"ส.ว.ไพบูลย์" จี้นายกฯ-กต. ทำหนังสือร้องเลขาฯยูเอ็น ขอความเป็นธรรมการทำหน้าที่ศาลโลก พ่วงขยายผลบังคับคดีที่ตัดสินยกปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา หวั่นไทยเสียเปรียบ
ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (19 ก.พ.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ผ่านไปถึงนายกรัฐมนตรีว่า จากกรณีคดีปราสาทพระวิหาร ตามที่รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศ มีท่าทียอมรับว่า ศาลโลกมีอำนาจที่จะตีความคดีนี้ ตามมาตรา 60 ของธรรมนูญศาลโลก โดยรัฐบาลไม่คิดจะมีการต่อสู้ประเด็นนี้อย่างจริงจัง ถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะการตีความเป็นเจตจำนงที่จะให้มีผลบังคับคดี ต้องมีเวลาสิ้นสุดที่เหมาะสม หรือตามหลักสากล จะมีผลบังคับคดีภายในไม่เกิน10 ปี
ดังนั้น รัฐบาลต้องต่อสู้ในประเด็นนี้ โดยทำหนังสือร้องเรียนไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อขอให้ตรวจสอบศาลโลก โดยอ้างอิงหนังสือที่ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2505 ตามที่รัฐบาลได้มีหนังสือไปยังเลขาธิการสหประชาชาติในสมัยนั้นโดยแจ้งว่า
“ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีที่รัฐบาลไทยมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของไทยตามข้อ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ และได้ตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลโลก ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา และขอให้เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น แจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ให้แก่สมาชิกสหประชาชาติทราบโดยทั่วกัน" ซึ่งประเทศกัมพูชาก็ได้รับเช่นกัน แต่กัมพูชา ก็ไม่เคยทักท้วงแต่อย่างใด มีแต่ขอให้ทูตวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ขอให้ทูตไทย เจรจาถอนคำสงวนสิทธิ ที่จะเอาปราสาทพระวิหารคืนเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อประเทศกัมพูชาร้องคดีมายังยังศาลโลกอีกครั้ง ให้ตีความ ก็เป็นการขยายผลบังคับคดี ฝ่ายไทยจึงต้องทำหนังสือไปยังเลขาธิการสหประชาชาติทราบ เพื่อให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของศาลโลก ว่าทำหน้าที่เป็นธรรมกับประเทศไทยหรือไม่ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นคดีมานานกว่า 50 ปี ถ้าศาลโลกตัดสินมาอีกครั้งหนึ่งว่า ประเทศไทยไม่ขยายผลของการบังคับคดี จะกลายเป็นว่า ไทยไม่ได้ปฏิบัติตามครบถ้วน แต่ถ้าเราร้องเรียนไปยังสหประชาชาติไว้ก่อน เป็นการขอความเป็นธรรม และให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของศาลโลก จะถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และสุดท้ายขอให้ประธาน ประชาชนตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาล ว่าได้ละเว้นไม่ดำเนินการอย่างเต็มที่หรือไม่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของชาติ.
ในการประชุมวุฒิสภาเมื่อวานนี้ (19 ก.พ.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ผ่านไปถึงนายกรัฐมนตรีว่า จากกรณีคดีปราสาทพระวิหาร ตามที่รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศ มีท่าทียอมรับว่า ศาลโลกมีอำนาจที่จะตีความคดีนี้ ตามมาตรา 60 ของธรรมนูญศาลโลก โดยรัฐบาลไม่คิดจะมีการต่อสู้ประเด็นนี้อย่างจริงจัง ถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะการตีความเป็นเจตจำนงที่จะให้มีผลบังคับคดี ต้องมีเวลาสิ้นสุดที่เหมาะสม หรือตามหลักสากล จะมีผลบังคับคดีภายในไม่เกิน10 ปี
ดังนั้น รัฐบาลต้องต่อสู้ในประเด็นนี้ โดยทำหนังสือร้องเรียนไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อขอให้ตรวจสอบศาลโลก โดยอ้างอิงหนังสือที่ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2505 ตามที่รัฐบาลได้มีหนังสือไปยังเลขาธิการสหประชาชาติในสมัยนั้นโดยแจ้งว่า
“ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีที่รัฐบาลไทยมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของไทยตามข้อ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ และได้ตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลโลก ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของประเทศกัมพูชา และขอให้เลขาธิการสหประชาชาติในขณะนั้น แจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ให้แก่สมาชิกสหประชาชาติทราบโดยทั่วกัน" ซึ่งประเทศกัมพูชาก็ได้รับเช่นกัน แต่กัมพูชา ก็ไม่เคยทักท้วงแต่อย่างใด มีแต่ขอให้ทูตวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ขอให้ทูตไทย เจรจาถอนคำสงวนสิทธิ ที่จะเอาปราสาทพระวิหารคืนเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อประเทศกัมพูชาร้องคดีมายังยังศาลโลกอีกครั้ง ให้ตีความ ก็เป็นการขยายผลบังคับคดี ฝ่ายไทยจึงต้องทำหนังสือไปยังเลขาธิการสหประชาชาติทราบ เพื่อให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของศาลโลก ว่าทำหน้าที่เป็นธรรมกับประเทศไทยหรือไม่ เนื่องจากเรื่องนี้เป็นคดีมานานกว่า 50 ปี ถ้าศาลโลกตัดสินมาอีกครั้งหนึ่งว่า ประเทศไทยไม่ขยายผลของการบังคับคดี จะกลายเป็นว่า ไทยไม่ได้ปฏิบัติตามครบถ้วน แต่ถ้าเราร้องเรียนไปยังสหประชาชาติไว้ก่อน เป็นการขอความเป็นธรรม และให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของศาลโลก จะถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และสุดท้ายขอให้ประธาน ประชาชนตรวจสอบการทำหน้าที่ของรัฐบาล ว่าได้ละเว้นไม่ดำเนินการอย่างเต็มที่หรือไม่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของชาติ.