ASTVผู้จัดการรายวัน-ชูวิทย์”โชว์หลักฐานทุจริตสร้างโรงพัก ลั่น “พงศพัศ-อดุลย์” ต้องรับผิดชอบ พร้อมควัก 4 แสน.ทำป้ายติดประจานทั่วกรุง “เหลิม” ป้องจูดี้ ไม่โกง ปชป.แฉ'พีซีซี'ทิ้งงาน เจอทหารบอกเลิกสัญญา ด้านที่ปรึกษา (สบ 10) ระบุ ไม่พบหลักฐานฉ้อโกงสร้างโรงพักทดแทน 396 แห่ง ตามดีเอสไออ้าง
วานนี้ (14 ก.พ.56) เวลา 11.00 น. ที่รัฐสภา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย แถลงข่าวว่าตนได้จัดทำโปสเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อประจานถึงกรณีการทุจริตในโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน ) จำนวน 396 แห่ง ทั่วประเทศ วงเงิน 5,848 ล้านบาท โดยมีข้อความว่า อาทิ “โครงการโรงพัก จำนวน396 แห่ง ทั่วประเทศ วงเงิน 5,848 ล้านบาท อีกโครงการอัปยศ อย่าปล่อยให้คอร์รัปชั่นลอยนวล ” โดยมีภาพประกอบเป็นภาพโรงพักที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ซึ่งป้ายดังกล่าวกระจายทั่วกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,000ป้าย โดยนายชูวิทย์เปิดเผยว่า ได้ลงทุนเงินส่วนตัวไปกว่า 1 ล้านบาท และในวันนี้จะขึ้นป้ายคัตเอ้าท์ขนาดใหญ่บริเวณทางด่วนมักกะสัน เพื่อต้องการสื่อสารกับประชาชนให้ทราบ โดยนายชูวิทย์ปฎิเธว่าไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการให้ความรู้แก่ประชาชนให้เข้าใจว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นถึงขนาดนี้ ทั้งนี้ยืนยันว่าจะติดตั้งป้ายประจานดังกล่าวต่อเนื่องไปจนกว่าจะหาผู้กระทำผิดได้รวมทั้งมีผู้ออกมารับผิดชอบในเรื่องนี้
ทั้งนี้ เรื่องการทุจริตในโครงการก่อสร้างโรงพัก (ทดแทน)ต้องบอกกับพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ว่าไม่เกี่ยวกับยศฐาบรรดาศักดิ์ หรือศักดิ์ศรี แต่เป็นเรื่องของความถูกต้อง และความรับผิดชอบ เพราะเป็นการบริหารสัญญาที่ชุ่ย ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ดังนั้นพล.ต.อ.อดุลย์ อย่าแกล้งหลงประเด็น ตำรวจถนัดเรื่องเบี่ยงเบนประเด็น เพราะเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับหนังสือสัญญา แต่อยู่ที่การบริหารสัญญา และขอฝากไปยังนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ว่านายธาริตก็ไม่มีความชอบธรรม เลือกที่รัก มักที่ชัง ตนเห็นว่านายธาริต เป็นคนขยัน ทำงานถึงวันอาทิตย์ ก็อยากให้เชิญตนไปให้ข้อมูล เพื่อจะได้เอาหลักฐานไปให้
ส่วนการต่อสัญญาก่อสร้างรอบที่ 3 ให้กับบริษัท พีซีซี ดิเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ตามมติครม.วันที่ 7 สิงหาคม 2555 ระยะเวลา 60 วัน โดยมีกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 14 มีนาคม 2556 ว่า หนังสือดังกล่าวลงนามโดย พล.ต.ท.สุพร พันธ์เสือ ผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนผบ.ตร. แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)กลับมีการตัดหลักเกณฑ์ที่เป็นโทษต่อผู้รับเหมาออก เหลือเพียงหลักเกณฑ์ที่เป็นคุณต่อผู้รับเหมาไว้ อาทิ ช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้เนื่องจากประสบอุทกภัย ใน 10 จังหวัด แต่สตช.กับใช้หลักการนี้เป็นสัญญาเดียวกันทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังไม่ปฏิบัติตามมติครม.วันที่ 7 สิงหาคม 2555 ข้อ 1.6 ที่ระบุว่า หากผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาและยังไม่เคยเข้ามาในทำงาน ในสถานที่ก่อสร้างดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันควร จนกระทั่งเกิดเหตุอุทกภัย ผู้รับจ้างไม่อาจของรับความช่วยเหลือได้ ยังคงให้ถือปฏิบัติตามเดิม ก็ไม่ต้องขยายสัญญาและยกเลิกสัญญาได้
