หุ้นไทยร่วง 8.67 จุด เกิดแรงเทขายเทขายกลุ่มรับเหมา หลังศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินคำฟ้องแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 3.5 แสนล้านบาท อีกทั้งมีข่าวลือปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ โบรกฯมองทางเทคนิคผ่าน1,600 จุดยาก คาดปรับตัวลงต่อ ส่วนภาพรวม 4 เดือน สถาบันซื้อสุทธิสะสมมากสุด 3.8 หมื่นล้านบาท เม.ย.ต่างชาติขายเกือบ2หมื่นล้าน
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย วานนี้ (2พ.ค.) ดัชนีปิดที่ระดับ 1,589.19 จุด ลดลง 8.67 จุด หรือ -0.54% มูลค่าการซื้อขาย 56,862.08 ล้านบาท ภาพรวมดัชนีปรับตัวลงในแดนลบ หลังนายวีรพงษ์ รามางกูร (ดร.โกร่ง) ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมแถลงเรื่องมาตรการดูแลค่าเงินบาท ท่ามกลางกระแสข่าวถึงการปลดนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ขณะเดียวกัน มีแรงเทขายหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างจากความกังวลศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินคำฟ้องแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 3.5 แสนล้านบาท
โดยระหว่างวันดัชนี ขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 1,603.01 จุด และต่ำสุดที่1,588.04 จุด ซึ่งหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 249 หลักทรัพย์ ลดลง 423 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 126 หลักทรัพย์
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ CPALLมูลค่าการซื้อขาย 5,446.95 ล้านบาท ปิดที่ 41.50 บาท ลดลง 2.50 บาท INTUCH มูลค่าการซื้อขาย 3,493.35 ล้านบาท ปิดที่ 86.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,689.21 ล้านบาท ปิดที่ 327.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท ADVANC มูลค่าการซื้อขาย 1,685.99 ล้านบาท ปิดที่ 267.00 บาท ลดลง 3.00 บาท และ JAS มูลค่าการซื้อขาย 1,530.97 ล้านบาท ปิดที่ 8.40 บาท เพิ่มขึ้น 0.15 บาท
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบช่วงเช้า จากนั้นช่วงบ่ายมีแรงเทขายหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างออกมา เนื่องจากความกังวลศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินกรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนยื่นฟ้องขอให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเพิกถอนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มูลค่า 3.5 แสนล้านบาท และขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวให้ยุติการยื่นซองประมูลในวันที่ 3 พ.ค.ด้วย ขณะที่ตลาดภูมิภาคอยู่ในลักษณะแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง มีเฉพาะตลาดไต้หวัน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ที่สามารถปรับตัวบวกได้
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ (3 พ.ค.) คาดว่าดัชนียังมีแนวโน้มแกว่งตัวลงได้อีก เนื่องจากปัจจุบันตลาดหุ้นยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆเข้ามา ในขณะเดียวกันต้องระวังเรื่องของ Sell on fact ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางยุโรป(ECB)จะมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% โดยตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นมารองรับกับข่าวนี้ไปแล้ว จึงให้กรอบแกว่งตัวของดัชนีไว้ที่ แนวรับ 1,575 จุด และแนวต้าน 1,600-1,605 จุด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง ระบุว่า ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ แต่ข่าวลือดังกล่าวค่อนข้างแพร่สะพัดในห้องค้าอย่างมาก โดยมองว่าหากมีการปลดผู้ว่าฯ ธปท.จริง ก็จะลดความน่าเชื่อถือในการทำงานของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ เชื่อว่าอาจจะเป็นเพียงข่าวลือ เพราะการจะปลดผู้ว่าฯ ธปท. ย่อมต้องใช้การตัดสินของคณะกรรมการ ธปท.ไม่ใช่การตัดสินใจของรัฐบาล หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
ส่วนภาพรวมการเคลื่อนไหวมองว่า หลังจากดัชนีปรับตัวขึ้นไปแตะจุดสูงสุด 1,603.01 จุดได้แล้ว ก็เกิดแรงขายทางจิตวิทยาออกมา กดดันให้ตลาดปรับตัวลดลง ประกอบกับนังลงทุนยังคงกังวลกับมาตรการที่อาจจะออกมาแทรกแซงค่าเงินบาท จึงทำให้การซื้อขายไม่ดีนัก ทำให้คาดว่าดัชนีหุ้นไทย จะแกว่งตัวในกรอบแนวรับ 1,575 จุด และแนวต้านที่ระดับ 1,595 จุด โดยแนะนำให้นักลงทุนเลือกหุ้นกลุ่มพลังงานทดแทนที่ต้านตลาดช่วงขาลงได้
