ASTVผู้จัดการรายวัน-ส.ว. ยกกฎหมายอาญา ม.119 เตือนรัฐบาล กระทำการให้ดินแดนไทยตกให้ต่างประเทศ โทษประหารชีวิต-จำคุก ชี้ช่องประชาชนฟ้องผู้ตรวจฯ-ป.ป.ช.ได้ แนะให้รัดกุมคดีปราสาทพระวิหาร ขณะที่'ธรรมยาตราฯ' นัดชุมนุมใหญ่ 23 ก.พ.ค้านอำนาจศาลโลก
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (18ก.พ.) ช่วงก่อนเข้าสู่การพิจารณาระเบียบวาระ นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ได้หารือต่อที่ประชุมกรณีคดีปราสาทพระวิหาร ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 ที่ระบุว่า ผู้ใดกระทำการใดๆ ให้ราชอาณาจักร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ในอำนาจอธิปไตยต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
ดังนั้น เรื่องพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) กำลังจะมีการตัดสินในปลายปีนี้ การเคลื่อนไหวใดของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงต่างประเทศ (กต.) ฝ่ายความมั่นคง ต้องระมัดระวัง และรอบคอบรัดกุมเป็นพิเศษ เพราะกฎหมายได้กำหนดโทษไว้เพียง 2 สถานเท่านั้น
นายสาย กล่าวว่า กต. เผยแพร่เอกสาร “50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร” ซึ่งมีหลายฝ่ายออกมาทักท้วง ไม่ว่าจะเป็น นายสมปอง สุจริตกุล อดีตทนายความผู้ประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร หรือ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ว่า จะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบหรือไม่ในการต่อสู้คดี ดังนั้นตนก็อยากจะฝากว่า ประชาชนผู้มีสิทธิป้องกันประเทศ สามารถจะร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้พิจารณาว่าเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดความเสียหาย
**ศาลนัดคดี"สุรพงษ์"ฟ้องหมิ่น"ชวนนท์"
วานนี้ ที่ศาลอาญา รัชดาฯ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมาศาลอาญา เพื่อตรวจพยานหลักฐานในคดีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายชวนนท์ กับพวกรวม 6 ราย ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
จากกรณีระหว่างวันที่ 24-25 ก.ย. 54 นายชวนนท์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า โจทก์ซึ่งเป็น รมว.ต่างประเทศ มีคำสั่งให้ นายอัษฎา ชัยนาม ออกจากประธานเจบีซี และให้นายวีรชัย พลาศรัย ออกจากกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ประเทศกัมพูชา
ทนายโจทก์แถลงต่อศาลว่า ขอนำพยานเข้าสืบจำนวน 5 ปาก ใช้เวลา 2 นัด ส่วนทนายจำเลย แถลงต่อศาลขอให้พยานเข้าสืบต่อสู้จำนวน 3 ปาก ใช้เวลา 1 นัด โดยนัดสืบพยานโจทก์ปากแรก ในวันที่ 11 ก.พ. 57
ด้านนายชวนนท์ กล่าวว่า คดีนี้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2-6 ที่เป็นสื่อมวลชนไปแล้ว และก่อนหน้านี้ เคยมีการไกล่เกลี่ย แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากตนยืนยันว่า วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต ไม่ใช่เป็นการใส่ร้าย แต่ได้ใช้ประสบการณ์ที่เคยทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ มาพูด และยินดีที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์
***'ธรรมยาตราฯ' นัดชุมนุมค้านศาลโลก
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ กลุ่มธรรมยาตรา จะร่วมกับกลุ่มรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้ ตะวันออก และกองทัพปลดแอกประชาชน ชุมนุมใหญ่บริเวณศาลหลักเมือง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ รวมทั้งล่ารายชื่อเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลโลก ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อกฎหมายระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะยื่นได้ภายในเดือนเมษายนนี้
ขณะเดียวกัน เตรียมออกแถลงการณ์คัดค้านกรณีที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อ้างว่าเตรียมเอกสารกว่า 1,600 หน้า เข้าให้ถ้อยแถลงต่อศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายนนี้ โดยจะยึดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี 1904 และ 1907 ในการต่อสู้
