ในที่สุดเช้าวันนี้ (28 ม.ค.) โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม ก็กลับมาเปิดเรียนตามปกติ ตามประกาศแจ้งโดย ภราดา อานันท์ ปรีชาวุฒิ ผอ.โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมาจากเดิมที่ประกาศปิดตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.-1 ก.พ.2556
ภายหลังเกิดเหตุอลหม่านในวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมาซึ่งผู้ปกครอง ร่วมกับคณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ทั้งประถม-มัธยม และกลุ่มศิษยเก่าที่แต่งกายด้วยชุดสีดำ กว่า 300 คน รวมตัวประท้วงที่โรงเรียนเหตุจากคำสั่งฟ้าผ่า! ปิดโรงเรียนกรณีพิเศษตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.-1 ก.พ. 2556 ของผอ.โรงเรียน โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้ารวมถึงเหตุผลการปิด แต่ใช้วิธีติดป้ายขนาดใหญ่แจ้งที่ประตูโรงเรียนทำให้ผู้ปกครอง และนักเรียนเดินทางมาเก้อ สร้างความงุนงงกันถ้วนหน้า จนกระทั่งมีการแจ้งผ่านเว็บไซต์โรงเรียนว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อโรงเรียน วางแผน และนัดหมายจะเข้ามาก่อความวุ่นวาย เกรงจะก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อนักเรียนและทรัพย์สิน ทั้งนี้ ตามกำหนดการแล้วในวันดังกล่าว คณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถมและมัธยม นัดรวมตัวโดยแต่งกายชุดสีดำอีกครั้งหนึ่งเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
เป้าหมายของการรวมตัวคือ การยื่นข้อร้องเรียนในประเด็นการขอให้ยกเลิกตัดค่าครองชีพ 1,500 บาท ,ขอคืนค่าวิชาชีพจำนวน 2,000 บาท และขอให้ปรับฐานเงินเดือนตามประกาศมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ที่ 1/2555 ซึ่งลงวันที่ 12 ส.ค. พ.ศ. 2555 โดยให้ย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค. 2555 ถึงปัจจุบัน ต่อ ภราดา อานันท์ โดยอาศัยช่วงเวลา 11.50 น.และพลังครูที่ไม่มีภารกิจสอนหนังสือมาเป็นตัวแทนยื่นหนังสือ ซึ่งจะใช้ช่วงเวลาเพียงสั้น ๆ และต่างแยกย้ายไปทำหน้าที่สอนตามปกติ สุดท้ายแผนการคว่ำไม่เป็นท่า เพราะคำสั่งปิดโรงเรียน! นำไปสู่ความโกลาหล พร้อมกับคำถามที่ผุดขึ้นมากมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท่ามกลางความสงสัยของสังคม เกิดอะไรกับสถาบันการศึกษาชื่อดังที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและสร้างบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศมานานกว่า 120 ปี ?
เมื่อไม่เป็นตามที่จุดประสงค์ คณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญทั้งประถม-มัธยม กลุ่มศิษย์เก่าฯ ในนามกลุ่มกู้อัสสัมชัญ ได้ร่วมอ่านแถลงการณ์และแถลงข่าวท่าทีในการเคลื่อนไหว โดยเรียกร้องให้เปิดการเรียนการสอนปกติในวันนี้ (28 ม.ค.) เพื่อไม่ให้เด็กได้รับผลกระทบ ให้ปรับเงินเดือนตามประกาศของมูลนิธิ โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ครูและให้มีผลย้อนหลังการจ่ายตามกฎหมาย แต่ประเด็นสำคัญที่คณะครูและกลุ่มศิษย์เก่าต้องการ คือ ภราดา อานันท์ แสดงสปิริตลาออกจากตำแหน่งผอ.โรงเรียนทันที และให้มูลนิธิแต่งตั้งภราดาที่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการมาช่วยปัดกวาดปัญหา และนำพาโรงเรียนอัสสัมชัญผ่านพ้นวิกฤติ ขณะที่ นายศุภโชค โฆษ์วงศ์ ตัวแทนกลุ่มกู้อัสสัมชัญ นำ ได้ย้ำในแถลงการณ์ด้วยว่าต้องการให้นำเงินที่บริจาคของโรงเรียนอัสสัมชัญที่นำไปลงทุนสร้างโรงเรียนอัสสัมชัญ พระราม 2 กลับคืนมาสู่โรงเรียนโดยต้องไม่มีภาระหนี้สินมาผูกพัน
