น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ผู้สื่อข่าว สถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีที่เป็นโจทก์ ฟ้อง น.ส.พรทิพย์ ปักษานนท์ ประธาน นปช. เพชรบุรี จากกรณีการส่งอีเมล์ไปยังเครือข่ายคนเสื้อแดง ด้วยข้อความลักษณะข่มขู่ว่า “จำหน้าหล่อนไว้นะครับ เห็นที่ไหนก็จัดให้หน่อยแล้วกันนะครับ”
โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา ยกฟ้องเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่า "การที่จำเลยส่งข้อความไปยังกลุ่มบุคคลจำนวน 47 คนดังกล่าว โดยจำเลยไม่ได้ส่งถึงโจทก์ (น.ส.สมจิตต์) โดยตรง จึงมิใช่เป็นการขู่เข็ญโจทก์ แต่เป็นเพียงการส่งข้อความภายในกลุ่มของจำเลยเองเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ได้ทราบข้อความดังกล่าวจากเพื่อนของโจทก์ ที่ส่งต่อมายังโจทก์แล้วจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ส่งข้อความดังกล่าวเพื่อขู่เข็ญโจทก์ด้วยนั้น หาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตาม มาตรา 392 ”
น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า ตนไม่ได้มีความคิดแค้นเคืองใดๆ เป็นการส่วนตัวกับ น.ส.พรทิพย์ แต่อยากให้คดีนี้เป็นคดีตัวอย่าง เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานต่อสังคม เพราะยังไม่เคยมีคดีในลักษณะการข่มขู่ผ่านอีเมล์ขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาลมาก่อน โดยไม่ว่าศาลอุทธรณ์จะพิจารณาอย่างไร ก็พร้อมที่จะน้อมรับคำตัดสิน ไม่ว่าจะรับอุทธรณ์หรือไม่ เพราะเจตนาที่ดำเนินคดีเรื่องนี้ ยืนยันมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะเดินให้สุดทางจนจบที่กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน และได้หารือกับทนายความแล้วว่า จะยื่นอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวต่อศาล วันที่ 7 ม.ค. 56 เนื่องจากเห็นว่าการกระทำของน.ส.พรทิพย์ เข้าองค์ประกอบการกระทำความผิดตาม มาตรา 392 แล้ว
โดยในประเด็นนี้์ได้ขออุทธรณ์ว่า " คำว่า "จัดให้" เป็นลักษณะถ้อยคำสำนวนที่สื่อความหมายถึงการใช้ความรุนแรงต่อตน ดังที่พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 3 ได้วินิจฉัยไว้ เมื่อ น.ส.พรทิพย์ได้โพสต์ข้อความดังกล่าวลงในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบการสื่อสารในระบบอินเตอร์เนต จึงเป็นการกระทำที่สามารถเล็งเห็นผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ได้ว่า แม้น.ส.พรทิพย์ จะได้ส่งข้อความดังกล่าวไปให้บุคคลจำนวน 47 คน และบุคคลทั้ง 47 จะต้องมีการส่งต่อข้อความออกไปอีกในระบบอินเตอร์เนต อันจะทำให้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาถึงตนได้ ในที่สุด ถือเป็นกรณีที่ น.ส.พรทิพย์ ได้กระทำการขู่เข็ญต่อหน้าตน โดยการผ่านระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เนตแล้ว จึงเป็นการกระทำให้เกิดความกลัว หรือตกใจ โดยการขู่เข็ญ ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 แล้ว
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีนี้ ซึ่งน.ส.พรทิพย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางอินเตอร์เนต และยังไม่มีการวินิจฉัยของศาลสูงพิพากษาเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า กรณีดังกล่าวเป็นการขู่เข็ญหรือไม่ หากศาลสูงได้มีโอกาสพิจารณาอุทธรณ์ของตนแล้ว อาจเป็นไปได้ที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยรับฟ้องไว้พิจารณา จึงขอผู้พิพากษาคือ นายพิษณุ ทิพย์รอด ผู้พิพากษา ซึ่งนั่งพิจารณาคดีนี้ ได้โปรดรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และรับอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณา และวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมต่อไป
โดยศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา ยกฟ้องเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่า "การที่จำเลยส่งข้อความไปยังกลุ่มบุคคลจำนวน 47 คนดังกล่าว โดยจำเลยไม่ได้ส่งถึงโจทก์ (น.ส.สมจิตต์) โดยตรง จึงมิใช่เป็นการขู่เข็ญโจทก์ แต่เป็นเพียงการส่งข้อความภายในกลุ่มของจำเลยเองเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ได้ทราบข้อความดังกล่าวจากเพื่อนของโจทก์ ที่ส่งต่อมายังโจทก์แล้วจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ส่งข้อความดังกล่าวเพื่อขู่เข็ญโจทก์ด้วยนั้น หาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตาม มาตรา 392 ”
น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า ตนไม่ได้มีความคิดแค้นเคืองใดๆ เป็นการส่วนตัวกับ น.ส.พรทิพย์ แต่อยากให้คดีนี้เป็นคดีตัวอย่าง เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานต่อสังคม เพราะยังไม่เคยมีคดีในลักษณะการข่มขู่ผ่านอีเมล์ขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาลมาก่อน โดยไม่ว่าศาลอุทธรณ์จะพิจารณาอย่างไร ก็พร้อมที่จะน้อมรับคำตัดสิน ไม่ว่าจะรับอุทธรณ์หรือไม่ เพราะเจตนาที่ดำเนินคดีเรื่องนี้ ยืนยันมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะเดินให้สุดทางจนจบที่กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสิน และได้หารือกับทนายความแล้วว่า จะยื่นอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวต่อศาล วันที่ 7 ม.ค. 56 เนื่องจากเห็นว่าการกระทำของน.ส.พรทิพย์ เข้าองค์ประกอบการกระทำความผิดตาม มาตรา 392 แล้ว
โดยในประเด็นนี้์ได้ขออุทธรณ์ว่า " คำว่า "จัดให้" เป็นลักษณะถ้อยคำสำนวนที่สื่อความหมายถึงการใช้ความรุนแรงต่อตน ดังที่พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 3 ได้วินิจฉัยไว้ เมื่อ น.ส.พรทิพย์ได้โพสต์ข้อความดังกล่าวลงในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบการสื่อสารในระบบอินเตอร์เนต จึงเป็นการกระทำที่สามารถเล็งเห็นผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ได้ว่า แม้น.ส.พรทิพย์ จะได้ส่งข้อความดังกล่าวไปให้บุคคลจำนวน 47 คน และบุคคลทั้ง 47 จะต้องมีการส่งต่อข้อความออกไปอีกในระบบอินเตอร์เนต อันจะทำให้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์มาถึงตนได้ ในที่สุด ถือเป็นกรณีที่ น.ส.พรทิพย์ ได้กระทำการขู่เข็ญต่อหน้าตน โดยการผ่านระบบการสื่อสารทางอินเตอร์เนตแล้ว จึงเป็นการกระทำให้เกิดความกลัว หรือตกใจ โดยการขู่เข็ญ ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 แล้ว
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีนี้ ซึ่งน.ส.พรทิพย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางอินเตอร์เนต และยังไม่มีการวินิจฉัยของศาลสูงพิพากษาเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า กรณีดังกล่าวเป็นการขู่เข็ญหรือไม่ หากศาลสูงได้มีโอกาสพิจารณาอุทธรณ์ของตนแล้ว อาจเป็นไปได้ที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยรับฟ้องไว้พิจารณา จึงขอผู้พิพากษาคือ นายพิษณุ ทิพย์รอด ผู้พิพากษา ซึ่งนั่งพิจารณาคดีนี้ ได้โปรดรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และรับอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณา และวินิจฉัยอุทธรณ์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมต่อไป