"เหตุใดสตช.จึงไม่ยกยกเลิกสัญญา เพราะมีเหตุให้เชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานได้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยหัวหน้าส่วนราชการสามารถบอกยกเลิกได้ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2552 ข้อที่ 137 แต่กลับใช้ระเบียบข้อที่ 139 โดยการงดหรือลดค่าปรับให้กับคู่สัญญา ซึ่งเป็นเงินวันละ 5.8ล้านบาท ถือว่าเป็นคุณกับผู้รับเหมา" นายชูวิทย์ กล่าว
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถาม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โดย นายศิริโชค ได้นำเอกสารการประมูล มาชี้แจงในที่ประชุม พร้อมถามว่า จากเอกสารที่มีตัวเลขการประมูลที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จะมีการฮั้วประมูลได้อย่างไร
อีกทั้ง มีเอกสารที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสมัยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ทำหนังสือขอความเห็นชอบโครงการจากการประมูลรายภาค รวบเป็นรายเดียว
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม ตอบกระทู้ด้วยถ้อยคำสาปแช่ง กลางสภา ว่า กลุ่มพวกใดที่ได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ขอให้เกิดแต่ความหายนะ พร้อมปฏิเสธว่าตนเองปกป้อง พล.ต.อ.พงศพัศ ว่าไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาโครงการ แต่ต้องให้ความเป็นธรรม เพราะจะกระทบต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครa
หลังจากนั้นนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อว่ากรณีดังกล่าวใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ร.ต.อ.เฉลิมจึงตอบว่าฝ่ายการเมืองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง และหากมีการฉ้อโกงจะมีการดำเนินคดีกับบริษัทที่รับเหมาด้วย
ที่รัฐสภา นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกและส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร แถลง โดยจากหลักฐานที่ได้รับมาเป็นหนังสือด่วนที่สุด ที่ 001/2552 และ002/2552 เมื่อวันที่13 พ.ย. 2552 เป็นหนังสือที่ผู้สนใจร่วมประกวดราคารับเหมาก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทน ได้ลงชื่อร่วมกันทั้งบริษัทและ หจก.8 บริษัท ในหนังสือผู้สนใจร่วมประกวดราคาได้ร่วมกันคัดค้านการก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทน 369 แห่งรวมถึงอาคารที่พักอาศัยที่ตำรวจ โดยระบุว่า "ถ้าหาก ตร.จะขออนุมัติเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่นายกฯ ได้ลงนามไว้แล้ว เป็นการจัดจ้างแบบรวมรายการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ 369 หลังเป็นสัญญาเดียว หรือการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย 163 แห่งเป็นสัญญาเดียวก็ตาม พวกข้าพเจ้าใคร่ขอความกรุณาจากนายกรัฐมนตรี โปรดอย่าได้ลงนามอนุมัติหรือเห็นชอบโดยเด็ดขาด" แต่การคัดค้านดังกล่าวไม่เป็นผลเพราะนายสุเทพ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในฐานะปฏิบัติราชการแทนนายอภิสิทธิ์ ได้ลงนามอนุมัติเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2552 เพื่อให้ ตร.เป็นหน่วยงานจัดจ้างก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทนและที่พักอาศัยทุกอาคารรวมกันในครั้งเดียว
