ASTVผู้จัดการรายวัน-สธ. อ้างปรับค่ารักษาเพิ่มหลังราคาคงที่10ปี โพลชี้นายจ้างขึ้นค่าแรง 300 บาทกันหมดแล้ว แต่ลดสวัสดิการอื่น พร้อมขึ้นราคาสินค้าตาม หลังต้นทุนพุ่ง ส่วนแรงงานชอบค่าแรงขึ้น อยากให้ขึ้นอีก เผยส่วนใหญ่นำเงินซื้อมือถือ รถมอเตอร์ไซด์ เสื้อผ้า แต่บ่นสินค้าแพง
วานนี้(24 ม.ค.56) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขเตรียมปรับค่ารักษาพยาบาล ว่า การทบทวนค่าบริการคงเป็นการคิดตามตามต้นทุนที่ควรจะเป็น แต่ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเพิ่มค่าแรง 300 บาทหรือเงินเดือน 15,000 บาท
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องนี้คิดมาตั้งแต่สมัยที่ นพ.ณรงค์ เป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 1 ปีมาแล้ว โดยดูต้นทุน ค่าแรงอะไรต่าง ๆ เคยมีการประชุมและทบทวนไปแล้วครั้งหนึ่งและมีการเสนอแนะประเด็นอะไรต่าง ๆ ซึ่งได้ให้ทีมเลขานุการไปปรับแก้ ถ้าไม่มีอะไรจะเสนอให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเลย ตอนนี้กำลังตามอยู่และอยากเร่งให้เร็วที่สุด
เมื่อถามว่าจะปรับค่าบริการส่วนใดบ้าง นพ.โสภณ กล่าวว่า ทั้งหมดเลย เช่น ค่าทำหัตถการ กรณีนอนไอซียู จะมีบอกไว้หมด ส่วนจะเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์นั้นจำตัวเลขไม่ได้ ทั้งนี้เหตุที่ต้องปรับค่าบริการใหม่เนื่องจากไม่มีการปรับมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว ค่าอุปกรณ์อะไรต่าง ๆ ราคาขึ้นทั้งหมด การปรับค่าบริการตรงนี้เหมือนเป็นราคาขายของกระทรวงสาธารณสุขแต่ว่ากระทรวงอื่นก็มาร่วมช่วยกันดูด้วย เช่น เรื่องรังสี ค่าเอ็กซเรย์ก็มีทีมผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิด การผ่าตัด หรือการดมยาสลบก็มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิดเช่นกัน เมื่อถามว่าการปรับค่าบริการจะส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่ นพ.โสภณ กล่าวว่า ไม่กระทบกับคนใช้บริการเพราะคนใช้บริการมี 3 กองทุนสุขภาพจ่ายแทนอยู่แล้ว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการต่อการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท นอกพื้นที่ 7 จังหวัดนำร่อง ที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 600 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-17 ม.ค.2556 ว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ปรับขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาทแล้ว แต่ลดสวัสดิการ บางรายให้เงินสดเต็มจำนวน โดยไม่รวมสวัสดิการ บางรายให้เงินสดเต็มจำนวน แต่ไม่มีสวัสดิการอื่น บางรายให้เงินน้อยกว่าค่าแรง และบางรายให้เงินสดเต็มจำนวน แต่ให้ทำงานมากกว่าเดิม
ทั้งนี้ การขึ้นค่าแรง ผู้ตอบมากถึง 30.7% ระบุว่าทำให้ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น 7-9% ส่วน 27.6% ระบุว่าเพิ่มมากกว่า 9% อีก 21% ระบุว่าเพิ่มขึ้น 4-6% และ 20.7% ระบุว่าเพิ่ม 1-3% เมื่อแยกเป็นประเภทธุรกิจ พบว่า ธุรกิจขนาดเล็ก ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 9% ส่วนขนาดกลาง เพิ่ม 7-9% และขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้นเพียง 1-3%
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ยังได้มีการสำรวจความคิดเห็นแรงงานที่ได้รับค่าจ้าง 300 บาท จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 15-17 ม.ค.2556 พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ต้องการให้มีการปรับขึ้นค่าแรงอีก 164.3 บาทต่อวันมาอยู่ที่วันละ 464.3 บาท และต้องการให้ปรับขึ้นทุกปี เพราะการขึ้นค่าแรงช่วยให้แรงงานเป็นหนี้น้อยลง มีเงินออมมากขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้น ซื้อของมากขึ้น ท่องเที่ยวมากขึ้น โดยสินค้าที่จะซื้อมากที่สุด คือ โทรศัพท์ เสื้อผ้า รถจักรยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าคงทน แต่ส่วนใหญ่เห็นว่า สินค้ามีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นห่วงว่า การปรับขึ้นค่าแรง ทำให้มีโอกาสตกงานถึง 59.5% เพราะผู้ประกอบการแบกรับภาระไม่ไหว ต้องเลิกจ้าง และหันไปจ้างแรงงานต่างด้าว ลดจำนวนพนักงาน ใช้เครื่องจักรแทน ทำงานหนักกว่าเดิม โรงงานปิด และลดค่าแรงงาน
