ASTVผู้จัดการรายวัน- ตลท.ปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์กำกับดูแลบจ.สอดคล้องเกณฑ์อาเซียน ซีจี สกอร์การ์ด มีผลบังคับใช้ปี 57 เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดเสรีอาเซียน ปี 58 เพื่อสร้างความมั่นใจนักลงทุนต่างประเทศเข้าลงทุน “วรภัทร”แจง เพิ่มให้บอร์ดจัดให้บริษัทมีแนวทางต่อต้าน-ไม่เกี่ยวข้องการทุจริต หลังช่วงที่ผ่านมามีประเด็น
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีมติเห็นชอบในการปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ASEAN Corporate Governance Scorecard (ASEAN CG Scorecard) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทจดทะเบียนไทย ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community: AEC) ในปี 2558 ซึ่งจะใช้ ASEAN CG Scorecard เป็นเกณฑ์กลางในการประเมินและจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหลักการที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนถือเป็นแนวทางปฏิบัติในปี 2557 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ตลอดปี 2556 ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีผ่านการอบรมสัมมนา CG Forum และ workshop เพื่อทำความเข้าใจและให้ความรู้แก่บริษัทจดทะเบียนอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากงานสัมมนา “มีอะไรใหม่ในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 (ฉบับล่าสุด)” ที่จัดในวันนี้ (5 ก.พ.56) ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ผู้สนใจสามารถติดตามงานสัมมนา CG Forum ที่จะจัดเป็นประจำทุกไตรมาส ได้ที่ www.set.or.th
นายหิรัญ รดีศรี ประธานอนุกรรมการ ศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน กล่าวว่า หลักเกณฑ์ที่มีการปรับปรุงแก้ไข มีจำนวน 5 หมวด คือ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการควรเปิดเผยนดยบายการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้กลุ่มโดยเฉพาะสถาบัน ให้เข้าร่วมประชุม และ คณะกรรมการควรดูแลให้บริษัทมีการใช้ข้อมูลวันเวลาสถานที่และวระการปชุมโดยมีคำชี้แจงเหตุและผลประกอบในวาระหรือประกอบมติที่ขอตามที่ระบุไว้ในหนังสือเชิญประชุมวิสามัญและสามัญผู้ถือหุ้นหรือในเอกสารแนบวาระการประชุม คณะกรรมการควรอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นได้เข้าใช้สิทธิในการเข้าประชุม และออกเสียงเต็มที่ เช่น สถานที่ประชุมต้องสะดวกต่อการเดินทาง วิธีการออกเสียงไม่ยุ่งยาก ฯลฯ
นอกจากนี้รายงานการประชุมควรบันทึกการชี้แจงขั้นตอนการลงคะแนนและวิธีการแสดงผลคะแนนให้ที่ประชุมผู้ถิอหุ้นทราบก่อนดำเนินการประชุม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นตั้งคำถาม หรือ ซักถาม และควรบันทึกคำถามคำตอบ ในการประชุมควรจัดให้มีการลงมติเป็นแต่ละรายการในกรณีที่วาระนั้นมีหลายรายการเช่น วาระการแต่งตั้งกรรมการ คณะกรรมการควรส่งเสริมให้บริษัทนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประชุม ทั้งการลงทะเบียนผู้ถือหุ้น การนับคะแนนและการแสดงผล เพื่อความรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ และคณะกรรมการควรส่งเสริมให้บริษัทมีบุคคลที่เป็นอิสระเป็นผู้ตรวจนับคะแนนเสียง เปิดเผยให้สาธารณชนทราบถึงผลการลงคะแนนของแต่ละวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นในวันทำการถัดไปบนเว็บไซด์ของบริษัท
สำหรับหมวดที่ 2 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม คือ คณะกรรมการควรดูแลให้บริษัทแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบกฎเกณฑ์ต่างๆที่ใช้ในการประชุม ขั้นตอนการออกเสียงลงมติ รวมทั้งสิทธิการออกเสียงลงคะแนนตามแต่ละประเภทของหุ้น หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้น ควรจัดทำเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่พร้อมกับภาษาไทย คระกรรมการควรกำหนดเป็นนโยบายให้กรรมการที่มีส่วนได้เสียในวาระใดควร งดเว้นการมีส่วนร่วมในการประชุมพิจารณา ในวาระนั้นๆ
นายวรภัทร โตธนะเกษฒ อนุกรรมการ ศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน กล่าวว่า หมวดที่ 3เรื่องบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย นั้น คณะกรรมการควรกำหนดนโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน ในเรื่องดังน้น การกำหนดขอบเขตในการดูแลลุกค้าอย่างเป็นระบบ ด้านความปลอดภัย การชดเชยสินค้าหรือ บริการในช่วงอายุสินค้าบริษันั้น การอธิบายขั้นตอนและวิธีปฏิบัติคัดเลือกคู่ค้า หรือ ผู้รับเหมา การอธิบายการดำเนินการอย่างเป็นระบบของบริษัทที่ทำให้มั่นใจได้ว่าห่วงโซ่อุปทานของบริษัทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จัดให้มีการดำเนินโครงการ หรือ แนวทางในการต่อต้านทุจริต การคอร์รัปชั่น รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกฝังให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย และ บริษัทจะไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ฯ
