ASTVผู้จัดการรายวัน-คณะกรรมการส.อ.ท. สัมพันธ์ ที่เป็นเวทีเจรจาเพื่อหาข้อยุติปัญหาความแตกแยกใน ส.อ.ท. ยังไปไม่ถึงไหนก็ล่มไม่เป็นท่า หลังฝ่าย "พยุงศักดิ์" ประกาศกร้าว ปิดดีลการเจรจา 31 ม.ค.นี้ อ้างอีกฝ่ายนำตำรวจบุกกดดัน “ธนิต”โวยถูกยัดข้อกล่าวหา บอกคิดไว้แล้วว่าจะออกมาแบบนี้ ยันพร้อมเดินหน้าไปทำงานต่อ
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ซึ่งเป็นตัวแทนในคณะกรรมการ ส.อ.ท.สัมพันธ์ ที่ได้มีมติแต่งตั้งร่วมกันด้วยการส่งตัวแทนเข้ามาหารือฝ่ายละ 5 คนเพื่อลดความขัดแย้งภายในส.อ.ท. เปิดเผยว่า จะยกเลิกการประชุมคณะกรรมการสัมพันธ์ในวันนี้ (31 ม.ค.) เนื่องจากนายธนิต โสรัตน์ และนายสิงห์ ตั้งเจริญชัยชนะ ได้เดินทางมายังสำนักงาน ส.อ.ท. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาด้วย ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงที่ให้ไว้ร่วมกันว่าการเจรจาจะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ทุกฝ่ายต้องอยู่ในความสงบจะไม่เคลื่อนไหวใดๆ
"ก่อนหน้านี้ เราได้ตกลงกันแล้วว่าขอให้ยุติการเคลื่อนไหวใดๆ ระหว่างนี้ เพื่อให้การเจรจาเป็นไปได้ เมื่อเกิดการละเมิดข้อตกลงนี้ขึ้น จึงเห็นว่าควรยกเลิกการเจรจาของคณะกรรมการ ส.อ.ท.สัมพันธ์ ในครั้งนี้ ออกไปก่อน ซึ่งนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท. ทราบเรื่องและเห็นด้วยกับเรื่องนี้"นายวัลลภกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า ตนได้เดินทางเข้าไปทำงานใน ส.อ.ท. เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2556 จริง ซึ่งเป็นการเข้าไปทำงานวันแรก หลังจากเกิดความขัดแย้ง โดยไปพร้อมสมาชิก ส.อ.ท. ประมาณ 4-5 คน โดยกรณีของตำรวจ ไม่ได้เกิดจากการนำไปโดยส่วนตัว แต่เป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ที่กลุ่มนายพยุงศักดิ์ได้ขอให้เข้ามาดูแลพื้นที่ และเมื่อตนเดินทางเข้าไป ตำรวจกลุ่มนี้ก็เข้ามาติดตาม เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยเท่านั้น
"ข้อกล่าวหาของนายวัลลภไม่เป็นความจริง เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เห็นก็เป็นกลุ่มที่รักษาความเรียบร้อยเดิมที่นายพยุงศักดิ์ ขอให้เข้ามาช่วยดูแลอยู่แล้ว ผมไม่ได้ขอกำลังตำรวจเข้าไปในพื้นที่ด้วย จึงตกใจที่นายวัลลภให้ข่าวในลักษณะดังกล่าวออกมา" นายธนิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการสัมพันธ์ที่ถูกยกเลิกไปนั้น ก็เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เนื่องจากการประชุมกรรมการสภาอุตสาหกรรม เมื่อ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา นายพยุงศักดิ์ ก็ไม่ได้มีท่าทีต้องการให้มีการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้นมา แต่ที่จำเป็นต้องตั้ง เพราะได้รับแรงกดดันจากสื่อมวลชนและกรรมการสายงานจังหวัดที่รวมตัวประท้วงในวันนั้น ขณะที่นายวัลลภเองก็ให้ข่าวในลักษณะที่มีเงื่อนไขว่าการเจรจาจะต้องไม่มีการปลดนายพยุงศักดิ์ ออกจากตำแหน่ง เท่ากับว่าเป็นการตั้งธง ก่อนที่จะมีการเจรจา ดังนั้น แม้จะตั้งคณะกรรมการสัมพันธ์ขึ้นมา ก็ไม่มีประโยชน์ อีกทั้งยังใช้ข้ออ้างเรื่องตำรวจมาเป็นโอกาสในการยกเลิกการประชุม ซึ่งนายวัลลภก็ตั้งใจให้ออกมาในลักษณะนี้
“คงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะทำอะไรต่อ และจะมีการประชุมหรือไม่ในวันที่ 31 ม.ค.นี้ เพราะกลุ่มนายวัลลภ ยืนยันที่จะล้มการประชุมไปแล้ว แต่ตนพร้อมสมาชิก จะพยายามเดินหน้าเข้าไปทำงานที่ ส.อ.ท. อย่างต่อเนื่อง“นายธนิตกล่าว
สำหรับกรรมการ ส.อ.ท.สัมพันธ์ ฝั่งนายพยุงศักดิ์ ประกอบด้วย 1. นายวัลลภ วิตนากร 2. นายสุพันธ์ มงคลสุธี 3. นายเจน นำชัยศิริ 4. นายเกรียงไกร เธียรนุกูล 5. นายนิกร สุศิริวัฒนนนท์ ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งรองประธานส.อ.ท. ขณะที่ฝ่ายของนายธนิต เป็นตัวแทนจากประธาน 5 ภาค ประกอบด้วย 1. นายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก 2. นายสุทิน พรชัยสุรี 3.นายเอกพร โฆษะครรชิต 4. นายสิงห์ ตั้งเจริญชัยชนะ 5.นายนิมิตร งามยิ่งไพศาล
