป็นต้องปรึกษาจำเลยที่5 อีกทั้งตามบันทึกจับกุมของบช.ปส.จำเลยที่ 5 ไม่ได้เป็นผู้ร่วมออกความคิดเห็นด้วย แต่ต้องทำตามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ได้ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลยที่ 5
พิพากษาว่าจำเลยที่ 1-4 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ลงโทษประหารชีวิต แต่คำให้การของจำเลยที่ 1-4 เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ลดโทษ 1 ใน 3 คงเหลือจำคุกตลอดชีวิต และยกฟ้องจำเลยที่ 5 แต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์
วานนี้ (30 พ.ค.) ที่ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลอ่านคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1790/2555 ที่อัยการฝ่ายพิเศษฝ่ายคดีอาญา11 (มีนบุรี 1) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ร.ต.ท.เชิงชอบ ราชคม อดีตรอง สว.สส.กก.สส.บก.น.3 ด.ต.สมศักดิ์ ทิพย์รัศมีวงศ์ ผบ.หมู่ ป.สน.ประชาสำราญ จ.ส.ต.ภัทระ วรชาณินธ์ ผบ.หมู่ สน.จรเข้น้อย ส.ต.ท.นพดล พันธุ์อารีย์ ผบ.หมู่ กก.สส.บก.น.3 และนายชวลิต กำเนิดขอนแก่น จำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐาน ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
โดยโจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2555 เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. จำเลยทั้ง 5 ได้บังอาจร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) จำนวน 305,200 เม็ด และยาไอซ์ น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.น. สืบสวนพบว่าจำเลยทั้ง 5 ซึ่งเป็นตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติด บก.น.3 ดำเนินการโดยมิชอบ โดยร่วมกันตรวจยึดยาเสพติด แต่ไม่นำไปดำเนินคดีตามกฎหมาย และยังปล่อยตัวผู้ต้องหาในคดียาเสพติดไป
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.น. จึงร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.ปส. เข้าตรวจสอบและจับกุมจำเลยทั้ง 5 ก่อนนำตัวไปตรวจสอบพบยาเสพติดของกลางที่รถยนต์ของจำเลย จึงดำเนินคดีกับจำเลยทั้ง 5 คน ซึ่งเป็นตำรวจ 4 คน และพลเรือน 1 คน ในข้อหาร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ยาบ้า,ยาไอซ์) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อนนำตัวจำเลยทั้งหมดพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวน บช.ปส. ดำเนินคดี เหตุเกิดที่ กก.สส. บก.น.3 แขวง-เขตมีนบุรี กทม. โดยในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานโจทก์เบิกความเป็นลำดับสำคัญเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง โดยได้ติดตามพฤติการณ์ของจำเลยทั้ง5มาเป็นเวลานาน อีกทั้งพยานโจทก์เป็นเจ้าพนักงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัย เชื่อว่าเบิกความไปตามที่พบเห็นจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยจำเลยที่ 1-4 ได้ไปพบผู้ต้องหาคดียาเสพติดพร้อมด้วยของกลาง แต่กลับไม่นำตัวส่งดำเนินคดีและยังได้ปล่อยผู้ต้องหาไป อีกทั้งเมื่อจำเลยได้นำยาเสพติดของกลางกลับมาที่ กก.สส. บก.น.3 แล้ว ก็ไม่มีการทำบันทึกตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และยังไม่รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ทั้งๆ ที่มีโอกาสในการให้ข้อมูลแก่เจ้าพนักงาน ทั้งที่การจับกุมยาเสพติดจำนวนมากย่อมเป็นผลงานดีเด่น จึงไม่มีเหตุผลที่จะไม่รายงานผู้บังคับบัญชา และไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะต้องปล่อยผู้ต้องหาในคดียาเสพติดไป
การที่จำเลยที่ 1-4 ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป เชื่อว่าจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันก่อน หากมีใครคัดค้านเชื่อว่าคงไม่กล้ากระทำการดังกล่าว คำกล่าวอ้างของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังเพียงพอ ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น เห็นว่าจำเลยที่ 1-4 ไม่มีเจตนานำยาเสพติดของกลางมาทำการบันทึกจับกุมและรายงานต่อผู้บังคับบัญชา ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1-4 ยึดยาเสพติดไว้เพื่อประโยชน์แห่งตน ส่วนจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นพลเรือน ทำหน้าที่คอยรับใช้และทำตามจำเลยที่ 1 โดยการช่วยเหลือขับรถให้ ซึ่งการที่จำเลยที่ 1-4 จะปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือกระทำการใดๆ ไม่จำเป็นต้องปรึกษาจำเลยที่5 อีกทั้งตามบันทึกจับกุมของบช.ปส.จำเลยที่ 5 ไม่ได้เป็นผู้ร่วมออกความคิดเห็นด้วย แต่ต้องทำตามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ได้ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลยที่ 5
พิพากษาว่าจำเลยที่ 1-4 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ลงโทษประหารชีวิต แต่คำให้การของจำเลยที่ 1-4 เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ลดโทษ 1 ใน 3 คงเหลือจำคุกตลอดชีวิต และยกฟ้องจำเลยที่ 5 แต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์