นายสมาน ศรีงาม แกนนำกลุ่มธรรมยาตรา ระบุว่า หากรัฐบาลยังคงใช้สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เพื่อต่อสู้ อาจทำให้สูญเสียดินแดนเหมือนเช่นอดีตที่ไทยสูญเสียจังหวัดพระตะบอง ให้แก่ประเทศกัมพูชา
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (18ก.พ.) ช่วงก่อนเข้าสู่การพิจารณาระเบียบวาระ นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ได้หารือต่อที่ประชุมกรณีคดีปราสาทพระวิหาร ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 ที่ระบุว่า ผู้ใดกระทำการใดๆ ให้ราชอาณาจักร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ในอำนาจอธิปไตยต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
ดังนั้น เรื่องพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) กำลังจะมีการตัดสินในปลายปีนี้ การเคลื่อนไหวใดของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงต่างประเทศ (กต.) ฝ่ายความมั่นคง ต้องระมัดระวัง และรอบคอบรัดกุมเป็นพิเศษ เพราะกฎหมายได้กำหนดโทษไว้เพียง 2 สถานเท่านั้น
นายสาย กล่าวว่า กต. เผยแพร่เอกสาร “50 ปี 50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร” ซึ่งมีหลายฝ่ายออกมาทักท้วง ไม่ว่าจะเป็น นายสมปอง สุจริตกุล อดีตทนายความผู้ประสานงานคดีปราสาทพระวิหาร หรือ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ว่า จะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบหรือไม่ในการต่อสู้คดี ดังนั้นตนก็อยากจะฝากว่า ประชาชนผู้มีสิทธิป้องกันประเทศ สามารถจะร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้พิจารณาว่าเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดความเสียหาย
**ศาลนัดคดี"สุรพงษ์"ฟ้องหมิ่น"ชวนนท์"
วานนี้ ที่ศาลอาญา รัชดาฯ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมาศาลอาญา เพื่อตรวจพยานหลักฐานในคดีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายชวนนท์ กับพวกรวม 6 ราย ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
จากกรณีระหว่างวันที่ 24-25 ก.ย. 54 นายชวนนท์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า โจทก์ซึ่งเป็น รมว.ต่างประเทศ มีคำสั่งให้ นายอัษฎา ชัยนาม ออกจากประธานเจบีซี และให้นายวีรชัย พลาศรัย ออกจากกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ประเทศกัมพูชา
ทนายโจทก์แถลงต่อศาลว่า ขอนำพยานเข้าสืบจำนวน 5 ปาก ใช้เวลา 2 นัด ส่วนทนายจำเลย แถลงต่อศาลขอให้พยานเข้าสืบต่อสู้จำนวน 3 ปาก ใช้เวลา 1 นัด โดยนัดสืบพยานโจทก์ปากแรก ในวันที่ 11 ก.พ. 57
ด้านนายชวนนท์ กล่าวว่า คดีนี้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2-6 ที่เป็นสื่อมวลชนไปแล้ว และก่อนหน้านี้ เคยมีการไกล่เกลี่ย แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากตนยืนยันว่า วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต ไม่ใช่เป็นการใส่ร้าย แต่ได้ใช้ประสบการณ์ที่เคยทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ มาพูด และยินดีที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์
***'ธรรมยาตราฯ' นัดชุมนุมค้านศาลโลก
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ กลุ่มธรรมยาตรา จะร่วมกับกลุ่มรวมพลังปกป้องแผ่นดินอีสานใต้ ตะวันออก และกองทัพปลดแอกประชาชน ชุมนุมใหญ่บริเวณศาลหลักเมือง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ รวมทั้งล่ารายชื่อเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลโลก ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อกฎหมายระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะยื่นได้ภายในเดือนเมษายนนี้
ขณะเดียวกัน เตรียมออกแถลงการณ์คัดค้านกรณีที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อ้างว่าเตรียมเอกสารกว่า 1,600 หน้า เข้าให้ถ้อยแถลงต่อศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายนนี้ โดยจะยึดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ปี 1904 และ 1907 ในการต่อสู้
นายสมาน ศรีงาม แกนนำกลุ่มธรรมยาตรา ระบุว่า หากรัฐบาลยังคงใช้สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เพื่อต่อสู้ อาจทำให้สูญเสียดินแดนเหมือนเช่นอดีตที่ไทยสูญเสียจังหวัดพระตะบอง ให้แก่ประเทศกัมพูชา