อีกด้านนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.) กิจการสภาฯ สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมว่าคณะกรรมาธิการฯ ได้รับทราบถึงปัญหาการก่อสร้างบ้านพักขนส่งทหารบกที่ย้ายไปอยู่ที่บริเวณสะพานแดงพบว่า การก่อสร้างล่าช้า เพราะบริษัทที่ประมูลได้คือ บริษัทพีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ไม่สามารถสร้างได้เสร็จตามสัญญา แม้ว่ากรมขนส่งทางบกได้ต่อสัญญา ให้ถึงเดือนพ.ย.55 เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม แต่ก็สร้างได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงได้มีการยกเลิกสัญญา และอยู่ระหว่างการหาบริษัทรับเหมาใหม่ คาดว่าจะทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป 4 เดือน
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กล่าวว่า ข้อสรุปเบื้องต้นการสอบปากคำหลายปาก ทำให้เห็นความชัดเจนถึงความเกี่ยวข้อง ในเรื่องดังกล่าวว่า ใครมีส่วนรับผิดชอบในช่วงใด ผ่านสายงานบังคับบัญชาการอย่างไร และมีเหตุผลใดที่เปลี่ยนแปลงการอนุมัติโครงการ โดยเฉพาะในส่วนของพล.ต.อ.ปทีปได้ให้การไว้ครบถ้วน และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบเป็นประมูลแบบรวมสัญญาเดียว
“สำหรับกรณีที่พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ระบุว่าความล่าช้าของการก่อสร้างน่าจะมีที่มาจากปัญหาการบริหารสัญญานั้น ทุกประเด็นที่มีคำให้การต้องนำมาพิจารณา เพราะมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น ส่วนกลุ่มที่จะเรียกเข้าให้ข้อมูลเป็นกลุ่มต่อไปยังต้องรอการวิเคราะห์เอกสารและพิจารณาความจำเป็นก่อน เพราะบางประเด็นมีเอกสารหลักฐานชัดเจนถึงตัวบุคคลอยู่แล้ว”นายธานินทร์ กล่าวและว่าพนักงานสอบสวนได้รับการติดต่อจากพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม อดีตผบตร.ว่า ในวันพรุ่งนี้ (15 ก.พ.)เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทน ในเวลาประมาณ 09.30 น. เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องในฐานะที่หัวหน้าหน่วยงานช่วงที่มีการเสนอนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ลงนามอนุมัติสัญญาจัดจ้าง
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พล.ต.อ.เจตน์ มงคลหัตถี ที่ปรึกษา (สบ 10) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน ว่า วันนี้ได้นำเอกสารในการจัดซื้อจัดจ้างการทำทีโออาร์โครงการมาตรวจสอบ จากตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่มีในขณะนี้ เบื้องต้นยังไม่พบจุดใดที่เข้าข่ายว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติถูกฉ้อโกงในกรณีนี้ ซึ่งคณะกรรมการได้ทำการตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการร่างทีโออาร์ การประกวดราคา ซึ่งต้องดูข้อมูลหลักฐานตั้งแต่เริ่มต้น การจะฉ้อโกงจะต้องมีเจตนาตั้งแต่ต้นหรือไม่ จะมาจับว่าตอนหลังทิ้งงานแล้วถือว่าฉ้อโกงคงไม่ได้ ในการทางกฎหมายจะเข้าข่ายกล่าวหาฉ้อโกงเราต้องกลับไปดูแต่แรกว่ามีจุดใดส่อเจตนาหรือไม่
ส่วนกรณีบริษัทผิดสัญญา ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จหรือทิ้งงานก็ต้องดำเนินการฟ้องแพ่ง ซึ่งคณะทำงานของตนยังไม่ตรวจสอบครอบคลุมจุดนี้ ทั้งนี้จะขอข้อมูลจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่ามีหลักฐานอะไรที่ระบุว่ากรณีนี้เข้าข่ายว่าเป็นการฉ้อโกง ทั้งนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ สั่งการให้ตนตรวจสอบตามข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่มี ไม่ได้ให้ธงไว้ว่าต้องสรุปออกมาอย่างไร หากท้ายที่สุดเมื่อพยานหลักฐานครบถ้วนแล้วยังไม่พบว่าเข้าข่ายฉ้อโกง ตนก็จะสรุปไปอย่างนั้น ไม่ทำตามกระแสหรือแรงกดดันใด ทั้งนี้ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จะประชุมเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานอีกครั้ง