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เหตุการณ์การแต่งชุดดำของคณะครู และกลุ่มศิษย์เก่าประท้วงเป็นครั้งแรก แต่ดูทีท่าจะเป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งภายใน ที่ส่อเค้าจะบานปลายจากจุดเริ่มต้นของการก่อตัว “ครูอัสสัมแต่งชุดดำ” เพียงกระแสเล็ก ๆ ก็เริ่มแพร่สะพัด โดยเฉพาะข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวของ "หมอนิด กิจจา ทวีกุลกิจ" เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2555 ระบุว่า "โรงเรียนถูกยึด ครูถูกบีบให้เซ็นใบลาออก เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจมาก ที่โรงเรียนชื่อดังและเก่าแก่ ของประเทศไทยกำลังจะถูกยึด ไม่รู้ว่าเป็นความคิดของใครหรือเป็นนโยบายของนักการเมืองคนไหน? ครูทุกคนในโรงเรียนถูกบีบบังคับให้เซ็น...ใบลาออกล่วงหน้า... ถ้าครูคนไหนไม่ยอมเซ็นใบลาออก จะถูกให้ออก พร้อมจ่ายค่าชดเชยให้ เรื่องนี้ไม่มีสื่อไหนลงข่าวเลย ถูกปิดเงียบเหมือนอยู่ในแดนสนธยา ครูหลายคนแต่งชุดดำประท้วงเงียบๆ แต่คงไม่เป็นผล เพราะมีครูบางคนถูกเรียกเข้าไปกล่อมถึงในกระทรวง”
ข้อความที่ “หมอนิด กิจจา ทวีกุล” เผยแพร่ในเฟสบุ๊คส่วนตัวได้สร้างแรงกระเพื่อมทำให้ศิษย์เก่า และคนที่ให้ความสนใจเกิดความห่วงใยเคลื่อนไหว ประกอบกับ ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้ชี้แจงผ่าน นสพ.คม ชัด ลึก การันตรีว่า การแต่งชุดดำของครูโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก เป็นเพราะนโยบายยุบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญ ฝ่ายประถมและมัธยมเข้าด้วยกัน ครูมีความหวาดหวั่นในความมั่นคงของอาชีพ ต้องการความชัดเจน และต้องการให้มีการปรับเงินเดือนด้วย
ในที่สุดการเคลื่อนไหวของครูอัสสัมชัญแต่งชุดดำประท้วง เพื่อขอความชัดเจนก็ปรากฎเป็นข่าวครึกโครมในผ่านสื่อต่าง ๆ ร้อนจนวันที่ 16 ม.ค.2556 ภราดา อานันท์ และภราดา ศิริชัย ฟอนซีกา ประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ต้องเปิดโต๊ะแถลงชี้แจงย้ำแน่ชัดว่าจะไม่มีการยุบรวมโรงเรียนแน่นอน และยืนยันจะไม่มีการเลิกจ้างครู หรือบังคับให้ครูเซ็นต์ใบลาออกแน่นอนโดยยืนยันจะรับครูทุกคน ในส่วนค่าตอบแทนครูก็ยืนยันว่าได้ดูแลครูอย่างดีมาโดยตลอดเพียงแต่ว่าการปรับเพิ่มเงินเดือนครูระดับปริญญาตรีให้เป็น 11,680 บาทตามประกาศ สช.และประกาศของมูลนิธินั้น โรงเรียนยืนยันว่าไม่มีครูคนใดในจำนวน 450 คนเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท
นอกจากนี้ มีความเคลื่อนไหวผ่านโซเชียวเน็ตเวิร์คอย่างเฟซบุ๊กในเพจ “กู้อัสสัมชัญ” โดยกลุ่มศิษย์เก่าที่มียอดคลิกไลค์ทะลุหลักหมื่น ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่ด้รวบรวมข้อมูล รายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อาทิ กรณีเงินเดือนครูระดับปริญญาตรีที่ได้เพียงกว่า 9,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการแจ้งข่าวสาร ความเคลื่อนไหว และเป็นสื่อกลางการรวบรวมรายชื่อศิษย์เก่าที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของภราดา อานันท์ และต้องการให้มีการตรวจสอบการทำงานรวมทั้งเรียกร้องให้ภราดา อานันท์ ลาออกด้วย
