ตอนเราเป็นเด็ก ผู้ใหญ่มักสอนเราว่า ถ้าสงสัยให้ถาม หลังจากที่ได้รับคำสั่งศาลในฐานะผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ว่าเป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ ผมเริ่มสงสัยว่า คำสั่งศาลที่ผมได้รับนั้นมีขอบเขตและอำนาจเพียงใด
ในฐานะผู้ต้องหาคดีชุมนุมที่สนามบินและถูกแจ้งข้อหาก่อการร้ายที่มีโทษสูงสุดประหารชีวิต พวกเราร่วม 100 คนจะได้รับคำสั่งศาลเหมือนกันดังนี้
“ห้ามจำเลยกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กระทบต่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อยของศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดิน และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล”
คำสั่งศาลนี้ถ้าจะว่าไปแล้วเป็นคำสั่งที่ทั้งฝ่ายเสื้อแดงและเสื้อเหลืองได้รับ และจะเห็นได้ว่า ศาลเปิดกว้างให้ใครก็ได้ไปร้องเพื่อระงับคำสั่งของศาลนั้นเสีย
แน่นอนครับว่า ศาลท่านใช้อำนาจตาม ป.วิอาญา มาตรา 108 วรรคท้าย ที่ว่า ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราว หรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หรือกำหนดเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยตัวชั่วคราวก็ได้
คำถามว่า ขอบเขตอำนาจของศาลตาม ป.วิอาญา มาตรา 108 วรรคท้ายนั้นมีขอบเขตอำนาจแค่ไหน สามารถใช้อำนาจล้มล้างสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้ด้วยหรือ
อย่าลืมว่า วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และวรรค 3 บัญญัติว่า ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำความผิดมิได้
มาตรา 29 วรรค 1 บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้ และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลบังคับใช้ในการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย
แน่นอนว่า กฎหมายให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจกำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสียหายหรือภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราวได้ ซึ่งปกติก็คือภยันตรายอันอาจเกิดการกระทำผิดซ้ำจากที่ถูกฟ้องนั้นอีก แต่ต้องย้ำว่า รัฐธรรมนูญก็ให้เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระแห่งสิทธิเสรีภาพนั้นมิได้
แต่ถ้าเรานำคำสั่งของศาลมาพิจารณาเราจะเห็นว่า คำสั่งของศาลนั้นได้ก้าวล่วงในสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้ เช่น มาตรา 34 (บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทาง) หรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 (บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน) มาตรา 63 (บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ) หรือไม่
แม้ว่า ทั้ง 3 มาตรานี้ กฎหมายจะมีวรรคหนึ่งเขียนให้อำนาจไว้ว่า “เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย” อย่างเช่น วรรค 2 ของมาตรา 45 เขียนว่า การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศชื่อเสียง...ฯลฯ
การจำกัดเสรีภาพอาจมีได้โดยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญสงวนไว้ในบทคุ้มครองเสรีภาพแต่ละมาตราก็จริงครับ แต่ขอบเขตมันอยู่ตรงไหน
ผมยกตัวอย่างคล้ายๆ กับม็อบเสธ.อ้าย ผู้ชุมนุมและผู้จัดการชุมนุม ประกาศการชุมนุมโดยเปิดเผยบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ถึงเวลารัฐบาลระดมตำรวจมาหลายหมื่นคนปิดล้อมการเข้าพื้นที่ชุมนุมทุกด้านจนเกิดการปะทะกันขึ้น อันนี้จะถูกศาลตีความว่า ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองหรือไม่ ถ้าคนเหล่านั้นมีคำสั่งศาลกำกับเอาไว้
และเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐหรือตำรวจกระทำการขัดขวางการเข้าร่วมชุมนุมตามสิทธิเสรีภาพจนเกิดการปะทะกันขึ้นเป็นเหตุวุ่นวาย ตำรวจก็จะแจ้งความดำเนินคดีแล้วเอาเหตุแห่งคดีไปร้องต่อศาลเพื่อให้ถอนประกันก็ได้ใช่หรือไม่
หรือการชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลเข้าข่ายเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดมหรือไม่ แม้ว่าถ้าตีความคำสั่งศาลกว้างๆ จะเห็นว่า ศาลไม่ได้ห้ามการชุมนุม แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่า การชุมนุมโดยธรรมชาติของมันจะต้องมีการปราศรัย ปลุกเร้า ปลุกระดม ปิดถนน แล้วขอบเขตของการปราศรัยอย่างไรเล่าที่จะไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามที่ศาลได้มีคำสั่งเอาไว้ เช่นว่า เราปลุกระดมให้ประชาชนขับไล่รัฐบาลที่เราคิดว่าไม่ชอบธรรมได้หรือไม่