สำหรับเดิมนั้นไม่มีการระบบในเรื่องการต่อต้านทุจริต แต่จากช่วงนี้มีกระแสทุจริตนั้นก็มีการนำเรื่องดังกล่าวบรรจุอยู่ในเกณฑ์
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีมติเห็นชอบในการปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ASEAN Corporate Governance Scorecard (ASEAN CG Scorecard) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทจดทะเบียนไทย ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community: AEC) ในปี 2558 ซึ่งจะใช้ ASEAN CG Scorecard เป็นเกณฑ์กลางในการประเมินและจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหลักการที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนถือเป็นแนวทางปฏิบัติในปี 2557 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ตลอดปี 2556 ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีผ่านการอบรมสัมมนา CG Forum และ workshop เพื่อทำความเข้าใจและให้ความรู้แก่บริษัทจดทะเบียนอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากงานสัมมนา “มีอะไรใหม่ในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 (ฉบับล่าสุด)” ที่จัดในวันนี้ (5 ก.พ.56) ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ผู้สนใจสามารถติดตามงานสัมมนา CG Forum ที่จะจัดเป็นประจำทุกไตรมาส ได้ที่ www.set.or.th
นายหิรัญ รดีศรี ประธานอนุกรรมการ ศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน กล่าวว่า หลักเกณฑ์ที่มีการปรับปรุงแก้ไข มีจำนวน 5 หมวด คือ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการควรเปิดเผยนดยบายการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้กลุ่มโดยเฉพาะสถาบัน ให้เข้าร่วมประชุม และ คณะกรรมการควรดูแลให้บริษัทมีการใช้ข้อมูลวันเวลาสถานที่และวระการปชุมโดยมีคำชี้แจงเหตุและผลประกอบในวาระหรือประกอบมติที่ขอตามที่ระบุไว้ในหนังสือเชิญประชุมวิสามัญและสามัญผู้ถือหุ้นหรือในเอกสารแนบวาระการประชุม คณะกรรมการควรอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นได้เข้าใช้สิทธิในการเข้าประชุม และออกเสียงเต็มที่ เช่น สถานที่ประชุมต้องสะดวกต่อการเดินทาง วิธีการออกเสียงไม่ยุ่งยาก ฯลฯ
นอกจากนี้รายงานการประชุมควรบันทึกการชี้แจงขั้นตอนการลงคะแนนและวิธีการแสดงผลคะแนนให้ที่ประชุมผู้ถิอหุ้นทราบก่อนดำเนินการประชุม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นตั้งคำถาม หรือ ซักถาม และควรบันทึกคำถามคำตอบ ในการประชุมควรจัดให้มีการลงมติเป็นแต่ละรายการในกรณีที่วาระนั้นมีหลายรายการเช่น วาระการแต่งตั้งกรรมการ คณะกรรมการควรส่งเสริมให้บริษัทนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประชุม ทั้งการลงทะเบียนผู้ถือหุ้น การนับคะแนนและการแสดงผล เพื่อความรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ และคณะกรรมการควรส่งเสริมให้บริษัทมีบุคคลที่เป็นอิสระเป็นผู้ตรวจนับคะแนนเสียง เปิดเผยให้สาธารณชนทราบถึงผลการลงคะแนนของแต่ละวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นในวันทำการถัดไปบนเว็บไซด์ของบริษัท
สำหรับหมวดที่ 2 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม คือ คณะกรรมการควรดูแลให้บริษัทแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบกฎเกณฑ์ต่างๆที่ใช้ในการประชุม ขั้นตอนการออกเสียงลงมติ รวมทั้งสิทธิการออกเสียงลงคะแนนตามแต่ละประเภทของหุ้น หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้น ควรจัดทำเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่พร้อมกับภาษาไทย คระกรรมการควรกำหนดเป็นนโยบายให้กรรมการที่มีส่วนได้เสียในวาระใดควร งดเว้นการมีส่วนร่วมในการประชุมพิจารณา ในวาระนั้นๆ
นายวรภัทร โตธนะเกษฒ อนุกรรมการ ศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน กล่าวว่า หมวดที่ 3เรื่องบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย นั้น คณะกรรมการควรกำหนดนโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน ในเรื่องดังน้น การกำหนดขอบเขตในการดูแลลุกค้าอย่างเป็นระบบ ด้านความปลอดภัย การชดเชยสินค้าหรือ บริการในช่วงอายุสินค้าบริษันั้น การอธิบายขั้นตอนและวิธีปฏิบัติคัดเลือกคู่ค้า หรือ ผู้รับเหมา การอธิบายการดำเนินการอย่างเป็นระบบของบริษัทที่ทำให้มั่นใจได้ว่าห่วงโซ่อุปทานของบริษัทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จัดให้มีการดำเนินโครงการ หรือ แนวทางในการต่อต้านทุจริต การคอร์รัปชั่น รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกฝังให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย และ บริษัทจะไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ฯ
สำหรับเดิมนั้นไม่มีการระบบในเรื่องการต่อต้านทุจริต แต่จากช่วงนี้มีกระแสทุจริตนั้นก็มีการนำเรื่องดังกล่าวบรรจุอยู่ในเกณฑ์