วานนี้ (14 ก.พ.56) เวลา 11.00 น. ที่รัฐสภา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย แถลงข่าวว่าตนได้จัดทำโปสเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อประจานถึงกรณีการทุจริตในโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน ) จำนวน 396 แห่ง ทั่วประเทศ วงเงิน 5,848 ล้านบาท โดยมีข้อความว่า อาทิ “โครงการโรงพัก จำนวน396 แห่ง ทั่วประเทศ วงเงิน 5,848 ล้านบาท อีกโครงการอัปยศ อย่าปล่อยให้คอร์รัปชั่นลอยนวล ” โดยมีภาพประกอบเป็นภาพโรงพักที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ซึ่งป้ายดังกล่าวกระจายทั่วกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,000ป้าย โดยนายชูวิทย์เปิดเผยว่า ได้ลงทุนเงินส่วนตัวไปกว่า 1 ล้านบาท และในวันนี้จะขึ้นป้ายคัตเอ้าท์ขนาดใหญ่บริเวณทางด่วนมักกะสัน เพื่อต้องการสื่อสารกับประชาชนให้ทราบ โดยนายชูวิทย์ปฎิเธว่าไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการให้ความรู้แก่ประชาชนให้เข้าใจว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นถึงขนาดนี้ ทั้งนี้ยืนยันว่าจะติดตั้งป้ายประจานดังกล่าวต่อเนื่องไปจนกว่าจะหาผู้กระทำผิดได้รวมทั้งมีผู้ออกมารับผิดชอบในเรื่องนี้
ทั้งนี้ เรื่องการทุจริตในโครงการก่อสร้างโรงพัก (ทดแทน)ต้องบอกกับพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ว่าไม่เกี่ยวกับยศฐาบรรดาศักดิ์ หรือศักดิ์ศรี แต่เป็นเรื่องของความถูกต้อง และความรับผิดชอบ เพราะเป็นการบริหารสัญญาที่ชุ่ย ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ดังนั้นพล.ต.อ.อดุลย์ อย่าแกล้งหลงประเด็น ตำรวจถนัดเรื่องเบี่ยงเบนประเด็น เพราะเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับหนังสือสัญญา แต่อยู่ที่การบริหารสัญญา และขอฝากไปยังนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ว่านายธาริตก็ไม่มีความชอบธรรม เลือกที่รัก มักที่ชัง ตนเห็นว่านายธาริต เป็นคนขยัน ทำงานถึงวันอาทิตย์ ก็อยากให้เชิญตนไปให้ข้อมูล เพื่อจะได้เอาหลักฐานไปให้
ส่วนการต่อสัญญาก่อสร้างรอบที่ 3 ให้กับบริษัท พีซีซี ดิเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ตามมติครม.วันที่ 7 สิงหาคม 2555 ระยะเวลา 60 วัน โดยมีกำหนดส่งมอบงานในวันที่ 14 มีนาคม 2556 ว่า หนังสือดังกล่าวลงนามโดย พล.ต.ท.สุพร พันธ์เสือ ผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนผบ.ตร. แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)กลับมีการตัดหลักเกณฑ์ที่เป็นโทษต่อผู้รับเหมาออก เหลือเพียงหลักเกณฑ์ที่เป็นคุณต่อผู้รับเหมาไว้ อาทิ ช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้เนื่องจากประสบอุทกภัย ใน 10 จังหวัด แต่สตช.กับใช้หลักการนี้เป็นสัญญาเดียวกันทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังไม่ปฏิบัติตามมติครม.วันที่ 7 สิงหาคม 2555 ข้อ 1.6 ที่ระบุว่า หากผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาและยังไม่เคยเข้ามาในทำงาน ในสถานที่ก่อสร้างดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันควร จนกระทั่งเกิดเหตุอุทกภัย ผู้รับจ้างไม่อาจของรับความช่วยเหลือได้ ยังคงให้ถือปฏิบัติตามเดิม ก็ไม่ต้องขยายสัญญาและยกเลิกสัญญาได้
