ASTV ผู้จัดการรายวัน - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรรงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2556 พระยาแรกนาเสี่ยงทายได้ผ้านุ่ง 4 คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะมาก นาในที่ดอนได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจเสียหายบ้าง พระโคกินข้าวโพดและหญ้า พยากรณ์ว่าอาหารสมบูรณ์
วานนี้ (13 พ.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 08.30 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรรงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ มาถึงพลับพลาที่ประทับบริเวณมณฑลพิธีสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2556
สำหรับผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนาคือ นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวสุมาลี จำเริญ นิติกรชำนาญการ กรมปศุสัตว์ และนางสาวสุวิสาข์ เกตุอินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวพชร ลาภผล นักวิชาการประมงปฏิบัติการ กรมประมง นางสาวกาญจนา มาลัยกฤษณะชาลี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คู่เคียงมีจำนวน 16 ราย และผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย พระโคแรกนา ได้แก่ ฟ้า และ ใส พระโคสำรอง ได้แก่ มั่น และ คงเมื่อถึงฤกษ์พิธีไถหว่าน พระยาแรกนาจะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิต และพราหมณ์นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียมแอก พระยาแรกนาเจิมพระโค และไถดะไปโดยรี 3 รอบ และไถขวาง 3 รอบ เพื่อย่อยดินให้ละเอียดพร้อมหว่านเมล็ดธัญพืช พระยาแรกนาส่งพระแสงปฏักให้หัวหน้าพราหมณ์ถือไว้ เพื่อหยิบพันธุ์ข้าวเปลือกในกระบุงทองกระบุงเงินที่เทพีหาบ ตามหว่านลงในลานแรกนาพร้อมไถกลบ 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดธัญพืชลงในดินเมื่อครบแต่ละรอบพนักงานประโคมฆ้องชัยเครื่องดุริยางค์ ครั้งหว่านเสร็จพระยาแรก นารับพระแสงปฏักจากหัวหน้าพราหมณ์กลับเข้าสู่โรงพิธีพราหมณ์พร้อมด้วยเทพี
พนักงานผู้ทำหน้าที่ดูแลพระโคปลดพระโคออกจากแอกแล้วจูงพระโคทั้งคู่ไปยืนที่ขอบลานแรกนา ตรงหน้าพลับพลาที่ประทับ พราหมณ์ถือถาดวางกระทงบรรจุของ เลี้ยงพระโคเป็นการเสี่ยงทายถาดละ 7 สิ่งคือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า
โดยปีนี้พระยาแรกนาได้ตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายหยิบผ้านุ่งแต่งกาย โดยหยิบได้ผ้า 4 คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่
ส่วนการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้น ปรากฏว่า พระโคกินข้าวโพดและหญ้า ซึ่งมีคำพยากรณ์ว่า หากพระโคกิน ข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี และพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
นอกจากนี้ กรมการข้าวขอพระราชทานพันธุ์ข้าวทรงปลูกทั้งนาสวนและข้าวไร่ ที่มีคุณลักษณะและความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ จำนวน 10 พันธุ์ จำนวนทั้งสิ้น 1,417 กิโลกรัม ประกอบด้วย ข้าวนาสวน 7 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปทุมธานี 1 พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์สุพรรณบุรี 1 พันธุ์ กข47 พันธุ์ กข31 พันธุ์ กข6 พันธุ์ กข45 และ ข้าวไร่ 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ดอกพะยอม พันธุ์ซิวแม่จัน และพันธุ์ลืมผัว แจกจ่ายให้กับประชาชน และชาวนาทั่วประเทศรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพการเกษตรตามประเพณีนิยม เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์สืบไป
ทั้งนี้ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง โดยพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น
วานนี้ (13 พ.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 08.30 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรรงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ มาถึงพลับพลาที่ประทับบริเวณมณฑลพิธีสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2556
สำหรับผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนาคือ นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวสุมาลี จำเริญ นิติกรชำนาญการ กรมปศุสัตว์ และนางสาวสุวิสาข์ เกตุอินทร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กรมส่งเสริมการเกษตร เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวพชร ลาภผล นักวิชาการประมงปฏิบัติการ กรมประมง นางสาวกาญจนา มาลัยกฤษณะชาลี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คู่เคียงมีจำนวน 16 ราย และผู้เชิญเครื่องอิสริยยศ จำนวน 4 ราย พระโคแรกนา ได้แก่ ฟ้า และ ใส พระโคสำรอง ได้แก่ มั่น และ คงเมื่อถึงฤกษ์พิธีไถหว่าน พระยาแรกนาจะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิต และพราหมณ์นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายบังคมแล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียมแอก พระยาแรกนาเจิมพระโค และไถดะไปโดยรี 3 รอบ และไถขวาง 3 รอบ เพื่อย่อยดินให้ละเอียดพร้อมหว่านเมล็ดธัญพืช พระยาแรกนาส่งพระแสงปฏักให้หัวหน้าพราหมณ์ถือไว้ เพื่อหยิบพันธุ์ข้าวเปลือกในกระบุงทองกระบุงเงินที่เทพีหาบ ตามหว่านลงในลานแรกนาพร้อมไถกลบ 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดธัญพืชลงในดินเมื่อครบแต่ละรอบพนักงานประโคมฆ้องชัยเครื่องดุริยางค์ ครั้งหว่านเสร็จพระยาแรก นารับพระแสงปฏักจากหัวหน้าพราหมณ์กลับเข้าสู่โรงพิธีพราหมณ์พร้อมด้วยเทพี
พนักงานผู้ทำหน้าที่ดูแลพระโคปลดพระโคออกจากแอกแล้วจูงพระโคทั้งคู่ไปยืนที่ขอบลานแรกนา ตรงหน้าพลับพลาที่ประทับ พราหมณ์ถือถาดวางกระทงบรรจุของ เลี้ยงพระโคเป็นการเสี่ยงทายถาดละ 7 สิ่งคือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า
โดยปีนี้พระยาแรกนาได้ตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายหยิบผ้านุ่งแต่งกาย โดยหยิบได้ผ้า 4 คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่
ส่วนการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้น ปรากฏว่า พระโคกินข้าวโพดและหญ้า ซึ่งมีคำพยากรณ์ว่า หากพระโคกิน ข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี และพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
นอกจากนี้ กรมการข้าวขอพระราชทานพันธุ์ข้าวทรงปลูกทั้งนาสวนและข้าวไร่ ที่มีคุณลักษณะและความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ จำนวน 10 พันธุ์ จำนวนทั้งสิ้น 1,417 กิโลกรัม ประกอบด้วย ข้าวนาสวน 7 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปทุมธานี 1 พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์สุพรรณบุรี 1 พันธุ์ กข47 พันธุ์ กข31 พันธุ์ กข6 พันธุ์ กข45 และ ข้าวไร่ 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ดอกพะยอม พันธุ์ซิวแม่จัน และพันธุ์ลืมผัว แจกจ่ายให้กับประชาชน และชาวนาทั่วประเทศรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพการเกษตรตามประเพณีนิยม เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์สืบไป
ทั้งนี้ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง โดยพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น