**ภาพรวม4เดือน สถาบันซื้อ3.8หมื่นล.
สำหรับ ภาพรวมตลาดหุ้นไทย 1ม.ค. - 30 เม.ย. 2556 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,597.86 จุด ตั้งแต่ต้นปีปรับตัวเพิ่มขึ้น13.87% มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 13,649,631.54 ล้านบาท สัดส่วนการซื้อสุทธิตั้งแต่วันที่ 1ม.ค. พบว่า มีเพียงสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 38,248.85 ล้านบาท โดยนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 20,830.02 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 15,944.90ล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ขายสุทธิ 1,473.94 ล้านบาท
ขณะที่ภาพรวมการซื้อขายสุทธิเฉพาะเดือนเม.ย. พบว่า มีเพียงนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 19,839.32 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 13,161.12 ล้านบาท สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 6,263.45ล้านบาท พอร์ตโบรกกเอร์ซื้อสุทธิ 414.75 ล้านบาท
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย วานนี้ (2พ.ค.) ดัชนีปิดที่ระดับ 1,589.19 จุด ลดลง 8.67 จุด หรือ -0.54% มูลค่าการซื้อขาย 56,862.08 ล้านบาท ภาพรวมดัชนีปรับตัวลงในแดนลบ หลังนายวีรพงษ์ รามางกูร (ดร.โกร่ง) ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมแถลงเรื่องมาตรการดูแลค่าเงินบาท ท่ามกลางกระแสข่าวถึงการปลดนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ขณะเดียวกัน มีแรงเทขายหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างจากความกังวลศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินคำฟ้องแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 3.5 แสนล้านบาท
โดยระหว่างวันดัชนี ขยับขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 1,603.01 จุด และต่ำสุดที่1,588.04 จุด ซึ่งหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 249 หลักทรัพย์ ลดลง 423 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 126 หลักทรัพย์
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ CPALLมูลค่าการซื้อขาย 5,446.95 ล้านบาท ปิดที่ 41.50 บาท ลดลง 2.50 บาท INTUCH มูลค่าการซื้อขาย 3,493.35 ล้านบาท ปิดที่ 86.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 1,689.21 ล้านบาท ปิดที่ 327.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท ADVANC มูลค่าการซื้อขาย 1,685.99 ล้านบาท ปิดที่ 267.00 บาท ลดลง 3.00 บาท และ JAS มูลค่าการซื้อขาย 1,530.97 ล้านบาท ปิดที่ 8.40 บาท เพิ่มขึ้น 0.15 บาท
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบช่วงเช้า จากนั้นช่วงบ่ายมีแรงเทขายหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างออกมา เนื่องจากความกังวลศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินกรณีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนยื่นฟ้องขอให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเพิกถอนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มูลค่า 3.5 แสนล้านบาท และขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวให้ยุติการยื่นซองประมูลในวันที่ 3 พ.ค.ด้วย ขณะที่ตลาดภูมิภาคอยู่ในลักษณะแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง มีเฉพาะตลาดไต้หวัน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ที่สามารถปรับตัวบวกได้
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ (3 พ.ค.) คาดว่าดัชนียังมีแนวโน้มแกว่งตัวลงได้อีก เนื่องจากปัจจุบันตลาดหุ้นยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆเข้ามา ในขณะเดียวกันต้องระวังเรื่องของ Sell on fact ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางยุโรป(ECB)จะมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% โดยตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นมารองรับกับข่าวนี้ไปแล้ว จึงให้กรอบแกว่งตัวของดัชนีไว้ที่ แนวรับ 1,575 จุด และแนวต้าน 1,600-1,605 จุด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง ระบุว่า ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ แต่ข่าวลือดังกล่าวค่อนข้างแพร่สะพัดในห้องค้าอย่างมาก โดยมองว่าหากมีการปลดผู้ว่าฯ ธปท.จริง ก็จะลดความน่าเชื่อถือในการทำงานของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ เชื่อว่าอาจจะเป็นเพียงข่าวลือ เพราะการจะปลดผู้ว่าฯ ธปท. ย่อมต้องใช้การตัดสินของคณะกรรมการ ธปท.ไม่ใช่การตัดสินใจของรัฐบาล หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
ส่วนภาพรวมการเคลื่อนไหวมองว่า หลังจากดัชนีปรับตัวขึ้นไปแตะจุดสูงสุด 1,603.01 จุดได้แล้ว ก็เกิดแรงขายทางจิตวิทยาออกมา กดดันให้ตลาดปรับตัวลดลง ประกอบกับนังลงทุนยังคงกังวลกับมาตรการที่อาจจะออกมาแทรกแซงค่าเงินบาท จึงทำให้การซื้อขายไม่ดีนัก ทำให้คาดว่าดัชนีหุ้นไทย จะแกว่งตัวในกรอบแนวรับ 1,575 จุด และแนวต้านที่ระดับ 1,595 จุด โดยแนะนำให้นักลงทุนเลือกหุ้นกลุ่มพลังงานทดแทนที่ต้านตลาดช่วงขาลงได้
**ภาพรวม4เดือน สถาบันซื้อ3.8หมื่นล.
สำหรับ ภาพรวมตลาดหุ้นไทย 1ม.ค. - 30 เม.ย. 2556 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,597.86 จุด ตั้งแต่ต้นปีปรับตัวเพิ่มขึ้น13.87% มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 13,649,631.54 ล้านบาท สัดส่วนการซื้อสุทธิตั้งแต่วันที่ 1ม.ค. พบว่า มีเพียงสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 38,248.85 ล้านบาท โดยนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 20,830.02 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 15,944.90ล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ขายสุทธิ 1,473.94 ล้านบาท
ขณะที่ภาพรวมการซื้อขายสุทธิเฉพาะเดือนเม.ย. พบว่า มีเพียงนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 19,839.32 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 13,161.12 ล้านบาท สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 6,263.45ล้านบาท พอร์ตโบรกกเอร์ซื้อสุทธิ 414.75 ล้านบาท