อย่างไรก็ตาม กรณีข่าวการควบรวมนั้น เดิมทีโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถมและมัธยมนั้นมีใบอนุญาตจัดตั้งเป็นของตนเองตามกฎหมายเดิม ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายเรื่อง การขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการและการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555” ลงนามโดย นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2555 โรงเรียนอัสสัมชัญ จึงทำเรื่องเสนอ สช.เพื่อขออนุญาตจัดทำตราสาร หรือบัญชีทรัพย์สินเฉพาะของโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมโดยจะรวมทรัพย์สินของโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ในอนาคตโรงเรียนอัสสัมชัญมีใบอนุญาตจัดตั้งเพียงใบเดียว แต่เรื่องยังอยู่ระหว่างการดำเนินการและ สช.ยังไม่ได้มีการอนุมัติแต่อย่างใดประกอบกับเกิดเหตุการประท้วงเรื่องดังกล่าวจึงหยุดชะงัก
***ท้ายสุด เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจคณะครูแลกลุ่มศิษย์เก่าได้เดินทางยื่นหนังสือต่อประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ รวมทั้งนายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ รักษาการแทนเลขาคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เพื่อให้รับทราบปัญหาและขอให้ตรวจสอบการบริหารงานของ ภราดา อานันท์ ซึ่งในส่วนของ ศธ. นั้น รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนายชาญวิทย์ ไปดำเนินการและให้ประสานให้โรงเรียนเปิดสอนตามปกติ ซึ่ง สช.มีอำนาจตามกฎหมายสั่งการได้และแน่นอนวันนี้ข้อเรียกร้องเปิดเรียนปกติสำเร็จไปหนึ่ง! และในวันนี้ (28 ม.ค.) นายชาญวิทย์ จะเดินทางเข้าร่วมหารือกับผู้บริหารของโรงเรียน คงต้องมารอลุ้นว่าคำตอบที่ออกมารูปแบบใด***.
ภายหลังเกิดเหตุอลหม่านในวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมาซึ่งผู้ปกครอง ร่วมกับคณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ทั้งประถม-มัธยม และกลุ่มศิษยเก่าที่แต่งกายด้วยชุดสีดำ กว่า 300 คน รวมตัวประท้วงที่โรงเรียนเหตุจากคำสั่งฟ้าผ่า! ปิดโรงเรียนกรณีพิเศษตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.-1 ก.พ. 2556 ของผอ.โรงเรียน โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้ารวมถึงเหตุผลการปิด แต่ใช้วิธีติดป้ายขนาดใหญ่แจ้งที่ประตูโรงเรียนทำให้ผู้ปกครอง และนักเรียนเดินทางมาเก้อ สร้างความงุนงงกันถ้วนหน้า จนกระทั่งมีการแจ้งผ่านเว็บไซต์โรงเรียนว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อโรงเรียน วางแผน และนัดหมายจะเข้ามาก่อความวุ่นวาย เกรงจะก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อนักเรียนและทรัพย์สิน ทั้งนี้ ตามกำหนดการแล้วในวันดังกล่าว คณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถมและมัธยม นัดรวมตัวโดยแต่งกายชุดสีดำอีกครั้งหนึ่งเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
เป้าหมายของการรวมตัวคือ การยื่นข้อร้องเรียนในประเด็นการขอให้ยกเลิกตัดค่าครองชีพ 1,500 บาท ,ขอคืนค่าวิชาชีพจำนวน 2,000 บาท และขอให้ปรับฐานเงินเดือนตามประกาศมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ที่ 1/2555 ซึ่งลงวันที่ 12 ส.ค. พ.ศ. 2555 โดยให้ย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค. 2555 ถึงปัจจุบัน ต่อ ภราดา อานันท์ โดยอาศัยช่วงเวลา 11.50 น.และพลังครูที่ไม่มีภารกิจสอนหนังสือมาเป็นตัวแทนยื่นหนังสือ ซึ่งจะใช้ช่วงเวลาเพียงสั้น ๆ และต่างแยกย้ายไปทำหน้าที่สอนตามปกติ สุดท้ายแผนการคว่ำไม่เป็นท่า เพราะคำสั่งปิดโรงเรียน! นำไปสู่ความโกลาหล พร้อมกับคำถามที่ผุดขึ้นมากมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ท่ามกลางความสงสัยของสังคม เกิดอะไรกับสถาบันการศึกษาชื่อดังที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและสร้างบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศมานานกว่า 120 ปี ?