อันนี้แหละครับที่ผมคิดว่า อำนาจของศาลตาม ป.วิอาญา มาตรา 108 วรรคท้ายที่ต้องการป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดทำความผิดในส่วนที่ถูกกล่าวหาซ้ำระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น มันหมิ่นเหม่ต่อการก้าวล่วงเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ด้วย ทั้งๆ ที่ผู้ต้องหาทั้งหมดยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่และควรจะมีสิทธิเสรีภาพตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ถึงแม้ศาลจะใช้อำนาจตาม ป.วิอาญา มาตรา 108 แต่คำสั่งนั้นจะต้องไม่เกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ “...เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้”
ในกรณีการห้ามเดินทางออกนอกประเทศ แน่นอนว่า ศาลท่านไม่ได้ห้ามขาด แต่ต้องได้รับอนุญาตโดยในกรณีของพวกผมนั้นจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์ถึง 6 แสนบาทไปวางไว้ต่อศาล แม้ว่าโดยส่วนใหญ่ศาลจะอนุญาตเช่นที่อนุญาตทักษิณเดินทางออกนอกประเทศจนเป็นนักโทษหนีคดีและมาด่าทอกระบวนการยุติธรรมจนถึงบัดนี้ แต่ก็ได้ทำให้คุณค่าของเสรีภาพกลายเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดด้วยมูลค่าใช่หรือไม่
เงิน 6 แสนบาทอาจจะไม่มากมายสำหรับบางคน แต่บางคนแล้วมันมีมูลค่ามหาศาล แต่ถ้าถามว่าแพงไหมสำหรับคนที่มีคดีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต คำตอบไม่แพงหรอกครับสำหรับคนมีเงิน นั่นแปลว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ได้ช่วยป้องกันคนที่มีเงินทองที่คิดหลบหนีคดีได้เลย ดังนั้นการกำหนดจำนวนเงินในการขออนุญาตนอกจากไม่ช่วยให้สามารถป้องกันคนที่คิดหลบหนีคดีได้แล้ว ยังเป็นการกำหนดวงเงินที่ทำให้มนุษย์มีคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งเสรีภาพที่แตกต่างกันตามฐานะอีกด้วย
ข้าแต่ศาลที่เคารพ พวกท่านใช้อำนาจตามป.วิอาญา มาตรา 108 วรรคท้าย อิงกับอำนาจของกฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญสงวนไว้ในบทคุ้มครองเสรีภาพแต่ละมาตราก็จริงครับ แต่ท่านตีความอำนาจอย่างกว้างจนละเลยบทบัญญัติและหลักการของรัฐธรรมนูญไปหรือเปล่าครับ
ในฐานะผู้ต้องหาคดีชุมนุมที่สนามบินและถูกแจ้งข้อหาก่อการร้ายที่มีโทษสูงสุดประหารชีวิต พวกเราร่วม 100 คนจะได้รับคำสั่งศาลเหมือนกันดังนี้
“ห้ามจำเลยกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กระทบต่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อยของศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายของแผ่นดิน และห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล”
คำสั่งศาลนี้ถ้าจะว่าไปแล้วเป็นคำสั่งที่ทั้งฝ่ายเสื้อแดงและเสื้อเหลืองได้รับ และจะเห็นได้ว่า ศาลเปิดกว้างให้ใครก็ได้ไปร้องเพื่อระงับคำสั่งของศาลนั้นเสีย
แน่นอนครับว่า ศาลท่านใช้อำนาจตาม ป.วิอาญา มาตรา 108 วรรคท้าย ที่ว่า ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราว หรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หรือกำหนดเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยตัวชั่วคราวก็ได้
คำถามว่า ขอบเขตอำนาจของศาลตาม ป.วิอาญา มาตรา 108 วรรคท้ายนั้นมีขอบเขตอำนาจแค่ไหน สามารถใช้อำนาจล้มล้างสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้ด้วยหรือ
อย่าลืมว่า วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และวรรค 3 บัญญัติว่า ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำความผิดมิได้
มาตรา 29 วรรค 1 บัญญัติว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้ และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลบังคับใช้ในการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย
แน่นอนว่า กฎหมายให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจกำหนดเงื่อนไขเพื่อป้องกันความเสียหายหรือภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างปล่อยตัวชั่วคราวได้ ซึ่งปกติก็คือภยันตรายอันอาจเกิดการกระทำผิดซ้ำจากที่ถูกฟ้องนั้นอีก แต่ต้องย้ำว่า รัฐธรรมนูญก็ให้เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระแห่งสิทธิเสรีภาพนั้นมิได้