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ซึ่งเป็นตัวแทนในคณะกรรมการ ส.อ.ท.สัมพันธ์ ที่ได้มีมติแต่งตั้งร่วมกันด้วยการส่งตัวแทนเข้ามาหารือฝ่ายละ 5 คนเพื่อลดความขัดแย้งภายในส.อ.ท. เปิดเผยว่า จะยกเลิกการประชุมคณะกรรมการสัมพันธ์ในวันนี้ (31 ม.ค.) เนื่องจากนายธนิต โสรัตน์ และนายสิงห์ ตั้งเจริญชัยชนะ ได้เดินทางมายังสำนักงาน ส.อ.ท. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาด้วย ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงที่ให้ไว้ร่วมกันว่าการเจรจาจะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ทุกฝ่ายต้องอยู่ในความสงบจะไม่เคลื่อนไหวใดๆ
"ก่อนหน้านี้ เราได้ตกลงกันแล้วว่าขอให้ยุติการเคลื่อนไหวใดๆ ระหว่างนี้ เพื่อให้การเจรจาเป็นไปได้ เมื่อเกิดการละเมิดข้อตกลงนี้ขึ้น จึงเห็นว่าควรยกเลิกการเจรจาของคณะกรรมการ ส.อ.ท.สัมพันธ์ ในครั้งนี้ ออกไปก่อน ซึ่งนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท. ทราบเรื่องและเห็นด้วยกับเรื่องนี้"นายวัลลภกล่าว
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า ตนได้เดินทางเข้าไปทำงานใน ส.อ.ท. เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2556 จริง ซึ่งเป็นการเข้าไปทำงานวันแรก หลังจากเกิดความขัดแย้ง โดยไปพร้อมสมาชิก ส.อ.ท. ประมาณ 4-5 คน โดยกรณีของตำรวจ ไม่ได้เกิดจากการนำไปโดยส่วนตัว แต่เป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ที่กลุ่มนายพยุงศักดิ์ได้ขอให้เข้ามาดูแลพื้นที่ และเมื่อตนเดินทางเข้าไป ตำรวจกลุ่มนี้ก็เข้ามาติดตาม เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยเท่านั้น
"ข้อกล่าวหาของนายวัลลภไม่เป็นความจริง เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เห็นก็เป็นกลุ่มที่รักษาความเรียบร้อยเดิมที่นายพยุงศักดิ์ ขอให้เข้ามาช่วยดูแลอยู่แล้ว ผมไม่ได้ขอกำลังตำรวจเข้าไปในพื้นที่ด้วย จึงตกใจที่นายวัลลภให้ข่าวในลักษณะดังกล่าวออกมา" นายธนิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการสัมพันธ์ที่ถูกยกเลิกไปนั้น ก็เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว เนื่องจากการประชุมกรรมการสภาอุตสาหกรรม เมื่อ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา นายพยุงศักดิ์ ก็ไม่ได้มีท่าทีต้องการให้มีการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวขึ้นมา แต่ที่จำเป็นต้องตั้ง เพราะได้รับแรงกดดันจากสื่อมวลชนและกรรมการสายงานจังหวัดที่รวมตัวประท้วงในวันนั้น ขณะที่นายวัลลภเองก็ให้ข่าวในลักษณะที่มีเงื่อนไขว่าการเจรจาจะต้องไม่มีการปลดนายพยุงศักดิ์ ออกจากตำแหน่ง เท่ากับว่าเป็นการตั้งธง ก่อนที่จะมีการเจรจา ดังนั้น แม้จะตั้งคณะกรรมการสัมพันธ์ขึ้นมา ก็ไม่มีประโยชน์ อีกทั้งยังใช้ข้ออ้างเรื่องตำรวจมาเป็นโอกาสในการยกเลิกการประชุม ซึ่งนายวัลลภก็ตั้งใจให้ออกมาในลักษณะนี้
“คงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะทำอะไรต่อ และจะมีการประชุมหรือไม่ในวันที่ 31 ม.ค.นี้ เพราะกลุ่มนายวัลลภ ยืนยันที่จะล้มการประชุมไปแล้ว แต่ตนพร้อมสมาชิก จะพยายามเดินหน้าเข้าไปทำงานที่ ส.อ.ท. อย่างต่อเนื่อง“นายธนิตกล่าว
สำหรับกรรมการ ส.อ.ท.สัมพันธ์ ฝั่งนายพยุงศักดิ์ ประกอบด้วย 1. นายวัลลภ วิตนากร 2. นายสุพันธ์ มงคลสุธี 3. นายเจน นำชัยศิริ 4. นายเกรียงไกร เธียรนุกูล 5. นายนิกร สุศิริวัฒนนนท์ ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งรองประธานส.อ.ท. ขณะที่ฝ่ายของนายธนิต เป็นตัวแทนจากประธาน 5 ภาค ประกอบด้วย 1. นายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก 2. นายสุทิน พรชัยสุรี 3.นายเอกพร โฆษะครรชิต 4. นายสิงห์ ตั้งเจริญชัยชนะ 5.นายนิมิตร งามยิ่งไพศาล