"เหตุใดสตช.จึงไม่ยกยกเลิกสัญญา เพราะมีเหตุให้เชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานได้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยหัวหน้าส่วนราชการสามารถบอกยกเลิกได้ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2552 ข้อที่ 137 แต่กลับใช้ระเบียบข้อที่ 139 โดยการงดหรือลดค่าปรับให้กับคู่สัญญา ซึ่งเป็นเงินวันละ 5.8ล้านบาท ถือว่าเป็นคุณกับผู้รับเหมา" นายชูวิทย์ กล่าว
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้ถาม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โดย นายศิริโชค ได้นำเอกสารการประมูล มาชี้แจงในที่ประชุม พร้อมถามว่า จากเอกสารที่มีตัวเลขการประมูลที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จะมีการฮั้วประมูลได้อย่างไร
อีกทั้ง มีเอกสารที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสมัยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ทำหนังสือขอความเห็นชอบโครงการจากการประมูลรายภาค รวบเป็นรายเดียว
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม ตอบกระทู้ด้วยถ้อยคำสาปแช่ง กลางสภา ว่า กลุ่มพวกใดที่ได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ขอให้เกิดแต่ความหายนะ พร้อมปฏิเสธว่าตนเองปกป้อง พล.ต.อ.พงศพัศ ว่าไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาโครงการ แต่ต้องให้ความเป็นธรรม เพราะจะกระทบต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครa
หลังจากนั้นนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อว่ากรณีดังกล่าวใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ร.ต.อ.เฉลิมจึงตอบว่าฝ่ายการเมืองที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง และหากมีการฉ้อโกงจะมีการดำเนินคดีกับบริษัทที่รับเหมาด้วย
ที่รัฐสภา นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกและส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร แถลง โดยจากหลักฐานที่ได้รับมาเป็นหนังสือด่วนที่สุด ที่ 001/2552 และ002/2552 เมื่อวันที่13 พ.ย. 2552 เป็นหนังสือที่ผู้สนใจร่วมประกวดราคารับเหมาก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทน ได้ลงชื่อร่วมกันทั้งบริษัทและ หจก.8 บริษัท ในหนังสือผู้สนใจร่วมประกวดราคาได้ร่วมกันคัดค้านการก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทน 369 แห่งรวมถึงอาคารที่พักอาศัยที่ตำรวจ โดยระบุว่า "ถ้าหาก ตร.จะขออนุมัติเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมที่นายกฯ ได้ลงนามไว้แล้ว เป็นการจัดจ้างแบบรวมรายการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ 369 หลังเป็นสัญญาเดียว หรือการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย 163 แห่งเป็นสัญญาเดียวก็ตาม พวกข้าพเจ้าใคร่ขอความกรุณาจากนายกรัฐมนตรี โปรดอย่าได้ลงนามอนุมัติหรือเห็นชอบโดยเด็ดขาด" แต่การคัดค้านดังกล่าวไม่เป็นผลเพราะนายสุเทพ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในฐานะปฏิบัติราชการแทนนายอภิสิทธิ์ ได้ลงนามอนุมัติเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2552 เพื่อให้ ตร.เป็นหน่วยงานจัดจ้างก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทนและที่พักอาศัยทุกอาคารรวมกันในครั้งเดียว
