เอเจนซีส์ – จีนเบียดอังกฤษขึ้นตำแหน่งผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของแดนมังกรนับจากสงครามเย็น ขณะที่อันดับ 1 และ 2 เป็นของสหรัฐฯและรัสเซีย ทั้งนี้ตามการศึกษาของสถาบันคลังสมองในสวีเดน
รายงานแนวโน้มการเคลื่อนย้ายอาวุธระหว่างประเทศ (Trends in International Arms Transfers) ฉบับล่าสุด ของสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสต็อกโฮล์ม (SIPRI) ที่เผยแพร่ออกมาในวันจันทร์ (18) ระบุว่า นับเป็นครั้งแรกที่อังกฤษไม่ติด 1 ใน 5 ซัปพลายเออร์อาวุธใหญ่สุดของโลกตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา
ในทางกลับกัน นี่เป็นครั้งแรกนับแต่รอบการเก็บข้อมูลช่วงปี 1986-1992 ของสถาบันคลังสมองสวีเดนแห่งนี้ ที่จีนกลับมาติดท็อป 5 โดยยอดส่งออกอาวุธของแดนมังกรในรอบการเก็บข้อมูลล่าสุด ซึ่งก็คือระหว่างปี 2008-2012 เพิ่มขึ้นถึง 162% เทียบกับช่วง 5 ปีก่อนหน้า ขณะที่การขายอาวุธทั่วโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเพียง 17%
รายงานของ SIPRI ยังแจกแจงว่า อาวุธที่จีนส่งออก 55% มีจุดหมายปลายทางไปยังปากีสถาน พันธมิตรหลักของปักกิ่งในเอเชียใต้ แต่นอกจากนี้แล้ว ลูกค้าซึ่งซื้ออาวุธจากแดนมังกรยังประกอบด้วยพม่า บังกลาเทศ โมร็อกโก และเวเนซุเอลา โดยที่ส่วนแบ่งตลาดอาวุธทั่วโลกโดยรวมของจีนได้เพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 5%
พอล ฮอลทอม ผู้อำนวยการโครงการการเคลื่อนย้ายอาวุธของ SIPRI แถลงว่า จากข้อตกลงจำนวนหนึ่งในช่วงหลังๆ นี้ บ่งชี้ว่าจีนกำลังผลักดันตัวเองเป็นซัปพลายเออร์อาวุธรายใหญ่สำหรับพวกประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญ โดยที่พวกประเทศซึ่งนำเข้าอาวุธจีนนี้ก็กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ทางการจีนเองไม่เปิดเผยยอดขายอาวุธอย่างเป็นทางการของตน แต่ หง เหล่ย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงในวันจันทร์ (18) ว่า แดนมังกรเป็นผู้ส่งออกอาวุธที่มีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ
เขาแจกแจงว่า จีนยึดหลักการ 3 ประการในเรื่องการส่งออกอาวุธ ได้แก่ ประการแรก อาวุธเหล่านี้ต้องนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันอย่างถูกกฎหมาย ประการที่สอง ต้องไม่เป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของภูมิภาคและของโลก และประการที่สาม ต้องไม่กลายเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆ
สำหรับประเทศที่เป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกนั้น รายงานฉบับนี้ของ SIPRI ระบุว่า อันดับ 1 ยังคงเป็นสหรัฐฯ อันดับ 2 เป็นรัสเซีย โดยครองส่วนแบ่งตลาด 30% และ 26% ตามลำดับ จากนั้นจึงเป็นเยอรมนีและฝรั่งเศส
รายงานเสริมว่า ประเทศยุโรปบางแห่งที่เผชิญปัญหาความยากลำบากทางเศรษฐกิจ กำลังมีความพยายามอย่างมากที่จะนำเครื่องบินรบที่เพิ่งซื้อมาไม่นานออกขายต่อเพื่อลดค่าใช้จ่าย เป็นต้นว่า โปรตุเกสและสเปนซึ่งกำลังมองผู้ที่จะซื้อต่อเครื่องบินเอฟ F-16 และยูโรไฟเตอร์ ของพวกตนตามลำดับ
ผิดกับประเทศในเอเชียตะวันออกที่ขวนขวายเสริมแสนยานุภาพทางทะเลท่ามกลางข้อพิพาทด้านดินแดน ทั้งนี้รายงานสำทับว่า ผู้นำเข้าอาวุธตามแบบแผน (conventional weapons นั่นคืออาวุธที่มิใช่อาวุธนิวเคลียร์)รายใหญ่ที่สุด5 อันดับแรกของโลกในรอบนี้อยู่ในเอเชียทั้งสิ้น โดยมีอินเดียเป็นอันดับ 1 ติดตามด้วย จีน, ปากีสถาน, เกาหลีใต้, และสิงคโปร์
พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า หลังจากที่จีนเพิ่มงบประมาณการทหารและมีเม็ดเงินอัดฉีดพวกบริษัทในท้องถิ่นที่ทำสัญญาทางด้านกลาโหมกับรัฐบาลมาเป็นเวลานับสิบปี เวลานี้อาวุธยุทโธปกรณ์เมดอินไชน่ามีสมรรถนะเทียบเท่าอาวุธที่ผลิตในรัสเซียและตะวันตกบางชาติแล้ว แม้ว่าข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอาวุธจีนยังคงหาได้ยากเย็นแสนเข็ญก็ตาม