เมื่อไม่เป็นตามที่จุดประสงค์ คณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญทั้งประถม-มัธยม กลุ่มศิษย์เก่าฯ ในนามกลุ่มกู้อัสสัมชัญ ได้ร่วมอ่านแถลงการณ์และแถลงข่าวท่าทีในการเคลื่อนไหว โดยเรียกร้องให้เปิดการเรียนการสอนปกติในวันนี้ (28 ม.ค.) เพื่อไม่ให้เด็กได้รับผลกระทบ ให้ปรับเงินเดือนตามประกาศของมูลนิธิ โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ครูและให้มีผลย้อนหลังการจ่ายตามกฎหมาย แต่ประเด็นสำคัญที่คณะครูและกลุ่มศิษย์เก่าต้องการ คือ ภราดา อานันท์ แสดงสปิริตลาออกจากตำแหน่งผอ.โรงเรียนทันที และให้มูลนิธิแต่งตั้งภราดาที่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการมาช่วยปัดกวาดปัญหา และนำพาโรงเรียนอัสสัมชัญผ่านพ้นวิกฤติ ขณะที่ นายศุภโชค โฆษ์วงศ์ ตัวแทนกลุ่มกู้อัสสัมชัญ นำ ได้ย้ำในแถลงการณ์ด้วยว่าต้องการให้นำเงินที่บริจาคของโรงเรียนอัสสัมชัญที่นำไปลงทุนสร้างโรงเรียนอัสสัมชัญ พระราม 2 กลับคืนมาสู่โรงเรียนโดยต้องไม่มีภาระหนี้สินมาผูกพัน
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เหตุการณ์การแต่งชุดดำของคณะครู และกลุ่มศิษย์เก่าประท้วงเป็นครั้งแรก แต่ดูทีท่าจะเป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งภายใน ที่ส่อเค้าจะบานปลายจากจุดเริ่มต้นของการก่อตัว “ครูอัสสัมแต่งชุดดำ” เพียงกระแสเล็ก ๆ ก็เริ่มแพร่สะพัด โดยเฉพาะข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวของ "หมอนิด กิจจา ทวีกุลกิจ" เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2555 ระบุว่า "โรงเรียนถูกยึด ครูถูกบีบให้เซ็นใบลาออก เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจมาก ที่โรงเรียนชื่อดังและเก่าแก่ ของประเทศไทยกำลังจะถูกยึด ไม่รู้ว่าเป็นความคิดของใครหรือเป็นนโยบายของนักการเมืองคนไหน? ครูทุกคนในโรงเรียนถูกบีบบังคับให้เซ็น...ใบลาออกล่วงหน้า... ถ้าครูคนไหนไม่ยอมเซ็นใบลาออก จะถูกให้ออก พร้อมจ่ายค่าชดเชยให้ เรื่องนี้ไม่มีสื่อไหนลงข่าวเลย ถูกปิดเงียบเหมือนอยู่ในแดนสนธยา ครูหลายคนแต่งชุดดำประท้วงเงียบๆ แต่คงไม่เป็นผล เพราะมีครูบางคนถูกเรียกเข้าไปกล่อมถึงในกระทรวง”
ข้อความที่ “หมอนิด กิจจา ทวีกุล” เผยแพร่ในเฟสบุ๊คส่วนตัวได้สร้างแรงกระเพื่อมทำให้ศิษย์เก่า และคนที่ให้ความสนใจเกิดความห่วงใยเคลื่อนไหว ประกอบกับ ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้ชี้แจงผ่าน นสพ.คม ชัด ลึก การันตรีว่า การแต่งชุดดำของครูโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก เป็นเพราะนโยบายยุบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญ ฝ่ายประถมและมัธยมเข้าด้วยกัน ครูมีความหวาดหวั่นในความมั่นคงของอาชีพ ต้องการความชัดเจน และต้องการให้มีการปรับเงินเดือนด้วย