วานนี้(24 ม.ค.56) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขเตรียมปรับค่ารักษาพยาบาล ว่า การทบทวนค่าบริการคงเป็นการคิดตามตามต้นทุนที่ควรจะเป็น แต่ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเพิ่มค่าแรง 300 บาทหรือเงินเดือน 15,000 บาท
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องนี้คิดมาตั้งแต่สมัยที่ นพ.ณรงค์ เป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 1 ปีมาแล้ว โดยดูต้นทุน ค่าแรงอะไรต่าง ๆ เคยมีการประชุมและทบทวนไปแล้วครั้งหนึ่งและมีการเสนอแนะประเด็นอะไรต่าง ๆ ซึ่งได้ให้ทีมเลขานุการไปปรับแก้ ถ้าไม่มีอะไรจะเสนอให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเลย ตอนนี้กำลังตามอยู่และอยากเร่งให้เร็วที่สุด
เมื่อถามว่าจะปรับค่าบริการส่วนใดบ้าง นพ.โสภณ กล่าวว่า ทั้งหมดเลย เช่น ค่าทำหัตถการ กรณีนอนไอซียู จะมีบอกไว้หมด ส่วนจะเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์นั้นจำตัวเลขไม่ได้ ทั้งนี้เหตุที่ต้องปรับค่าบริการใหม่เนื่องจากไม่มีการปรับมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว ค่าอุปกรณ์อะไรต่าง ๆ ราคาขึ้นทั้งหมด การปรับค่าบริการตรงนี้เหมือนเป็นราคาขายของกระทรวงสาธารณสุขแต่ว่ากระทรวงอื่นก็มาร่วมช่วยกันดูด้วย เช่น เรื่องรังสี ค่าเอ็กซเรย์ก็มีทีมผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิด การผ่าตัด หรือการดมยาสลบก็มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิดเช่นกัน เมื่อถามว่าการปรับค่าบริการจะส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่ นพ.โสภณ กล่าวว่า ไม่กระทบกับคนใช้บริการเพราะคนใช้บริการมี 3 กองทุนสุขภาพจ่ายแทนอยู่แล้ว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการต่อการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท นอกพื้นที่ 7 จังหวัดนำร่อง ที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 600 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-17 ม.ค.2556 ว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ปรับขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาทแล้ว แต่ลดสวัสดิการ บางรายให้เงินสดเต็มจำนวน โดยไม่รวมสวัสดิการ บางรายให้เงินสดเต็มจำนวน แต่ไม่มีสวัสดิการอื่น บางรายให้เงินน้อยกว่าค่าแรง และบางรายให้เงินสดเต็มจำนวน แต่ให้ทำงานมากกว่าเดิม
ทั้งนี้ การขึ้นค่าแรง ผู้ตอบมากถึง 30.7% ระบุว่าทำให้ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น 7-9% ส่วน 27.6% ระบุว่าเพิ่มมากกว่า 9% อีก 21% ระบุว่าเพิ่มขึ้น 4-6% และ 20.7% ระบุว่าเพิ่ม 1-3% เมื่อแยกเป็นประเภทธุรกิจ พบว่า ธุรกิจขนาดเล็ก ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 9% ส่วนขนาดกลาง เพิ่ม 7-9% และขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้นเพียง 1-3%
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ยังได้มีการสำรวจความคิดเห็นแรงงานที่ได้รับค่าจ้าง 300 บาท จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 15-17 ม.ค.2556 พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ต้องการให้มีการปรับขึ้นค่าแรงอีก 164.3 บาทต่อวันมาอยู่ที่วันละ 464.3 บาท และต้องการให้ปรับขึ้นทุกปี เพราะการขึ้นค่าแรงช่วยให้แรงงานเป็นหนี้น้อยลง มีเงินออมมากขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้น ซื้อของมากขึ้น ท่องเที่ยวมากขึ้น โดยสินค้าที่จะซื้อมากที่สุด คือ โทรศัพท์ เสื้อผ้า รถจักรยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าคงทน แต่ส่วนใหญ่เห็นว่า สินค้ามีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นห่วงว่า การปรับขึ้นค่าแรง ทำให้มีโอกาสตกงานถึง 59.5% เพราะผู้ประกอบการแบกรับภาระไม่ไหว ต้องเลิกจ้าง และหันไปจ้างแรงงานต่างด้าว ลดจำนวนพนักงาน ใช้เครื่องจักรแทน ทำงานหนักกว่าเดิม โรงงานปิด และลดค่าแรงงาน