แต่ถ้าเรานำคำสั่งของศาลมาพิจารณาเราจะเห็นว่า คำสั่งของศาลนั้นได้ก้าวล่วงในสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้ เช่น มาตรา 34 (บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทาง) หรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 (บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน) มาตรา 63 (บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ) หรือไม่
แม้ว่า ทั้ง 3 มาตรานี้ กฎหมายจะมีวรรคหนึ่งเขียนให้อำนาจไว้ว่า “เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย” อย่างเช่น วรรค 2 ของมาตรา 45 เขียนว่า การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศชื่อเสียง...ฯลฯ
การจำกัดเสรีภาพอาจมีได้โดยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญสงวนไว้ในบทคุ้มครองเสรีภาพแต่ละมาตราก็จริงครับ แต่ขอบเขตมันอยู่ตรงไหน
ผมยกตัวอย่างคล้ายๆ กับม็อบเสธ.อ้าย ผู้ชุมนุมและผู้จัดการชุมนุม ประกาศการชุมนุมโดยเปิดเผยบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ถึงเวลารัฐบาลระดมตำรวจมาหลายหมื่นคนปิดล้อมการเข้าพื้นที่ชุมนุมทุกด้านจนเกิดการปะทะกันขึ้น อันนี้จะถูกศาลตีความว่า ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองหรือไม่ ถ้าคนเหล่านั้นมีคำสั่งศาลกำกับเอาไว้
และเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐหรือตำรวจกระทำการขัดขวางการเข้าร่วมชุมนุมตามสิทธิเสรีภาพจนเกิดการปะทะกันขึ้นเป็นเหตุวุ่นวาย ตำรวจก็จะแจ้งความดำเนินคดีแล้วเอาเหตุแห่งคดีไปร้องต่อศาลเพื่อให้ถอนประกันก็ได้ใช่หรือไม่
หรือการชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลเข้าข่ายเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดมหรือไม่ แม้ว่าถ้าตีความคำสั่งศาลกว้างๆ จะเห็นว่า ศาลไม่ได้ห้ามการชุมนุม แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่า การชุมนุมโดยธรรมชาติของมันจะต้องมีการปราศรัย ปลุกเร้า ปลุกระดม ปิดถนน แล้วขอบเขตของการปราศรัยอย่างไรเล่าที่จะไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามที่ศาลได้มีคำสั่งเอาไว้ เช่นว่า เราปลุกระดมให้ประชาชนขับไล่รัฐบาลที่เราคิดว่าไม่ชอบธรรมได้หรือไม่
อันนี้แหละครับที่ผมคิดว่า อำนาจของศาลตาม ป.วิอาญา มาตรา 108 วรรคท้ายที่ต้องการป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิดทำความผิดในส่วนที่ถูกกล่าวหาซ้ำระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น มันหมิ่นเหม่ต่อการก้าวล่วงเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ด้วย ทั้งๆ ที่ผู้ต้องหาทั้งหมดยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่และควรจะมีสิทธิเสรีภาพตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ถึงแม้ศาลจะใช้อำนาจตาม ป.วิอาญา มาตรา 108 แต่คำสั่งนั้นจะต้องไม่เกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ “...เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้”
ในกรณีการห้ามเดินทางออกนอกประเทศ แน่นอนว่า ศาลท่านไม่ได้ห้ามขาด แต่ต้องได้รับอนุญาตโดยในกรณีของพวกผมนั้นจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์ถึง 6 แสนบาทไปวางไว้ต่อศาล แม้ว่าโดยส่วนใหญ่ศาลจะอนุญาตเช่นที่อนุญาตทักษิณเดินทางออกนอกประเทศจนเป็นนักโทษหนีคดีและมาด่าทอกระบวนการยุติธรรมจนถึงบัดนี้ แต่ก็ได้ทำให้คุณค่าของเสรีภาพกลายเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดด้วยมูลค่าใช่หรือไม่
เงิน 6 แสนบาทอาจจะไม่มากมายสำหรับบางคน แต่บางคนแล้วมันมีมูลค่ามหาศาล แต่ถ้าถามว่าแพงไหมสำหรับคนที่มีคดีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต คำตอบไม่แพงหรอกครับสำหรับคนมีเงิน นั่นแปลว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ได้ช่วยป้องกันคนที่มีเงินทองที่คิดหลบหนีคดีได้เลย ดังนั้นการกำหนดจำนวนเงินในการขออนุญาตนอกจากไม่ช่วยให้สามารถป้องกันคนที่คิดหลบหนีคดีได้แล้ว ยังเป็นการกำหนดวงเงินที่ทำให้มนุษย์มีคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งเสรีภาพที่แตกต่างกันตามฐานะอีกด้วย
ข้าแต่ศาลที่เคารพ พวกท่านใช้อำนาจตามป.วิอาญา มาตรา 108 วรรคท้าย อิงกับอำนาจของกฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญสงวนไว้ในบทคุ้มครองเสรีภาพแต่ละมาตราก็จริงครับ แต่ท่านตีความอำนาจอย่างกว้างจนละเลยบทบัญญัติและหลักการของรัฐธรรมนูญไปหรือเปล่าครับ