ในที่สุดการเคลื่อนไหวของครูอัสสัมชัญแต่งชุดดำประท้วง เพื่อขอความชัดเจนก็ปรากฎเป็นข่าวครึกโครมในผ่านสื่อต่าง ๆ ร้อนจนวันที่ 16 ม.ค.2556 ภราดา อานันท์ และภราดา ศิริชัย ฟอนซีกา ประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ต้องเปิดโต๊ะแถลงชี้แจงย้ำแน่ชัดว่าจะไม่มีการยุบรวมโรงเรียนแน่นอน และยืนยันจะไม่มีการเลิกจ้างครู หรือบังคับให้ครูเซ็นต์ใบลาออกแน่นอนโดยยืนยันจะรับครูทุกคน ในส่วนค่าตอบแทนครูก็ยืนยันว่าได้ดูแลครูอย่างดีมาโดยตลอดเพียงแต่ว่าการปรับเพิ่มเงินเดือนครูระดับปริญญาตรีให้เป็น 11,680 บาทตามประกาศ สช.และประกาศของมูลนิธินั้น โรงเรียนยืนยันว่าไม่มีครูคนใดในจำนวน 450 คนเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท
นอกจากนี้ มีความเคลื่อนไหวผ่านโซเชียวเน็ตเวิร์คอย่างเฟซบุ๊กในเพจ “กู้อัสสัมชัญ” โดยกลุ่มศิษย์เก่าที่มียอดคลิกไลค์ทะลุหลักหมื่น ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่ด้รวบรวมข้อมูล รายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อาทิ กรณีเงินเดือนครูระดับปริญญาตรีที่ได้เพียงกว่า 9,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการแจ้งข่าวสาร ความเคลื่อนไหว และเป็นสื่อกลางการรวบรวมรายชื่อศิษย์เก่าที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของภราดา อานันท์ และต้องการให้มีการตรวจสอบการทำงานรวมทั้งเรียกร้องให้ภราดา อานันท์ ลาออกด้วย
อย่างไรก็ตาม กรณีข่าวการควบรวมนั้น เดิมทีโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถมและมัธยมนั้นมีใบอนุญาตจัดตั้งเป็นของตนเองตามกฎหมายเดิม ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายเรื่อง การขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการและการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555” ลงนามโดย นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2555 โรงเรียนอัสสัมชัญ จึงทำเรื่องเสนอ สช.เพื่อขออนุญาตจัดทำตราสาร หรือบัญชีทรัพย์สินเฉพาะของโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมโดยจะรวมทรัพย์สินของโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมเข้าด้วยกัน เพื่อให้ในอนาคตโรงเรียนอัสสัมชัญมีใบอนุญาตจัดตั้งเพียงใบเดียว แต่เรื่องยังอยู่ระหว่างการดำเนินการและ สช.ยังไม่ได้มีการอนุมัติแต่อย่างใดประกอบกับเกิดเหตุการประท้วงเรื่องดังกล่าวจึงหยุดชะงัก
***ท้ายสุด เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจคณะครูแลกลุ่มศิษย์เก่าได้เดินทางยื่นหนังสือต่อประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ รวมทั้งนายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ รักษาการแทนเลขาคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เพื่อให้รับทราบปัญหาและขอให้ตรวจสอบการบริหารงานของ ภราดา อานันท์ ซึ่งในส่วนของ ศธ. นั้น รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบนายชาญวิทย์ ไปดำเนินการและให้ประสานให้โรงเรียนเปิดสอนตามปกติ ซึ่ง สช.มีอำนาจตามกฎหมายสั่งการได้และแน่นอนวันนี้ข้อเรียกร้องเปิดเรียนปกติสำเร็จไปหนึ่ง! และในวันนี้ (28 ม.ค.) นายชาญวิทย์ จะเดินทางเข้าร่วมหารือกับผู้บริหารของโรงเรียน คงต้องมารอลุ้นว่าคำตอบที่ออกมารูปแบบใด***.