อีกด้านนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.) กิจการสภาฯ สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมว่าคณะกรรมาธิการฯ ได้รับทราบถึงปัญหาการก่อสร้างบ้านพักขนส่งทหารบกที่ย้ายไปอยู่ที่บริเวณสะพานแดงพบว่า การก่อสร้างล่าช้า เพราะบริษัทที่ประมูลได้คือ บริษัทพีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ไม่สามารถสร้างได้เสร็จตามสัญญา แม้ว่ากรมขนส่งทางบกได้ต่อสัญญา ให้ถึงเดือนพ.ย.55 เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม แต่ก็สร้างได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงได้มีการยกเลิกสัญญา และอยู่ระหว่างการหาบริษัทรับเหมาใหม่ คาดว่าจะทำให้การก่อสร้างล่าช้าออกไป 4 เดือน
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ รองผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กล่าวว่า ข้อสรุปเบื้องต้นการสอบปากคำหลายปาก ทำให้เห็นความชัดเจนถึงความเกี่ยวข้อง ในเรื่องดังกล่าวว่า ใครมีส่วนรับผิดชอบในช่วงใด ผ่านสายงานบังคับบัญชาการอย่างไร และมีเหตุผลใดที่เปลี่ยนแปลงการอนุมัติโครงการ โดยเฉพาะในส่วนของพล.ต.อ.ปทีปได้ให้การไว้ครบถ้วน และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบเป็นประมูลแบบรวมสัญญาเดียว
“สำหรับกรณีที่พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ระบุว่าความล่าช้าของการก่อสร้างน่าจะมีที่มาจากปัญหาการบริหารสัญญานั้น ทุกประเด็นที่มีคำให้การต้องนำมาพิจารณา เพราะมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น ส่วนกลุ่มที่จะเรียกเข้าให้ข้อมูลเป็นกลุ่มต่อไปยังต้องรอการวิเคราะห์เอกสารและพิจารณาความจำเป็นก่อน เพราะบางประเด็นมีเอกสารหลักฐานชัดเจนถึงตัวบุคคลอยู่แล้ว”นายธานินทร์ กล่าวและว่าพนักงานสอบสวนได้รับการติดต่อจากพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม อดีตผบตร.ว่า ในวันพรุ่งนี้ (15 ก.พ.)เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทน ในเวลาประมาณ 09.30 น. เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องในฐานะที่หัวหน้าหน่วยงานช่วงที่มีการเสนอนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ลงนามอนุมัติสัญญาจัดจ้าง
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พล.ต.อ.เจตน์ มงคลหัตถี ที่ปรึกษา (สบ 10) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน ว่า วันนี้ได้นำเอกสารในการจัดซื้อจัดจ้างการทำทีโออาร์โครงการมาตรวจสอบ จากตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่มีในขณะนี้ เบื้องต้นยังไม่พบจุดใดที่เข้าข่ายว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติถูกฉ้อโกงในกรณีนี้ ซึ่งคณะกรรมการได้ทำการตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการร่างทีโออาร์ การประกวดราคา ซึ่งต้องดูข้อมูลหลักฐานตั้งแต่เริ่มต้น การจะฉ้อโกงจะต้องมีเจตนาตั้งแต่ต้นหรือไม่ จะมาจับว่าตอนหลังทิ้งงานแล้วถือว่าฉ้อโกงคงไม่ได้ ในการทางกฎหมายจะเข้าข่ายกล่าวหาฉ้อโกงเราต้องกลับไปดูแต่แรกว่ามีจุดใดส่อเจตนาหรือไม่
ส่วนกรณีบริษัทผิดสัญญา ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จหรือทิ้งงานก็ต้องดำเนินการฟ้องแพ่ง ซึ่งคณะทำงานของตนยังไม่ตรวจสอบครอบคลุมจุดนี้ ทั้งนี้จะขอข้อมูลจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่ามีหลักฐานอะไรที่ระบุว่ากรณีนี้เข้าข่ายว่าเป็นการฉ้อโกง ทั้งนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ สั่งการให้ตนตรวจสอบตามข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่มี ไม่ได้ให้ธงไว้ว่าต้องสรุปออกมาอย่างไร หากท้ายที่สุดเมื่อพยานหลักฐานครบถ้วนแล้วยังไม่พบว่าเข้าข่ายฉ้อโกง ตนก็จะสรุปไปอย่างนั้น ไม่ทำตามกระแสหรือแรงกดดันใด ทั้งนี้ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ จะประชุมเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานอีกครั้ง