รายงานแนวโน้มการเคลื่อนย้ายอาวุธระหว่างประเทศ (Trends in International Arms Transfers) ฉบับล่าสุด ของสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสต็อกโฮล์ม (SIPRI) ที่เผยแพร่ออกมาในวันจันทร์ (18) ระบุว่า นับเป็นครั้งแรกที่อังกฤษไม่ติด 1 ใน 5 ซัปพลายเออร์อาวุธใหญ่สุดของโลกตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา
ในทางกลับกัน นี่เป็นครั้งแรกนับแต่รอบการเก็บข้อมูลช่วงปี 1986-1992 ของสถาบันคลังสมองสวีเดนแห่งนี้ ที่จีนกลับมาติดท็อป 5 โดยยอดส่งออกอาวุธของแดนมังกรในรอบการเก็บข้อมูลล่าสุด ซึ่งก็คือระหว่างปี 2008-2012 เพิ่มขึ้นถึง 162% เทียบกับช่วง 5 ปีก่อนหน้า ขณะที่การขายอาวุธทั่วโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเพียง 17%
รายงานของ SIPRI ยังแจกแจงว่า อาวุธที่จีนส่งออก 55% มีจุดหมายปลายทางไปยังปากีสถาน พันธมิตรหลักของปักกิ่งในเอเชียใต้ แต่นอกจากนี้แล้ว ลูกค้าซึ่งซื้ออาวุธจากแดนมังกรยังประกอบด้วยพม่า บังกลาเทศ โมร็อกโก และเวเนซุเอลา โดยที่ส่วนแบ่งตลาดอาวุธทั่วโลกโดยรวมของจีนได้เพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 5%
พอล ฮอลทอม ผู้อำนวยการโครงการการเคลื่อนย้ายอาวุธของ SIPRI แถลงว่า จากข้อตกลงจำนวนหนึ่งในช่วงหลังๆ นี้ บ่งชี้ว่าจีนกำลังผลักดันตัวเองเป็นซัปพลายเออร์อาวุธรายใหญ่สำหรับพวกประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญ โดยที่พวกประเทศซึ่งนำเข้าอาวุธจีนนี้ก็กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ทางการจีนเองไม่เปิดเผยยอดขายอาวุธอย่างเป็นทางการของตน แต่ หง เหล่ย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงในวันจันทร์ (18) ว่า แดนมังกรเป็นผู้ส่งออกอาวุธที่มีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ
เขาแจกแจงว่า จีนยึดหลักการ 3 ประการในเรื่องการส่งออกอาวุธ ได้แก่ ประการแรก อาวุธเหล่านี้ต้องนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันอย่างถูกกฎหมาย ประการที่สอง ต้องไม่เป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของภูมิภาคและของโลก และประการที่สาม ต้องไม่กลายเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆ
สำหรับประเทศที่เป็นผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกนั้น รายงานฉบับนี้ของ SIPRI ระบุว่า อันดับ 1 ยังคงเป็นสหรัฐฯ อันดับ 2 เป็นรัสเซีย โดยครองส่วนแบ่งตลาด 30% และ 26% ตามลำดับ จากนั้นจึงเป็นเยอรมนีและฝรั่งเศส
รายงานเสริมว่า ประเทศยุโรปบางแห่งที่เผชิญปัญหาความยากลำบากทางเศรษฐกิจ กำลังมีความพยายามอย่างมากที่จะนำเครื่องบินรบที่เพิ่งซื้อมาไม่นานออกขายต่อเพื่อลดค่าใช้จ่าย เป็นต้นว่า โปรตุเกสและสเปนซึ่งกำลังมองผู้ที่จะซื้อต่อเครื่องบินเอฟ F-16 และยูโรไฟเตอร์ ของพวกตนตามลำดับ
ผิดกับประเทศในเอเชียตะวันออกที่ขวนขวายเสริมแสนยานุภาพทางทะเลท่ามกลางข้อพิพาทด้านดินแดน ทั้งนี้รายงานสำทับว่า ผู้นำเข้าอาวุธตามแบบแผน (conventional weapons นั่นคืออาวุธที่มิใช่อาวุธนิวเคลียร์)รายใหญ่ที่สุด5 อันดับแรกของโลกในรอบนี้อยู่ในเอเชียทั้งสิ้น โดยมีอินเดียเป็นอันดับ 1 ติดตามด้วย จีน, ปากีสถาน, เกาหลีใต้, และสิงคโปร์
พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า หลังจากที่จีนเพิ่มงบประมาณการทหารและมีเม็ดเงินอัดฉีดพวกบริษัทในท้องถิ่นที่ทำสัญญาทางด้านกลาโหมกับรัฐบาลมาเป็นเวลานับสิบปี เวลานี้อาวุธยุทโธปกรณ์เมดอินไชน่ามีสมรรถนะเทียบเท่าอาวุธที่ผลิตในรัสเซียและตะวันตกบางชาติแล้ว แม้ว่าข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอาวุธจีนยังคงหาได้ยากเย็นแสนเข็ญก็ตาม